เล่าสู่กันฟัง “ร้อยดอกเบญจมาศ…” ตอน 1

หมวดหมู่ของบล็อก: 

   อ้อยหวานกำลังศึกษาวิชาผ่าตัด..ต้นไม้ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า “กราฟติ้ง” (Grafting) ซึ่งความหมายของคำนี้แปลเป็นไทยในกูเกิ้ลว่า การปลูกถ่ายอวัยวะ อ้อยหวานก็จนปัญญาหาคำไทยมิได้ ความหมายครอบครุมตั้งแต่ การเสียบกิ่ง..ทาบกิ่ง..ติดตา…และรวมไปถึงการตอนกิ่ง

 

  เมื่อสงสัยใคร่รู้ ก็จะมีการขุดขุ้ย เขี่ยแคะ จนถึงแก่นถึงแกนตามประสาอ้อยหวาน ทำให้มีเรื่องมาเล่า (โม้) สู่กันฟัง

 วันนี้จะพาไปชมต้นเบญจมาศที่ไม่ธรรมดา ต้นเบญจมาศที่มีดอกร้อยดอกในต้นเดียว ยังค่ะยังไม่แปลกพอ ต้นเบญจมาศร้อยดอกต้นนี้ ดอกทั้งร้อยดอกเป็นคนละพันธ์กัน เรียกภาษาญี่ปุ่นว่า ยากูชู ซูจิวาเก-กิคู?? เหียะคุชู ทสึกิวะเคะ กิคุ(Hyakushu tsugiwake-giku) หรือในภาษาอังกฤษ Chrysanthemums of One Hundred Varieties Grafted Together เป็นต้นเบญจมาศที่ใช้วิธีการเสียบยอด 100 ยอด 100 สายพันธ์ในต้นๆเดียว

 

การเสียบยอดเบญจมาศ มีมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งมีหลักฐานจากภาพวาดโบราณ (ค.ศ.1843-1847) ของญี่ปุ่น ภาพจากพิพิธภัณฑ์บังเคียว (Bunkyo Museum) โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

 

ต้นเบญจมาศร้อยดอก

งานเทศกาลดอกเบญจมาศจัดขึ้นที่สวนดอกไม้ฮามามัตซู (the Hamamatsu Flower Park) ประเทศญี่ปุ่น

ต้นเบญจมาศร้อยดอก

งานเทศกาลดอกเบญจมาศจัดขึ้นที่สวนดอกไม้ฮามามัตซู (the Hamamatsu Flower Park) ประเทศญี่ปุ่น

ต้นเบญจมาศร้อยดอก

งานเทศกาลดอกเบญจมาศจัดขึ้นที่สวนดอกไม้ฮามามัตซู (the Hamamatsu Flower Park) ประเทศญี่ปุ่น

 

ต้นเบญจมาศร้อยดอก

 งานเทศกาลดอกเบญจมาศซึ่งมีขึ้นเป็นประจำทุกๆปี ที่สวนลองวูด (Longwood Gardens) เมืองเคนเนตต์สแควร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ต้นเบญจมาศร้อยดอก

งานเทศกาลดอกเบญจมาศซึ่งมีขึ้นเป็นประจำทุกๆปี ที่สวนลองวูด (Longwood Gardens) เมืองเคนเนตต์สแควร์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ที่สวนลองวูด (Longwood Gardens) ได้มีการเตรียมการล่วงหน้า 1 ปีเต็มสำหรับต้นเบญจมาศร้อยดอก โดยเริ่มจากปลูกต้นเบญจมาศแม่พันธุ์ในเดือนตุลาคม ซึ่งจะได้ขนาดที่พร้อมสำหรับเสียบยอดในเดือนมิถุนายนปีถัดมา

ยอดพันธุ์เบญจมาศที่พร้อมสำหรับเสียบยอด มีป้ายบอกชื่อ สีและชนิด

ต้นเบญจมาศที่ได้รับการเสียบยอดต้องเก็บในที่ร่ม และต้องคอยฉีดน้ำไม่ให้ต้นแห้ง

หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ ยอดที่เสียบไว้ก็เริ่มเติบโต

