น้ำค้างบนยอดหญ้า

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ช่วงนี้ ในสวนป่าจะตัดหญ้าที่สุมต้นไม้ที่ปลูกออกบ้าง ให้ต้นไม้ได้รับแสงแดด จะได้โตขึ้นบ้าง

หลังจากพักตัวในช่วงแล้ง หญ้าที่ขึ้นสุมต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ไม่โดนแดดจัดๆ คายน้ำน้อย

ต้นไม้ไม่เหี่ยว (ยกเว้นต้นจำปาทอง)

ระหว่างเดินในสวน สังเกตเห็น น้ำค้างบนยอดหญ้า โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่ได้ตัด

แต่บริเวณที่ตัดเตียนแล้ว หญ้าจะแห้ง ไม่มีหยดน้ำมาเกาะเลย ลองเปรียบเทียบดูภาพทั้งสองนี้

ภาพนี้หญ้าแห้ง ไม่มีหยดน้ำอยู่บนส่วนหญ้าแห้ง

ภาพนี้ หญ้าที่คลุมดินอยู่ จะเห็นหยดน้ำบนใบหญ้า (แต่มองไม่ค่อยขัด)

หยดน้ำเหล่านี้มาจากไหน

ถ้าอยู่บนผิวใบ น่าจะเกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ แล้วเกาะอยู่บนใบไม้ซึ่งเราเรียกว่า น้ำค้าง

แต่ถ้าเป็นหยดน้ำที่อยู่ที่ปลายใบ หรือเรียงเป็นจุดเล็กๆ ตามขอบใบ อันนี้จะมาจากการคายน้ำของต้นไม้

(บริเวณที่หยดน้ำอยู่ ช่องเปิดของขอบใบ)

แสดงว่า ในดินยังมีน้ำให้พืช (หญ้า และต้นไม้ที่ปลูก) ได้ใช้

น้ำทั้งสองแหล่งนี้ ถ้าสามารถนำกลับลงไปสู่ดินได้ ก็น่าจะมีประโยชน์ต่อพืชในการเจริญเติบโต

ดีกว่าจะให้ระเหยไปในอากาศในยามที่อุณหภูมิสูงขึ้น

แต่จะทำได้อย่างไร

ถ้าใช้พลาสสติกมาคลุมหญ้าไว้ น้ำที่ถูกคายออกมาก็จะถูกขังในพลาสติก

เช้าๆพอเข้าสวนก็สบัดพลาสติกนั้น หยดน้ำก็จะหล่นลงพื้นดิน

จะมาก น้อย ก็ขึ้นอยู่กับว่า พืชคายน้ำออกมาเท่าไหร่ และหยดน้ำจากน้ำค้าง

ซึ่งอยู่ด้านบนของพลาสติก ก็จะถูกสบัดให้ลงไปในดินด้วย

ข้อความในย่อหน้าข้างบน ได้จากการคุยกันกับ ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ในตอนเช้าวันนี้

โดยวิธีการ ผมนั่งนึกเอาเอง แล้วจะลองไปทำดู ว่าจะเป็นไปได้ตามที่คิดไว้หรือไม่

ความเห็น

    ผมก็ว่า โดยหลัก แล้ว น่าใช่ ครับ ... จะแล้งปานใด ความชื้นก็มีอยู่ ... ส่วนจะมาก จะน้อย ก็อยู่ที่ปัจจัยแวดล้อม ...

     แต่ถ้าจะรักษาความชื้น โดย ... คลุมพลาสติก ... ต้องคำนึงถึงการสังเคราห์แสงของพืชด้วย ... คือคงต้องใช้พลาสติกใส หรือ ขุ่น ... ไม่งั้น ... ผมคิดเอาเองว่า ... พืชที่ถูกคลุม อาจตายได้

    ลุงทดลอง ได้ผลอย่างไร กรุณา นำมาเล่าเป็นวิทยาทาน กันบ้างนะครับ

คงใช้พลาสติกเก่าๆ คลุมหญ้า คลุมไว้ตอนเย็น หัวเช้าก็ไปสะบัดๆ (แต่ต้องหาถุงพลาสติกลูกใหญ่ๆให้ได้ก่อนครับ)

   เข้าใจหางาน ... เนาะ ลุงเนาะ ...

       แต่ปฏิเสธยาก ... ว่า ... นี่ คือความสุข นะจะขอบอก

การคลุมพลาสติก  เราก็ต้องลงทุน(เปลืองเงินหลาว)  ถ้าแค่ต้องการน้ำที่ระเหยมา  ไม่คุ้ม  รดน้ำหรือปล่อยไปธรรมดาดีกว่า  ที่เขาคลุมดำ  เขาลงทุนเืพื่อไม่ให้หญ้าขึ้นและให้ผลผลิตเร็วได้ราคา

แต่ถ้าแค่ทดลอง  เปรียบเทียบ2จุด เพื่อดูความต่าง..ก็น่่าลอง  เพราะป้าเล็กก็ชอบลองเหมือนกัน

ว่าทดลองทำดูครับ ว่าจะพอได้น้ำหรือไม่

จากการสังเกต

ดินที่บ้าน เป็นดินถม  เป็นดินมาจากที่เดียวกันทั้งแปลง  จุดที่ดินดีคือจุดที่มีหญ้า(ไม่ได้ใส่ปุ๋ย)เพราะรดน้ำผักแล้วก็โดนทางเดิน  ส่วนจุดที่แ้ห้ง  คือทางเดิน ระหว่างต้นไม้  ดินโล้นๆ  ขุดไม่ลงไม่มีสารอาหารเลยหญ้าก็ไม่ขึ้น  คิดว่าจะปลูกหญ้า  แล้วดินจะดีขึ้น  เพราะเคย ปลูกผัก  ปลูกกล้วย  ตายหมด  คือขึ้น  แล้วก็อยู่เฉยๆ  ไม่โต  สักพักตาย  ก็เลยว่า  ตรงนั้นจะปลูกหญ้า  ไม่ได้ลงทุนไหร  แค่ขุดหญ้าจากที่หนึ่งไปวางๆแล้วรดน้ำ   ต่อไปก็ตัดหญ้า  คิดว่าจะดูดีขึ้น

ดินถม เขาจะใช้ดินชั้นล่าง ซึ่งมีอาหารพืช แต่ไม่มีอินทรียวัตถุ ลองคลุมดิน โดยใช้ เศษพืช เช่น ใบตอง ใบข้าวโพด ฟาง เปลือกกล้วย ฯลฯ ทิ้งทับถมไปเรื่อยๆ ดินก็จะดีขึ้น ปลูกต้นไม้ขึ้น

จะเอากันขนาดเช้าๆไปสะบัดน้ำค้างเลยหรือลุง?

ดร.สมพร หลบบ้านแสดงว่า 

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

เมื่อเช้าเข้าไปดูแล้ว น่าจะมีน้ำให้สะบัดได้ครับ

ดร.สมพร ชวนไปเที่ยว สุรินทร์ ครับ ถ้าไม่ติดอะไรคงจะติดรถไปด้วยครับ

ผมเคยเห็นในสารคดี เขาเอาผ้าขาวบางมาลูบบนใบหญ้าครับ แล้วก็นำมาบีบน้ำ เอาไว้รดน้ำต้นไม้ต่อไป ไม่ทราบว่าจะยุ่งยากมากแค่ไหนครับ

หน้า