มิงกะลาบา ตอนที่หนึ่ง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

มิงกะลาบา  สวัสดีค่ะ

หลังจากที่หนีเที่ยวไปลาวใต้  เกิดอาการใจแตก (แต่ไม่สลาย)  อยากหนีเที่ยวอีก   คราวนี้ คือประเทศเมียนมาร์ จะขอต่อยอดจาก K. Priraya ที่ได้นำชมไปบ้างแล้ว ในครั้งนั้น จุดหมายคือ ย่างกุ้ง หงสาวดี  พุกาม และมัณฑะเลย์  ขอนำชมเลยค่ะ

  สัญญลักขณ์เมืองหงสาวดี

   

มหาเจดีย์ชเวมอดอร์ (พระธาตุมุเตา) เจดีย์สูงที่สุดในพม่า  มีอายุเก่าแก่กว่า 2,000 ปี ภายในบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า และยังเป็น 1 ใน 5 มหาบูชาสถานสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุดของชาวพม่า มหาเจดีย์แห่งนี้ เคยพังทลายจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่มาแล้วถึง 4 ครั้ง ทำให้ปลียอดของเจดีย์องค์หักพังลงมา แต่ด้วยความศรัทธาที่ชาวเมืองมี จึงได้สร้างเจดีย์ขึ้นมาใหม่ ความสูงถึง 374 ฟุต (ตอนแรกที่สร้างสูง 70 ฟุต)  ส่วนปลียอดที่พังลงมาก็ได้ตั้งไหว้ที่มุมหนึ่งขององค์เจดีย์เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชาควบคู่กันไป

พระราชวังบุเรงนอง  พระเจ้าบุเรงนอง (หรือที่คนไทยรู้จักในดีจากวรรณกรรมเรื่อง“ผู้ชนะสิบทิศ”) เป็นผู้สร้างเมืองหงสาวดี และทำให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก พระราชวังนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางทางการปกครองและใช้ออกว่าราชการ  ได้ถูกทำลายด้วยฝีมือของพวกยะไข่กับตองอู ทิ้งให้รกร้างลงนานร่วม 3 ศตวรรษ แต่เดิมเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์และถูกจับเป็นตัวประกันอีกด้วย


ท้องพระโรงที่ใช้ออกว่าราชการ


ในปี พ.ศ. 2533 มีการค้นพบเสาและกำแพงเดิมที่ถูกฝังอยู่ในดิน รัฐบาลพม่าจึงได้สร้างพระราชวังบุเรงนองขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยถอดแบบจากของเดิม ซึ่งบางส่วนได้สร้าเสร็จไปแล้ว ส่วนอีกบางส่วนก็กำลังรอทุนในการก่อสร้างอยู่

   บรรยกาศตลาดท้องถิ่น

  เด็กนักเรียนกำลังไปโรงเรียน

   ร้องไห้หาแม่

   

ผู้คนเดินไปมาพลุกพล่าน เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ยังนุ่งผ้าถุง และทาแป้งทานาคาเพื่อช่วยรักษาและปกป้องผิว

มหาเจดีย์ชเวซิกอง เมืองพุกาม เป็นที่บรรจุพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างโดยพระเจ้าอโรรธามหาราชพระองค์แรก ผู้รวบรวมชนชาติพม่าเป็นปึกแผ่นได้เป็นครั้งแรกในอาณาจักรพุกามเมื่อ 900 ปีเศษมาแล้ว ภายหลังทรงยกทัพไปตีมอญได้แล้ว ก็กวาดต้อนชาวมอญ ตลอดจนช่างฝีมือ นักปราชญ์ และ ราชบัณฑิตมาที่เมืองพุกาม ทำให้พม่าได้รับอิทธิพงศิลปวัฒนธรรมจากมอญมาโดยไม่รู้ตัว เช่น รูปร่างของเจดีย์ มีรูปทรงระฆังคว่ำแบบมอญ “ชเวซิกอง” มีความหมายว่า “เจดีย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นทราย

