จักรยานปั่นน้ำ เวอร์ชั่นวิศิษฐ์ ตอนที่ 3 แอร์แว..เทอร์โบแบบบ้าน ๆ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

บล็อกนี้ขออธิบายการทำงานของ แอร์แว (เทอร์โบพลังแรงดันลมเพิ่มแรงสูบน้ำ) ให้เข้าใจก่อนนะครับจึงจะนำไปสู่การติดเทอร์โบให้กับจักรยานปั่นน้ำนะครับ


ในภาพจักรยานปั่นน้ำติดติดเทอร์โบครับ ฮ่า ๆๆๆๆ


 
ภาพแอร์แว จากการไปอบรมครับที่ อำเภอน้ำโสม ของกทอทุนหมู่บ้าน สนใจมานานแล้วแต่พึ่งมีโอกาสได้ลองทำดูครับ

"แอร์แว" หมายถึง  "แอร์" หมายถึงอากาศ  "แว" เป็นภาษาอีสาน แปลว่าแวะ ในที่นี้ หมายถึงแวะไปแวะมาเอา 2 คำมารวมกัน หมายถึง อากาศแวะไปแวะมาในท่อ PVC ที่ตั้งขึ้นนะครับ

หลักการทำงานของแอร์แว
            เมื่อน้ำถูกสูบขึ้นมาจากหัวกระโหลกที่อยู่ใต้น้ำก็จะมีอากาศขึ้นมาด้วยซึ่งช่องว่างที่อยู่ในท่อ PVC ที่ตั้งขึ้นสูง ๆ จะมีอากาศแวะเข้าไปในท่อดังกล่าว และเมื่ออกากาศไม่มีที่ออกก็จะเกิดแรงดันเพิ่มมากขึ้นก็จะไปดันน้ำที่อยู่ในท่อออกมา  ซึ่งอากาศก็จะไปเพิ่มแรงดันน้ำที่สูบขึ้นมามากยิ่งขึ้นประมาณ 30-40 % จึงเป็นเหตุทำให้แรงดันน้ำเพิ่มขึ้นมากกว่าปกติ

             เมื่อน้ำถูกสูบขึ้นมาในพื้นที่ที่ท่อวางไปในลักษณะลาดชันไปเรื่อย ๆ แรงดันน้ำก็ยิ่งมาดันให้อากาศที่อยู่ในกระบอกสูบถูกบีบอัดมากยิ่งขึ้นเป็นผลทำให้แรงดันน้ำเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วยนะครับ
 "ยิ่งสูบน้ำขึ้นที่สูงยิ่งเห็นผลของการใช้แอร์แวมากยิ่งขึ้นนะครับ"

              เอาแบบง่ายที่สุด ให้ดูหลักการทำงานของปืนฉีดน้ำที่เด็ก ๆ เล่นที่มีการสูบลมด้วยนะครับ หลักการใช้งานคล้าย ๆ กันนะครับ  (ไม่รู้จะเข้าใจไหมยิ่งอธิบายยิ่ง งง ๆ เอง ฮ่า ๆๆๆๆๆ)

วิธีการทำแอร์แว





วัสดุที่ใช้ ทำแอร์แว (ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดท่อที่ออกจากปั๊มด้วยนะครับ) ปั๊มน้ำที่ผมใช้ขนาด 1 นิ้วครับ

1.ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว ความยาว 150 ซม. จำนวน 2 ท่อน
2.ท่อ PVC ขนาด  นิ้ว ความยาว 50 ซม จำนวน 2 ท่อน
3.ข้อต่อ 3 ทางขนาด 1 นิ้ว     2     อัน
4.ข้อต่อตรง 2 นิ้วลด 1 นิ้ว     2     อัน
5.ฝาปิดท่อ ขนาด 2 นิ้ว         2     อัน


จากนั้นประกอบเข้าด้วยกัน ประมาณนี้นะครับ...


