คำฝอย

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เข้าตลาดทุ่งสง แวะร้านสมุนไพรขาประจำ ได้ ดอกคำฝอย ใหม่ๆ มา 1 ขีด

ตอนบ่ายจัดการตากให้แห้ง


สรรพคุณ ลดไขมันในเลือด

รายละเอียดตามไปอ่านได้ ที่นี่ ครับ

กว่า 10 ปีก่อน สมัยยังทำงานอยู่ภูเก็ต อ่าน นสพ.พบว่า ดอกคำฝอย ลดไขมันในเลือดได้

และทำให้น้ำหนักลดลงได้

เลยหาซองเยื่อไม้ (แบบที่เขาใส่ชา ชงดื่ม) มาบรรจุดอกคำฝอยที่ตากแห้ง แล้วบดด้วย blender

แพคใส่ถุงพลาสติก พร้อมทั้งบทความที่ได้อ่าน

ปรากฏว่าขายได้ขายดี

ใครเข้าข่าย อยากลองก็อ่านสรรพคุณ ก่อนนะครับ

ขอเพิ่มเติมอีกนิดครับ

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

เวลา 7.30-8.00 น.

รายการ กิน อยู่ คือ ทาง Thai pbs

เรื่อง ทำสบู่จากน้ำมันที่ใช้แล้ว

ใครสนใจ รอชมได้ครับ

หากรอไม่ไหว ไป ที่นี่ ก่อนครับ


ความเห็น

ขอบคุณข้อมูลเรื่องคำฝอยค่ะลุงพูน เมื่อสักเกือบยี่สิบปีก่อน (น่าจะประมาณ พ.ศ. ๒๕๓๕) เคยได้คุยกับอาจารย์หมอยาจีน (ปัจจุบันท่านล่วงลับไปแล้ว) สมัยนั้น เริ่มตื่นตัวกันเรื่องการใช้ยาสมุนไพร ท่านอาจารย์เล่าว่ามีการใช้สมุนไพรอย่างเข้าใจผิด ยกตัวอย่างคำฝอย ที่ไม่ควรใช้เป็นตัวเดียวโดด ๆ ควรใช้เข้ากับตัวยาอื่น ๆ เป็นตำรับ เพื่อให้ตัวยาที่มีข้อด้อยหรือมีผลข้างเคียงเป็นโทษถูกตัดฤทธิ์ไปด้วย ในกรณีคำฝอยนั้น ปกติแล้วในยาจีน คำฝอย จะมีผลทำให้ "ฮ๊วยะผั่ว" (น่าจะหมายถึงว่ากระจายเลือดหรืออะไรทำนองนี้ค่ะ) หากกินนาน ๆ ก็จะมีผลเสียกับระบบเลือด จึงจำเป็นต้องเข้าเป็นตำรับยา


จากที่มีผู้สนใจสมุนไพร นำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการโดยใช้หลักทางตะวันตกแล้วนำมาใช้แบบตะวันตกนั้น เป็นเรื่องที่น่าทบทวนถึงหลักคิดการบำบัด ในขณะที่ทางตะวันออกสมุนไพรหรือตัวยาจะใช้หลักการบำบัดในแง่องค์รวมธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ขณะที่ทางตะวันตกจะวิเคราะห์เจาะลึกในระดับเซลล์ การบำบัดทางตะวันออกจะมองในแง่จัดการธาตุให้เข้าสู่สมดุล ทางตะวันตกจะจัดการในระดับเซลล์ ดังนั้นจึงเป็นความแตกต่างทางหลักคิดการบำบัด แต่ทุกวันนี้มีการนำสมุนไพรทางตะวันออกไปวิเคราะห์ระดับเซลล์แล้วนำไปบำบัดแบบทางตะวันตก เหมือนอย่างเอายาพาราเซตามอลกินแก้ปวดนั้น น่าจะมีการทบทวน เนื่องจากสมุนไพรเดิมใช้เป็นตำรับ แต่เมื่อนำใช้เป็นตัวเดียวโดด ๆ ทั้งที่ยังขาดข้อมูลผลของการใช้ระยะยาว ซึ่งระยะแรกอาจดีแต่ระยะยาวแล้วบางครั้งสมุนไพรบางชนิดอาจไม่เหมาะเลย เพราะมีผลข้างเคียงเป็นโทษมากเมื่อกินเป็นเวลานาน อาจช้าเกินไปที่จะแก้ไขได้ทัน ทั้งนี้เข้าใจได้ว่าเป็นเพราะไม่ทราบกันจริง ๆ



 


 



(ทุกวันนี้ยังระลึกถึงท่านอาจารย์เสมอ ที่ท่านกรุณาบอกเล่า คุย สอนให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องแนวคิดปรัชญาการรักษาตะวันออกตะวันตก ได้มีโอกาสพบท่านเพียงสามปี หลังจากนั้นท่านเองก็จากไปแต่สิ่งที่ท่านพร่ำสอนนี้ก็จำไว้ค่ะ ลืม ๆ ไปบ้างแต่ก็ทบทวนหลักคิดใหญ่ ๆ ที่ท่านบอกไว้ บางเรื่องก็จำในตัวอย่างที่ท่านยกขึ้นมาประกอบความเข้าใจค่ะ)


