อะไรเอ่ย......ใครรู้จักบ้าง.....ไม่มีวัวก็ไม่มีให้ดู

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ความเห็น

หนอนอะไรนั่น น่ากลัวจัง อย่าบอกนะว่าเอามากิน

แผ่นดินไหนก็ไม่มีความสุขเหมือนแผ่นดินเกิด อยากกลับบ้านจัง

ทดสอบ

ขนลุกเลยค่ะ :freezing:

หลายตัวด้วย :crying2:

ข้อยคนอีสานแท้ๆ ข้อยฮู้จักจ้า...มันคือ "เบ้า" ตัวอ่อนของแมงกุดจี่ แต่ที่เห็นในรูปมันยังเป็นแมงบ้งโ่ก่ อยู่ :sweating: เฮ้อไม่รู้จะอธิบายยังไงถูก

น้องคือบ่เคยเห็น

 

สรุปว่ามันแซ่บบ่ :uhuhuh:

""

 

เด็กรุ่นใหม่ๆ จะไม่ค่อยรู้จัก ควายก็บ่ค่อยมี มันอยู่ในรูใต้กองขี้ควาย...

ผมเคยอ่านเจอ เขาเรียกกันว่า "เบ้า"

ซื้อขายกันกอโลกรัมละตั้งหลายร้อยแน่ะ :sweating:

แพงๆอย่างนี้ต้องไปเก็บขายบ้างแล้ว แต่อย่าบอกนะว่าเขาเอามากิน

แผ่นดินไหนก็ไม่มีความสุขเหมือนแผ่นดินเกิด อยากกลับบ้านจัง

ทดสอบ

เวรกรรม ผมบอกไปว่ากิโลกรัมล่ะหลายร้อย

ผมไปตามหาข่าวมา ไม่ใช่ซะหน่อย ฮ่ะๆๆ ....อ่ะอ่านครับ :shy:

 


ประชาชนน่าน แย่งซื้อบักขี้เบ้า หนอนตัวอ่อนแมงจู้จี้ อาหารชั้นเลิศ โปรตีนสูง หายากมีมากช่วงหน้าหนาวใต้กองขี้ควาย แม่ค้าพ่อค้าซื้อจากชาวบ้าน นำมาขายต่อเอากำไร ตกอยู่ที่ 25ลูก  100บาท วันหนึ่งขายได้เงินถึง 4,000 - 5,000บาท

ประชาชนทั้งข้าราชการ และคนทั่วไปต่างแย่งกันซื้อบักขี้เบ้า  ที่แม่ค้านำขึ้นรถมาจอดขายข้างถนนในอำเภอทุ่งช้าง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน  เพื่อนำไปประกอบอาหาร  ซึ่งปีหนึ่งจะหาได้ช่วงหน้าหนาวโดยเฉพาะปลายหนาวต้นร้อนเท่านั้น  โดยแม่ค้าจะซื้อจากชาวบ้านที่ไปหาตามใต้กองขี้ควายในหมู่บ้าน หรือตามฝูงควายที่ถ่ายมูลไว้ตามป่า โดยแม่ค้าบอกว่า ซื้อจากชาวบ้านแล้วนำมาขายในราคา 25ลูก ราคา 100บาท เท่ากับลูกละ 4บาท โดยช่วงนี้บักขี้เบ้าจะมีมาก การนำไปขายแต่ละครั้งละกว่า 1,000ลูก รายได้ดี วันหนึ่งจะขายได้เงินถึง 4,000 -5,000บาท

โดยชาวบ้านที่มา ซื้อต่างบอกว่า  บักขี้เบ้าเป็นอาหารชั้นเลิศ มีโปรตีนสูง ที่สำคัญหายากมาก ปีหนึ่งจะได้ลิ้มรสชาติสักครั้ง  ซึ่งสามารถนำไปแกงกับผักหวาน ผักชะอม หรือ ผักพื้นเมืองที่ขึ้นตามป่า และแกงกับผักชะอม อร่อยมาก โดยกรรมวิธีในการกินก็จะนำตัวอ่อนในลูกกลมๆ ไปชำแหละเอาขี้หรือไส้ตัวอ่อนที่เป็นหนอนออก แล้วนำไปทำอาหาร นอกจากนั้นยังนำไปต้มกินกับน้ำพริกพื้นบาทได้

