ชะพลู

ต้นชะพลู


ชื่อพื้นเมือง : ชะพลู ช้าพลู

 (ภาค กลาง) ชะพลูเถา เฌอภลู (สุรินทร์) ผักปูนา ผักปูลิง ผักปูริง ปูลิงนก ผักพลูนก ผักอีไร ผักอีเลิศ (ภาคอีสาน)พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (แม่ฮ่องสอน) พลูนก ผักปูนก (พายัพ) พลูลิงนก (เชียงใหม่) นมวา (ใต้)
ชื่อสามัญ (Cinnon Name) :
Wildbetal leafbush
ชื่อวิทยาศาสตร : ์ Piper Sarmentosum , Roxh.
ชื่อวงศ์ :
PIPERACEAE
การขยายพันธุ์ : ใช้ต้นปักชำ

ลักษณะ : ต้น เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน
ใบ ใบเดี่ยวรูปหัวใจ สีเขียวเข้ม
ดอก ออกดอกตามเป็นช่อ
ผล - เมล็ด -
สรรพคุณ : โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง แก้ขัดเบา เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับเสมหะ โรคเส้นเลือดในร่างกายแข็ง

สารสำคัญ : ชะพูลมีน้ำมันหอมระเหยที่ทำให้เกิดกลิ่นเผ็ดฉุน และมีคุณค่าทางสารอาหารที่สำคัญ คือ มีแคลเซียมและสารเบต้า-แคโรทีนในปริมาณสูง
เกร็ดความรู้

ชะพลูเป็น สมุนไพรที่มีรสเผ็ดร้อน สรรพคุณทางยามีฤทธิ์ แก้ลม จุกเสียด แน่นเฟ้อ ขับภายลม บำรุงธาตุ เป็นยาประจำธาตุน้ำ แก้ท้อง อืดเฟ้อ แก้อุระเสมหะ ทำให้เสมหะแห้ง แก้ดีซ่าน บำรุงน้ำดี ต้าน เกาะกรุมของเกล็ดเลือด ต้านเชื้อแบคทีเรีย ลดระดับน้ำตาลในเลือด

เนื่องจากใบ ชะพลูมีสารออคซาเลทค่อนข้างสูง สารตัวนี้สะสมใน ร่างกายมากเกินไป เป็นผลให้เกิดนิ้วในลำไส้ ดังนั้นควรรับประทาน แต่พอประมาณ

ผลงานการวิจัย

1.การ ทดลองต้มชะพลูทั้งต้น แล้วป้อนน้ำชะพลูให้กระต่าย 2 กลุ่ม คือกระต่ายปกติและกระต่ายที่เป็นเบาหวาน เปรียบเทียบกับการใช้ยาลดน้ำตาลในเลือดชื่อ ทอลบูตาไมด์ (Tolbutamide) และน้ำกลั่น ปรากฏว่าน้ำชะพลูลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายที่เป็นเบาหวานได้

แต่ไม่สามารถลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายปกติ และเมื่อให้กระต่ายกินยาทั้งสองชนิดต่อไปอีก 4 สัปดาห์ก็พบว่าชะพลูยังคงสามารถทำให้น้ำตาลในเลือดลดลงได้ ขณะที่ยาทอลบูตาไมด์เองลดน้ำตาลได้ไม่ชัดเจนเท่ากับชะพลู

2.เมื่อทดลองให้สารสกัดด้วยน้ำของต้นชะพลู ในขนาด 0.125 และ 0.25 กรัมต่อ

กิโลกรัมน้ำหนักตัวแก่หนูขาวปกติ โดยให้รับประทานครั้งเดียว พบว่ามีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลกลูโคส

ในเลือด แต่สารสกัดในขนาดดังกล่าวไม่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูขาวที่เป็นเบาหวาน (streptozotocin-diabetic rats) อย่างไรก็ตามเมื่อให้สารสกัดดังกล่าวในขนาด 0.125 กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวโดยการรับประทานติดต่อกันนาน 7 วันแก่หนูขาวที่เป็นเบาหวาน พบว่าสามารถ

ลดระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดได้

3.การ ทดลองในคน ปรากฏว่าถึงแม้ชะพลูจะสามารถลดน้ำตาลในเลือดได้ แต่ผลยังไม่สมบูรณ์และมีไม่มาก ทั้งนี้อาจเกิดจากผู้ป่วยที่ทดลองใช้ชะพลูยังมีจำนวนน้อยอยู่

4.วงการวิทยาศาสตร์ของอเมริกายกย่องว่าชะพลูสามารถป้องกันมะเร็งได้

วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย

1.แก้เบาหวาน เอาต้นชะพลู ทั้ง 5 (เอาทั้งต้นตลอกถึงราก) มา 1 กำมือ พับเป็น 3 ทบใช้ ตอกไม้ไผ่มัดเป็น 3 เปราะ ใส่หม้อดินต้มกับน้ำ 3 ขัน เคี่ยวเหลือ 1 ขัน รับประทานครั้งละครึ่งแก้ว วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร ได้ผลชะงัดหรือจะ เอาใบชะพลูทั้งต้นและใบ 9 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่ในภาชนะพร้อมด้วยน้ำ 2 ถ้วยแก้ว ต้มเคี่ยวให้เหลือครึ่งถ้วยแก้ว รับประทานให้หมดก่อนอาหารเย็น โดยรับประทาน 15 วันต่อครั้ง เมื่อรับประทานไปได้ 2 ครั้ง ภายใน 30 วันแล้ว ลองไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์กรวดน้ำปัสสาวะ หากปกติให้หยุด ถ้ายังมีน้ำตาลในปัสสาวะให้ต้มรับประทานต่อ

