ส่งการบ้านครูโจครั้งที่ 1

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ความจริงครูโจสั่งการบ้านหนัก  ยังทำไม่เสร็จทั้งหมด (เยอะมากๆ)  แต่วันนี้คุณครูป่วย..เลยขอส่งการบ้านบางส่วนเป็นกำลังใจคุณครูโจ

ก่อนจะเริ่มขอเพิ่มเติมข้อมูลเรื่องโปรโตซัวกำจัดหนูที่วางเหยื่อมาสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 4 สัปดาห์แล้ว ดูแล้วน่าจะได้ผลแม้นว่าจะยังไม่เคยเห็นหนูซักที โดยสังเกตุจาก (1)เริ่มมีเหยื่อบางจุดที่ไม่มีหนูมากิน (2)หมัดลดลงอย่างเห็นได้ชัด (3) แมวที่เคยอยู่ในสวนเข้ามาที่เพิงเก็บของเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และสัปดาห์นี้ดูเหมือนว่าจะย้ายไปสวนอื่น  และ (4) สัปดาห์ที่แล้วเห็นงูตัวสีน้ำตาล 1 ตัวเลื้อยออกจากสวนของเราไปสวนข้างๆ แทน  อย่างไรก็ตามหนูยังมากินเหยื่อที่เพิงเก็บของอยู่แสดงว่ายังมีเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง  เมื่อรู้สึกว่าหนูในสวนลดจำนวนลงจึงสบายใจที่จะย้ายต้นไม้ไปลงดินที่สวน

ขอเริ่มจากการบ้านแรกที่กลัวหนูที่สวนแทะเป็นที่สุด นั่นคือ "มันเลือด" ซึ่งออกรากยาวและมีใบแทงออกมาจากหัว 2 กิ่ง โดยกิ่งแรกยาวประมาณ 45 ซม. แล้วซึ่งยาวเกินกว่าที่จะอยู่ที่คอนโดแล้ว และใบกำลังจะบานออกแล้ว  โชคดีที่หนูลดปริมาณลงวันนี้จึงขนไปลงดินที่สวนให้มันเลี้อยขึ้นต้นมะม่วง

การบ้านที่สองคือ "ผักเหลียง" ที่เอาไปลงดินใต้ร่มเงาของต้นขี้เหล็กตั้งแต่สัปดาห์ก่อน (เพราะไม่มีหัวที่หนูจะมาแทะ)  โดยปักเฉียง 45 องศาตามคำแนะนำของ ผญ.โสทร ต้นแรกเริ่มแทงยอดยาวประมาณ 5 ซม. และต้นที่สองแทงยอดอ่อนๆ ออกมา 2 ยอด  กำลังลุ้นว่าจะแตกกิ่งเยอะๆ แบบที่ ผญ. บอกหรือเปล่า

การบ้านที่สามปลูกอยู่ใต้ร่มเงาต้นขี้เหล็กใกล้ๆ ผักเหลียง  แต่อยู่พื้นที่ต่ำกว่าต้น "ผักเหลียง" นั้นคือ "ผักกูด"  ซึ่งวันนี้แตกยอดใหม่แผ่ใบสวยงามดีครับ  โดยปลูกอยู่ใกล้ๆ บ่อน้ำเล็กๆ (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เมตร น้ำลึกประมาณ 20-30 ซม.)

เรื่องแสงแดดคงไม่น่าเป็นห่วง เพราะอยู่ใต้ร่มเงาของต้นขี้เหล็กซึ่งไม่ทึบมาก พื้นดินที่เห็นเป็นหินๆ แบบนี้ไม่แล้งนะครับ แม้ว่าจะฝากเทวดาเลี้ยง ผมตรวจสอบดินบริเวณนี้แล้วว่า แม้นว่าฝนจะไม่ตกดินก็ชื้นอยู่เสมอเพราะอยู่ระหว่างบ่อน้ำเล็กๆ

และร่องน้ำเล็กๆ ที่เกิดจากการตักดินไปถมริมตลิ่งให้สูงขึ้น

ส่วนร่องน้ำเล็กๆ นี้ก็จะไปต่อกับลำห้วยเล็กๆ จากต้นน้ำบนภูเขา

จากจุดที่เห็นในภาพข้างบนไปทางซ้าย  ลำห้วยก็จะไหลเอื่อยๆ ไปต่อกับอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กของกรมชลฯ

ดังนั้นเรื่องไม่มีน้ำก็น่าจะหมดห่วง  ตอนนี้กำลังลุ้นว่าเดือนตุลาคม และพฤศจิกายนน้ำจะเยอะจนท่วมบริเวณที่ปลูกต้น "ผักเหลียง" และ "ผักกูด" หรือไม่  จะติดตามทุกสัปดาห์ครับ  ถ้าท่วมเมื่อไหร่จะรีบย้ายต้นทันทีครับ  ขอให้ครูโจหายป่วยเร็วๆ นะครับ  ไม่ต้องเป็นห่วงต้นไม้ 3 ชนิดนี้ครับ

ความเห็น

ครูโจไม่สบาย ... เจอการบ้านที่ส่งต้องตรวจ เอาใจช่วยครูโจตรวจการบ้านเลยค่ะ ... ผ่านแน่ ๆ น้องนึก ... เข้าใจส่งช่วงครูไม่สบายนะคะ

ขอบคุณครับพี่สายพิณ  ต้นไม้ที่สวนต้องอดทน :crying3:  

เพราะฝากเทวดาเลี้ยงครับ :dong:   ระบบน้ำยังไม่ได้ทำ 

เลยต้องเลือกทำเลดีๆ สักหน่อย  กลัวสอบตก :shy:

