เดินทาง...สายบุญ กับพนิดา 7 จบทริบ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เดินทาง...สายบุญ กับพนิดา   เพื่อนๆๆสามาชิกบ้านสวนคงอิ่มบุญอิ่มใจกันทุกคนนะค่ะ

เชิญร่วมตักบาตรทำบุญเทศกาลปีใหม่ 2556 กันค่ะ 


ตักบาตรทำบุญเช้าวันขึ้นปีใหม่เสร็จแล้วเราเดินทางการต่อเลยนะค่ะ ( แดดเริ่มจะมาแล้วค่ะ )

พระธาตุดอยเล็ง  อยู่บนภูเขา(ดอย) ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของ พระธาตุช่อแฮ ประมาณ 2 กิโลเมตร มีงานนมัสการพระธาตุเป็นประเพณีทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6

โดยมีธรรมเนียมว่า เมื่อมาสักการะพระธาตุช่อแฮ แล้วในวันสุดท้าย(วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6)
พระธาตุดอยเล็ง เป็นปูชนียสถานที่สำคัญของจังหวัดแพร่อีกแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาสูง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของพระธาตุช่อแฮ ประมาณ 3 กิโลเมตร

ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุจอมแจ้งประมาณ 4 กิโลเมตร สร้างมาพ.ศ. ใด นั้น ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มีมาคู่กับพระธาตุช่อแฮและพระธาตุจอมแจ้ง ทั้ง 3พระธาตุนี้
จะคู่กันมาหลายร้อยปี คำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ในตำบลป่าแดง และตำบลป่าแดงและตำบลช่อแฮได้เล่าไว้ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้เสด็จไปโปรดเวไนยสัตว์มาดอยลูกหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของดอยธชัคคะบรรพต เสด็จมาถึงจวนแจ้งณ ที่นั้นเรียกว่าดอยจวนแจ้ง (ใกล้สว่าง)ปัจจุบันเรียกว่าพระธาตุจอมแจ้ง

หลังจากนั้นจึงได้เสด็จมาทาง ทิศเหนือถึงธชัคคะบรรพตได้มาประทับอยู่ที่นั่น ได้มีขุนลัวะอ้ายก้อมเป็นผู้อุปฐากทรงมอบพระเกศาธาตุ

ไว้ที่ธชัคคะบรรพตลูกนั้ปัจจุบันนี้เรียกว่าพระธาตุช่อแฮ แล้วได้เสด็จขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ทรงประทับอยู่ ณ ดอยลูกหนึ่ง  ซึ่งสูงกว่าดอยทั้งหมดในเมืองโกศัย

จึงเอาบาตรวางไว้ใกล้ๆ ดอยลูกนั้น ปัจจุบันเรียกว่า ดอยภูกวาง (รอยบาตรนั้นชาวบ้านได้เอาก้อนหินใส่จนเต็มหมด) แล้วจึงเสด็จมาดอยอีกลูกหนึ่ง

จึงได้ประทับแลดู ภูมิประเทศของเมือง แพร่หรือเมืองโกศัย และทรงตรัสว่า "ที่นี่เป็นเมืองที่น่ารื่นรมย์เหมาะแก่การสร้างบ้านสร้างเมืองเพราะ ว่ามีแม่น้ำยมไหลผ่าน จึงให้ชื่อดอยลูกนี้ว่า ดอยเล็ง

วัดพระธาตุช่อแฮ   เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ พระธาตุช่อแฮ เป็นวัดที่ประดิษฐานองค์พระธาตุช่อแฮซึ่งเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่

ที่บรรจุเส้นพระเกศาของพระพุทธเจ้า 

มีประวัติความเป็นมาว่าสร้างในสมัยสุโขทัย เป็นพระธาตุรูปทรง แปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง สูงประมาณ 33 เมตร ศิลปะแบบเชียงแสนบุด้วยทองดอกบวบ

เป็นพระธาตุประจำปีเกิด ของคนเกิดปีขาล(เสือ)ผู้ที่ได้มาเที่ยวจังหวัดแพร่ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการได้ไปเที่ยววัดพระธาตุช่อแฮ และไปกราบไหว้พระเจ้าทันใจ 
และหลวงพ่อ ช่อแฮ เพื่อเป็นศิริมงคลต่อตัวเองและครอบครับผู้ที่
มาเที่ยวองค์พระธาตุเป็นพระธาตุประจำปีเกิด 1 ใน 12 ราศรี คือเป็น พระธาตุประจำปีเกิดปีขาล(เสือ)หากว่าผู้ที่เกิดปีขาลนำผ้าแพรสามสีมา
ถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครองป้องกันศัตรูได้ การสวด และไหว้ให้เริ่มต้น นะโม 3 จบสวดตามด้วยคาถาบูชาพระธาตุ 5 จบ

