ธรรมมะ กับ เกษตร
ปัจจุบันผมทำงานออฟฟิศ แต่รู้สึกฝืนๆ รู้สึกว่ายังต้องพึ่งพาสถานการณ์บ้านเมือง ต้องขึ้นอยู่กับเศรฐกิจ ไม่เป็นอิสระ ต้องคิดให้คนอื่น เหมือนไม่ใช่อย่างที่เราชอบ ซึ่งส่วนตัวชอบธรรมชาติ ชอบความสงบ ชอบปฏิบัติธรรม เป้าหมายชีวิผมเอง ไม่ได้หวังเงินเป็นหลัก แค่อยากใช่ชีวิตแบบสงบกับธรรมชาติ ปฏิบัติธรรมไปแบบเรียบๆง่ายๆ สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ตอนนี้ผมมีที่ ที่ยังไม่เป็น นส 3 อยู่ 5ไร่ ซื้อต่อจากเจ้าของเดิมมา ที่เป็นที่บนเนินเขา ในเขตหล่มสักครับ ห่างจากเขื่อนห้วยขอนแก่น 10 โล ใกล้ที่ดินมีคลองชลประทานจากห้วยขอนแก่นไหลผ่าน แต่มีถนนสาธารณะ กับที่ดินคนอื่นขั้นอยู่ ที่ดินเป็นดินปนลูกลัง ขุดบ่อไว้ 1 ไร่ ลึก 4 เมตร ลองเอาขี้วัวกับปุ๋ย ยูเรียโรย แต่เก็บน้ำได้แค่ก้นบ่อตื้นๆ เคยเอาไม้ล้อมลง 30 ต้น เหลือแค่2-3 ต้น เพราะน้ำไม่ถึง ส่วนไผ่ลงไป 200 หน่อ เหลือ 10 หน่อ ตอนนี้กำลังคิดถึงถังปลอกส้วมก่อเป็นแท่งสำหรับเก็บน้ำ แล้ววางระบบน้ำหยด แต่ก็ยังหาไม่ได้ เนื่องจากยังพักอยู่ กทม. มีเวลาไปเดือนละครั้ง แต่ก็ได้ขุดน้ำบาดาลไว้แล้วแต่ยังไม่ได้ติดตั้งปั๊มแต่รู้สึกว่าน้ำที่ได้มีไม่ค่อยมาก ไม่รู้หน้าแล้งจะดูดขึ้นมาใช้ได้ไหม ครั้นครองชลประทานที่มีก็ไม่ได้ติดที่เรา ไม่รู้จะเอาน้ำมาใช้ยังไง เอารถไปขนก็ไม่มีงบมากขนาดนั้น ที่ดินข้างๆกันมีเนื้อที่ 12 ไร่ เป็นสถานปฏิบัติธรรมที่เพื่อนๆสมาชิกช่วยกันสร้างไว้ โดยมีศาลาปฏิบัติธรรม และมีพระประทานกลางแจ้ง มีห้องน้ำ เรียบร้อยดีแล้ว เนื่องจากครอบครัวเป้นนักปฏิบัติธรรมมานาน และได้เปิดเป็นสถานที่สอนและให้คำแนะนำการปฏิบัติกับผู้สนใจมา 20 กว่าปี จึงมีเพื่อนสมาชิกปฏิบัติพอสมควร ผมเลยมีแนวคิด อยากที่ทำพื้นที่ 5 ไร่ของผมซึ่งติดอยู่กับสถานปฏิบัติธรรม ให้เป็นสวนเกษตร ที่พึ่งพาตัวเองได้ และมีความร่มรื่น สงบ สำหรับให้เพื่อนนักปฏิบัติ และผู้สนใจในการปฏิบัติธรรมใช้เป็นที่หาความสงบ ปักกรด หรือ อาจ สร้างเป็นกระต๊อบ เล็กๆ เป็นที่พักเพื่อ ฝึกฝนสมาธิ และอยากใช้เป็นสถานที่แนะนำวิธีปฏิบัติหรือแนวคิดเรื่องธรรมมะที่เป็นประโยชน์ ให้กับผู้มาเยือน แต่ภาพทั้งหมดยังมองเห็นลางๆอยู่ในหัวครับ แนวทางในการปฏิบัติธรรม พอจะมีประสปการณ์เล็กๆน้อยๆ พอแนะนำผู้สนใจธรรมมะเบื้องต้นได้บ้าง แต่วิถีเกษตร แทบจะพูดได้เลยว่าเริ่มจากศูนย์ครับ มีก็เพียงเกล็ดความรู้ที่เข้ามาเก็บเกี่ยวจากในนี้ ซึ่งก็คงต่างจากการปฏิบัติจริง ตอน นี้เลยยังงงๆ มึนๆ กับการที่จะสานต่อ สิ่งที่ได้เริ่มไว้ขอรับ ที่สำคัญทุนก็มีไม่มากเท่าไร คงต้องค่อยเป็นค่อยไป ไม่ทราบว่าพี่ๆท่านใด