-

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ความเห็น

มาให้กำลังใจ และสนับสนุนโครงการปุ๋ยหมักพอเพียง และจะค่อยแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ภายหลังในสองสามวันนี้ เนื่องจากปัญหาสุขภาพ ต้องพักผ่อน และฟื้นฟูอีกพอสมควร แต่คงจะมาให้แนวทาง และกำลังใจต่อเนื่อง

โหวตให้นะครับ

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

รักษาสุขภาพด้วยครับ แล้วเอาความรู้มาแลกเปลี่ยน แบ่งกัน

อ่าน

มาคราวนี้....จัดวิชาการสุดๆดีเยี่ยมน้อง...:admire:

 

:cheer2:

กำลังทำอยู่เหมือนกันครับ สนับสนุนครับ

นับเป็นเรื่องวิชาการดี ทำให้รำลึกวิชาที่เรียนมา อันที่พี่จบส่งเสริมการเกษตรมา


แต่ปัจจุบันทำงานวางแผนการผลิตสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน


สู้คนที่ลงมือทำไม่ได้ อันนี้ยิ่งใหญ่กว่า

:confused: จัดหนักอย่างนี้ก็ต้องเก็บความรู้ให้เยอะๆละครับ Laughing

ภาษาไทยเป็นภาษาของชาติไทย เรามาร่วมรณรงค์ใช้ภาษาไทยให้ถูกกันดีกว่าครับ

ขอเรื่องต้นใผ่มั่งซิครับ ผมสนใจจะปลูกใผ่ครับ

ผมลงเรื่องการปลูกไผ่แล้วนะครับ ลองค้นหาดู อยู่วันที่ 28 เมษายน ครับ


แล้วก็แจกไผ่ตงลืมแล้งด้วยแต่หมดแล้วครับ

อ่าน

สิ่งที่ต้องพิจารณา ศึกษาทดลอง เรื่อง ปุ๋ยอินทรีย์ หรือแม้แต่ ปุ๋ยหมักตื่นตัว มีหลายเรื่อง อาทิเช่น

 

