ประเพณีชักพระ หรือ ลากพระ
หมวดหมู่ของบล็อก:
Keywords:
วันออกพรรษา (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑)
ความสำคัญเป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนา กระทำกันหลังวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษา ๑ วัน คือตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่เหนือเรือ รถ หรือล้อเลื่อนที่ชาวบ้านเรียกว่า "พนมพระ" แล้วแห่แหนชักลากไปตามถนนหนทาง หรือในลำน้ำ แล้วแต่สภาพภูมิประเทศจะเหมาะสม ซึ่งชาวใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมาหลายจังหวัดจะมีประเพณีนี้
ประเพณีลากพระของชาวใต้มีมาแต่โบราณและก่อให้เกิดวัฒนธรรมอื่นๆ สืบเนื่องหลายอย่าง เช่น ประเพณีการแข่งขันเรือพาย การประชันโพนหรือแข่งโพน กีฬาซัดต้ม การทำต้มย่าง การเล่นเพลงเรือ เป็นต้น นอกจากนั้นประเพณีชักพระยังก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันทำคุณงามความดี ก่อให้เกิดความสามัคคีธรรมของหมู่คณะ นำความสุขสงบมาให้สังคม
พิธีกรรม เมื่อเดือน ๙ ผ่านไป หลายวัดที่ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะร่วมประเพณีลากพระในเดือน ๑๑ ก็เริ่มเตรียมการหุ้มโพนเพื่อใช้ "คุมโพน" (ประโคมล่วงหน้า) และใช้ประโคมในวันพิธี รวมทั้งให้ชาวบ้านนำไปประชันหรือแข่งขันกับวัดอื่น ๆ การหุ้มโพนมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนทั้งในขุดและขึงหนังตึงเต็มที่ โดยใช้เวลานานแรมเดือนบางวัดมีพิธีไสยศาสตร์ประกอบด้วย แต่ละวัดจะต้องมีโพน ๒ ใบ ให้เสียงทุ้ม ๑ ใบ เสียงแหลม ๑ ใบ วัดไหนมีโพนเสียงดีแข่งขันชนะชาวบ้านก็พลอยได้หน้าชื่นชมยินดีกันไปนานแรมปี
ความสำคัญเป็นประเพณีเนื่องในพุทธศาสนา กระทำกันหลังวันมหาปวารณาหรือวันออกพรรษา ๑ วัน คือตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกที่วางอยู่เหนือเรือ รถ หรือล้อเลื่อนที่ชาวบ้านเรียกว่า "พนมพระ" แล้วแห่แหนชักลากไปตามถนนหนทาง หรือในลำน้ำ แล้วแต่สภาพภูมิประเทศจะเหมาะสม ซึ่งชาวใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงมาหลายจังหวัดจะมีประเพณีนี้
ประเพณีลากพระของชาวใต้มีมาแต่โบราณและก่อให้เกิดวัฒนธรรมอื่นๆ สืบเนื่องหลายอย่าง เช่น ประเพณีการแข่งขันเรือพาย การประชันโพนหรือแข่งโพน กีฬาซัดต้ม การทำต้มย่าง การเล่นเพลงเรือ เป็นต้น นอกจากนั้นประเพณีชักพระยังก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันทำคุณงามความดี ก่อให้เกิดความสามัคคีธรรมของหมู่คณะ นำความสุขสงบมาให้สังคม