พอจะมีคำแนะนำให้กับแนวคิดที่ไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้ไหม อีกทั้งพื้นที่ก็ดูเหมือนจะแล้งและมีปัญหาเรื่องน้ำ ไม่ทราบว่าแนวคิดที่ว่า สวนเกษตรโฮมสเตที่ควบคู่ไปกับการเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมเล็กๆ พอจะเป็นไปได้ไหมครับในพื้นที่ของผม ถ้าเป็นไปได้ ควรก้าวต่อไปยังไงครับ ตอนนี้ทำอะไรก็ยังกลัวพลาด อยากออกจากงานไปทำเต็มตัวก็ยังไม่มั่นใจ ครั้นจะถอยหลัง คงไม่ถอยครับแต่ไม่รู้จะเดินไปยังไงก่อน เพราะที่ลองไป ก็หมดไปเกือบแสน เลยพยายามอยู่เฉยๆดูท่าทีไปก่อนครับ จะให้บวชไปเสียเลยก็ยังมีภาระที่ยังทิ้งไม่ได้ครับ เลยพยายามที่จะเข้าใกล้ธรรมมะ และ ธรรมชาติให้มากที่สุด เลยสนใจ เกษตรพอเพียง เกษตรยั่งยืน เผื่อจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับเราครับ จริงๆอยากเอารูปที่ดินลงให้เพื่อนๆพี่ๆดูเผื่อจะให้คำแนะนำได้ชัดเจนยิ่งขึ้นครับ แต่ทำไม่เป็นครับ พยายามอยู่หลายครั้ง ไม่สำเร็จซะที @^_^@
- บล็อกของ inrobinson
- อ่าน 2836 ครั้ง
ความเห็น
inrobinson
16 พฤษภาคม, 2013 - 11:53
Permalink
ขออนุญาติลงลิ้งค์ที่ฝากรูปไว้ครับ
http://image.ohozaa.com/view2/wPOoCGjBDjz2uIZz
http://image.ohozaa.com/view2/wPO7T4xpDN7ndkm3
http://image.ohozaa.com/view2/wPO8zBZfFxhPFJm1
http://image.ohozaa.com/view2/wPO81W0sJqrpm7NA
http://image.ohozaa.com/view2/wPOoULeo5X4Ch7IK
http://image.ohozaa.com/view2/wPOp9El20lONf0VB
http://image.ohozaa.com/view2/wPO8f3dHdMYZtJZg
OOD
16 พฤษภาคม, 2013 - 13:07
Permalink
Re: ธรรมมะ กับ เกษตร
ลองปลูกต้นไม้ที่ไม่ต้องการการดูแลมากดูมั๊ยคะ ไม่ต้องดูแลเอาใจมากมายแต่ก็ให้ผลผลิตที่ดี เช่นมะม่วงหิมพานต์ มะขามเปรี้ยว แล้วก็ปลูกไม้ยืนต้นไม้ป่าพวกยางนา ประดู่ ตะเคียน เริ่มลงปลูกช่วงต้นฝนอัตราการรอดสูงค่ะ
inrobinson
16 พฤษภาคม, 2013 - 13:43
Permalink
Re: ธรรมมะ กับ เกษตร
ขอบคุณครับ แล้วมันเป็นไม้ให้ร่มไหมครับ ? เดิมทีอยากปลูกกล้วยกับไผ่ แต่ลองลงไป ตายเกือยบ 100 เปอร์เซนครับ ไม่มีคนลดน้ำ เลยกำลังหาวิธีจัดการกับน้ำ หรือ ไม่ก็วิธีเอาน้ำจากคลองชลประทานมาใช้ แต่พืชทนแล้งอย่างที่ คุณ OOD แนะนำก็น่าสนใจดีครับ เดี๋ยวผมจะไปหาข้อมูลเพิ่ม ว่าแต่ถ้ายังไม่มีระบบน้ำ แล้วผมลงต้นฝนนี้เลย พอหมดปลายฝน มันจะลอดไปถึงฝนหน้าไหมครับ @^_^@ แล้วควรเอาต้นกล้า หรือ เมล็ดไปปลูกดีครับ
เสิน
16 พฤษภาคม, 2013 - 15:28
Permalink
Re: ธรรมมะ กับ เกษตร
ปลูกให้ถูกฤดูกาล ไม้จะรอดตาย เรื่องอื่นค่อยว่ากัน
..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..
