เวลาที่มีคุณค่า ไม่แต่เพียงด้านการเกษตร แต่เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงขององค์พ่อหลวง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ขอบคุณลิงค์จากบ้านสวนพอเพียง และเสียดายที่มาอ่านศึกษาเมื่อ หลงเดินออกนอกแนวทางพระองค์ท่านไปไกลมาก จึงอยากให้พวกเราพิจารณา และนำไปปฏิบัติ เพื่อความยั่งยืน อย่างมีคุณธรรม นะครับ

***************************************

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"

ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา[7]

อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"[8]

 

 

ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ"[9] และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"[10]

ความเห็น

 

(ยังต่อเนื่องกับ ท่าน อจ. ดร. สุเมธ ดันดิเวชกุล ที่ถ่ายทอดแนว คิด พระองค์ท่าน จากการที่ได้รับใช้พระองค์ท่าน ด้วยความจงรักภักดี วิริยะ ความเพียร มาตลอดชีวิต)

แม้จะเป็นเรื่อง หนัก แต่มีประโยชน์ มี คุณค่ายิ่ง จะนำไปพิจารณา และนำไปคิด ทำ ตามที่พระองค์ท่านได้มีพระประสงค์ หรือแม้แต่ ท่านอาจารย์ สุเมธ ได้ แนะนำ อธิบายไว้ก็ตาม

**************************************************** 

(ตอน ตัด ๕ อธรรม ใส่ ๕ ธรรม)

เชิญปราชญ์ในภูมิภาคนี้มาพูด ผลสุดท้าย อะไรก็เหมือนวัฏจักร สูงสุดแล้วมาประสบ 

ข้อเท็จจริงว่า แท้ที่จริงคือเบสิก เคยทำงานร่ำรวยกันมา ผลสุดท้ายต้องมีบ้าน 

ต่างจังหวัด ที่จริงมาจากต่างจังหวัดจะทำงานร่ำรวยอย่างไร บอกต้องกลับต่างจังหวัด 

เหนื่อยฟรี ชีวิตทั้งชีวิต ถ้าอยู่ต่างจังหวัดซะก็สิ้นเรื่อง

มีการ์ตูน ผมไปเห็นเข้า เป็นช่องๆ ช่องแรกมีคนใส่เสื้อขาดปุปะ

นั่งตกปลาอยู่ ช่องที่ ๒ มีรถคาดิแลคแล่นมา มีเศรษฐีแต่งตัวโก้เชียว มีเครื่องตก

ปลา อะไรต่ออะไรสะพายมามีคนหิ้วเสร็จ ลงจากรถในช่องถัดไป มานั่งตกปลาข้างๆ

กับคนจนที่ตกปลา แล้วเริ่มคุยกัน แล้วก็ถาม เด็กๆนี่ไม่เคยเรียนหนังสือใช่ไหม ใช่

ไม่เคยเรียน แล้วถามคนใส่เสื้อขาดว่า เรียนอะไรมา คนเสื้อขาดก็ถามกลับว่าเรียนไป

ทำไม เศรษฐีบอกเรียนเสร็จได้งานดีๆ คนเสื้อขาดถามได้งานดีๆแล้วไงต่อ เศรษฐี

บอกก็ได้งานดีๆเสร็จก็มีตำแหน่งสูงๆ แล้วได้เงินเดือนเยอะๆ แล้วไง ก็ร่ำรวย ร่ำรวย

แล้วจะได้มีเวลามานั่งตกปลาอย่างนี้ไง คนเสื้อขาดบอกก็ไม่เห็นต้องเหนื่อยอย่างนั้น

เพราะนี่นั่งตกปลามาตลอดเลย ที่คนจนเค้าตอบมา นี่คือปรัชญา ผลสุดท้ายเห็นไหม

ครับ สัจธรรมจริงๆ คือความสุข

ตัด ๕ อธรรม ใส่ ๕ ธรรม

ผมอยากฝากอีกว่า การดำเนินชีวิตของพวกเราให้พยายามตัด ๕

อธรรมแล้วใส่ธรรม ๕ ตัว ได้ไหม อธรรม ๕ ตัวที่ต้องทำลายคือ หลง โลภ โง่

โกง กัด กันเอาไปจากตัวให้ได้ อย่าหลงอะไรไปกับกระแสโดยที่ไม่รู้อะไรดีอะไรชั่ว

โลภก็ไม่ต้องขวนขวายมา จะต้องไปโกงกินอะไรก็ไม่ต้องไปเอา ถ้าหลงแล้วโลภแล้ว

มันก็ต้องไปโกงเขา แล้วก็ทุกข์ และหลายครั้งก็ทำอะไรโง่ด้วย เป็นอยู่ตลอดเวลา

กัดกัน นี่ไงกัดกันรอบเมืองไปหมด ฉะนั้น หลง โลภ โง่ กัด อธรรม ๕ ตัวนี่เอา

ออกไป

กลับมาที่พระเจ้าอยู่หัวบอกให้พอดี เศรษฐกิจพอเพียง คือ

ความพอดี เราต้องคิดต่อว่า พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานอย่างนี้ ต้องคิดต่อทันทีเลย