พิธีกรรม เมื่อเดือน ๙ ผ่านไป หลายวัดที่ตั้งใจแน่วแน่ว่าจะร่วมประเพณีลากพระในเดือน ๑๑ ก็เริ่มเตรียมการหุ้มโพนเพื่อใช้ "คุมโพน" (ประโคมล่วงหน้า) และใช้ประโคมในวันพิธี รวมทั้งให้ชาวบ้านนำไปประชันหรือแข่งขันกับวัดอื่น ๆ การหุ้มโพนมีกรรมวิธีที่ซับซ้อนทั้งในขุดและขึงหนังตึงเต็มที่ โดยใช้เวลานานแรมเดือนบางวัดมีพิธีไสยศาสตร์ประกอบด้วย แต่ละวัดจะต้องมีโพน ๒ ใบ ให้เสียงทุ้ม ๑ ใบ เสียงแหลม ๑ ใบ วัดไหนมีโพนเสียงดีแข่งขันชนะชาวบ้านก็พลอยได้หน้าชื่นชมยินดีกันไปนานแรมปี
เมื่อใกล้วันลากพระ ประมาณ ๗ หรือ ๓ วัน ทุกวัดที่จะทำการลากพระก็จะเริ่มคุมโพน (ตีประโคม) เพื่อปลุกใจชาวบ้านให้กระตือรือร้นร่วมพิธีลากพระและอาจนำไปท้าทายแข่งขันกับวัดใกล้เคียง พร้อมกันนั้นภิกษุสามเณรและอุบาสกที่มีฝีมือทางช่างก็ช่วยกันตกแต่งเรือพระและพนมพระ (บุษบก) ซึ่งต้องทำกันสุดฝีมือ ทางช่างก็ช่วยกันตกแต่งเรือพระและพนมพระ (บุษบก) ซึ่งต้องทำกันสุดฝีมือ สำหรับอาราธนาพระพุทธรูปประดิษฐาน ถ้าลากทางน้ำเรียกว่า "เรือพระน้ำ" ซึ่งจะใช้เรือจริง ๆ มาประดิษฐ์ตกแต่งถ้าลากพระทางบกเรียกว่า "เรือพระบก" และจะใช้รถหรือล้อเลื่อนประดิษฐ์ตกแต่งให้เป็นรูปเรือ เรือพระน้ำจะใช้เรือสำปั้นหรือเรือสำหรับลากจูง ขนาดบรรทุกความจุประมาณ ๓-๕ เกวียน สมัยก่อนนิยมใช้เรือ ๒-๓ ลำ ผูกขนานกัน ปัจจุบันใช้เพียงลำเดียวเพราะหาเรือยาก ถ้าเป็นเรือพระบก โบราณจะทำเป็นรูปเรือให้คล้ายกับเรือจริงมากที่สุด แต่ต้องพยายามให้มีน้ำน้อย จึงมักใช้ไม้ไผ่สานหรือเสื่อกระจูดมาตกแต่งตรงส่วนที่เป็นแคมเรือและหัวท้ายเรือ การตกแต่งเรือพระบกมักแต่งหัวเรือและท้ายเรือเป็นรูปพญานาค อาจทำเป็นพญานาค ๕ ตัว หรือ ๗ ตัว ใช้กระดาษสีเงิน สีทอง หรือกระดาษสีสะท้อนแสงฉลุลวดลายสวยงามทำเป็นเกล็ดนาค สะท้อนแสงระยิบระยับไปทั้งลำ
ส่วนสำคัญที่สุดของเรือคือ บุษบกจะบรรจงตกแต่งกันอย่างสุดฝีมือ หลังคาบุษบกนิยมทำเป็นแบบจตุรมุขหรือจตุรมุขซ้อน รูปทรงชะลูด งามสง่าสะดุดตาตกแต่งด้วยหางหงส์ ช่อฟ้า ใบระกา ตัวลำยอง กระจัง ฐานพระ บัวปลายเสา คันทวย เป็นต้น เสาบุษบกมีลายแทงหยวก หรือใช้กระดาษสีหรือฉลุลวดลายปิดอย่างประณีตบรรจงงดงามอย่างได้สัดส่วน ยอดบุษบกจะเรียวชะลูด ปลายสุด มักใช้ลูกแก้วฝังหรือติดไว้ เมื่อต้องแสงแดดจะทอแสงระยิบระยับจากปลายบุษบกจะมีธงทำด้วยผ้าหลากสี ผู้ห้อยโยงไปยังส่วนต่าง ๆ ของประทุน หัวและท้าย นอกจากเพื่อความสวยงามแล้ว ยังช่วยพยุงให้บุษบกทรงตัวอยู่ได้อย่างมั่นคง
พระพุทธรูปที่นำมาประดิษฐานประจำเรือพระเรียกว่า "พระลาก" ซึ่งแต่ละวัดจะมีพระประจำวัด เป็นพระพุทธรูปปางคันธารราษฎร์ (ปางขอฝน) เพราะชาวใต้เชื่อว่าการลากพระนอกจากจะได้บุญแล้ว ยังช่วยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลอีกด้วย นอกจากนั้นยังมีความเชือกันว่าขณะที่ลากพระนั้นถ้ามีใครแอบเอาเศษไม้ไปสอดไว้ที่ฐานพระลากจะก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นระหว่างผู้ที่ลากพระด้วยกัน จึงต้องคอยระวังดูแลอย่างใกล้ชิด