เป็นต้นเบญจมาศที่มีดอก146 ดอก 113 สายพันธ์

 

นอกจากความงามของต้นเบญจมาศแล้ว อ้อยหวานยังเห็นความพยายาม ความมุ่งมั่น และความอดทน ช่างเป็นงานศิลปที่ยิ่งใหญ่และสร้างสรร โดยความร่วมมือของมนุษย์และธรรมชาติ ในที่นี้คือดอกเบญจมาศ

 

รายละเอียดดูได้ที่นี่ค่ะ

http://www.nhk-book.co.jp/engei/news/edo_hana.html

http://dejikameiroiro.cocolog-nifty.com/wakokazuko/2007/01/post_1316.html

http://flowerpark.hamazo.tv/c526259.html

http://longwoodgardens.wordpress.com/2012/11/13/100-flowers-1-plant/

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

ありがとう 

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

ขอบคุณค่ะ

อ้อยหวาน

ความเห็น

Grafting คือการขยายพันธุ์พืชโดยการเอา กิ่ง ยอด หรือตา จากต้นพันธุ์ดี มาต่อ หรือติดกับต้นตอ (stock) การขยายพันธุ์แบบนี้มีพืชอย่างน้อย 2 ต้น คือ ต้นพันธุ์(ดี)ที่เราต้องการขยายพันธุ์ และต้นตอที่จะใช้เป็นตัวสนับสนุนการเจริญเติบโตของต้นพันธุ์ ต้นตอส่วนใหญ่มักจะใช้พันธุ์ป่า พันธุ์พื้นเมือง ที่การเจริญเติบโตดี ระบบรากดี ทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี 

Layering คือ การตอน มีพืชที่เกี่ยวข้องเพียงต้นเดียวคือต้นที่เราจะตอน หรือต้นที่เราต้องการขยายพันธุ์ เพื่อไม่ให้เกิดการกลายพันธุ์ การตอนมีหลายวิธี ลองหาดูเพิ่มเติมจากอากู๋ได้ครับ

การตอนกิ่ง ภาษาอังกถษคือ air grafting นะค่ะคุณโรส

 

Air layering(น่าจะเรียกอย่างนี้) เป็นการตอนต้นไม้ที่คนทั่วไปรู้จักดี ควั่นกิ่งแล้วหาวัสดุมาหุ้ม รอให้แตกรากจึงตัดไปปลูก เป็น 1 ใน 6 วิธีของการขยายพันธุ์พืชที่เรียกว่า Layering

อีก 5 วิธี ได้แก่

           1. การตอนแบบฝังยอด (Tip layering)

           2. การตอนแบบฝังกิ่ง(ยอดโผล่) (Simple layering)

           3. การตอนแบบแนวระนาบไปตามพื้นดิน (งูเลื้อย) (Compound layering)

           4. การตอนแบบขุดร่อง (Trench layering)

           5. การตอนแบบสุมโคน (Mound or Stool layering)

สวยมาก อยากเห็นของจริง แต่ไม่อยากได้เพราะไม่สามารถจะดูแลได้
ขอบคุณน้องอ้อยหวานนะคะสำหรับของฝากยากที่จะลืมบล็อกนี้

ขอบคุณค่ะคุณนวล มันคงต้องได้รับการรับการดูแลอย่างพิเศษจริงๆค่ะ

Surprisedมหัศจรรย์ไอเดียมนุษย์ งามมาก

 

***Sweet pea***

เหลือเชื่อนะคะ และก็ทำกันมาตั้งแต่สมัยโบราณด้วย

ความพยายามของมนุษย์ที่จะให้เป็นไปตามต้องการ แต่ถ้าไม่เกินจริง ย่อมทำได้

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

อย่าว่าแต่ต้นไม้เลยคุณเสิน แม้แต่ตัวมนุษย์เองก็ยังสามารถตัดหรือเติมเกือบได้ตามความต้องการ

สวยจังเลยค่ะ ขอบคุณนะคะที่นำมาแบ่งปัน

   พออยู่ พอกิน พอใช้ พอใจ = พอเพียง

หน้า