พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ
ผมกับเจ้เจ้าของบ้านนั้น ยึดมั่นในระบบพลังงานแบบยั้งยืน ครื่องทำน้ำร้อนที่บ้านก็ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้ง ตั้งแต่เริ่มปลูกบ้าน ระบบแพงหน่อยแต่ สบายใจและ รัฐก็ช่วยเหลือด้วย เมื่อทางรัฐมีโครงการช่วยเหลือเงินค่าติดตังพลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟ เพื่อใช้ในบ้านขึ้นใหม่ ผมสองคนก็ขอติดตั้ง ไว้ใช้เลย ใช้งานมาได้เกือบปีแล้วครับพลังงานแสงอาทิตย์แบบครบวงจรนี้ ในบล็อกไม่มีข้อมูลการติดตั้งนะครับ มีแต่ภาพและระบบการซื้อขายไฟฟ้าแสงอาทิตย์เท่านั้นใครสนใจทำติดใช้เองผมไม่มีข้อมูลนะครับ
ผลังงานแสงอาทิตย์แบบนี้ ไม่มีหม้อสะสมไฟในบ้านนะครับ ถ้าเราผลิตไฟได้มากเกิน เราต้องขายให้กับ ทางการไฟฟ้า และทางการไฟฟ้าในแต่ละรัฐก็ให้ราคารับซื้อต่างกัน และ ยังอยู่ในช่วงเวลาด้วย ผมติดตั้ง ช่วงแรกๆ ในรัฐผม รับซื้อ สี่สิบเจ็ดเซนท์ การไฟฟ้า ขาย ยื่สิบเจ็ดเซนท์ เราขายให้การไฟฟ้า แพงกว่าซื้อจากการไฟฟ้า ครับ แต่ตอนนี้นั้นถ้าใครติดตั้ง ทางรฐ ซื้อขาย ราคาเดียวกัน ผมโชคดีอยู่ในระบบเก่า ระบบแบบนี้ดี ที่ ปลอดภัยและสร้างรายได้ แต่ข้อเสียคือ ถ้าไฟดับ พลังแสงอาทิตย์ เราก็ ดับไป ด้วยครับ การซื้อขายแบบนี้ ดีตรงที่ ทางรัฐก็ได้แหล่งผลิตพลังงานเพิ่ม และทางผมก็เพิ่มรายได้ ทุกวันนี้ คิดไว้ สามปีก็จะคืนทุน จากนั้นต่อไปอีก สิบสองปี ก็จะหาเงินได้จากการขายพลังงาน จนกว่าแผงพลังงานจะ หมดอายุ เงินอาจไม่มากมายอะไร แต่สุขใจ และไม่สร้างมลพิษมากครับ
ภาพแรก และภาพสอง นั้น เป็นของเพื่อนบ้านผมครับถ่ายภาพง่ายหน่อย บ้านหลังหนึ่ง ครอบครัว สี่คนจะใช้ หนึ่งจุดห้า ถึง สามจุดห้า กิโลวัตว์ ครับ
ภาพนี้บ้านผม แผงพลังงานเล็กๆด้านบน เป็นของเครืองทำน้ำร้อน แผงใหญ่ด้านล่างเป็นแผงพลังงานไพฟ้าใช้ในบ้าน
อันนี้เป็นหม้อ แปลงไฟ และแผงควบคุมพลังงานแสงอาทิตย์ที่บ้านครับ ต่อตรงเขากับ มิเตอร์ วัดว่าเราผลิดได้เท่าไหร่วันนี้ จากนั้นการไฟฟ้า เขาจะ คำนวนไป ว่าเราใช้เท่าไหร่ ขายได้เท่าไหร่ ต้องซื้อเพิ่มไหม
เมื่อถึงกำหนดทุกสองเดือนการไฟฟ้า เขาก็จะส่งใบเสร็จ มาให้ ทราบยอดเงิน ว่าขายได้เท่าไหร่ และยอดขายแต่ละเดือนเป็นอย่างไร เปรียบเทียบ เป็นปีให้ด้วย เงินถ้ามีเยอะ เราจะไปเบิกมาใช้ก็ได้ครับ หน้าหนาวจะผลิตได้น้อยหน่อย ครับ เพราะแดดออกน้อย หน้าร้อนจะ ผลิตได้มากขึ้น ครับ เราก็มีรายได้มากหน่อย
คุณลุงที่เลี้ยงวัวนั้น บ้านท่านก็ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ แบบซื้อขาย กับ ทางการไฟฟ้า และ ท่านก็ต่อใช้เองด้วย ที่เห็นด้านบนเป็นเครืองสูบน้าจากบ่อน้ำคุณลุง ครับ ตัวเครี่อง จะติดทุนลอยอยู่ กลางสระ แผงผลังงาน ก็วางกับพื้นริมขอบ สระ ง่ายๆเลย สังเกตุดีๆ จะเห็นทุ่นเป็นวงขาวๆ ลองอยู่ด้านบนของภาพครับ
ด้านบนเป็นของบ้านเพื่อนอีกท่านครับ บนหลังคาเขาจะเห็น สองชุดเลย สมัยนี้มีแบบออกใหม่อีกครับแผงผลังงาน หันปรับไปตาม ดวงอาทิตย์ ครับ สร้างผลังงานได้สูงสุด