ก็เลยคิดมาได้ ๕ ประการด้วยกัน อยากเรียนฝากเอาไว้

25

ประการแรก สร้างความพอดีให้เกิดกับจิตใจให้ได้ก่อน ใจของ

เราต้องไม่ไปสุดกู่ด้านใดด้านหนึ่ง ระดับจิตใจของเราต้องอยู่ในความพอดี มีความ

เอื้ออาทรต่อกัน ความพอดีด้านจิตใจ

เนื่องจากเราไม่ได้อยู่ในสังคมคนเดียว เราต้องอยู่ร่วมกัน อยู่ใน

ครอบครัวก็มีครอบครัว อยู่ในที่ทำงานก็มีเพื่อนร่วมงาน เพราะฉะนั้น ประการที่ ๒

ความพอดีในด้านสังคม จึงเกิดขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับรอบๆ ข้างนั้นจะต้อง

สร้างให้เกิดความพอดีขึ้นมา

ความพอดีด้านที่ ๓ คือ ความพอดีด้านเศรษฐกิจ อยู่อย่างไรอยู่

อย่างนั้น ไม่ต้องไปกู้หนี้ยืมสิน ไปซื้อทองใส่ มันกินเข้าไปไม่ได้ ไม่มีชีวิตชีวา ไม่มี

อะไรหรอก ช่วยตัวเองได้แค่ไหนให้ช่วยตัวเอง ถ้าปลูกผักหญ้าหลังบ้านได้ ก็ปลูกไป

มีรถพอที่จะขี่ได้ขนาดไหนก็ขี่ขนาดนั้น ไม่ต้องไปขวนขวาย อันนี้คือความพอดี

ทางด้านเศรษฐกิจ

ถัดไป ความพอดีทางด้านเทคโนโลยี เป็นประการที่ ๔ ใน

บ้านเมืองเรา ต้องสนใจเทคโนโลยีด้วย ไปอยู่แบบล้าหลังก็ไม่ใช่ แต่ก็ต้องเอา

เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับพื้นฐานของเรา เอาเข้ามาใช้จะได้ค่อยๆ

เจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ อย่างมั่นคงและยั่งยืน ยึดประโยชน์สุขเป็นที่ตั้ง

ความพอดีที่ ๕ คือ ความพอดีทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ ใช้

อะไรแต่พอดี อย่าทิ้งขว้าง ทิชชูอย่าเช็ดทีเดียวแล้วทิ้ง ใช้จนกระทั่งมันขาดแล้วค่อย

ทิ้ง ถ้ามีผ้าเช็ดหน้าใช้ผ้าเช็ดหน้าดีกว่า เพราะเย็นไปซัก พรุ่งนี้เช้าใช้ได้อีก มีลูกก็ฉีก

ผ้าอ้อมซะ อย่าไปเอาแพมเพอร์ส ฉี่ออกมาก็กลายเป็นขยะแล้วทิ้ง ขยะออกมากี่ก้อน

ต่อวัน คิดกันบ้างหรือเปล่า พื้นที่รองรับในบ้านในเมืองในโลกนี้มีพื้นที่เท่าเดิม

ผ้าอ้อมนี่ ลูกคนนี้ใช้ลูกคนต่อไปก็ใช้ได้อีก ไอ้แพมเพอร์สนี่ใช้ทิ้งๆ วัฒนธรรมใช้ทิ้งนี้

เราก็นำเข้ามาจากต่างประเทศ เราทิ้งความฉลาดของเราไปเพื่อนำไปสู่ความอะไรของ

มันก็ไม่รู้ได้

เมื่อนำอธรรม ๕ ประการออกไปแล้ว ก็ขอให้นำธรรม ๕ ประการ

จากหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือความพอดีทั้ง ๕ ด้านใส่เข้าไปแทน อาจจะเป็นเรื่อง

ลำบากอยู่สักหน่อย เพราะคนไทยส่วนใหญ่เคยชินกับการใช้ชีวิตแบบเกินพอดีมานาน

แต่คงไม่ยากเกินไปหากคิดที่จะเปลี่ยนแปลง

26

ารมีชีวิตที่ดีในโลกไร้พรมแดน

ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ ซึ่งสภาพัฒน์ (สำนักงานคณะกรรมการ

พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) ได้จัดระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ

และประชาชนทุกภาคส่วนของสังคมทั้งในระดับจังหวัด อนุภาค และระดับชาติ ได้

อัญเชิญ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นหลักพื้นฐานของการพัฒนาในทุก

เรื่อง และเป็นแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว

ชุมชนและสังคม โดยยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็น

ศูนย์กลางการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนฯ ๘ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่

ดีมีสุขของคนไทย

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติ

ตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ

ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง

 

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

หน้า