แนวคิด"เงินหลังเกษียณอายุ"
วิธีที่ดีที่สุดในการหาความเพียงพอของเงินหลังเกษียณ คือ แต่ละบุคคลควรทำบัญชีค่าใช้จ่ายรายเดือนที่คิดว่าต้องการจะใช้ขึ้นมา และคาดการณ์ถึงว่าเราจะมีชีวิตหลังเกษียณเท่าไร ?
เช่นต้องการจะมีค่าใช้จ่าย 25,000 บาทต่อเดือน และจะมีชีวิตอยู่ 15 ปี (เกษียณเมื่ออายุ 60 ปีและคาดว่าจะมีอายุ 75 ปี)
ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมเงินไว้สำหรับการเกษียณ 4,500,000 บาท (25,000บาท/เดือนx12 เดือนx15ปี)
ถ้าหากมีเงินก้อนดังกล่าวแล้วก็นับว่าคุณโชคดี แต่หากยังไม่พอก็ต้องเริ่มเก็บออมเงินค่ะ
สำหรับข้อคิดในวันนี้ คือพึงระลึกอยู่เสมอว่าเริ่มออมเสียแต่เนิ่น ๆ เพื่อชีวิตที่สุขสบายในบั้นปลาย และความลำบากในวัยหนุ่มสาวย่อมดีกว่าลำบากในยามแก่เฒ่าค่ะ.
- อ่าน 7516 ครั้ง
Dauphin
19 กุมภาพันธ์, 2012 - 22:35
Permalink
Re: แนวคิด"เงินหลังเกษียณอายุ"
สวัสดีค่ะ คุณยุพิน :confused: แนวความคิดให้เตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้ เหมือนเป็นกำลังเสริมให้แข็งแกร่งในชีวติบันปลายดีมากๆเลยค่ะ ขอบคุณนะค่ะ นำเนื้อหาดีๆมาแบ่งปั่นกัน :bye:
ชีวิตที่เรียบง่ายกับความพอใจในสิ่งที่มี
ยุพิน
20 กุมภาพันธ์, 2012 - 16:56
Permalink
Re: แนวคิด"เงินหลังเกษียณอายุ"
ใช่แล้วค่ะ การออมทำให้ชีวิตมั่นคงและต้องรู้จักประมาณตนในการใช้จ่ายค่ะ เพราะที่พี่สมมุตินั้นอายุน้อยมาก แค่ 75 ปีนะค่ะ อย่าลืมไปว่าปัจจุบันคนอายุยืนมากขึ้น พี่ว่า85 ยังไม่แก่เลย ตอนนี้อัตราการเกิดน้อยลง แต่คนแก่ หรือคนสูงวัยกับมีมากขึ้น.
RUT2518
20 กุมภาพันธ์, 2012 - 04:59
Permalink
Re: แนวคิด"เงินหลังเกษียณอายุ"
แบบนี้เดี๋ยวต้องบอกแฟนวางแผนไว้แล้วครับพี่ ขอบคุณครับ
ยุพิน
20 กุมภาพันธ์, 2012 - 17:05
Permalink
Re: แนวคิด"เงินหลังเกษียณอายุ"
:cheer3: ถูกต้องนะค่ะ..ออม. ออมค่ะ
thehiddenblade
20 กุมภาพันธ์, 2012 - 06:09
Permalink
Re: แนวคิด"เงินหลังเกษียณอายุ"
ออมไว้ในหุ้น
โดย : นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์
ข้อแนะนำของนักการเงินที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของคน ทั่วไปมากที่สุดเห็นจะได้แก่ ข้อแนะนำที่บอกว่า วิธีออมเงินเพื่อวัยเกษียณที่ดีที่สุด
คือ การออมไว้ในตลาดหุ้น แต่คนทั่วไปมักมีความรู้สึกว่า ตลาดหุ้นมีความเสี่ยงสูง เงินสำหรับไว้ใช้จ่ายในยามแก่เฒ่า น่าจะเก็บไว้ในที่ซึ่งปลอดภัย อาทิเช่น เงินฝากธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล หรือตราสารหนี้ มากกว่า