พุกาม เมืองแห่งทะเลเจดีย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำอิรวดี พระมหากษัตริย์ในสมัยนั้น มีความศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จึงนิยมสร้างเจดีย์เป็นพุทธบูชา กล่าวกันว่า จำนวนเจดีย์ที่แท้จริงนั้นมีเป็นจำนวนมากกว่า 10,000 องค์ ซึ่งถือว่าค่อนข้างยิ่งใหญ่มากเมื่อเทียบกับจำนวนเจดีย์ในปัจจุบัน ที่แม้จะต้องเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่เจดีย์ที่ยังคงอยู่ส่วนใหญ่ยังมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ เนื่องจากพุกามเป็นเขตแห้งแล้ง ทำให้เจดีย์ไม่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติใดๆ อีกทั้งชาวพม่าก็ถือคติไม่ทำลายเจดีย์อย่างเคร่งครัด อาณาจักรนี้ล่มสลายเพราะการบุกรุกเข้าทำลายของกองทัพมองโกลที่นำโดยกุ๊บไลข่านในปี พ.ศ. 1830

บรรยากาศตอนพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน

จุดที่ปืนขึ้ันไปถ่ายภาพ  ห้ามใส่รองเท้าขึ้นไปด้วย   ที่พม่า ต้องแต่งกายสุภาพ ห้ามใส่รองเท้าและถุงเท้าเข้าวัดเด็ดขาด น่าชมเชยเป็นอย่างยิ่ง 

ปิดท้ายด้วยบรรยากาศของแม่น้ำอิระวดี  อยู่ด้านหน้าของรีสอร์ตที่ไปพักค่ะ

แล้วพบกันในตอนต่อไป มิงกะลาบา

ความเห็น

ภาพสวย วิวดี สถานที่ท่องเที่ยวสวยๆทั้งนั้นเลยนะคะ ขอบคุณค่ะที่นำมาให้ชมกัน..:cheer3:


ตามเที่ยวสนุกเลยค่ะ..

ขอบคุณเช่นเดียวกันค่ะ   จะลองหมักไวน์แบบคุณพีระยาบ้าง

อยากไปเที่ยวจังชอบแนวๆนี้ครับ..ขั้นตอนในการเดินทางไปลำบากไหมครับ..

ไม่ลำบากเลยค่ะ  ไปแบบชิวๆ   ลองเช็คดูในอินเตอร์เน็ทนะคะ  ข้อมูลมีเพียบ  ไปเดี่ยวหรือไปกับทัวร์

สวยงามมากเลยค่ะ ... คนพม่าทาแป้งทานาคาแบบนี้นี้เอง  ถึงมีผิวสวยไร้กระ  ฝ้า....แต่ถ้ากุ้งเอามาทาที่บ้านบ้างกลัวสายตรวจผ่านหน้าบ้านจะเข้ามาขอดูบัตรประชาชนน่ะสิ...

มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ

กุ้ง ๆ  เอามาทาเถอะ   จะได้สวยแบบผิวพม่านัยตาแขกงัย    :uhuhuh:

ส่วนใหญ่ที่เขาใช้กัน จะเป็นแท่งเปลือกไม้ทานาคา  เวลาจะใช้ต้องนำมาฝนให้เป็นผง แล้วจึงทาค่ะ  แต่ก็มีการพัฒนารูปแบบเป็นแบบกระปุกสำเร็จรูปพร้อมใช้้ขายด้วยค่ะ   สังเกตดู ชาวพม่า แม้ผิวจะดำ  แต่เนื้อผิวเขาจะละเอียดเนียนค่ะ    น้องกุ้งสนใจไหม  ถ้าสน ขอที่อยู่หลังไมค์ค่ะ 

สวยครับ แบบนี้ชอบครับ


สวยงามมากค่ะ วันดี คืนสวย จะไปเยือนมั่ง

ขอบคุณที่แนะนำค่ะ

:admire2:

เช่นกันค่ะ   ขออธิษฐานให้ได้นะคะ  คุณโจคนสวย

หน้า