อีกส่วนหนึ่งที่เรือพระจะขาดเสียไม่ได้คือ ที่สำหรับแขวนต้มบูชาพระ เพราะพุทธศาสนิกชนทุกครัวเรือนจะพยายามนำต้มไปแขวนบูชาพระลากตามคติความเชื่อให้ครบถ้วนเท่าจำนวนพระ (ซึ่งจะเท่ากับจำนวนวัดที่ลากพระ)
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่อยู่คู่เคียงกับประเพณีชักพระคือ ข้าวต้ม ดังนั้น ก่อนวันลากพระจะมาถึง ๑-๒ วัน ชาวบ้านจะสาละวนอยู่กับการแทงต้ม ซึ่งเริ่มจากการเตรียมหายอดกระพ้อ นำข้าวสารเหนียวมาแช่ให้อิ่มตัวแล้วผัดด้วยกะทิให้เกือบสุก (บางรายนิยมแทรกด้วยถั่ว เรียกว่า "ต้มใส่ถั่ว") ซึ่งต้องต้มถั่วเหลืองหรือถั่วดำให้สุกเสียก่อน เมื่อผัดข้าวเหนียวเข้ากับกะทิจนเกือบจะได้ที่แล้ว จึงค่อยผสมถั่วคลุกเคล้าลงไปให้เข้ากันดี แล้วตักใส่ภาชนะวางทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงนำมาห่อด้วยใบกระพ้อ ห่อเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายฝักกระจับ แต่ละลูกจะมีขนาดโตประมาณกิน ๒-๓ คำ การก่อตัวต้องรู้วิธีม้วนขอดปลายใบกระพ้อขึ้นรูปเป็นมุมแรกสำหรับยัดข้าวเหนียวใส่ รู้วิธีการพันห่อ การสอดซ่อนปลายโคนใบและดึงปลายเพื่อให้รัดแน่นได้รูปทรงสามเหลี่ยมสวยงาม เรียกวิธีการห่อต้มว่า "แทงต้ม" เมื่อแทงต้มเสร็จแล้วจึงนำไปต้มจนน้ำแห้งขอด จะได้ต้มที่สุกเหนียว หอม อร่อย บางคนอาจใช้วิธีการนึ่งได้
เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บรรดาชาวบ้าน อุบาสก อุบาสิกาจะพร้อมกันอัญเชิญพพระพุทธรูปสำหรับใช้เป็นพระลากมาทำพิธีสรงน้ำ ขัดถูก ซึ่งจะใช้มะขามเปียก มะเฟือง หรือส้มอื่น ๆ เพื่อให้แลดูสวยงาม เปลี่ยนผ้าทรงและสมโภช ในคืนนั้น จะต้องเร่งรีบเตรียมเรือพระให้เสร็จสิ้นพร้อมสรรพทุกประการ
เมื่อถึงเช้าตรู่ของวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จะอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานบนบุษบกเหนือเรือพระ นิมนต์พระภิกษุในวัดนั้นทั้งหมดขึ้นนั่งประจำเรือพระ พร้อมทั้งอุบาสกและศิษย์วัดที่จะติดตามและประจำเครื่องประโคมอันมี โพน (กลองเพล) ฆ้อง โหม่ง ฉิ่ง ฉาบ แล้วชาวบ้านก็จะช่วยกันลากเรือพระออกจากวัด (ภิกษุที่จะร่วมไปด้วยต้องรับฉันภัตตาหารเช้าให้เรียบร้อยเสียก่อน) ถ้าเป็นลากพระทางน้ำก็จะใช้เรือพายลาก ถ้าเป็นการลากพระทางบกก็จะใช้คนเดินลากแล้วแต่กรณี ขณะที่ลากเรือพระไปใครจะมาร่วมแขวนต้มบูชาพระ หรือร่วมลากตอนไหนก็ได้ เกือบทุกท้องถิ่นกำหนดให้มีจุดนัดหมาย เพื่อให้บรรดาเรือพระทั้งหมดในละแวกใกล้เคียงไปชุมนุมในที่เดียวกันในเวลาก่อนพระฉันเพล ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาส "แขวนต้ม" และถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสามเณรได้ทั่วทุกวัดหรือมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โอกาสนี้จึงก่อให้เกิดการประกวดประชันกันขึ้นโดยปริยาย เช่น การประกวดเรือพระ การแข่งขันเรือพาย การเล่นเรือโต้แก้จำกัด การประกวดเรือเพรียวประเภทต่าง ๆ เช่น มีฝีพายมากที่สุด แต่งตัวสวยงามที่สุด หรือตลกขบขัน หรือมีความคิดริเริ่มดี มีการแข่งขันตีโพนประเภทตีดัง ตีทน ตีท่าพลิกแพลง ลีลาการตีสวยงาม เป็นต้น และบางทีก็มีกิจกรรมแปลก ๆ เช่น กีฬาซัดต้ม