สาเหตุที่นักการเงินแนะนำเช่นนี้ เป็นเพราะแม้ว่าหุ้นจะมีความเสี่ยงมากกว่าเงินฝาก หรือตราสารหนี้มาก อาทิเช่น ในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี หุ้นอาจทำให้คุณขาดทุนได้มากถึง 30-40 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่านั้นอีก ในขณะที่ตราสารหนี้จะให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างแน่นอน อาทิเช่น 3-5 เปอร์เซ็นต์ เป็นต้น แต่ก็เพราะหุ้นมีความเสี่ยงสูงกว่านี่แหละที่ทำให้ในระยะยาวแล้ว หุ้นจะต้องให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า เพราะชดเชยความเสี่ยงที่สูงกว่านั่นเอง
การออมเงินเพื่อเกษียณเป็นการออมที่มีระยะเวลาออมที่นานมาก ดังนั้น มันจึงเหมาะกับการออมไว้ในหุ้นมากที่สุด
เราพบว่า การออมเงินไว้ในหุ้นนั้น ยิ่งมีระยะเวลาออมนานเท่าไร ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีจะยิ่งมีความผันผวนน้อยลง และมีค่าเป็นบวกด้วย ที่สำคัญ มันสูงกว่าการออมไว้ในหลักทรัพย์ชนิดอื่นๆ ทั้งหมดแบบเทียบกันไม่ได้ แต่คำว่าระยะยาวที่ว่านี้ จะต้องยาวเกิน 15 ปีขึ้นไปนะครับ
มีหลายคนระแวงสงสัยว่า การออมเงินไว้เฉยๆ ในตลาดหุ้นนานๆ จะดีจริงหรือ หลายคนมีความเชื่อว่า ตลาดหุ้นไทยถือยาวไม่ได้ เพราะอย่างเมื่อปีที่แล้ว ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่แถวๆ 900 จุด ก็เพิ่งจะร่วงลงมาอย่างแรงจนเหลือเพียงแค่ 380 จุดเท่านั้น แล้วอย่างนี้การออมเงินเกษียณด้วยการซื้อหุ้นทิ้งไว้เฉยๆ โดยไม่มีการขายออกมาเลยจนกว่าจะใกล้เกษียณ จะเป็นวิธีการที่ดีจริงหรือ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า การออมเงินไว้ในตลาดหุ้นไทยเป็นเวลานานมากๆ โดยไม่มีการซื้อๆ ขายๆ ระหว่างทาง สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้จริงๆ เพราะบ้านเรามีกองทุนรวมชนิดหนึ่งที่เรียกว่า กองทุนรวมหุ้นที่เลียนแบบดัชนี (Index Fund) อยู่ กองทุนประเภทนี้มีนโยบายการลงทุนง่ายๆ ด้วยการกระจายเงินลงทุนทั้งหมดไว้ในหุ้นทุกตัวที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี หุ้น เพื่อให้มูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนเปลี่ยนแปลงไปตามดัชนีตลาดหุ้นที่เปลี่ยน ไปด้วย กองทุนรวมทหารไทย SET50 ของ บลจ.ทหารไทย ลงทุนในหุ้น 50 ตัวที่เป็นองค์ประกอบของดัชนี SET50 กองทุนนี้จัดตั้งขึ้นมานานแล้วพอสมควร คือ ตั้งแต่ปี 2544 เราจึงสามารถศึกษาอะไรจากผลการดำเนินงานของกองทุนนี้ได้ ปรากฏว่า ผลการดำเนินงานของกองทุนนี้เมื่อเร็วๆ นี้เป็นดังนี้ครับ
ผลการดำเนินงาน คำนวณ ณ วันที่ 17 เมษายน 2552
ระยะเวลา
ผลตอบแทน
ย้อนหลัง 1 ปี
-45.01%
ย้อนหลัง 3 ปี
-31.17%
ตั้งแต่จัดตั้ง (23/3/44)
123.68%