2.ยาแก้โรคถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ เอาเปลือกหอยแครง 7 ฝา (เผาไฟให้เป็นขี้เถ้า) กับต้นชะพลูทั้ง 5 นำมาย่างไฟให้กรอบ ตำผสม กันให้ละเอียด ใช้ชงกับน้ำร้อน รับประทานต่างน้ำชามีสรรพคุณแก้โรคถ่ายปัสสาวะบ่อยๆได้ผลชะงัด

3.แก้ขัดเบา เอาต้นแจงทั้ง 5 หนัก 3 ตำลึง ชะพลู หนัก 3 ตำลึง แก่น ไม้สัก 3 ตำลึง ตัวยาทั้ง3 นี้ ใส่หม้อดิน กับน้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยว ให้เหลือ 1 ส่วน ใช้น้ำยารับประทาน เช้า-เย็น แก้ขัดเบาได้ผลชะงัก 4. เจริญอาหาร บำรุงธาตุ ขับเสมหะ นำใบชะพลูมาจิ้มน้ำพริก หรือกะปิหลน น้ำพริกปลาป่น หรือจะนำใบชะพลูมาทำเมี่ยงคำ ทานวันละ อย่างน้อย ๗ ใบ ทุกวัน จะทำให้ธาตุปกติ เจริญอาหาร ขับเสมหะได้ดี

5.แก้โรคเส้นเลือดในร่างกายแข็ง ซึ่งโรคดัง

กล่าว มีคนเป็นกันมาก เมื่อเป็นแล้วทำให้เลือดที่จะไปหล่อเลี้ยงหัวใจและสมองมีปัญหา ก่อให้ เกิดอาการเส้นโลหิตแตกหรือหัก เสียชีวิตได้ โดยเอา "ชะพลู" ทั้งต้นรวมราก จำนวน 3 ต้น ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ตักดื่มครั้งละครึ่งแก้ว เช้าเย็น ดื่มจนตัวยาจืดแล้วเปลี่ยนยาใหม่ ดื่มให้ครบ 15 วัน จึงหยุด จากนั้นไปให้แพทย์ตรวจดู จะพบว่าอาการที่เป็นจะหายไป โดยไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ

ข้อควรระวัง

ไม่ควรรับประทานใบชะพลูมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ และทำให้มีการสะสมของสารออกซาเลท (Oxalate) ในร่างกายสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนิ่วในไต เวลารับประทานควรปรุงร่วมกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จะช่วยให้ย่อยง่ายขึ้นในการใช้รักษาโรคเบาหวานจะต้องคอยตรวจน้ำตาลในปัสสาวะ ก่อนและหลังดื่มน้ำทุกครั้ง เพราะยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก และในการต้มจะต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวัน


อ้าง อิง โครงการหนูรักผักสีเขียว, มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทยและสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. มหัศจรรย์ผัก 108. กรุงเทพฯ ,2545

ยิ่งไม่มีลูกอยู่นา..อิอิ..เดี๋ยวแม่นัทจะร้องไห้ขี้มูกโป่งสิไม่ว่า..อิอิ  :ahaaah:

แบ่งปันน้ำใจส่งต่อกันไป ....ไม่รู้จบ

ผักอีเลิศ ออมใส่เนื้อวัว น้องวัว กบ หอยจูบ แซบหลาย

:steal:


ซักหิวข้าวแล้วละ เมนูเหล่านี้อะ


 

นัทเคยกินแต่อ่อมใส่หอยจูบเด้ออ้าย อย่างอื่นนัทบ่กล้ากิน (ย่าน) :uhuhuh:


กินกับยำแหนมสดอร่อยเหาะ ว่าแต่บ้านพี่อยู่ไกลจัง

 

 

"ขอบคุณน้ำใจที่แบ่งปัน ขอบคุณบ้านสวนพอเพียง"

มักคือกันเลย

บ้านเอื้อยอยู่ไกล แต่กะมีรถมาฮอดเด้อน้อง

บ่กล้ามาผู้เดียวบ่เป็นหยัง รอเอื้อยณีมาเป็นหมู่ก่อนกะได้เด้อนกฮูก


แกงใส่หน่อไม้ก็อร่อย ห่อหมกก็อร่อยอีกนั่นแหละ

แผ่นดินไหนก็ไม่มีความสุขเหมือนแผ่นดินเกิด อยากกลับบ้านจัง

ทดสอบ

แกงใส่หน่อไม้เมนูนี้น่าลอกค่ะ

นัทจะลองทำดูนะคะ

มาขอแจมนำแหน่ อันผักอีเลิศปลูกเมืองนอกกะขึ้นเด้อค่ะ เวลาฤดูหนาวมันตายเวลาฤดูร้อนก็ขึ้นมาอีก ได้พันธุ์มาจากคนเวียดนาม แต่ไม่ค่อยหอมเท่าของไทย แต่ก็ยังดีกว่าไม่มี:shy: ของแม่นัทผักอีเลิศงามเนาะค่ะ:admire2:

ชีวิตไม่ได้เกิดมา เพื่อยอมแพ้

แซ่บคือกัน ดีกว่าบ่ได้กินแม่นบ่

แซ่บ แซ่บ :uhuhuh:


หน้า