อ.ชาลี ศิลปรัศมี
เราเชิญท่านไปในฐานะ “ครู” ที่อยู่ใกล้บ้านคนหนึ่ง แน่นนอนคนหนึ่งที่ว่านี้คือคนที่เข้าใกล้ “ซีไรต์” อันเป็นรางวัลสูงส่งของ “วรรณกรรมยอดเยี่ยม”ในแต่ละปี เราย่อมได้อะไรที่มากมาย จากการนั่งล้อมวงถ่ายทอดกันอย่างใกล้ชิด จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น “ตัวต่อตัว แบบผ้าขาม้าคาดพุง”
กับหัวข้อที่ยิ่งใหญ่ หากแต่ไม่ร้าวใจ คลับคล้ายกับรายการ”ธรรมะ” อะไรประมาณนั้น
“ภาษาไทยเพื่อการเรียนรู้และสื่อสาร”ต่อพวงกับ “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตนเอง”
“เธอสื่อสารกันอย่างไร และรูปแบบใดบ้าง”
คำถามจาก ”ครู” เป็นเบื้องต้น ก่อนจะมาเป็นเรื่องเป็นราวเกี่ยวกับ อักขระวิธี วจีวิพากย์ วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์ พร้อมคำอธิบายจากปากคำของครูประกอบสลับกับการให้พวกเรา ได้คิด ได้ตอบ กันอย่างครื้นเครงบรรเลงใจ แต่นั่นแหละ นั่นมันแค่น้ำจิ่มจานต้น ความสุขของคนเรามักมีช่วงเวลาอันสั้นเสมอ “เธอรู้อะไรเกี่ยวกับประวัติ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัดของเธอบ้าง”
“ถ้าเธอไม่รู้ว่าเธอกำลังยืนอยู่บนอะไร แล้วเธอยังจะคิดแบกอะไรอีกหรือ” คมกริบในฐานะนักเขียน ก่อให้เกิดการขุดคุ้ยในความคิดตามแบบฉบับฐานะนักประวัติศาสตร์ ใช่..รากฐานที่สำคัญคือการที่เรารู้ว่าเราเป็นใครมาจากไหน หรืออย่างน้อยๆก็รู้ตัวเองได้ว่าเป็นมาอย่างไร ก่อนที่จะเรียนรู้อะไรต่างๆมากมายบนโลกและจักรวาลใบนี้ ตอนนั้นหละ พวกเราถึงได้เงียบกริบดั่งถูกมนต์สะกด เสียงหัวเราะที่ครื้นเครงมาพักใหญ่ บัดนี้เริ่มลดระดับลงมาเป็นแค่เสียงครวนคราง โดยมีเหงื่อเม็ดน้อยเม็ดใหญ่ค่อยๆทยอยเติบโต ออกมาภายในร่มเสื้ออย่างไม่เกรงอกเกรงใจเสียงคำรามของช่องลมแอร์
“ชา” ไปทั่วหน้าลงลึกไปถึงก้นบึ้งหัวใจของเพื่อนพ้องน้องพี่ เกือบยี่สิบกว่าคนรวมทั้งผม หลบหน้าหลบตากับคำถามเหมือนเพิ่งถูกบอกรัก หากแต่คราวนี้ต่างกัน ปวดแปล็บไปถึงขั้วจิตสำนึก เหมือนถูกใครสักคนบอกเลิก โดยพาคนรักใหม่มาหยันเย้ยกันถึงที่ด้วย ก็มิปาน
ใช่...เราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับตัวเอง ประวัติศาสตร์ของพื้นที่อันเป็นที่ ที่เราอยู่ เราประกอบอาชีพ และอาจจะเป็นที่สุดท้ายสำหรับวางร่าง เราเดินทางไปดูงานต่างประเทศ ต่างจังหวัดที่ลักษณะทางกายภาพ ก็ล้วนแล้วแต่แตกต่างจากที่เราอยู่ เรามี และเราเป็น แต่สิ่งที่เราเห็น เราใช้ชีวิตประจำวัน เราแทบไม่รู้เรื่องอะไรเลย เคยได้ยินมาว่าคณะที่ไปดูงานคณะหนึ่ง หลังจากที่เจ้าของพื้นที่กล่าวแนะนำตอนรับเล่าความเป็นมาของจังหวัดเสร็จแล้ว เขาก็ให้เกียรติเชิญเราในฐานะผู้มาดูงานขึ้นมาเล่าประวิติศาสตร์ของเราบ้าง....แล้วความดูไม่จืดก็ตามมาในห้วงเวลาแห่งนั้น