ช่วงเดือนเมษายน 2552 เป็นช่วงที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยกำลังย่ำแย่เต็มที่เพราะปัญหาซับไพร์ม จะเห็นได้ว่าผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีของกองทุนนี้ ติดลบมากถึง 45 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็พอๆ กับความเลวร้ายของตลาดหุ้นไทยในเวลานั้นเลยทีเดียว หรือถ้าคิดให้เป็นผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี ผลตอบแทนก็ยังคงแย่อยู่ดี เพราะยังติดลบมากถึง 31 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าหากดูผลตอบแทนตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุนเลย คือ เมื่อ 8 ปีที่แล้วมาจนถึงปัจจุบันนี้ จะพบว่ากองทุนยังให้ผลตอบแทนที่สูงถึง 123.68 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว ซึ่งสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้รูปแบบอื่นใดในช่วงเวลาเดียวกันอย่างแน่นอน ทั้งที่เราวัดผลหลังจากที่เพิ่งเจอวิกฤติไปหมาดๆ
ดังนั้น ถึงแม้ว่าตลาดหุ้นบ้านเราจะเป็นตลาดหุ้นที่ผันผวนมาก แต่ถ้าระยะเวลาที่ออมเป็นช่วงเวลาที่ยาวมากจริงๆ การออมไว้ในหุ้นจึงยังคงเป็นทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดอยู่ดี
เคล็ดลับที่สำคัญของการออมเงินเกษียณไว้ในหุ้น คือ ต้องเป็นการออมแบบซื้อสะสมไปเรื่อยๆ ไม่ใช่การซื้อๆ ขายๆ เพื่อทำกำไรส่วนต่างไปตลอดทาง เราอาจคิดว่า การซื้อๆ ขายๆ ไปด้วย จะทำให้ได้ผลตอบแทนดีขึ้นอีก แต่ที่จริงแล้ว คนส่วนใหญ่เจ๊งหุ้นก็เพราะซื้อๆ ขายๆ บ่อยๆ นี่แหละ
ในระยะยาวมากๆ ผลตอบแทนของหุ้นจะวิ่งเข้าหาอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิของบริษัทที่เราลง ทุนเองโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าเราไปซื้อๆ ขายๆ ระหว่างทางเพื่อหวังทำกำไรระยะสั้น เราอาจซื้อขายผิดจังหวะ ทำให้ผลตอบแทนมีความไม่แน่นอน อาทิเช่น พอดัชนีหุ้นหล่นจาก 900 จุด มาเหลือแค่ 700 จุด เราไม่ยอมขาย แต่พอมันร่วงลงต่อไปอีกจนเหลือเพียงแค่ 380 จุด คราวนี้เรากลับถอดใจ เทขายออกมา เพราะกลัวว่ามันจะลงต่อไปอีกเหลือแค่ 200 จุด พอเราขายทิ้งเสร็จ ตลาดหุ้นก็ขึ้นพอดี จากที่ขาดทุนแค่ชั่วคราว ก็เลยกลายเป็นขาดทุนถาวรไป เป็นต้น
เรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งของการออมเงินเกษียณไว้ในหุ้น คือ พอร์ตที่ลงทุนจะต้องมีการกระจายความเสี่ยงที่มากพอด้วย เพราะถ้าหากเราออมเงินได้นานจริง แต่เราลงทุนไว้ในหุ้นแค่ตัวเดียว แล้วบังเอิญหุ้นตัวนั้นเป็นหุ้นของบริษัทที่มีผลประกอบการที่ล้มเหลวในระยะ ยาว เงินลงทุนของเราก็คงหายไปหมด
ที่จริงแล้ว วิธีที่ดีที่สุดในการออมเงินเพื่อเกษียณ คือ การออมด้วยการซื้อกองทุนรวมที่เลียนแบบดัชนี เพราะตราบใดที่ประเทศไทยยังอยู่ โอกาสที่หุ้นส่วนใหญ่ที่เป็นส่วนประกอบของดัชนีตลาดหุ้นไทย จะล้มหายตายจากไปพร้อมๆ กันนั้น แทบจะไม่มีเลย