พลังบารมีจะดลปันดาล ให้มีชีวิตที่ดีขึ้นปัจจุบันวัดพระธาตุช่อแฮได้พัฒนาทุกๆ ด้านให้สมกับเป็น วัดคู่บ้าน คู่ เมือง เมือง 

วัดพระธาตุช่อแฮ  อยู่ที่ตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022)

เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ และเป็นพระธาตุประจำปีขาล

ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1879 – 1881 ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท)

โดยขุนลัวะอ้ายก๊อม พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า

เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง 
สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ

บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี

 ( วันที่ไปทางวัดกำลังซ่อมแซม และคนก็เยอะมากๆๆ เลยไม่ค่อยมีรูปให้ชมเท่าไร คงต้องกลับมาเก็บรานละเอียดอีกครั้งค่ะ )

วัดพระธาตุจอมแจ้งองค์พระธาตุตั้งบนเนินเขาเตี้ย รูปทรงพระธาตุคล้าย กับพระธาตุช่อแฮ เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุ พระหัตถ์ซ้ายของพระพุทธเจ้า

ปัจจุบันภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวม ของโบราณของวัด มีรูปปั้นแสดงรูปสวรรค์ นรก เพื่อเตือนให้คนทำดีละเว้นความชั่วภายในวิหารมี หลวงพ่อจอมแจ้งซึ่งมีอายุประมาณ 600 กว่าปี

เป็นพระประธาน ด้านหน้าองค์พระธาตุมีพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ปาง พระนาคปรก สูงเท่าองค์เจดีย์ สูง 29 เมตร และ พระนอนปางไสยาสน์องค์ขนาดใหญ่

วัดพระธาตุจอมแจ้งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อทันใจซึ่งมีประวัติว่าใช้เวลาสร้างเพียงวันเดียว

มีงานนมัสการพระธาตุจอมแจ้งทุกปี ในวันขึ้น 11 ค่ำ – 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ (เดือน 3 ใต้)

การเดินทาง

ตั้งอยู่บ้านไคร้ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ห่างจากพระธาตุช่อแฮไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามถนนสายป่าแดง – บ้านกวาง ประมาณ 2 กิโลเมตร 

วัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีหรือวัดพระธาตุสุโทนมงคลคีรีสามัคคีธรรมเป็นวัดสร้างขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2520ตั้งอยู่บนถนนสายแพร่-ลำปางช่วงอ.เด่นชัยจังหวัดแพร่ ห่างจากอำเภอเด่นชัย 3 กิโลเมตร

เป็นวัดที่รวบรวมศิลปะกรรมล้านนาประยุกต์ที่สวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งภาพจิตกรรมฝาผนังระเบียงคตเป็นเรื่องราวของชาดกพื้นบ้านและภาพพุทธประวัติ

ก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 โดยพระครูวิฑิตพิพัฒนาภรณ์ หรือ พระครูบามนตรี ธมฺมเมธี เจ้าอาวาส ตั้งอยู่ ณ บ้านห้วยน้ำพริก หมู่ที่ 5 ตำบลเด่นชัย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่

ห่างจากรุงเทพมหานคร 527 กิโลเมตร อยู่ริมถนนหมายเลข 101 เด่นชัย-ลำปาง ห่างจากสามแยกเด่นชัยประมาณ 5 กิโลเมตร ผ่านค่ายทหาร ม.พันสิบสองหรือค่ายพญาไชยบูรณ์

มุมน่ารักของยักษ์ 2ตนที่นั่งเฝ้าประตูโบสถ์ ค่ะ

เป็นวัดบนยอดม่อนโทนสูงราว 20 เมตร เนื้อที่ราว 25 ไร่ ที่นี่เป็นที่รวมยอดงานศิลปะ และจำลองงานศิลป์ชั้นยอดของล้านนา

จากหลายแหล่งหลายจังหวัดทั้งในไทยและ สิบสองปันนา ในมณฑลยูนานของจีน มารวมไว้ในที่เดียว น่าทึ่งไปกว่านั้น งานรวบรวมและจำลองของใหม่

เกิดจากแรงผลักดันของเจ้าอาวาสพระครูบามนตรี ธมฺมเมธี ผู้มีฝีมือเก่งกาจงานศิลปะล้านนา ทั้งการหล่อพระ การปั้นและแกะสลักไม้

การไปเยือนวัดนี้จึงดูประหนึ่งไหว้พระในวัดบนเขา และชมของดีเมืองเหนือที่ได้รวบรวมไว้อย่างน่าทึ่ง วิจิตรงดงาม เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเกินกว่าจะประเมินค่าได้

เส้นทางที่งดงาม...

