คำถามแรก จากปากช่อง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

มาเปิดคำถามแรก เป็นคำถามที่ แก้วคิดว่าไม่ยากคะ 

ใบ้ให้ว่า เป็นไม้ยืนต้น หลายคนคงจะรู้จัก 

ไม่รู้ พี่โรส เคยมาถามหรือยัง ลองทายกันดูนะคะ แก้วพบดอกของต้นนี้ ร่วงหล่น อยู่มากมาย ไปเจอที่น้ำตก มวกเหล็กคะ

ใตรตอบถูกใจ พร้อมคำอธิบาย รับรางวัลจากพี่ขวัญคะ

แก้วจะเป็นผู้จัดส่งไปให้นะคะ

ขอให้โชคดีคะ

***^^^*** 

 เฉลย ด้วยรูป

 

ต้นเหรียง คะ

สนุกกันไหมคะ ใครตอบถูกบ้างเอ่ย ไม่มีคำอธิบายเลย แหม๋...อยากให้คนตอบถูกอธิบายซะหน่อย

งั้น รับข้อมูลจากกูเกิ้ลไปแทนนะคะ 

เหรียง

1. ชื่อพันธุ์ไม้ เหรียง

2. ชื่อสามัญ (ไทย)เหรียง เรียง สะเหรี่ยง (ภาคใต้) กะเหรี่ยง นะกิง นะริง

(มาลายู ภาคใต้)

(อังกฤษ) -

3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Parkia javanica Merr. และมีชื่อพ้องทางพฤกษศาสตร์ คือ

P. timoriana Merr. , P. roxburghii G. Don.

4. ชื่อวงศ์ Mimosaceae



5. การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ

เหรียง เป็นพันธุ์ไม้ที่มีเขตการกระจายพันธุ์ แถบหมู่เกาะติมอร์ และแถบเอเซียเขตร้อน ซึ่งรวมตั้งแต่ประเทศอินเดีย จนถึงประเทศปาปัวนิวกินี สำหรับในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ชอบขึ้นตามป่าดิบชื้น ตั้งแต่ในระดับพื้นที่ต่ำจนถึงพื้นที่สูงถึง 100 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่อย่างไรก็ตามอาจมีบ้างที่เจริญเติบโตได้ในระดับสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล

เหรียงเป็นไม้ที่ชอบแสงกสว่างและพื้นที่ค่อนข้างชุ่มชื้น มักจะเริ่มผลัดใบในขณะที่ออกช่อดอก และใบจะร่วงหล่นจนหมดต้นเมื่อผลเริ่มแก่พร้อม ๆ กับใบอ่อนที่ผลิออกมาใหม่



6
. ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา

เหรียงเป็นพืชวงศ์เดียวกับสะตอและลูกดิ่ง เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง สูงถึง 50 เมตร มีพูพอนสูงถึง 7 เมตร ลักษณะทั่วไปคล้ายคลึงกับสะตอ แต่แตกต่างกันตรงที่พุ่มใบของเหรียงมักจะเป็นพุ่มกลม ไม่แผ่กว้างมากนักพุ่มใบแน่นและเป็นสีเขียวทึบกว่าพุ่มใบของสะตอ เปลือก เรียบ กิ่งก้านมีขนปกคลุมประปราย

ใบ ก้านใบยาว 4 – 12 ซม. มีต่อมรูปมนยาว 3.5 – 5 มม. อยู่เหนือโคน ก้านแกนช่อใบยาว 25 – 40 ซม. มีช่อใบแขนงด้านข้าง 18 – 33 คู่ ใต้รอยต่อของก้านช่อใบแขนงด้านข้างมักจะมีต่อมเล็ก ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 – 3 ซม. ช่อใบแขนงยาวประมาณ 7 – 12 ซม. แต่ละช่อมีใบย่อย 40 – 70 คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานแคบ ๆ กว้าง 5 – 7 มม. ยาว 1.5 – 1.8 มม. ปลายใบแหลมโค้งไปทางด้านหน้า ฐานใบมักจะยื่นเป็นติ่งเล็กน้อย เส้นแขนงใบด้านข้างไม่ปรากฏชัดเจน

ดอก ออกเป็นช่อกลม ขนาดของดอกกว้าง 2 ซม. ยาว 5 ซม. ก้านช่อดอกยาว 20 – 25 ซม. ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น ๆ และใบประดับยาว 4 – 10 มม. รองรับกลีบรองกลีบดอกของดอกสมบูรณ์เพศเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 8 – 11 มม.

ผล เป็นฝักกว้าง 3 – 4 ซม. ยาว 22 – 28 ซม. ตัวฝักตรงไม่บิดเวียนเหมือนสะตอบางพันธุ์ เมล็ดไม่นูนอย่างชัดเจน แต่ละฝักมีเมล็ดรูปไข่ ขนาดประมาณ 11 x 20 มม. ประมาณ 20 เมล็ด เปลือกหุ้มเมล็ดหนาสีคล้ำ

ระยะการออกดอก-ผล ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ฝักแก่ประมาณเดือนมกราคม – กุมภาพันธุ์



7.
การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์เหรียงที่นิยมกันมากในปัจจุบันคือ การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด นอกจากนี้ยังสามารถขยายพันธุ์โดยมีวิธีอื่น ๆ ได้อีก เช่น การตัดกิ่งปักชำ และการขยายพันธุ์โดยการติดตา แต่การขยายพันธุ์โดยการตัดกิ่งปักชำ และการติดตานั้น ยังไม่เป็นที่นิยมปฏิบัติกัน

การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดนั้น ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ดคือ ช่วงเดือนมีนาคม จนถึงเดือนพฤษภาคม วิธีการเก็บเมล็ด เก็บจากฝักแก่ที่ร่วงหล่นบนดิน นำฝักมาผึ่งแดดให้แห้งเกรียม แล้วใช้ไม้ค้อนทุบให้ฝักแตกแกะเมล็ดออก

การปฏิบัติต่อเมล็ดและการเพาะเมล็ด ใช้มีดตัดขั้วเมล็ดให้ขาดออกเล็กน้อยแล้วนำไปแช่น้ำ 1 คืน นำเมล็ดมาผึ่งให้แห้งก่อนเพาะในแปลงเพาะ หรือเพาะลงในถุงพลาสติก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากเพาะประมาณ 2 –3 วัน ก็จะเห็นต้นอ่อนของต้นกล้าโผล่ออกมา เมื่อกล้าอายุได้ประมาณ 2 เดือน ความสูงพอประมาณก็ทำการย้ายไปปลูกในแปลงปลูกที่เตรียมไว้



8. การปลูก การเจริญเติบโตและการปรับปรุงพันธุ์

ในการปลูกเหรียงนั้นสิ่งที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกก่อนคือ การเลือกพื้นที่ที่จะปลูก ในการเลือกพื้นที่ปลูกเหรียงนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเหรียงเป็นสำคัญ จากที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า เหรียงเป็นพืชในเขตร้อนชื้นซึ่งชอบที่มีประมาณน้ำฝนและความชื้นในอากาศที่สูง มีปริมาณฝนตกมากพอสมควรประมาณ 2,500 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส เป็นไม้ที่ต้องการแสง ลักษณะดินชอบดินที่อุ้มน้ำ และเก็บความชื้นได้ดีส่วนมากเป็นดินเหนียว หรือดินร่วนปนทราย ดังนั้นในการเลือกพื้นที่ปลูกเหรียงจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วย

การปลูกไม้เหรียงควรจะทำการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เพราะจะทำให้กล้าไม้เจริญเติบโตได้ดี มีเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมในการย้ายปลูกควรอยู่ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม ขนาดของกล้าไม้ที่เหมาะสมในการย้ายปลูกอายุประมาณ 2.5 เดือน สูงประมาณ 30 ซม.

สำหรับระยะปลูกนั้นควรพิจารณาจากความกว้างของเรือนยอดเมื่อไม้โตเต็มที่ ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 8 x 8 เมตร หรือ 10 x 10 เมตร เมื่อปลูกเหรียงแล้ว เนื่องจากเรือนยอดเหรียงโปร่ง อาจพิจารณาปลูกไม้ชนิดอื่นใต้ต้นเหรียงได้

  เหรียงเป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วชนิดหนึ่ง มีความเพิ่มพูนทางด้านความสูงรายปีมากกว่า 60 ซม.ต่อปี เป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโต 


ที่มา : สุทธิ มโนธรรมพิทักษ์, 2529

http://www.dnp.go.th/Pattani_botany/พันธุ์ไม้/ไม้เอนกประสงค์/เหรียง/เหรียง.htm
 

************* 

ความเห็น

โหม่งตอ ของเล่นของเด็กในสวนเก็บมาเล่นได้ทุกวัน

ขวามือ ดอกร่วงหมดแล้วก็เอามาตีกันของใครโหม่งขาดก่อนก็แพ้

ซ้ายมือเอาดอกมาเล่นข้าวหอยเลียง ทำเป็นอาหาร(หลอกๆ)ได้สารพัด

ม่ใช่ โหม่งตอ น๊า สงสัยดอกจะคล้ายกันจริงแฮะ คนใต้ ตอบผิด :embarrassed:

 

ถ้าไม่ใช้สะตอก็น่าจะเป็นเหรียง ดอกคล้ายกัน

พี่เชื่อตั้งแต่น้องเรียกผักตำลึงว่าผักหมึงแล้วมาพบโหม้งตอล่าวที่นี้เชื่อสนิทเลยว่าเด็กบก5+++

:embarrassed: กะบอกแล้วไม่หอนขี้หกนิ บกจริง ๆ ของแท้ 555 ตอให้โหย่ไหนกะพันนี้แหละ เป็นอย่างหนึงที่ภูมิใจมาก ๆ คือความบก รับรองไม่ทุ้ม ตั้งแต่เด็กๆจนสาว นี่กะอีแก่หล่าวแล้วนิ

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

อย่าทุ้มแหละน้องเหอพาวัดนู้แหละ555


 

สะตออีสานหรือลูกดิ่ง...แต่ยัง..งงงง แล้วเหมือนสะตอเมืองใต้หม้ายนิ


แลๆๆแล้วสาหว่าเหมือนนะลองแลตามเวบนี้เลย


http://www.tistr.or.th/sakaerat/article/loogding/L1.htm

ชีวืตที่เพียงพอ..

แก้วว่า ไม่ใช่นะคะ ลองทายใหม่คะ ลองใหม่อีกที :cheer3:

 

ม่าย สะตอกะ ดอกเหรียง คือคำตอบสุดท้ายจ้าแก้ว....


นอนก่อนน้า...พรุ่งนี้รับประเมินเช้าเยย


ฝันดีน้า...ชะแวบ

ชีวืตที่เพียงพอ..

 

ต้นใหญ่โตมโหราฬ ดูเอาเถิด ต้นอะไำรเอ่ย

 

หน้า