สำหรับผมสองคน ในอนาคต ก็จะ ติดตั้งแผงพลังงานเพิ่มครับ ถ้ามีสมาชิกในบ้านเพิ่ม เมื่อหมดอายุการใช้งานก็ เปลี่ยนใหม่ เทคโนโลยี ก้าวหน้า เร็วครับ สิปปี ข้างหน้า แผงพลังงานต้องเล็กลง และผลิตพลังงานได้มากขึ้น ครับ ผลังงานไฟฟ้า เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าเราสร้างเองได้ แบบยั้งยืน เราก็ทำเอง ลงทุนมากหน่อย แต่ก็ ดีกับสิ่งแวดล้อม ครับแผงผลังงานสำเร็จรูป ในต่างประเทศ มีขายทั่วไป ครับ ติดต่อ ติดตั้งไม่ยาก ยิ่งมีหน่วยงานรัฐช่วยด้วยยิ่ง สบายใหญ่ ครับ ประเทศไหน ระบบต่างกัน อย่างไร เล่าสุ่กันฟังบ้างนะครับ
แล้วเจอกันในบล็อกต่อไป ครับ
ตุ้ย คนสวน กับ เจ้ เจ้าของบ้าน
- บล็อกของ Tui
- อ่าน 9230 ครั้ง
ความเห็น
พุทธรักษา
7 พฤศจิกายน, 2012 - 17:41
Permalink
Re: พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ
:admire2: ป้าเหนือใส่หมวกเท่ห์มากค่ะ เก่งจังปีนหลังคาเองเลย
auttaya
7 พฤศจิกายน, 2012 - 19:32
Permalink
Re: พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ
:love: ป้าเหนือเก่งจัง เท่ด้วยปีนหลังคาบ้านเองเลย
คิม_เขาเขน
7 พฤศจิกายน, 2012 - 20:49
Permalink
Re: พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ
ป้าเหนือ สมชื่อเลยครับ
ติดตั้งแล้วใช้งานเป็นยังไง อย่าลืมเก็บมาเล่าให้ฟังนะครับ
ขอบคุณครับ
Tui
7 พฤศจิกายน, 2012 - 22:36
Permalink
Re: พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ
ป้าเหนือทำได้ทุก อย่างเลยครับ บ้านคุณป้า น่าอยู่ ผมก็ ท้องป่อง เหมือแพะไป ด้วยครับ ป้า อิอิ
priraya
7 พฤศจิกายน, 2012 - 12:47
Permalink
Re: พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ
พลังงานสะอาดๆจากธรรมชาติ...ดีค่ะ
Tui
7 พฤศจิกายน, 2012 - 22:33
Permalink
Re: พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ
ขอบคุณ ครับ พี่
แก่
7 พฤศจิกายน, 2012 - 12:58
Permalink
Re: พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ
กำลังสนใจเรื่องพวกนี้อยู่พอดี เพราะกำลังจะขอไปอยู่กับหน่วยที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเพื่อความมั่นคง บ้านเราน่าจะมีการศึกษา วิจัย และพัฒนาให้มากกว่านี้ จะให้ทหารทำคงยาก เพราะงบประมาณมีน้อย และอีกอย่าง มันไม่ใช่ภารกิจหลัก
Tui
7 พฤศจิกายน, 2012 - 22:32
Permalink
Re: พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ
สวัสดีครับพี่ ยังไงเป็นกำลังใจให้ครับ โครงการต่อไป จะ หมักแก็ซธรรมชาติใช้เอง เริ่มต้นง่ายราคาถูก ด้วย
rose1000
7 พฤศจิกายน, 2012 - 13:14
Permalink
Re: พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ
เป็นสิ่งหนึ่งที่อยู่ในความสนใจ ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม แต่ในเมืองไทยรัฐไม่ค่อยจริงจัง ไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรม
Tui
7 พฤศจิกายน, 2012 - 22:29
Permalink
Re: พลังงานแสงอาทิตย์ในต่างประเทศ
สวัสดีครับพี่ ค่อยเป็นค่อยไป นะครับ ซักวันต้องเป็นที่นิยม
หน้า