  1. จะขอไม่กล่าวถึง ปริมาณจุลินทรีย์ และอินทรีย์วัตถุ ในช่วงแรก เพราะอยากจะให้คิดง่ายๆขึ้น เวลาเปรียบเทียบกับ ปุ๋ยเคมี โดย สิ่งแรกที่ ปุ๋ยอินทรีย์ เราเสียเปรียบมากๆ คือ มีปริมาณ ธาตุอาหารหลัก ต่ำมาก ถ้าเปรียบเทียบกับ ปุ๋ยเคมี ที่มีการส่งเสริมอยู่ในพืชเศรษฐกิจ ยิ่ง ถ้าเราต้องใช้วัสดุที่มี ซีเอ็น เรโช สูง ผสม เช่น ขี้เลื่อย แกลบสด เป็นต้น โอกาสที่จะได้ ธาตุอาหารหลัก โดยเฉพาะ ไนโตรเจน สูงเกิน 2% มีน้อยมาก ถ้าไม่มีประสบการณ์ และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีพอ
  2. ที่สำคัญยิ่ง ที่เราเสียเปรียบมาก คือ มีปริมาณธาตุอาหารที่นำมาใช้ประโยชน์ หรือละลายน้ำมีค่าต่ำมากๆ เช่น โดยทั่วไป ปริมาณ ไนโตรเจนที่ละลายน้ำ และใช้ประโยชน์ได้ทันที ในปุ๋ยอินทรีย์เกือบทั้งหมด มีไม่เกิน 30%(ถือว่าสูงมากแล้ว แต่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับ ปุ๋ยเคมีที่แนะนำทั่วไป ซึ่งหลายๆชนิด ละลายน้ำได้มากกว่า 95%)
  3. ข้อเสียเปรียบต่อมา คือ ความไม่สม่ำเสมอใน ธาตุอาหารพืชที่ได้จากปุ๋ยอินทรีย์ หรือแม้แต่ปุ๋ยหมัก เนื่องจากปัจจัยหลายๆอย่าง 
  4. เมื่อรวม อย่างน้อยข้อเสียเปรียบ 3ข้อหลัก ข้างต้น ทำให้ ต้นทุนการนำไปใช้ ต้นทุนการขนส่ง ความมั่นใจในการผลิตพืช ให้ได้ทั้งปริมาณ คุณภาพ และกำไรที่คาดหวัง เสียเปรียบ มากๆ โดยเฉพาะจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมี อย่างใด อย่างหนึ่ง ในการผลิตพืชเศรษฐกิจ
  5. ที่สำคัญยิ่ง ที่ไม่ว่าจะใช้ปุ๋ยอะไร คือ การตอบสนอง ต่อธาตุอาหารพืช ต่อผลผลิตพืชที่เราปลูก เช่น ถ้าเราใช้ปุ๋ย ไนโตรเจน 1กก. จะให้ผลผลิต ข้าว 10-15กก. ข้าวเปลือก(ข้าวเหนียว) ให้ หัวมันสำปะหลัง 30-40กก. ให้ผลผลิตแตงโม 50กก. (สามารถ ตรวจสอบเอกสาร ตัวเลข ที่แน่นอน ตามศุนย์ สถานี วิจัยต่างๆ)
  6. ขยายความเฉพาะ ข้าว ถ้าดินที่เราทำนา มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก มีอินทรีย์วัตถุต่ำมาก ถ้าเราไม่ใส่ปุ๋ยอะไรเลย ถ้าจะได้ผลผลิตในช่วงแรก อาจจะได้ผลผลิตข้าวเปลือกเพียง 10ถัง(100กก.) ต่อไร่ ถ้าเราฝันว่า อยากได้ ไร่ละ 100ถัง หรือ หนึ่งเกวียน ก็ต้องใช้ ปุ๋ยไนโตรเจน 60-90กก.(ไนโตรเจน)(มากๆเกินไปในทางปฏิบัติ) ให้ได้ผลผลิตข้าวเปลือก(เหนียว)ในฝัน ถ้าฟ้าฝน โรคแมลง ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบ หรือถ้าธาตุอาหารไม่สมดุลย์ ต้นข้าวสูงเกิน ล้มก่อน ผลผลิตลดลงอีก
  7. และอุปสรรคในการเพิ่มผลผลิตในนาข้าว เมื่อใช้ ปุ๋ยอินทรีย์คือ ที่ได้กล่าวมาในข้อแรก คือ มีปริมาณธาตุอาหารที่นำมาใช้ประโยชน์ หรือละลายน้ำมีค่าต่ำมากๆ  ดังนั้น การตอบสนองต่อ ปุ๋ยอินทรีย์ โดยเฉพาะ ไนโตรเจน มีต่อผลผลิตต่ำมากๆ เพียง 1:2 เท่า หรือ 1:3 เท่า อาจจะน้อยกว่านั้นอีก เมื่อเปรียบเทียบกับ ปุ๋ยเคมีสูตรแนะนำ ที่ 10-15เท่า และถ้าใช้ไม่ถูกวิธึ  นาข้าวอาจจะเผือใบ ล้มก่อนเก็บเกี่ยวอีก ดังนั้น ต้องใช้เวลาเรียนรู้ ปรับแต่ง ให้เหมาะสม ซึ่งค่อนข้างจะยากมาก ถ้าต้องการให้ได้ ปริมาณผลผลิต คุณภาพ ต้นทุน รักษาสภาพแวดล้อม ไปพร้อมๆกัน แม้ว่า จะยาก แต่ถ้า ครอบครัวเกษตรกร ทำงานร่วมกัน(โดยเฉพาะ ผู้หญิง) ช่างสังเกต ทดลอง เพราะ ในการดำนา เกี่ยวข้าว ผู้ที่มีบทบาทสูงสุด( และปิดทองหลังพระ คือ สตรีเพศ) ก็อาจจะทำฝันให้เป็นจริงได้ แม้ว่า จะมีโอกาสน้อยมากก็ตาม
จบภาคแรกครับ

 

เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ การทำปุ๋ยหมักตื่นตัว และสวนผักปลอดภัย

 

 

หน้า