เดินทาง...สายบุญ กับพนิดา 4

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ได้เวลาเข้าเมืองกันสักทีนะค่ะ ในเมืองน่าน พนิดาเลือกที่จะเข้าชมพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติน่านก่อนค่ะ เพราะแดดร้อนมากขอเดินในร่มก่อนนะค่ะ

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ น่าน มีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์สถานประจำเมืองหรือจังหวัด เนื้อหาการจัดแสดงจึงมุ่งเน้นเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิหลัง และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยแบ่งส่วนการจัดแสดงเป็น 2 ภาควิชาคือ

• ชั้นบน จัดแสดงเกี่ยวกับภาควิชาโบราณคดี และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น
• ชั้นล่าง จัดแสดงเกี่ยวกับภาควิชาชาติพันธุ์วิทยา

การจัดแสดงชั้นบน แบ่งออกเป็น 2 ส่วนประกอบด้วย 

1. ส่วนหน้า ได้แก่ ห้องโถงใหญ่ ถัดเข้ามา ในอดีตห้องนี้เคยเป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการของเจ้าผู้ครองนคร จัดแสดงข้อมูลทางภูมิรัฐศาสตร์ของจังหวัดน่าน การสร้างบ้านแปลงเมือง ภาพถ่ายโบราณสถานที่สำคัญ หลักฐานศิลาจารึก ลำดับเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนคร เครื่องใช้ส่วนพระองค์ ภาพถ่ายโบราณ งานประณีตศิลป์ เงินตราและอาวุธ

 

2. ส่วนหลัง ได้แก่ ห้องปีกอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ ตลอดจนเฉลียงด้านหลังรวม 5 ห้อง จัดแสดงเรื่องราวทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ เริ่มตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่ปรากฎร่องรอยหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ในแถบพื้นที่จังหวัดน่าน อิทธิพลของศิลปะสุโขทัย และศิลปะล้านนาที่ก่อให้เกิดแนวคิดของศิลปกรรมสกุลช่างเมืองน่าน วิวัฒนาการของศิลปะน่านสมัยต่างๆ แหล่งโบราณคดีและโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นในพื้นที่เก็บกักน้ำบริเวณเหนือเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เครื่องถ้วยจากแหล่งเตาเผาที่พบในจังหวัดน่าน ศิลปะในประเทศไทยสมัยต่างๆ และห้องจัดแสดงงาช้างดำ ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่าคู่บ้านคู่เมืองน่านมาแต่โบราณ

 

 การจัดแสดงชั้นล่าง แบ่งออกเป็น 2 ส่วนประกอบด้วย 
1. ส่วนหน้า ได้แก่ ห้องโถงรวมถึงปีกอาคารด้านทิศเหนือ จัดแสดงเรื่องราวทางด้านชาติพันธุ์วิทยา เกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยพื้นเมืองเหนือ ลักษณะบ้านเรือน ร้านน้ำ ห้องนอน ครัวไฟ สิ่งของเครื่องใช้ชีวิตประจำวัน การทอผ้าและตัวอย่างผ้าพื้นเมืองน่านแบบต่างๆ ประเพณีความเชื่อ เกี่ยวกับพิธีสืบชะตา ทานสลากภัต บุญบั้งไฟ การแข่งเรือยาว และบุญสงกรานต์

 ลักษณะบ้านเรือน ร้านน้ำ ห้องนอน ครัวไฟ สิ่งของเครื่องใช้ชีวิตประจำวัน 

 

ประเพณีความเชื่อ เกี่ยวกับพิธีสืบชะตา ทานสลากภัต บุญบั้งไฟ การแข่งเรือยาว และบุญสงกรานต์

เครื่องมือการทอผ้าและตัวอย่างผ้าพื้นเมืองน่านแบบต่างๆ 

2. ส่วนหลัง ได้แก่ เฉลียงด้านหลัง รวมถึงปีกอาคารด้านทิศใต้ จัดแสดงเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ของเผ่าชนต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดน่าน ได้แก่ ไทลื้อ แม้ว เย้า ถิ่น และชนเผ่าตองเหลือง ในลักษณะของฉากประกอบหุ่นจำลองขนาดเท่าจริง สุดท้ายเป็นห้องที่ระลึกและเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติชาวจังหวัดน่าน

ห้องการเงินการคลังของไทย


โบราณวัตถุชิ้นสำคัญ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน

งาช้างดำ เดิมเป็นสมบัติของผู้เจ้าครองนครน่าน ลักษณะเป็นงาปลี สีออกน้ำตาลเข้ม ขนาดยาว 97 ซม. วัดโดยรอบตรงส่วนใหญ่สุดได้ 47 ซม. มีโพรงตอนโคน ลึก 14 ซม. มีจารึกอักษรธรรมล้านนา ภาษาไทยว่า "กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน" หรือประมาณ 18 กิโลกรัม สันนิษฐานว่าเป็นงาข้างซ้าย เพราะมีรอยเสียดสีกับงวดชัดเจน ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดถึงประวัติความเป็นมา มีเพียงตำนานเล่าสืบต่อกัน 2 เรื่องได้แก่

ตำนานที่ หนึ่ง : กล่าวว่าในสมัยเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 8 แห่งราชวงศ์หลวงติ๋นมหาวงศ์ (ครองเมือง พ.ศ.2353-2368) มีพรานคนเมืองน่านเข้าป่าล่าสัตว์ไปถึงเขตแดนระหว่างไทยกับเชียงตุง ได้พบซากช้างตัวดำสนิทตายอยู่ในห้วย พอดีกับพรานชาวเชียงตุงมาพบด้วย พรานทั้งสองจึงแบ่งงาช้างดำคนละกิ่ง ต่างคนต่างก็นำมาถวายเจ้าเมือง ต่อมาเจ้าเมืองเชียงตุงได้ส่งสาส์น มาทูลเจ้าสุมนเทวราชว่า ตราบใดที่งาช้างดำคู่นี้ไม่สูญหาย เมืองน่านกับเมืองเชียงตุงจะเป็นมิตรไมตรีกันตลอดไป