เกิดกับหมอตำแย
16 พฤษภาคม, 2013 - 19:50
Permalink
Re: ธรรมมะ กับ เกษตร
แวะมาให้กำลัง
sudjai_waitong@hotmail.com
0805401058
inrobinson
17 พฤษภาคม, 2013 - 09:15
Permalink
Re: ธรรมมะ กับ เกษตร
ขอบคุณครับ .. @^_^@ ว่าแต่ตอนนี้ผมควรทำระบบน้ำหยดก่อนดีไหมครับ แล้วท่านใดมีข้อมูลการทำระบบน้ำหยด รวมถึงวิธีทำถังเก็บน้ำปลอกส้วม ต้นทุนในการทำ รบกวนขอคำแนะนำด้วยครับ เดี๋ยวเข้าพรรษานี้ขึ้นไป กะว่าจะหาเมล็ดต้นปีบ ไปหว่านทิ้งไว้ครับ อาจจะลองหามะม่วงหิมพานต์ต้นเล็กๆ ไปลงทิ้งไว้ด้วยครับ
inrobinson
17 พฤษภาคม, 2013 - 09:31
Permalink
Re: ธรรมมะ กับ เกษตร
รูปนี้ถ่ายเมื่ออาทิตย์ที่แล้วครับ พอดีมีฝนลงมาบ้าง
http://pic.free.in.th/id/44eed8b82faab541737069f199e82d95
http://pic.free.in.th/id/ace4ddc88d32a476d6d24c5c4dd4b4e0
http://pic.free.in.th/id/3b0f08268c33686b4b8cd480aef8f103
http://pic.free.in.th/id/343767a9baf0221f4164a4d3497648a2
อันนี้เป็นรูปศาลาปฏิบัติธรรมที่ติดกับที่ดินครับ ตอนนี้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วครับ
http://pic.free.in.th/id/610fc643e08e02546b89f1a203fe962d
http://pic.free.in.th/id/0a0c57979d5eb9bb812e608e9d554080
http://pic.free.in.th/id/99ebc9b6d2efa51e7b100ba3c587d187
http://pic.free.in.th/id/79cb00c72414d402758802fc3a775354
วรนุช
18 พฤษภาคม, 2013 - 10:07
Permalink
Re: ธรรมมะ กับ เกษตร
ค่อยเป็นค่อยไปนะคะ ดูพื้นที่แล้วน่าจะเก็บน้ำไม่ค่อยอยู่ ฝนนี้ลองปลูกต้นไม้ป่าเนื้อแข็งก่อน ปลูกทุกอย่างเลยค่ะ ระบบน้ำหยดลงทุนเยอะ ถ้าน้ำเราไม่ดี ก็ไม่มีประโยชน์ สู้เราปลูกให้เทวดาเลี้ยงไปก่อน ปรับพื้นที่ให้เขียวร่มรื่นก่อน ต่อไปจะสร้างอะไรก็ง่ายขึ้น สู้สู้นะคะ
inrobinson
22 พฤษภาคม, 2013 - 09:36
Permalink
Re: ธรรมมะ กับ เกษตร
งั้นผมปล่อยให้ไม้ป่าขึ้นเองตามธรรมชาติ ไปก่อน ไม่ต้องตัดทิ้งดีไหมครับ ปกติตัดทิ้งหมด เหลือไว้แต่ต้นที่รู้จัก อย่างมีต้นงิ้วต้นนึงมาขึ้นอยู่ ผมก็เก็บไว้ ปีเดียวเอง
สูง 3 เมตรแล้วครับ @^_^@
ป้าเล็ก..อุบล
22 พฤษภาคม, 2013 - 20:48
Permalink
Re: ธรรมมะ กับ เกษตร
ช่วงนี้น่าจะปลูกได้นะ มะขาม ฝังเมล็ดเลย คิดว่ารอดนะ เมล้ดอะไรก็ฝังๆไป มะรุมก็ลงได้ ทนดี โตเร็ว ใช้ประโยชน์ได้
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com