เจียวกู้หลาน (Jiaogulan)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เจียวกู้หลาน (Jiaogulan) , ชาปัญจขันธ์  , ชากวนอิม   หรือชาสตูล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gynostemmapen taphyllum  วงศ์  Cucurbitaceae  

ชื่ออื่นๆ   Southern ginseng (โสมภาคใต้)            ,  5-Leaf ginseng (โสมห้าใบ)

ภาพต้นเจียวกู้หลาน ปลูกที่หน้าบ้านข้างโรงจอดรถ ที่ภูเก็ต  ช่วง ตค. 53-มิย.54

      ผมเดินจตุจักร ตค.53  เจอเจียวกู้หลานร้านเดียวและมีต้นต้นเดียว จึงซื้อปลูกที่ภูเก็ต เป็นพืชเถาว์คล้ายต้นมะระขี้นก  จึงทดลองตัดเถาว์ปักชำ ประมาร 7-10 วัน งอกราก ย้ายปลูก  ขยายพันธุ์ได้ 30-40 ต้น  ผมจะเด็ดใบสดมากินกับน้ำพริกบ้างแกงบ้าง  ต้นที่ขยายได้ ก็ขายไปบ้าง พอเดือน มิย. 54 ทุกต้นไม่ว่าต้นอายุมากหรือต้นที่เพิ่งชำใหม่จะออกดอก และไม่โต ในที่สุดก็ตายหมด  จากการค้นหาข้อมูลพบว่า เป็นพืชที่มีสรรพคุณทางยา ดังนี้


         มีสาร"ซาโปนิน" รักษาโรคตับอักเสบและเบาหวาน มีคุณสมบัติคล้ายโสม  มีสาร"Gynpenosides"  มากกว่าโสม 3-4 เท่า  ช่วยบำรุงร่างกาย  เพิ่มความแข็งแกร่งให้เซลล์  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการสั่งการของสมอง ลดความดันโลหิต  ลดคลอเลสเตอรอล  ฟอสฟอไลปิดและกรดไขมันอิสระ  ลดน้ำตาลในเลือด  ชะลอความชรา ยืดอายุ เซลล์  รักษาโรคปวดหัวข้างเดียว(ไมเกร็น)  สร้างเซลล์สมองทำให้ความจำดี กระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาว ช่วยผู้มีอาการภูมิแพ้ แพ้อากาศ ลดน้ำตาลในกระแสโลหิต ป้องกันมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระและอื่น ๆ

          ปัจจุบันมีการผลิตเป็น "ชาเจียวกูหลาน"  สำหรับชงดื่มแทนน้ำ  ผมก็ลองซื้อมาชงกิน  ปรากฏว่ามีแต่เถาว์แทบไม่มีใบเลย

          ต้นเดือน พย. ที่ผ่านมา ผมได้ไปดูต้นไม้แถบคลอง 15  ตลอดสายพบร้านที่ขายสมุนไพร อยู่ ร้านเดียว จึงซื้อไปปลูกที่ภูเก็ตเป็นครั้งที่2  ครั้งนี้ ผมนำดินกลบเถาตรงใกล้ๆโคน จากนั้น 10 วัน มีรากงอก ก็ตัดย้ายปลูก  ก็เป็นวิธีการที่ง่ายๆ ครับ  ครั้งนี้ก็จะเช็คดูว่า เมื่อออกดอกแล้วจะมีเมล็ดหรือไม่ และจะโตได้อีกหรือเปล่า

 

 

ความเห็น

ต้องแสวงหามาปลูกบ้างแล้วคะ ประโยชน์เหลือหลาย

ที่ภูเก็ตยังมีแบ่งขายอยู่หรือเปล่าครับ พอดีเป็นเบาหวานอยากปลูกไว้กินลดน้ำตาลในเลือด

หน้า