แครอทม่วง และ ผลไม้ตามฤดูกาล

หมวดหมู่ของบล็อก: 

งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกลา แต่ช่วงนี้ผมก็ เหมือน หลายๆ ท่านที่ยังมีงานเลี้ยงไม่เลิก สองวันนี้ จะมี คลื่นความร้อน อีกครั้งครับ ยังไม่ทราบว่าต้นไม้จะเป็น อย่างไร เพราะ เย็นนี้ ผมคนทำสวนต้องไป งานของคุณป้าครับ ก่อนไปงานมีเวลา ลงบันทึก แครอทม่วงที่เพิ่งเคยชิม มาเล่าสู่กันฟังด้วยครับ แครอทม่วงนั้นไม่ใช่ของแปลกอะไรนะครับ มีมานานแล้ว แต่คนสมัยก่อนไม่นิยมทานกันเพราะไม่ชุ่มน้ำ กรอบเหมือนสีส้ม แต่ความหวานนั้น ทานแทนผลไม้ได้เหมือนกันดังนั้นจึงไม่ใครปลูกขาย พอสมัยนี้คนหันมาหาพักอินทรีย์ และ ไม่แต่งสายพันธ์ สายพันธ์สี เก่าๆเหล่านี้จึงกลับมา

เห็น สวยๆ แล้ว มาดู ฝีมือผม บ้างครับ ต่างกัน มากจากที่ได้มาฟรี ถ้าสังเกตุในภาพดีๆ จะเห็นมีซองเมล็ดพันธ์ แถมมาให้ด้วย ผู้ให้ ช่างคิดครับ ผมปลูกเองหัวหลีบ ยาวเพราะติดกันเกินไป ถอนทิ้งบ้างเลยเอามาอวดกัน ครับ เดือน หน้า ปีใหม่ นี้ คงโละ แครอท ทิ้งทั้ง แปลงแล้วครับ ปลูก ใหม่ หัวได้แค่ไหน เอา แค่นั้นหัวใหญ่ ไม่ใหญ่ไม่รอแล้วครับ เพราะทานใบได้ไม่เสียเปล่า ในภาพ ด้านล่างถอนทิ้งมาก่อนมีสองสี ครับ ม่วงกับ ขาว สีขาวไม่ใช่ ไชเท้าแน่ เพราะใบเป็น แครอท

ผลไม้ตามฤดูกาลนั้น ราคาจะถูกครับ และ อร่อย กว่าที่แบบที่มีขายทั้งปี เรื่องทานผลไม้ราคาแพงนั้น ผมเองก็ชอบทานด้วยความที่คิดถึงในรสชาตที่เคยทานที่บ้านเรา พอมาหาทานเอาที่นี่แพงมากครับ ขนุนสดทั้งเปลือก กิโลละ สองร้อยแปดสิบบาท เงาะ กิโลละ เจ็ดร้อย กว่าบาท ลำใย ถูกหน่อย สองร้อย แปดสิบ บาท ผมไม้เหล่านี้ นำเขา เจอ บางทีก็ ไม่หวาน อร่อย นานๆ จะ ได้ทาน อร่อยๆ ซักที มาพักนี้ที่รายได้น้อยลง จึงต้อง หันมาประหยัดทานของที่มามากราคาถูกเอาครับ อย่างตอนนี้ เชอรรี่ดำ ครับ กิโลละสามร้อยบาท หวานกรอบอร่อย

ก่อนหน้านี้ ผิด หวังกับสตอรเบอรรี่ ที่ปีนี้ไม่หวานฉ่ำ เลยไม่หวังมาก กับ เชอรรี่ แต่ โชคดี ครับ ปีนี้เชอรรี่ หวานกรอบเหมือนเดิม อร่อยมาก ทานไป ก็ทำใจครับ ถ้าตัดสินใจจะ จะหาเงินน้อยลงสร้างความสุขมากขึ้น ก็ต้องยอม ลดอาหารราคาแพงลงบ้าง เอาที่มีขายถูกๆ นี่ละครับ