นอกจากนี้ คุณต้องมีเวลาเหลือที่จะออมก่อนถึงวัยเกษียณไม่ต่ำกว่า 15 ปีด้วย ถึงจะสามารถออมไว้ในหุ้น เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าแต่มีความแน่นอนสูงได้ครับ
thehiddenblade
20 กุมภาพันธ์, 2012 - 06:16
Permalink
Re: แนวคิด"เงินหลังเกษียณอายุ"
การออมเพื่อเกษียณต้องออมในหุ้นด้วยเสมอ
แนวคิดออมเงินเพื่อให้เกษียณได้อย่างสุขสบาย สำหรับคนธรรมดาทั่วไป ที่ไม่ได้เกิดคาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิดนั้น ดูเหมือนจะต้องออมโดยมีเงินออมส่วนหนึ่งอยู่ในตลาดหุ้นด้วยเท่าน้ัน มิฉะนั้นจะเป็นเรื่องที่ไม่มีทางเป็นไปได้เลย ผมจะลองคำนวณให้ดูเป็นตัวอย่างนะครับ
ผมจะลองสมมติตัวอย่างของ Typical Person คนหนึ่ง ที่จบปริญญาตรี แล้วก็ทำงานในองค์กรเอกชนไปเรื่อยๆ ตั้งแต่อายุ 22 ยัน 60 ปี และตำแหน่งสุดท้ายในองค์กรคือ mid-level manager นะครับ
เรื่องนี้ทุกอย่างขึ้นอยู่กับสมมติฐานว่าต้องพยายามทำให้ realistic ที่สุด เริ่มต้นด้วยเงินเดือน Start ซึ่งผมตั้งไว้ที่ 10,000 บาท ซึ่งน่าจะพอเป็นไปได้สำหรับ คนจบปริญญาตรี เริ่มทำงานเมื่ออายุ 22 และเกษียณเมื่ออายุ 60 ก็แสดงว่า Mr.Typical มีเวลาออมเงิน 38 ปีนะครับ
สมมติฐานต่อมาที่ยากคือ อัตราการขึ้นเงินเดือนตลอดช่วงวัยทำงาน ในช่วงชีวิตของคนเรามักขึ้นเงินเดือนเป็นขั้นๆ ไม่ใช่อัตราที่คงที่ทุกปี เช่นปีไหนในขีวิตที่ได้เลื่อนตำแหน่ง ก็อาจจะได้ขึ้นเยอะหน่อย แต่ปีอื่นๆ ก็คงขึ้นแบบทีละนิด ทำให้การใส่สมมติฐานค่อนข้างยุ่งยาก อย่างไรก็ตาม ผมเลือกใช้วิธีใส่อัตราการขึ้นเงินเดือนแบบคงที่ที่ 6% ต่อปีดู แล้วเช็คดูว่า เงินเดือนสุดท้ายตอนที่เกษียณจะเป็นเท่าไร สมเหตุผลรึเปล่า ปรากฏว่า ตอน 60 Mr.Typical จะได้เงินเดือนประมาณ 91,500 บาท ซึ่งก็ถือว่าสมเหตุผลสำหรับผู้จัดการ เมื่อผมลอง cross check ดูจากพวกแบบสำรวจเงินเดือนนะครับ
ตำราการเงินมักแนะนำว่า คนเราควรออมเงินหนึ่งในสามของรายได้ทุกเดือน ดังนั้น Mr.Typical ของเราก็จะกันเงินเดือนไว้ 1 ใน 3 ของทุกปีตลอดชีวิตเพื่อการออมเพื่อวัยเกษียณ ตามคำแนะนำทางการเงินเปี๊ยบ
ทีนี้ลองมาตั้งเป้าหมายสุดท้ายดูว่า เขาควรมีเงินเก็บเท่าไรเมื่อถึงปีเกษียณ ตามตำราเขาบอกว่า คนเราควรมี passive income เท่ากับ 50% ของเงินเดือนสุดท้าย นั่นก็คือประมาณ 45,750 บาท จึงจะเกษียณได้อย่างมั่นคง ถ้าเช่นนั้น สมมติว่าเมื่อ Mr.Typical อายุครบ 60 เขาจะย้ายเงินออมทั้งหมดที่ได้ของเขา (ไม่ว่าเขาจะออมไว้ที่ไหนมาก่อน) เข้าพันธบัตรรัฐบาลให้หมด เพื่อความมั่นคงสูงสุด ในวัยที่ทำงานหนักไม่ไหวแล้ว แล้วก็รอรับดอกเบี้ยจากพันธบัตรให้ได้เท่ากับ 45,750 บาทต่อเดือน พอดี