การประกวดเรือพระสมัยก่อนมักให้รางวัลเป็นของที่จำเป็นสำหรับวัด เช่น น้ำมันก๊าด กาน้ำ ถ้วยชาม สบง จีวร เสนาสนะสงฆ์ แต่ปัจจุบันรางวัลมักจะให้เป็นเงินสด
สำหรับในท้องถิ่นจังหวัดปัตตานี การชักพระทางบก ตามที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า วัดสุวรรณากร (บ่อทอง) วัดโมลีนิมิตร (วัดหรั่ง) วัดหน้าเกตุ วัดมะกรูด วัดปุราณประดิษฐ์ (วัดบู) วัดมะเดื่องทอง (กาโผะ) วัดสมุทรวารี (ป่าโทะ) วัดโรงวาส และวัดใกล้เคียงในอำเภอหนองจิก อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี และอำเภอเทพา อำเภอจะนะ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ได้ชักลากพระวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปตามเส้นทางสู่หน้าที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ เป็นจุดหมายปลายทาง และมีการเฉลิมฉลองกันอย่างสนุกสนาน มีมหรสพให้ชมตลอดทั้งคืน มีการประกวดเรือพระ รุ่งเช้าจะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ตกช่วงบ่ายชักชวนกันลากพระกลับวัด ปัจจุบันประเพณีชักพระอำเภอโคกโพธิ์ มีการสมโภชและการเฉลิมฉลองกันเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ซึ่งเป็นประเพณีที่ภาคภูมิใจของชาวไทยพุทธ
ส่วนการชักพระทางน้ำ ทุกวัดต้องมีการสร้างพระเรือครัว เรือพายหญิง เรือพายชาย ตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม และจะมีการลากพระล่วงไปตามลำน้ำยามูสู่บ้านท่าทราย ใต้ต้นไทรใหญ่กิ่งไพศาลริมน้ำยามู รวมหมู่เทียบเรือพระสมโภชตักบาตร เลี้ยงพระเสร็จแล้วมีการแข่ง ขันเรือพายหญิง เรือพายชาย ไล่สาดน้ำกัน เกี้ยวพาราสี ร้องเพลงขับกล่อมตามประเพณีนิยมท้องถิ่นจนพลบค่ำ
ประเพณีลากพระได้ปรับเปลี่ยนเติมแต่งต่างออกไปจากเดิมหลายอย่าง เช่น นิยมใช้เรือหางยาวแทนเรือเพรียว เพราะจากเรือขนาดใหญ่ทำเรือพระได้ยากขึ้น มีการใช้รถยนต์มาดัดแปลงแทนล้อเลื่อน มีการตกแต่งบุษบกหรือ "นมพระ" ด้วยวัสดุสมัยใหม่ เช่น โฟม กระดาษ พลาสติก หลังคาซ้อนกันเป็นจตุรมุขก็มี บางวัดมีการนำเอากลองยาวมาประกอบขบวนแห่ มีการตั้งหีบรับเงินอนุโมทนา ติดตั้งเครื่องขยายเสียง ชักชวนให้มีการทำบุญหรือเรี่ยไร ประชาชนหันมานิยมซื้อต้มจากตลาดแทนการทำเอามากขึ้น ปรากฏการณ์หลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปจะดีหรือไม่คงไม่มีใครตอบได้ ขอให้ท่านพิจารณาไตร่ตรองเอาเองตามสมควรเถิด