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

บ้านพี่มีหนูแยะค่ะ  ถ้าวิธีไหนดีแนะนำด้วยค่ะอยากทำทุกอย่างให้หนูมันหายไปน่ะค่ะ

:sweating: พี่ดาวเรือง  ผมก็ความรู้น้อยครับ  แต่ที่บ้านแม่ก็มีปัญหาลองทั้งยาเบื่อหนู กรงดักหนู กาวดักหนู  ส่วนใหญ่แล้วหนูมันจะฉลาดมากๆ ถ้าวิธีไหนใช้ได้ผลแล้วจะใช้ซ้ำไม่ค่อยได้ผล  ต้องทิ้งช่วงหลายสัปดาห์ถึงจะใช้วิธีเดิมได้อีก ซึ่งคาดว่าจะเป็นรุ่นใหม่แล้ว (หนูอายุประมาณ 4 สัปดาห์ก็จะโตพอจะเริ่มทำลายพืชได้แล้ว  และอายุ 3 เดือนก็จะขยายพันธุ์รุ่นถัดไปได้แล้ว)  และพบว่าจริงๆ แล้วรังของหนูที่เป็นปัญหาบ้านที่บ้านแม่อยู่ในบ้านของเพื่อนบ้าน (ปกติหนูจะหากินอยู่ภายในอาณาเขตประมาณ 1400-1700 ตารางเมตร) จึงค่อนข้างยากในการจัดการ 

วิธีของกรมวิชาการเกษตรที่ผมพูดถึงในบล๊อกก่อนหน้านี้เป็นศัตรูทางธรรมชาติของหนูในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เจริญในลำไส้ของงูเหลือม  และมีลักษณะเฉพาะเจาะจงกับหนูเท่านั้น (จีงไม่เป็นอันตรายต่อสุนัข กระรอก และแมว เหมือนการใช้ยาเบื่อหนู)  รวมทั้งออกฤทธิ์ช้า (ประมาณ 10-15 วัน) ทำให้หนูจะมาทานซ้ำ  ราคาย่อมเยา(ชิ้นละ 2 บาท)  แต่...ผมไม่คิดว่าจะมีขายที่สวีเดน  และอายุของเหยือจะสั้นประมาณ 3 เดือนเท่านั้น  แถมวิธีอินทรีย์แบบนี้จะต้องใช้ต่อเนื่องกันหลายสัปดาห์จึงจะเห็นผล  ดังนั้นไม่น่าจะเป็นวิธีที่ดีในทางปฏิบัติของพี่ดาวเรืองซึ่งอยู่ต่างประเทศ  วิธีที่ 2 ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำคือเลี้ยงนกแสกซึ่งพี่ก็จะทำไม่ได้อีก   สงสัยว่าพี่อาจจะต้องหาวิธีที่เป็นวิธีธรรมชาติที่เหมาะกับทางสวีเดนแทนมั้งครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ท่าทางจะผ่านนะคะ พี่นึก:cheer3:

ชีวืตที่เพียงพอ..

:cute2: ขอบคุณครับ แต่คุณครูยังนอนซมอยู่เลย ไม่รู้ว่าจะมาตรวจได้เมื่อไร

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

รบกวนถามคุณนึกเรื่องต้นผักเหลียงค่ะ ใช้วิธีปักเฉียง45 องศา ใช้เวลาประมาณไหนถึงแตกกิ่งย่อยๆใหม่ๆออกมาค่ะ แล้วต้องนำใปปักตรงๆอีกไหมค่ะ พอดีจะหามาปลูกกินเองที่บ้านหนึ่งต้นค่ะเพราะทราบว่ามีคุณค่าทางอาหารดีและเป็นไม้ในร่มคือจะปลูกใส่กระถางไว้ในร่มค่ะ ส่วนผักกูดก็อยากหามาปลูกเอาไว้กินเหมือนกันค่ะ ขอให้ต้นไม้คุณนึกโตไวๆ รอดจากพวกหนู วัชพืขและแมลงศัตรูพืชค่ะ :cheer3: เห็นวิธีการทำงานแล้วเป็นวิชาการดีมากๆ อดชื่นชมไม่ได้ :admire:

เรื่องผักหลียงต้องถามผู้ใหญ่โสทร ผมเพิ่งเคยปลูก 2 ต้นแรกใช้เวลาประมาณ 3สัปดาห์จึงเริ่มแตกกิ่ง เรื่องปักเอียงผมเข้าใจว่าก็ทิ้งไว้แบบนั้นเลย เดี๋ยวมันก็ออกกิ่งมาทำให้สมดุลเอง. อีกอย่างต้นผักเหลียงไม่สูงจะเอียงๆหน่อยก็คงไม่เป็นไรครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ใช้เวลานานเหมือนกันเพราะเคยอ่านเจอมาว่าวิธีการปำชำสำหรับผักเหลียงจะมีอัตราการเติยโตน้อย(ช้า)ค่ะ ต้นผักเหลียงหากลงดินจะแพร่พันธุ์แบบรากไหลค่ะ นอกจากนี้จะมีวิธีการตอนในการแพ่รพันธุ์ ขอบคุณมากค่ะสำหรับคำแนะนำ


:cheer3:

ปักชำนานค่ะ ต้องขุดแยกต้นอ่อนมาเลย เร็วกว่า ปักเอียง ไว้ตลอดเลยค่ะ จะแตกยอดออกมาหลายยอดค่ะ

ตามการทดลองของ ผู้ใหญ่โสค่ะ..

หน้า