การเรียนรู้เรื่องภายนอกเป็นเรื่องที่ดีมาก แต่ขณะเดียวกันการรู้จักรากเหง้าของตัวเองไปด้วยก็จะเป็นการดีกว่าไม่ใช่หรือ เราเรียนรู้แค่เพื่อที่จะทำข้อสอบตอบคำถามตามตำรา บางครั้งหนังสือตำราเรียนมันผิดจากข้อเท็จจริงในพื้นที่จริง แต่ครูที่รู้อยู่เต็มอกว่าผิดก็ต้องสอนไปตามตำราจนกว่าจะมีการตรวจทานแก้ไข เพราะเวลาข้อสอบออกมาผู้เรียนก็ต้องตอบตามตำราถึงจะได้คะแนน
เรื่องราวต่างๆจากคำบอกเล่าของครู ผ่านหู ผ่านหน้า ผ่านตาพวกเราเป็นชุดๆ สลับกับเสียงหัวเราะดุๆ ต่อว่าอย่างเป็นกันเองเกือบห้าชั่วโมง จากเช้าจรดเย็น เป็นความชาที่เราต้องจำจนมุมรองรับ รับไว้และเตรียมหาข้อมูลของพื้นที่มาชโลมผิวความชาที่บาดเจ็บ
“ปล๋อเชียวนะ หลักศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง แล้วความเป็นมาของหลักศิลาจารึกหลักที่ ๒๓ อยู่ที่ไหนอย่างไรบ้าง”
ฮากันตรึมอีกครั้ง หลังจากที่ครูถามว่าใครรู้จัก หลักศิลาจารึกบ้าง และมีเพื่อนเราบ้างคนลุกขึ้นอธิบายได้อย่างเป็นตุเป็นตะ เป็นความฮาที่ชากันไปทั่วแผ่นและทั่วหน้าทุกตัวตน
“อ้าว..ของฝาก เสาร์หน้า...ครูจะถามว่าประวัติอำเภอของเธอแต่ละคนมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง”ทิ้งไกด์ไลน์ก่อนจะจบกันไป
ของฝาก เหมือนเป็นการบอกให้เรามาเตรียมตัวมาให้พร้อมเพื่อที่จะได้หลบมัดได้ทันบ้างในครั้งต่อไป ก่อนจากกันเราได้บอกกับ “ครู” ว่า
“พวกเราโขคดีมากที่สุดก็ตรงที่อย่างน้อยๆพวกเราก็รู้ว่าในพื้นที่ ที่เราอยู่นี้ เรามี “อัจฉริยะบุคลล”อยู่ใกล้ๆแค่ห้วงลมหายใจ และเรียนรู้กันแบบภาษาใต้ ที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ตรงเผง....”
“เมื่อรู้ว่ามี เมื่อรู้ว่าใกล้ ก็ควรรู้ด้วยว่าจะใช้ประโยขน์จากสิ่งที่มี สิ่งที่อยู่ใกล้นั่น ให้เป็นประโยชน์อย่างไร” ครูบอก
“ชา” กันอีกดอกนึงก่อนครูจะไป
ผู้ที่สนใจรบกวนตาม อ.ชาลี ศิลปรัศมี ตามรหัสนี้นะครับ...ผมทำลิงค์ไม่เป็น ขอโทษด้วยครับ
blog.eduzones.com/tambralinga/1823
brainbank.nesdb.go.th/นายชาลศลปรศม/tabid/235/Default.aspx
................................................
ตอนนี้กระผมคงต้องขอตัวไปค้นหา ประวัติศาสตร์อำเภอทุ่งใหญ่ก่อนนะครับ วันหน้ามีโอกาสจะมาเล่าสู่กันอีก
“โอ้เจอแล้ว..วัดภูเขาหลักเจดีย์ศรีวิชัย สร้างมาตั้ง ๑๕๐๐ ปี แล้วหรือเนี้ยะ..”
“ตายๆเพิ่งรู้...วันนี้แฮะ”
- บล็อกของ มานี มานะ วีระ ชูใจ
- อ่าน 5875 ครั้ง
ความเห็น
มานี มานะ วีระ ชูใจ
19 กันยายน, 2010 - 19:21
Permalink
น้ำท่วมทุ่ง
ผักบุ้งโหวงเหวงตะหาก...
ก็แค่พยายามสื่อ...อยากให้เราสนใจท้องถิ่นที่เราอยู่บ้าง
อย่างน้อยๆก็จะได้บอกเพื่อนได้ว่า..
ท้องถิ่นเรามีอะไรบ้างที่พอเที่ยวได้ น่าสนใจ
หลงทางไปต่างถิ่นยังกล้าถามคนข้างทางได้...
หลงถิ่นบ้านตัวเองจะกล้าชะโงกหน้าออกมาถามใคร...