ติดกาวให้แน่น ๆ ทิ้งไว้ 24 ชม.ก่อนนำไปใช้ให้แน่ใจว่ากาวแห้งจริง

             แอร์แวสามารถนำไปใช้กับปั๊มน้ำได้ดี (ยกเว้นปั๊มออโต้) ใช้แทนปั๊มแรงดันที่มีราคาแพง ๆ ที่จริงเขาใช้กับปั๊มน้ำที่ใช้มอเตอร์ หรือเครื่องยนต์ แต่ผมนำมาใช้กับแรงปั่นน้ำจากจักรยาน เนื่องจากการปั่นจักรยานปั่นน้ำผมมันหนักมาก ๆ เลยได้นำแอร์แวมาใส่เข้าไป ผลที่ได้ทำให้การปั่นเบาขึ้นมาก ๆ ครับ ซึ่งหลักการทำงานดังที่ได้กล่าวไว้ในข้างต้นแล้ว
             แอร์แว เมื่อนำไปต่อเข้ากับปั๊มน้ำจะช่วยทำให้ประหยัดไฟฟ้า หรือน้ำมันลงได้มาก เพราะว่าปั๊มน้ำจะไม่ได้ทำงานหนักมากเหมือนเดิม (ผมปั่นจักรยานยังรู้สึกว่าเบาขึ้นเยอะ) ซึ่งใครจะนำไปประยุกต์ใช้กับปั๊มน้ำที่มีอยู่ก็ ไม่ได้หวงห้าม แต่สำหรับผมการหาแนวทางแก้ไขปัญหา แล้วทำให้ดียิ่งขึ้นนั้นคิดว่าสิ่งนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจได้ลองนำไปปรับใช้ก็ดีไม่น้อย นี่แหละครับเทคโนโลยีแบบบ้าน ๆ ความรู้ด้านช่างแบบเดา ๆ ของผมนะครับ ฮ่า ๆๆๆๆ


จะพอเพียง....เพื่อเพียงพอ..ให้ได้ในสักวัน.
.

โปรดติดตามตอนต่อไป...wisit_photo@hotmail.com


ตอนต่อไปของจักรยานปั่นน้ำ ทีนี้ปั่นกันสนุกน้ำพุ่งกระจายเลยครับ จะนำเสนอในบล็อกต่อไปครับ...


 






ความเห็น

ยอดเยี่ยมเลยครับอ้ายวิศิษฐ์..  แบบนี้วัฏจักรพลังงานหมุนเวียนสมดุลย์ แรงปั่นไปรดน้ำผักงาม ผักเป็นอาหารมาเพิ่มพลังงานคนปั่นอีกที.. (แถมยังไม่มีชั้นพลังงานเหลือใช้ตกค้างใต้ผิวหนังด้วย อิ อิ..)


 


 

 

"ไม่มีอะไรอยู่กับที่ ถ้าเราไม่หยุดเดิน"

แบบนี้ต้องไปดูงานแล้วครับ โหวตครับ


:good-job:

"ความสุขของชีวิตในวันนี้ คือทำตามวิถีพอเพียงของพ่อ"

:cute: :cute: :cute:

เดินตามความฝันของตัวเอง

ยอดเยี่ยมมากครับ แต่ถ้าขนาดท่อน้ำใช้งานไม่ใช่ท่อ 1 นิ้ว แต่เป็นท่อ 3 นิ้ว ไม่ทราบว่าขนาดท่อแอร์แวต้องเปลี่ยนเป็นขนาดเท่าใด ยาวเท่าใดและต้องห่างกันเท่าใด มีสูตรคำนวนไหมครับ (สนใจมากๆครับ)

รอติดตามบล็อกหน้านะครับ ผมจะอธิบายวิธีการติดตั้งแอร์แวด้วยนะครับ เอาแบบละเอียด ๆ เลยครับ จะได้ง่ายยิ่งขึ้นมีภาพประกอบด้วยครับ

 

ไอเดียดีมาก ช่วยผ่อนแรงได้เยอะ ได้ทั้งงานได้ทั้งออกกำลังด้วย :cheer3:ต้องโหวต

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

หลังน้ำลดจะทำสวนใหม่พอดี อย่าลืมมาทำให้สักชุดน่ะ จะเตรียมของให้

 

ชีวิตที่เพียงพอ ย่อมมาจากชีวิตที่พอเพียง

หน้า