มาจากการเจอะเจอผู้คนที่งดงามระหว่างการเดินทาง

รอยยิ้ม...มิตรภาพ...กำลังใจ...และแรงบันดาลใจร่วมกัน

แบ่งปันความประทับใจ แบ่งปันประสบการณ์ แบ่งปันความเอื้ออาทร แบ่งปันน้ำใจ....

ขอบคุณ...สำหรับกำลังใจและมิตรภาพที่แสนหวาน...ตลอดการเดินทาง...

 

ขอบคุณ...เพื่อนๆๆสามาชิกทุกท่านที่ติตามการเดินทาง...สายบุญกับพนิดา 

ขอบคุณ...เพื่อนร่วมเดินทางไปกับทริบนี้ทุกคนแม้เราจะต่างกลุ่มกัน

ขอบคุณ...ผู้ใหญ่โสทร ที่สร้างบ้านสวนพอเพียงหลังนี้  แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

ความเห็น

ขอบคุณคุณพนิดามากค่ะที่พาเที่ยว คนนอยู่ไกลอย่างอ้อยได้ตามไปดูอย่างละเอียดด้วย รายพระบาทพระนอนน่าดูมาก สักวันหนึ่งจะไปเดิน (ปั่น) ตามรอยค่ะ

 

สาธุ ด้วยคนค่ะ คุณป้า จะแอบมีภาค8ไหม เก็บตก

Glitter

อนุโมทนาด้วยครับ วัดสวยงามน่าเที่ยวมากครับ Cool

เต็มอิ่ม เต็มบุญ อนุโมทนาด้วยครับ

สาธุค่ะป้าดา ที่พาไปเอาบุญ

   ยินดี ดวยความจริงใจ ... กับทางสายบุญ ครับ ...

     แต่ที่ลุงจะเขียนต่อนี่ ไม่มั่นใจ ว่า จะเหมาะไหม ? จึงต้องขออภัยไว้ก่อน

          หากจะบอกว่า บูญก็เหมือนอาหาร แต่เป็น อาหารทางจิต

    อาหารกาย ก็มีจิตช่วยปรุง อยากกินนั้น  กินนี่ ... คำแรกที่ส่งเข้าปาก เป็นการเริ่มต้นอิ่ม ... คำสุดท้าย ของมื้อ เป็นจุดเริ่มต้นของความหิว ...

    "ความหิว" ... จะเรียกร้อง ให้ "แสวงหา"

      แสวงหา เพื่อสนอง หิว = เรื่อง ธรรมชาติ ของการบำบัดเวทนา ... และเพื่อสุขภาพกายที่สมบูรณ์ ... จึงจำเป็นต้องมี

          แต่หาก ...

     แสวงหา เพื่อสนอง อยาก = เรื่อง กิเลส ซึ่งเป็นส่วนเกิน ... การบริโภคเพื่อสนองอยาก อาจเป็นเหตุก่อโรคสุขภาพกาย หลาย ๆ ประการ ได้

       บุญ ก็ไม่ห่างกันนัก

      บุญ อยาก ... จะถูกปรุง ไปเรื่อย ๆ หาจุดจบไม่ได้ ... อาจหลงบุญ ... แล้วจะ สะสมกลายเป็นส่วนเกิน

    บุญ หิว ... เป็นเครื่องบำรุงกุศลให้เริญ แข็งแรง ... จำต้องมี

 

ขอบคุณที่พาไปชมทั้งภาพทุ้งบรรยายละเอียดคนไม่มีโอกาสได้ไปก็เหมือนได้ไปด้วยเลยค่ะ ทริปหน้าไปไหนอีกคะ จะตามชมค่ะ

เต็มอิ่มในภาพ เนื้อหา พร้อมกับร่วมยินดีทริปสายบุญด้วยค่ะ..

จบททริปอิ่มบุญกันถ้วนหน้าเลยนะคะ

แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

สวัสดีค่ะ คุณพนิดา - ไปเองกับครอบครัวเหรอค่ะ ถ่ายรุปสวยๆๆได้เยอะเลย ทิพย์ไปทำบุญเก้าวัดไปกับคณะ อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ Laughing

ชีวิตที่เรียบง่ายกับความพอใจในสิ่งที่มี

หน้า