ตำนานที่ สอง : กล่าวว่า กองทัพเมืองน่านยกทัพไปล้อมเมืองเชียงตุงหลายเดือน ทำให้ชาวเมืองเชียงตุงเดือดร้อน โหรเมืองเชียงตุงทูลเจ้าเมืองว่า เป็นเพราะมีงาช้างดำอยู่ด้วยกัน ทางที่ดีควรแยกกันอยู่ จึงได้นำงาช้างดำกิ่งหนึ่งมอบให้กองทัพเมืองน่าน แล้วกระทำสัตย์สาบานเป็นมิตรกันตลอดกาล

วิถีเก่าดั้งเดิมเสริมให้แกร่ง  ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้คู่ศึกษา

วิถีใหม่ก็ดีที่พัฒนา ต้องสรรหามาประสมให้กลมกลืน

จะมุ่งเอาแต่ใหม่ไล่ตามเขา ลืมดีเราคงลำบากยากจะฝืน

เหมือนสินค้าเลียนแบบใช่ยั่งยืน คนชมชื่นที่คุณค่าน่าสนใจ

เรามีดีที่วัฒนธรรมอันงามงด ป่าเขียวสดธรรมชาติหาดน้ำใส

อีกไมตรีเปี่ยมรอยยิ้มพิมพ์ใจ จงรู้ใช้ใฝ่รักษาเพิ่มค่าคุณ....

เที่ยวเข้าห้องโน้น ออกห้องนี้ ดูสิ่งของโบราญรวมถึงประวัติความเป็นมาอันยาวนานของสิ่งของต่าง ๆ เหล่านั้น....ได้เวลาต้องไปเที่ยวต่อแล้วค่ะ

คอยติดตามเรื่องราวการเดินทาง...สายบุญกับพนิดา ต่อในบล็อกหน้านะค่ะ 

ขอบคุณข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติน่านค่ะ

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดน่าน เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเข้าชมตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ทุกวัน เว้นวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ติดต่อ โทร. 054-710561

ความเห็น

ตามน้องดามาเที่ยวค่ะ...

ขอบคุณที่ติดตามค่ะพี่เหมียว

ได้ดูภาพและอ่านการบรรยายเหมือนได้ไปเองเลยนะเนี่ย

ขอบคุณที่ติดตามค่ะ..ลุงอินเนียร์ 

ขอบคุณค่ะ ละเอียดยิบเลย


ขอบคุณที่ติดตามค่ะ...พี่สวนเพชร

ขอบคุณนะคะที่พาเที่ยว 

ขอบคุณที่ติดตามค่ะ...เจ้โส  คิดถึงนะค่ะ

หอยเบี้ยในสมัยก่อนที่คนไทยเขาใช้กัน ก็คือเจ้าหอยตัวเล็กๆ สีขาวนี้น่ะหรอคะพี่พนิดา ถ้างั้นคนในสมัยนั้น ใครขยันอยากรวย ก็ไปหาขุดมาเยอะๆ ก็มีตังค์เยอะแล้วสิคะ น้องเข้าใจถูกมั้ยLaughing

 

ใช่แล้วค่ะนุสิ...เบี้ยหอย....ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแรกๆของโลก

สมัยสุโขทัยมีอัตราแลกเปลี่ยน 800 เบี้ยต่อเฟื้อง (6,400 เบี้ยต่อบาท)

สมัยกรุงศรีอยุธยา เบี้ย ซึ่งเป็นหอยทะเลที่มาจากมะนิลา หรือเกาะบอร์เนียว เบี้ยดังกล่าวจำนวน 800 หรือ 900 เบี้ย มีราคาเท่ากับ 1 เฟื้อง

สมัยกรุงธนบุรี อยู่ในภาวะสงคราม อัตราแลกเปลี่ยน 200 เบี้ยต่อเฟื้อง (1,600 เบี้ยต่อบาท) 
 
สมัยรัชกาลที่ 3 มีการค้าขายมากมาย พ่อค้านำหอยเข้ามามาก เศรษฐกิจดี ทำให้เกิดภาวะเบี้ยเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน 1,300 เบี้ยต่อเฟื้อง (10,400 เบี้ยต่อบาท) รัชกาลนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำตัญคือ มีพระราชดำริที่จะยกเลิกการใช้หอยเบี้ย โดยดำริเห็นว่า หอยเป็นสัตว์ เป็นการทารุน เป็นบาป 

ก่อนสมัยรัชกาลที่ ๔ เงินค่าต่ำที่สุดคือ เบี้ย ซึ่งเป็นหอยทะเล ดูเหมือนจะเรียกกันว่าเบี้ยจั่น  ใช้หอยเบี้ยแทนเงิน หอยที่ใช้เป็นเบี้ยนี้ เป็นหอยนำเข้าจากฟิลิปปินส์ ราคาซื้อ ๘๐๐ เบี้ย ต่อ ๑ เฟื้อง มาตราเงินโบราณ ก่อนรัชกาลที่ ๔ มีอัตราเทียบ ดังนี้

๘๐๐ เบี้ย = ๑ เฟื้อง (๑๒ สตางค์ครึ่ง)
๒ เฟื้อง = ๑ สลึง (๒๕ สตางค์)
๔ สลึง = ๑ บาท
๔ บาท = ๑ ตำลึง
๒๐ ตำลึง = ๑ ชั่ง

ข้อมูลจากhttp://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2008/12/K7358722/K735872...

หน้า