มีภาษานางรองมาสอน
พอดีเก็บของเสร็จแล้ว เลยจะมาชวนไปเที่ยวแถวบ้านหน่อยครับ บ้านเกิดผมอยู่ที่บ้านหนองยายพิมพื ต.หนองยายพิมพ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยมากคนทั่วไปมักติดว่าคนบุรีรัมย์เป็นไทยเขมร แน่นอนครับไทยเขมรอยู่แล้ว แต่มีประมาณ18% เท่านั้น แต่ไทยลาวเยอะกว่าครับ ประมาณครึ่งของพลเมืองบุรีรัมย์อีกประมาณ 30 % เป็นชาติพันธ์ผมเองไทยโคราช(สำเนียงนางรอง)อีก2% เป็นชาวไทยส่วย หรือกูย
เท้าความให้นิดนึง
ผมเป็นชาวไทยโคราชครับ บรรพบุรุษมาจากเมืองปักธงชัย ปัจจุบันคือ อ.ปักธงชัย ขึ้นกับโคราชครับ เท่าที่ถามคนเก่าคนแกเพื่อถามรากเหง้าความเป็นมาของตัวเอง ได้ความว่า ตันตระกูลทางปูมาจาก เมืองปักธงชัย ส่วนต้นตระกูลทางย่ามาจากเขมรต่ำ ปัจจุบันคือแถวๆ เมืองพระนครที่ประเทศกัมพูชา
ต้นตระกูลย่าเป็นพ่อค้าปลาจากทะเลสาบโตนเลสาบของเขมร มาขายปลาในแถบเมืองโคราช เมืองนางรอง เมืองตลุง(ประโคนชัย ) มาตั้งหลักปักฐานที่บ้านถนนหัก เมืองนางรอง
ต้นตระกูลปู่เป็นชาวนามาจาเมืองปักธงชัย อพยพพี่น้องมาอยู่เมืองนางรอง บริเวณบ้านจะบวก บ้านถนนหัก (ช่วงนั้นนางรองได้เป็นจังหวัดนางรอง ผู้คนบริเวณใกล้เคียงถูกกวาดต้อนให้มาอาศัยรวมกันให้เป็นเมืองใหญ่)
ผลของการอพยพทำให้ภาษา วัฒนธรรม ถูก ผสมผสานกัน หมู่บ้านผมเกิดหลังจากรุ่นปู่ทวดมาอาศัย เลี้ยงวัว ควาย ภาษาที่หมู่บ้านผมและชาวนางรองจะเหมือนกันครับ เป็นภาษาไทยนางรอง สำเนียงคล้ายไทยโคราชถูกครับ บางคำ บางศัพท์ไม่เหมือนกัน ที่ต่างกันเพราะ การกร่อนเสียง ผสมคำ เห็นได้จาก คำขวัญของอำเภอ
คำขวัญเมืองนางรอง (เมืองโบราณนานเนา มะพร้าวเผา น้ำตาลหวาน ศาลหลักเมืองศักดิ์สิทธิ์ เศรษฐกิจก้าวหน้า ภาษานางรอง)
ที่สำคัญเจอกับผมเอง เพื่อนเป็นคนโคราชครับ คุยกับคนละสำเนียง บางทีก็ไม่ถนัดจะฟังมันแปล่งหู ครับ
ที่บ้านผมพูดไทยโคราชสำเนียงนางรอง สำเนียงนางรองมันน่าจะเกิดจากการ กร่อนคำ ผสมคำและยืมคำมาใช้ หมู่บ้านผมพูดภาษานางรองจะอยู่ตรงกลางหมู่บ้านทางทิศเหนือจะพูดลาวอีสาน ทิศใต้จะพูดส่วย ทิศตะวันออกจะพูดเขมร
การยืมภาษาเขมามาใช้เห็นได้ชัด เช่น คำว่า ประด็กฟ้อน คือ การพลิกกลับฟ่อนข้าวที่เปียกน้ำให้แห้ง หรือคำว่า ทวายท้อง คือ อาการท้องอืด
การยืมภาษาลาวอีสานมาใช้เห็นได้ชัด เช่น คำว่าสะหวอยเข่า คือ หิวข้าว ไม่แม่น คือ ไม่ใช่
ส่วนการยืมภาษาส่วยมานี้ยังไม่มีเพราะชาวส่วยพึ่งเข้ามาอาศัย
ตัวอย่างภาษานางรอง
ขวด | กะฮวด |
ทิศเหนือ | ซีกหัวนอน |
ทิศใต้ | ซีกปะตี๋น |
ทิศตะวันตก | ซีกกะตก |
ทิศตะวันออก | ซีกตะออก |
มะละกอ | ละกอ |
ใบช้าพลู | ใบ๋สีพลู |
น้อยหน่า | แหน่ |
กล้วยน้ำว้า | กล้วยเปลือกบ๋าง |
เป็ดไข่ | เป๊ดป๊าบ |
มวนท้อง | ละมวนท่อง |
น้ำมันหมู | ละมันหมู |
ฝนโปรยๆ | ฝนละลึมๆ |
กวักน้ำ | กะวึ๊กน่าม |
อะไรนะ? | ไอ๋เหว่ย? |
เด็กทารกแรกเกิด | ลูกงา |
จมน้ำ | ดึ๊กน่าม |
มืดสลัว | มืดสอึ๊บ |
เขี่ยนหมาก | เขี่ยนหมาก |
เฉอะแฉะ | แฉ่ะประแประ |
เป็นบางคำที่ผมพอจะนึกได้นะครับ เป็นคำที่คนในหมู่บ้านยังพูดกันอยู่ บางคำเหมือนภาษาโคราชแต่นางรองจะสำเนียงแข็งกว่า
คนนางรองบ้านเอ๋ง ไม่ต้องเกรงใจกัน
แต่ถ้ามาบ้านฉัน ห่อเข่ามากิ๋นเอ๋ง ล้อเล่นเด้อ 5555
ใครมีข้อมูลเพิ่ม หรือ ผิดตรงไหนบอกกั๋นดาเด้อ
ภูมิใจมากมาย ที่เกิดเป็นคนไทย ที่พูดภาษานางรอง จะรักษาไว้ให้นานเท่านาน
- อ่าน 16132 ครั้ง
คงคา
22 กันยายน, 2010 - 09:21
Permalink
คนประโคนชัย
ที่บ้านพูดภาษาเขมรครับ
เเต่ตอนนี้นี้ย้ายมาเมืองเลยกำลังเรียนรู้ภาษาคนไทยเลยอยู่ครับ
ไม่ว่าภาษาไหนพวกเราก็คนไทยเหมือนกันครับ
ยายอิ๊ด
22 กันยายน, 2010 - 10:16
Permalink
พี่วัชรพงษ์
ดีใจ ชอบมาก ขอบคุณมากค่ะพี่ ขอก๊อบไว้นะคะ คนไทยก็ต่างที่ต่างถิ่นมาทั้งนั้นค่ะ ไม่ว่าภาคไหนๆ อันที่จริงแล้ว โลกนี้พระเจ้า ไม่ได้แบ่งเขตทวีป หรือประเทศ หรือจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน แม้กระทั่งแบ่งคนชาติไหนเลยค่ะ เราต่างหากมาแบ่งกันเอง..
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
viras2
14 สิงหาคม, 2012 - 13:06
Permalink
Re: มีภาษานางรองมาสอน
น่าสนใจมากครับ ดูจากคำที่ใช้แล้วเป็นไทยผสมเขมร ไม่มีลาว ไม่มีส่วย เช่นคำว่า ฝน + ละลึมๆ , แฉ่ะ + ประแประ