มะพร้าว ... ประโยชน์นาๆ.. กับ .. ภูมิปัญญาที่ถูกเมิน

หมวดหมู่ของบล็อก: 

       คงไม่มีแม่บ้านท่านใด ที่ปรุงอาหารเอง ปฏิเสธ  ว่า ปัจจุบัน ราคากะทิ และมะพร้าวผล เป็นปัจจัยหนึ่ง ที่สร้างความกระอักกระอ่วนใจ ได้ไม่น้อยใน เพราะกะทิสด ตก กิโลกรัมละ 60 - 70 บาท แถมไม่ค่อยมันซะอีก เพราะมะพร้าวไม่ห้าวจัด  ส่วนมะพร้าวผล ก็ตกใบละ 18 - 20 บาท 


       ที่จริง ไม่ได้ตั้งใจจะเขียนถึงกะทิ และราคากะทิหรอกครับ แต่ไหนๆ จะเขียนเรื่องมะพร้าว หากไม่พูดถึงเรื่องนี้ด้วย ก็คงไม่ In trend และไม่สมบูรณ์


       สิ่งที่ข้าพเจ้าจะนำเสนอแก่ สมช. ในบันทึกนี้ คือผลิตภัณฑ์ จากใบและก้านมะพร้าว อันเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่นับวันจะถูกเมิน เพราะเราต้องการความรวดเร็ว ผสานกับ ขี้เกียจมานั่งทำให้เหนื่อย (ที่จริงไม่เหนื่อย แถมสนุก และเกิดสมาธิ) ที่ข้าพเจ้านำเสนอวันนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำได้ง่ายๆ 2 อย่าง



 


       อย่างแรก กระเปาะหุ้มผลไม้ กันแมลงศัตรูเข้าไปเจาะ วางไข่ ซึ่งสานจากทางมะพร้าว 1 คู่ ทางมะพร้าวแต่ละทาง ตัดให้เหลือใบติดไว้ 4 ใบ นำมาสานด้วยลายขัดง่ายๆ


 


 


 


 


 


   



 


ซึ่งเมื่อสานเสร็จแล้วก็จะมีรูปร่าง อย่างนี้ 


ชาวบ้านเรียกเจ้าที่เห็นอยู่นี่ ว่า  “กล”


 


 


 


 


 



 


 


 


 


     กล ที่สานเสร็จแล้ว นำไปใช้หุ้มผลไม้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นจำพวก ขนุน หรือจำปาดะ  ที่เห็นนี่ ห่อขนุน ครับ 


            ไมใช่เคล็ด ..... และไม่ลับ! 


จึงบอกได้ดังๆ.... ว่าต้องหุ้ม ขณะที่เพิ่งติดผลอ่อน...


ความมหัศจรรย์ ของเจ้า “กล” นี่ คือเราเห็นๆ อยู่ ว่าเขาหุ้มไม่สนิท ซะทีเดียว ยังมีช่องให้เห็นผลไม้ที่เราหุ้มอยู่ แต่แมลงก็เมิน ครับ แถมเมื่อผลที่ถูกหุ้มโตขึ้น เขาก็จะขยายตามออกมาด้วย และน่าทึ่งตรงที่เมื่อผลไม้สุก เราเก็บมาแกะเอา กล ออก ผิวผลไม้จะสวยมาก คือจะมีสีเหลืองอ่อนๆ เป็นคารางฟันปลา Contrast กับสีเขียวเข้ม สวยครับ สวยกว่าหุ้มด้วย กระดาษ หรือถุง ... Confirm  


 อีกผลิตภัณฑ์ ทำจาก ก้านมะพร้าวครับ ....แฮะๆๆ ..... ไม่ใช่ไม้กวาดหรอกครับ  นี่ไง ... นึกออกรึยัง ว่าคืออะไร   …. ก็เสวียน ไว้รองก้นหม้อไง ครับ


 



 


…. และจากเสวียน จะแปลงร่างเป็นถาดใส่ผลไม้เก๋ๆ ….. ก็เข้าที


   …….วิธีการสานเหมือนกันครับ


……. เพียงตอนเราดึงก้านตกแต่งรูปร่าง ก็อาศัย แนวคิดดัดแปลงเอาเอง


 


 


       เรายังสามารถนำส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าว มาทำอะไรได้อีกเยอะครับ ไม่ว่า กะลา แผ่นรกที่หุ้มคอ จั่น ..... แถมรากยังใช้เป็นสมุนไพรซะด้วย    แต่วันนี้....ได้กลิ่นปาก กลิ่นคอ พอควรแล้ว ... ก็ ... ขอหยุดก่อน นะครับ.....