สำหรับขี้เบ้าเป็นคำ พื้นบ้านของเกษตรกรภาคเหนือที่ใช้เรียกรังของตัวอ่อนแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนกลมขนาดประมาณลูกเทนนิส ส่วนตัวเต็มวัยหรือแมลงพ่อแม่เรียกว่า แมงซู่ซ่า หากจับจะส่งเสียงร้องดังซู่ซ่า ๆ ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อ แมงซู่ซ่าเป็นแมลงปีกแข็งที่มีขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายแมงกุดจี่ของทางภาคอีสาน แต่ตัวโตกว่ามาก ขนาดความยาวตั้งแต่ปากจนถึงก้นประมาณ 4.5เซนติเมตร ความกว้างลำตัวประมาณ 3.5เซนติเมตร หรือบางแห่งเรียกว่าแมงจู้จี้ แมงซู่ซ่ามีวิถีชีวิตผูกพันอยู่กับขี้ควายตั้งแต่เกิดจนตาย  จากการสอบถามเกษตรกรยังไม่ เคยมีใครพบเห็นแมงซู่ซ่าอาศัยอยู่กับขี้วัวเลย ขี้วัวโดยทั่วไปจะเห็นเฉพาะแมงซีหรือทางอีสานเรียกแมงกุดจี่เท่านั้น   และประมาณช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม ตัวเต็มวัยเมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะบินไปหากองขี้ควายที่ใหม่ ๆ สด ๆ เพื่อเป็นแหล่งอาหารและวางไข่  โดยแม่พันธุ์จะใช้ปากที่แข็งแรงคล้ายผาลของรถแทรกเตอร์ขุดรูใต้กองขี้ควาย ขนาด ความลึกประมาณ 1ศอก หรือบางหลุมอาจจะลึกกว่านี้โดยก้นหลุมจะทำเป็นโพรงขนาดใหญ่ จากนั้นแม่พันธุ์จะวางไข่บนขี้ควายแล้วกิจกรรมปั้นก้อนขี้ควายที่มีไข่อยู่ ภายในก็เริ่มขึ้น โดยใช้ปากดันถอยหลัง ขาหลังทำหน้าที่ปั้นก้อนขี้ควายให้เป็นก้อนกลมขนาดใหญ่แล้วลำเลียงขนลงไปไว้ ในโพรงก้นหลุมที่ทำไว้ แล้วจะกลับขึ้นมาวางไข่และปั้นก้อนขี้ควาย ขนลงหลุม ทำจนกระทั่งขี้ควายหมดกอง ซึ่งในแต่ละหลุมนั้นมีจำนวนก้อนบ่าขี้เบ้าไม่เท่ากัน บางหลุมมีถึง 15ก้อนและขนาดไม่เท่ากัน หากเป็นก้อนขี้เบ้าจากควายหงาน (พ่อควายตัวโต ๆ ขึ้นเปรียว) ก้อนขี้เบ้าก็จะมีขนาดใหญ่ตาม หลังจากปั้นก้อนขี้ควาย ส่งลงหลุมหมดกองแล้ว แม่พันธุ์จะลงไปขุดเพื่อขยายโพรงให้กว้างโดยลำเลียงดินขึ้นมาไว้บนปากรู เกษตรกรที่ไปหาบักขี้เบ้าก็จะอาศัยการสังเกตกองดินที่ถูกขนขึ้นมาโดยเรียก ว่า “ขี้ขวย”เมื่อได้โพรงขนาดใหญ่แล้วแม่พันธุ์ก็จะเริ่มกิจกรรมกลิ้งก้อนขี้ เบ้าในโพรงต่อเพื่อให้ดินมาพอกก้อนขี้เบ้า อีกชั้น ไข่เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนจะอาศัยก้อนขี้ควายกินเป็นอาหารเพื่อเจริญเติบโต ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน ตัวอ่อนจะกลายเป็นดักแด้ ช่วงนี้ขี้ควายจะถูกตัวอ่อนกินหมดเหลือแต่ก้อนดินที่เป็นเปลือก ในระยะดักแด้จะไม่กินอะไรเลย เกษตรกรรู้ว่าระยะนี้เป็นระยะที่มีคุณค่าทางอาหารที่สุดและไม่มีขี้ควายใน ท้องของดักแด้ เทศกาลหาขี้ขวยของบักขี้เบ้าก็ จะเริ่มขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงต้นพฤษภาคม หากพ้นระยะนี้ดักแด้ก็จะพัฒนาเป็นตัวแก่และออกจากเบ้าดินในช่วงต้นเดือน มิถุนายน สำหรับดักแด้ส่วนใหญ่นิยมนำมาแกงกับยอดผักหละ (ชะอม) นับว่าเป็นอาหารจานเด็ด จะเห็นได้ว่าตลอดชีวิตของแมงซู่ซ่าจะผูกพันอยู่กับกองขี้ควาย   หากไม่มีขี้ควายเราก็จะไม่มีโอกาสได้เห็นบักขี้เบ้า  แหล่งอาหารโปรตีนคุณภาพสูงอีกต่อไป

 

ตัวอ่อนของกุดจี่เป็นแบบนี้เองเหรอเนี่ย:confused:

สุดมือสอย ก็ปล่อยมันไป^^ ธรรมะ จากท่าน ว.วชิรเมธี

นู๋หวิ่งก็คนอีสาน ไม่เคยเห็นและไม่เคยรู้จัก


:shock2::crying:


:crying3:


















ชีวิตไม่ได้เกิดมา เพื่อยอมแพ้

หน้า