เป็นเพียงแค่มดตะนอย ตัวจ้อยจิด ทีพลัดติดกลางช่อ พอเพียงใหญ่
คือหนึ่งเสียงหนึ่งคิดเห็น ที่เป็นไป อาจถูกใจหรือไม่บ้าง ลองชั่งดู
lekonshore
19 กันยายน, 2010 - 18:19
Permalink
อ่านแล้ว 2
อ่านแล้ว 2 รอบนะเดี๊ยวจะกลับมาอ่านใหม่แล้วค่อยว่ากัน
แบบว่าซึ้งเกิน อารมย์อย่างเราคงยังเข้าไม่ถึงขั้น
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
มานี มานะ วีระ ชูใจ
19 กันยายน, 2010 - 19:10
Permalink
ไม่ถึง...
งานเล็กๆน้อยๆอย่างเราไม่มีโอกาสได้ใช้คำแบบนั้นหรอกครับ...
ดั่ง ปราย พันแสง ว่า...นักเขียนที่มีชื่อยิ่งใหญ่เท่านั้นหละครับ
ถึงจะมีสิทธ์ใช้คำว่า..เขียนไม่ออก
และเป็นงานที่อ่านยาก...(อันนี้ผมเสริมครับ)
เป็นเพียงแค่มดตะนอย ตัวจ้อยจิด ทีพลัดติดกลางช่อ พอเพียงใหญ่
คือหนึ่งเสียงหนึ่งคิดเห็น ที่เป็นไป อาจถูกใจหรือไม่บ้าง ลองชั่งดู
KASETMCOT
19 กันยายน, 2010 - 19:46
Permalink
อ่านแล้วซึ้ง
อ่านแล้วซึ้งใจดีครับ
มานี มานะ วีระ ชูใจ
19 กันยายน, 2010 - 19:50
Permalink
ขอบคุณครับ...
เคารพในทุกความคิดเห็น..
ที่มีมาและเป็นไป
เป็นเพียงแค่มดตะนอย ตัวจ้อยจิด ทีพลัดติดกลางช่อ พอเพียงใหญ่
คือหนึ่งเสียงหนึ่งคิดเห็น ที่เป็นไป อาจถูกใจหรือไม่บ้าง ลองชั่งดู
น้ำหวาน
19 กันยายน, 2010 - 19:32
Permalink
มานี มานะ วีระ ชูใจ
ถูกค่ะถ้าเรายังไม่รู้จักตัวเราดีพอ แล้วเราจะสามารถที่จะไปรู้อะไรได้อีก ก่อนที่เราจะรู้จักคนอื่นเราต้องรู้จักตัวเราเองให้ดีก่อน สั้นๆง่ายๆแต่ความหมายลึกซิ้งกินใจนะคะ อ่านเรื่องนี้แล้วหวานคงยังมีอีกหลายอย่างที่จะต้องรู้ให้มากกว่านี้ค่ะ ขอบคุณนะคะสำหรับสิ่งดีๆที่นำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ
มานี มานะ วีระ ชูใจ
19 กันยายน, 2010 - 19:34
Permalink
เมื่อรู้แล้ว
จะยังขายดอกแค..ข้างวัดอยู่อีกหรือเป่าจ๊ะเด้กน้อย...
เป็นเพียงแค่มดตะนอย ตัวจ้อยจิด ทีพลัดติดกลางช่อ พอเพียงใหญ่
คือหนึ่งเสียงหนึ่งคิดเห็น ที่เป็นไป อาจถูกใจหรือไม่บ้าง ลองชั่งดู
ย่าวรรณ
19 กันยายน, 2010 - 19:35
Permalink
ของใกล้ตัว
บางครั้งเรามองไม่เห็นคุณค่า และมันก็คงเป็นไปแบบนี้อีกนาน
มานี มานะ วีระ ชูใจ
19 กันยายน, 2010 - 19:38
Permalink
ย่าวรรณ
เราจะตอบได้ทันทีไหม...ว่า
บ้านเรามีหน้าต่างก้บาน มีไฟกี่ดวง
แล้วดวงไหนบ้างที่ขาด...ประมาณนั้นครับ
เป็นเพียงแค่มดตะนอย ตัวจ้อยจิด ทีพลัดติดกลางช่อ พอเพียงใหญ่
คือหนึ่งเสียงหนึ่งคิดเห็น ที่เป็นไป อาจถูกใจหรือไม่บ้าง ลองชั่งดู
little finger
19 กันยายน, 2010 - 19:57
Permalink
พี่พุทรา
อ่านมาจับใจความได้ประโยคสุดท้าย...
"เมื่อรู้ว่ามี เมื่อ รู้ว่าใกล้ ก็ควรรู้ด้วยว่าจะใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีสิ่งที่อยู่ใกล้นั่น ให้เป็นประโยชน์อย่างไร”
....ของบางอย่างเวลามีไม่ใช้ พอถึงเวลาต้องการมันดันหายไป...ทู้กที
หน้า