หวัดดี ... 

ความเห็น

วิธีสานกล หนูยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ อยากเอาไปใช้ดูบ้างนะคะ ลองทำแล้วไม่เป็นถุง ต้องทำยังไงคะ น่าจะผิดตอนเริ่มบวกตอนแรก ต้องขึ้นยังไงเอ่ย

ป๋าเล่าอีกหน่อยนะคะ ขอบคุณคะ 

 

ตอนนี้เว๊บลุงมีปัญหา หลานแก้วเห็น บล๊อก ลุงแล้วขัดตาไหมละ


  ลุงเองยวังดูขัดๆ เลย แต่ไหนๆ ลงมือเขียนแล้ว ก็ต้องดันทุรัง จนจบ


เอาเป็นว่าวิธีสานกล ไว้ไร้ป้ญหาเว้บ แล้วเล่า นะครับ


แต่ถ้าตอนนี้หลานมีภูมิปัญญา อยู่ใกล้เคียง ศึกษากับเขาไปก่อนก็ได้นะ

สมัยก่อน  บ้านไหน  เกิดลูก   ปู่ย่าตายาย  จะปลูกมะพร้าวให้1ต้น   แต่ว่า  คนแต่แรก  ลูกดก   5-13คน   เขาก็ปลูกให้แต่คนหัวปี  แต่มะพร้าว  มีประโยชน์จริงๆ   และก็มีคนพูดถึงกันแล้วเรื่องทำน้ำมันไว้ทำกับข้าวเองกันเถอะ   ไขมันจากมะพร้าว   สลายง่าย  แต่ว่ามีช่วงหนึ่ง  เขาต้องกาขายน้ำมันปาล์ม  น้ำมันถั่วเหลือง   ช่วงนั้น  เขาก็โจมตีน้ำมันมะพร้าวว่า  มี  คาเล็ตเตอรร่อน  สูงเกินไป 

"กล " เคยเห็นค่ะแต่ที่บ้านหนูเค้าเรียกโคระ   ในห้องภูมิปํญญาท่โรงเรียนก็มี


ที่สำคัญเปลือกมะพร้าวเอามาแช่น้ำ ทุบแล้วนำมาควั่น(พัน)เป็นเชือกได้ด้วย อันนี้ครูวิชาสังคมเอามาให้ดู

ลุงทำรูปสัตว์จากใบมะพร้าวเป็นหรือเปล้าค่ะ  อยากให้นำมาเสนอจัง อยากทำตั๊กแตนจากใบมะพร้าว

 

ลุงพาโลครับ เพลงนี้เหมาะกับ เรื่องมะพร้าวในเมืองไทยตอนนี้ครับ ตอนที่มะพร้าวถูกๆ คนไทยไม่นิยมใช้น้ำมันมะพร้าวกัน แต่พอ แมลงกัดกินต้นมะพร้าวจนเหลือน้อยเต็มที เราต้อง import มาจากพม่า จากอินโด รง น้ำกะทิต้องหยุดงาน

   ที่จริงเครื่องผมมีปัญหาครับลุงพูน กำลังแก้ เลยไม่ได้ตอบใคร


เห็นความตั้งใจของลุง แถมมีเพลงเพราะๆ เพลงของสองพี่น้องนี้ คือนริศ และ วรนุช ถูกใจทุกเพลงครับ


ชอบคุณมากๆ ครับ

อยากได้วิธีถักเสวียนค่ะ นานเท่าไรก็รอได้ค่ะ

แผ่นดินไหนก็ไม่มีความสุขเหมือนแผ่นดินเกิด อยากกลับบ้านจัง

ทดสอบ

ประโยชน์ของมะพร้าวมีมากมายอย่างที่ทราบ....แต่ตอนนี้ชาวสวนแทบจะไม่มีลูกให้ขายแล้วเนื่องจาก อ.ทับสะแก เกิดภัยแล้งผิดปกติมานานนับปี  และยังมีโรคมะพร้าวระบาดยืนต้นตายเป็นแถว....ตอนนี้ชาวสวนมะพร้าวกำลังแย่คะ...ที่สวนของแม่ก็ไม่มีลูกเลย

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

ตอนนี้กินหนมหวานไม่หรอยเลยลุงพาโลเห้อ  น้ำทิแพง    :confused:

หน้า