สมาชิกบ้านสวนทางภาคใต้ โดยเฉพาะ พี่เสิน ถ้าได้ไปร่วมในงาน อย่าลืมเก็บภาพบรรยากาศมาฝากกันบ้างนะครับ
- บล็อกของ กระต่ายดำ
- อ่าน 7487 ครั้ง
ความเห็น
Tui
19 ตุลาคม, 2010 - 14:32
Permalink
ขอบคุณ สำหรับ ขอมูล ประเพณี
ขอบคุณ สำหรับ ขอมูล ประเพณี ดีๆ ครับ
ยายอิ๊ด
19 ตุลาคม, 2010 - 14:33
Permalink
กระต่ายดำ
ยายอิ๊ดนึกว่าเขาลากพระกันแล้ว
แต่ดีจังได้ไปเที่ยวปัตตานีก่อนใคร
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
นายวิษณุ พรมอินทร์
19 ตุลาคม, 2010 - 15:57
Permalink
แลเรือพระบก เรือพระน้ำ
ที่แม่ตาปี กะ มีเรือพระบก เรือพระน้ำ น่าแลนะยายอิ๊ด
amporn
19 ตุลาคม, 2010 - 14:38
Permalink
ได้ความรุ้เพิ่มอีกแล้ว
ขอบคุณนะค่ะคุณกระต่ายดำ สำหรับข้อมูลดี ๆ เป็นคนไทยแต่บางทีก็ไม่รุ้อะไรเหมือนกันค่ะ ( น้องแพรเริ่มส่งเสียงคุยกับคุณพ่อคุณแม่หรือยังค่ะ)
ทุกวินาทีมีค่า ถ้าเรามีความหวังเราจะไม่เคยพ่ายแพ้
lekonshore
19 ตุลาคม, 2010 - 14:38
Permalink
พี่กระต่ายดำ
เดี่ยวรอชมของจริงของสงขลาวันอาทิตย์นี้นะค่ะ
จะถ่ายมาให้ชม
msn:lekonshore@hotmail.com
ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร
กระต่ายดำ
19 ตุลาคม, 2010 - 14:52
Permalink
จะตั้งตาคอย
ตั้งใจไว้หลายปีแล้วว่า จะต้องไปร่วมประเพณีลากพระให้ได้ รับปากผู้เฒ่าผู้แก่เขาไว้แล้วด้วยว่าปีนี้ยังไงก็จะไปให้ได้ (ตอนนั้นแฟนยังไม่ท้อง) สุดท้ายก็ไม่ได้ไป
ถึงไม่ได้ไป ก็จะรอชมบรรยากาศจากน้องเล็กนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ แล้วเอาบุญมาฝากด้วยนะ แต่ไม่ต้องถึงกับกรวดน้ำมาให้พี่หรอกนะ ฮา
จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ
จันทร์เจ้า
19 ตุลาคม, 2010 - 14:38
Permalink
ตาลายเลย
ขอบคุณค่ะ พี่ต่าย แล้วจะไปเก็บภาพมาฝากนะคะ อิอิ (ล้อเล่นน่า)
พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า
กระต่ายดำ
19 ตุลาคม, 2010 - 14:42
Permalink
จันทร์เจ้า
อย่าลืมเตรียมทำประกันชีวิตเพิ่ม แล้วก็จัดหาเสื้อกันกระสุน หมวกเหล็ก ไปด้วยนะ คนข้างหลังจะได้ไม่ต้องกังวลใจ
จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ
นายวิษณุ พรมอินทร์
19 ตุลาคม, 2010 - 15:55
Permalink
เฮโลสาระพา
เฮโล เฮลา สาระพา เฮลาเฮโล จัดงานชักพระใหญ่โต บ้านเราคนมามากมาย ฉวยเชือกเรือพระ เดินนำหน้าเลยน้องโร้หม้าย ตุ้ม ตุ้ม เมง เมง ใจหาย อยู่ในอีสาระพา ........ หอนได้ยินเพลงนี้หม้าย ของมาลีฮวนน่า เกี่ยวกับประเพณีลากพระ เหมือนกัน
กระต่ายดำ
19 ตุลาคม, 2010 - 16:14
Permalink
มาลีฮวนน่า
ชอบนะวงนี้ แต่เพลงนี้ ไม่หอนได้ยิน ต้องไปหามาฟังบ้างแล้ว จะได้เรียนรู้ภาษาใต้เพิ่มเติมจากเพลงด้วย
จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ
หน้า