นี้เป็นความเห็นส่วนตัวที่สรุปมาจากความเข้าใจน่ะค่ะลุงพูน อยากจะขออนุญาตแสดงความเห็นแบ่งปันกันค่ะ ดีใจว่าลุงพูนหยิบยกเรื่องคำฝอยมาเล่าบอกกัน เลยได้ดึงสิ่งที่เคยได้ทราบได้ยินมาบอกเล่าบ้าง ผิดถูกอย่างไรคิดว่าคงมีหลายท่านที่พอจะทราบเรื่องนี้ แล้วแลกเปลี่ยนความเห็นกันเพิ่มเพื่อจะได้มีความเข้าใจและใช้สมุนไพรในการพึ่งตัวเองได้อย่างมีผลดีมาก ๆ ค่ะ

ขอบคุณมากครับคุณสายพิน

น่าภูมิใจที่สมาชิกเวปของเรา มีผู้รู้จริง ซ่อนอยู่

แพทย์ศาสตร์แผนตะวันตก กับแผนตะวันออก อยู่บนคนละ platform (เหมือน วินโดว์ กับ อูบุนตู)

การศึกษาของแพทย์แผนตะวันตก เป็นแบบที่คุณสายพินว่า และทำนองเดียวกันกับแผนตะวันออก

การนำเอาวิธีการศึกษาของแผนตะวันตก มาใช้ศึกษากับแผนตะวันออก ย่อมไม่ถูกต้อง เพราะแตกต่างทั้งแนวคิดและปรัชญา ดังตัวอย่างที่คุณสายพินได้อธิบายไว้

เช่นเดียวกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ ไปเป็นปุ๋ยสำหรับพืช หรือ ใช้สำหรับคน ก็เป็นศาสตร์คนละแผน คนที่มีความรู้ในแผนหนึ่ง จะมาทำความเข้าใจกับอีกแผนหนึ่งนั้น อย่างน้อยที่สุดก็ต้องทำตนให้เป็น แก้วว่าง เสียก่อน (มิฉนั้น ก็จะเป็น ชาล้นแก้ว)

ขออธิบายคำว่า "ฮ๊วยะผั่ว" สักนิดครับ จากการระลึกถึงคำในภาษาจีน "ฮ๊วยะ" แปลว่า เลือด  "ผั่ว" แปลว่า อาการไม่สบาย ดังนั้น "ฮ๊วยะผั่ว" จึงน่าจะแปลว่า เลือด(โลหิต) มีปัญหา หรือ ความไม่ปกติของโลหิต

ขอขอบคุณ คุณสายพินอีกครั้ง และโปรด ให้ความกระจ่างแจ้งได้ทันทีครับ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องครับ

ขอบคุณมากค่ะ ลุงพูน แต่ต้องขอออกตัวสักนิดน่ะค่ะ ว่าไม่ได้รู้จริงทั้งหมด อาศัยเคยได้ยินได้ฟังมาก็จด ๆ จำ ๆ ไว้ เวลาได้เห็นได้เจออะไรที่ว่าน่าจะมีช่องทางที่ร่วมแสดงความเห็นความเข้าใจกันได้ อยากใช้โอกาสนั้นนำเรื่องราวที่พอทราบกันมาบอกเล่าต่อน่ะค่ะ ทั้งหมดนี้ต้องขอบคุณลุงพูนมากเลยค่ะ ที่ให้โอกาสและลงบล็อกนี้


ส่วนตัวเองแล้วนั้น เห็นด้วยอย่างมากกับลุงพูนที่ว่าต้องเปิดใจกว้าง ๆ ค่ะ ไม่แต่ต่างแผนกัน และแม้แต่ในแผนเดียวกันน่ะค่ะ บางท่านแม้จะเป็นแผนตะวันออกแต่ไม่ทันได้ลงลึกในเรื่องแนวคิดและปรัชญาการรักษาทางตะวันออก-ตะวันตก บางครั้งก็ยังสับสน เช่นผู้บำบัดเองเป็นแผนตะวันออกแต่ไปใช้หลักการแผนตะวันตกมายิ่งทำให้หลายท่านที่ไม่รู้เรื่องเหล่านี้เลย เข้าใจผิดพลาดไปด้วยได้ ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากว่าเบื้องต้นแล้วมีความชัดเจนในเรื่องเหล่านี้จะทำให้รากฐานความเข้าใจในการเป็นผู้ให้การบำบัดแน่น และมีความชัดเจนไม่สับสนในวิธีการบำบัดรักษาในแผนนั้น ๆ ค่ะ ซึ่งคงต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจและทำเปิดใจกว้าง ๆ ด้วยนะคะ

ขอบคุณทั้งลุงพูนและคุณสายพินค่ะ ได้ความรู้และแง่คิดเพิ่มขึ้นมากเลยค่ะ

จะปลุกทุกอย่างที่กิน แม้จะไม่ได้กินทุกอย่างที่ปลูก

หน้า