ปทุมธานี แดนดินถิ่นดอกบัว

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า

พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี

ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี

ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว

จากนิราศภูเขาทอง

ในฐานะที่มีบ้านอยู่ที่ปทุมก็เลยอยากจะประชาสัมพันธุ์ให้ทุกคนได้รู้จักจังหวัดที่เคยอยู่มาตั้งแต่วัยเด็ก ผมย้ายไปย้ายมา ที่ปทุมที่เดียวนี้ 3 รอบแล้ว ชีวิตผมก็ยังงี้แหล่ะชีพจรลงเท้าตลอด เอ้าเรามาทำความรู้จักจังหวัดปทุมธานี จังหวัดเล็กที่ใช้รหัสโทรศัพท์บ้านรหัสเดียวกับกรุงเทพฯกัน

          ปทุมธานีเริ่มปรากฎในประวัติศาสตร์ชาติไทยไม่น้อยกว่า 300 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตามประวัติจะกล่าวถึงชุมชนชาวมอญที่อพยพเข้ามาอยู่อาศัยหลายระลอก ณ ชุมชน"บ้านสามโคก" ที่ต่อมากลายเป็น "เมืองสามโคก" หรืออำเภอสามโคกในปัจจุบัน สำหรับที่มาของชื่อ "ปทุมธานี" มาจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(ร.2) ได้เสด็จประภาสเมืองสามโคก เหล่าพสกนิกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวมอญมีความปลาบปลื้มใจเป็นล้นพ้น จึงได้พากันนำดอกบัวหลวงที่มีขึ้นอยู่มากมาย ขึ้นทูลเกล้าฯถวายเป็นราชสักการะอยู่เป็นเนืองนิจ ยังความซาบซึ้งในพระราชหฤทัย ร.2 เป็นอย่างยิ่งและได้พระราชทานนามเมืองสามโคกเสียใหม่ว่า "เมืองประทุมธานี" เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2358 ต่อมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯให้ใช้คำว่า "จังหวัด" แทนคำว่า "เมือง" และให้เปลี่ยนการเขียนชื่อจังหวัดประทุมธานีใหม่เป็น "ปทุมธานี" มาจนถึงทุกวันนี้ และในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ยุบจังหวัด "ธัญบุรี" มาขึ้นกับจังหวัดปทุมธานีในปี พ.ศ.2475 ปัจจุบันจังหวัดปทุมธานีมีทั้งสิ้น 7 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองปทุมธานี อ.คลองหลวง อ.ธัญบุรี อ.หนองเสือ อ.ลาดหลุมแก้ว อ.ลำลูกกา และอ.สามโคก

คำขวัญประจำจังหวัดปทุมธานี : ถิ่นบัวหลวง เมืองรวงข้าว เชื้อชาวมอญ นครธรรมะ

                                         พระตำหนักรวมใจ สดใสเจ้าพระยา ก้าวหน้าอุตสาหกรรม

 ดอกบัวหลวง คือที่มาของชื่อจังหวัดปทุมธานี

ศาลากลางหลังเก่า ปัจจุบันเป็นโบราญสถาน

ศาลจังหวัดปทุมธานีหลังเก่า เป็นโบราญสถานเช่นกัน

ที่ทำการอำเภอเมืองปทุมธานี หลังเดิม ใช้ประโยชน์อย่างอื่นแล้ว

แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสำคัญที่หล่อเลี้ยงชาวปทุมและคนกรุงเทพฯ เพราะปากคลองประปาอยู่ที่ปทุม

โรงเรียนคณะราษฎร์ปทุมธานี อยู่ฝั่งตรงข้ามตัวจังหวัด โรงเรียนคณะราษฎร์นี้ในประเทศไทยรู้สึกว่ามีอยู่ที่จังหวัดอื่นๆอีก 2 แห่ง ที่ยะลา 1 แห่ง อีกจังหวัดจำไม่ได้

โรงเรียนปทุมวิลัย โรงเรียนเก่าสมัยมัธยม 1-2 ของผมเอง

ภัตตาคารกุ้งเต้นอันเลื่องชื่อของปทุมในอดีต ปัจจุบันยังคงให้บริการอยู่

กุ้งเต้นไม่ใช่ยำกุ้งฝอยนะครับ แต่เป็นกุ้งแม่น้ำตัวโตๆราดด้วยน้ำยำรสแซ่บ อร่อย(แต่แพง)

สวนผักรูปแบของจังหวัดปทุม ปลูกแบบยกร่องเพราะน้ำเยอะ

ลักษณะเด่นอีกอย่างของปทุมคือ บางพื้นที่จะมีต้นตาลตะโหนดขึ้นเป็นดงเลย

มีเยอะพอสมควรแต่น้อยกว่าเพชรบุรีมาก

 

ความเห็น

ดอกบัวสวยมากค่ะ ส่วนตัวแล้วชอบดอกบัวมากๆ แต่ไม่เคยปลูกเลย เพราะไม่มีเวลาดูแล

ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

เห็นต้นตาลตะโหนดเยอะ  ๆ อย่างนี้ นึกอยากทานลูกตาลอ่อนจังเลยค่ะ

ทุกวินาทีมีค่า ถ้าเรามีความหวังเราจะไม่เคยพ่ายแพ้

หน้า