เป้าหมายนี้จะต้องมีการกำหนดสมมติฐานเรื่องอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรด้วย ซึ่งการคาดเดาอัตราดอกเบี้ยในเวลานั้นคงเป็นเรื่องยากเกินคาดการณ์ แต่คิดว่าร้อยละ 3% ต่อปี น่าจะสมเหตุผมและอนุรักษ์มากพอ ลองคำนวณกลับเข้าไปจะได้ว่า เมื่ออายุ 60 ปี Mr.Typical จะต้องมีเงินออมประมาณ 18.3 ล้านบาท เพื่อนำไปซื้อพันธบัตร เขาจึงจะมี passive income 45750 บาทต่อเดือน ตามเป้าหมายที่ต้องการนี้ได้
ได้สมมติฐานทุกอย่างมาครบแล้ว ลองใช้ Excel คำนวณดูโดยใช้สูตร IRR จะพบว่า ในการออมเงิน 38 ปี ตามแผนนั้น Mr.Typical จะต้องทำผลตอบแทนของเงินออมเฉลี่ยให้ได้ 7.5% ต่อปี ถึงจะบรรลุเป้าหมายการเงินได้
ตัวเลขผลตอบแทนเฉลี่ย 7.5% ต่อปีนี้ นับว่าไม่มีทางเป็นไปได้เลยสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้ เพราะฉะนั้น แนวคิดเรื่องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณจะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีการออมเงินส่วนหนึ่งไว้ในตลาดหุ้นด้วยเท่านั้น ถือเป็น a must สำหรับ typical person ทุกคนเลย ครับ อาจไม่จำเป็นต้องออมไว้ในหุ้นทั้งหมด แต่อย่างน้อยจะต้องมีส่วนหนึ่งเสมอ เพื่อให้เฉลี่ยผลตอบแทนของทั้งพอร์ตแล้วได้ 7.5% ต่อปี ตามเป้าหมาย
โปรดสังเกตว่า เวลาทดสอบสมมติฐาน ผมไม่ได้คำนึงถึงเรื่องเงินเฟ้อเลย ซึ่งทำได้ครับ เพราะเป้าหมายที่เรากำหนดก็มองเป็นมูลค่าเงินในปัจจุบันด้วยเหมือนกัน (ได้ดอกเบี้ยเดือนละ 4 หมื่นกว่าบาทน่าจะพอใช้สำหรับมูลค่าเงินสมัยนี้) ในการวางแผนการออมจึงใช้เป็นค่าเงินปัจจุบันด้วยนะครับ ไม่ผิดครับ
ส่วนใครบังเอิญเริ่มต้นออมช้าหรือฐานเงินเดือนต่ำกว่า Mr.Typical ก็คงต้องเพิ่มสัดส่วนการออมต่อเดือนให้มากหน่อย ถ้าใครจะลอง plug-in สมมติฐานใหม่ให้ตรงกับของกรณีของตัวเองดู ก็ลองดาวน์โหลดไฟล์ Excel ของผมไปดูได้นะครับ
kan300
20 กุมภาพันธ์, 2012 - 10:24
Permalink
Re: แนวคิด"เงินหลังเกษียณอายุ"
ขอบคุณค่ะ
เสิน
20 กุมภาพันธ์, 2012 - 15:39
Permalink
Re: แนวคิด"เงินหลังเกษียณอายุ"
ขอบคุณครับ..คิดไปไกลจัง
..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..
ยุพิน
20 กุมภาพันธ์, 2012 - 16:47
Permalink
Re: แนวคิด"เงินหลังเกษียณอายุ"
ไม่คิดไม่ได้แล้วค่ะ พี่เสิน... สมมุตินะค่ะว่าตอนนี้อายุ 40 ปี. มีเวลาเก็บออมอีก 20 ปีเอง นะค่ะ
maw_tot
20 กุมภาพันธ์, 2012 - 19:11
Permalink
Re: แนวคิด"เงินหลังเกษียณอายุ"
เป็นความคิดที่ดีมากเลยค่ะพี่ยุพิน...ต้องสะกิดคู่แฝดให้เริ่มออมกันแล้วค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะ ออม ออม ออม ๆๆๆๆๆๆๆๆ
ชีวิตเป็นเรื่องง่ายๆ จะทำให้ยากทำไม
หน้า