มีเรื่องผลไม้ที่ติดใจ อยากเล่า ทุกครั้งที่กลับเมืองไทย ไป เยี่ยมใคร เขาจะมี ผลไม้ต่างประเทศมาให้ทานเสมอ เช่น องุ่นดำ ลูกพลับ หรือ เชอรรี่ ทานไป ก็ไม่อร่อย เหมือน สดๆ ที่นี่ กลับเมืองไทย ผมก็ อยากทานแต่ เงาะ ขนุน ทุเรียน มะระกอ กล้วยน้ำว้า หรือ แม้แต่ตะขบ แต่ไม่กล้าบอกเจ้าบ้านครับ เพราะ เกรงใจที่เขา อุสาตห์ หามาให้เรา และทราบได้ในน้ำใจเขาที่อยากให้ทาน อะไรที่เราเคยชิน ตอนอยู่ต่างบ้าน เลยหามาให้เราทาน ยังไงใครที่มีญาติ อยู่ไกล แบบผม ลองคิดอีกทีเวลาหาผลไม้ไว้ตอนรับนะครับ

เจอกันบล็อกหน้าครับ

ตุ้ย

ความเห็น

เจ้โส ผมเห็น ครั้ง แรกก็ แปลกตาเหมือนกันครับ พอเขาให้มาเราก็ดีใจนะครับ แต่ปีนี้คงยังไม่ปลูกนะครับ เอาไว้ ปลูก ปีหน้า หรือ หน้า หนาว ยังไม่แน่ใจครับ

:love: มาทีไรเห็นผักผลไม้แปลกๆทุกครั้งไป  วันนี้ดิฉันอยู่บ้านสักครึ่งวันแล้วค่อยไปเที่ยวเอสพลานาด  เพื่อไปออกกำลังกายกับเข้าไปนวดสักหน่อย  เมื่อวานไปบ้านคุณกุ้งบางบัวทองมามีคุณรุ่งริ่งกับน้องพริกและแฟนของเธอมาด้วย  สนุกมาก  อาหารอร่อยเหมือนทานที่ร้านดังๆเลยค่ะ  ขากลับก็ได้ต้นไม้มาปลูกอีก ๑ คันรถได้ค่ะ  ประทับใจในไมตรีจิตอันอบอุ่นของชาวเวปบ้านสวนฯเป็นอย่างมากค่ะ

ดีใจกับคุณ ดาวเรืองด้วยครับ เสียดายจังครับ ไม่มี โอกาศได้ไป ยังไงคอยตามภาพครับ น้ำใจไมตรีมีให้กัน เป็นสิ่งงดงามจริงครับ ทั้ง ผู้ให้และ ผู้รับ คุณดาวเรือง กลับ เมืองไทยครั้งนี้พักผ่อน เต็มที่เลยนะครับ ดีใจด้วยครับ

ของคุณตุ้ย หากไม่ดูที่ใบ แก้วนึกว่าหัวโสมเสียแล้ว เหมือนโสมเลยค่ะ

กลับมาเมื่อไหร่บอกด้วยนะคะ จะเลี้ยงกล้วยน้ำว้า มะละกอ ตะขบ เพราะที่บ้านมี3อย่างนี้ค่ะ อิอิ (รักเพื่อนแบบไม่ลงทุน) อ้อ จะแถมให้อีกอย่าง ทานเป็นหรือป่าว ฝรั่งขี้นกไส้แดง ค่ะ

 

ขอบคุณครับ คุณแก้ว ใครให้เอาอะไร จากสวนท่บ้านมาให้ทาน จะดีใจ มาก อยู่ แล้ว ครับ ขอบคุณ ล่วงหน้า ฝรั่งขี้นกใส้แดง ไม่เคยทาน ท่าจะหวานนะครับ คุณแก้วผมปลูกเองนั้น หัวรีบไม่สวยงามนะครับ ยังไงลุ้นต่อไป ปีหน้าครับ จะ ปลูกสีม่วงดูใหม่ ตอนนี้ทานใบไปก่อน

..เคยเห็นแต่สีส้ม ๆ  :sweating: 

... อยาก ชิมเชอรี่ ซักลูกหนึ่ง.. :crying2:

....ความสุขอย่างแท้จริง ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง....

ไม่มีปัญหาครับ แอน ถ้าผมปลูก สำเร็จ เมื่อไหร ไม่ลืมกันครับ

อือ..หัวแค่ไหน  เล็กไปมั้ย

ที่ผมปลูก หัวเล็ก มากครับป้าเล็ก ที่ได้มาหัวใหญ่ เหมือนแครอท ออสเตรเลียทั่วไป ยังไง ต้องรีบทานเดี๋ยวไม่สด ส่วนที่ผมปลูกนั้น ไม่หวังทานหัวแล้วครับ ทานใบเอา

รสชาดเป็นงัยบ้างแครอทม่วง ยังไม่เคยลองกินเลย ปกติแครอทพี่ชอบล้างน้ำให้สะอาดแล้วกินดิบ ๆ เปล่า ๆ แทนผัก หรือกินเล่น

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

หน้า