งานทอดกฐิน จังหวัดนครพนม
เก็บตก งานทอดกฐิน จังหวัดนครพนม ต่อจากไป สปป.ลาว มาค่ะ
เอาบุญมาฝากอีกแล้วค่ะ
พิธีทอดกฐิน เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็นกาลทาน แปลว่า "ถวายตามกาลสมัย" คำว่า "กฐิน" มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายความหมายดังนี้
-
- กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ
การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัดเย็บย้อม ทำให้เสร็จในวันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้นก็รื้อเก็บไว้ใช้ในการทำผ้าเช่นนั้นในปีต่อๆ ไป การรื้อแบบไม้นี้เรียกว่า เดาะ ฉะนั้น คำว่า กฐินเดาะ หรือ เดาะกฐิน จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า - กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้
- กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก
- กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีกานสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4
- กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ
- http://www.isangate.com/local/katin_01.html
เสน่ห์ของชาวจังหวัดนครพนมในการทำบุญทอดกฐิน คือชาวบ้านจะนำพืชผักผลไม้ ที่มีในท้องถิ่นมาทำบุญ
เพื่อแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ที่จะพึงมีในอนาคตต่อไป
เมื่อพระสงฆ์รับอนุโมทนากฐินแล้ว ชาวบ้านก็จะนำพืชผลไม้ กลับไปทานต่อ หรือไปปลูกต่อที่บ้านคนละเล็กละน้อย
แบ่งๆกันด้วยอัฐยาศัยไมตรี เรียกว่าเอาไปเป็นมูลเป็นมัง (มูล หมายถึง มรดก)ให้ลูกหลานสืบไป
ใบหน้าที่เปื้อนด้วยรอยยิ้ม และศรัทธาแห่งบุญ....อิ่มเอมฉายแววของความเมตตา...ต่อผู้มาเยือน
ขอบคุณค่ะ
- บล็อกของ สวนฟักแฟงแตงไทย
- อ่าน 4697 ครั้ง
ความเห็น
ป้าเล็ก..อุบล
6 ธันวาคม, 2010 - 13:40
Permalink
อ้อยลำยาวมาก
ชอบภาพที่มีผักผลไม้ แขวนๆ เต็มไปหมด แล้วเขาจะเอาไปทำกินตอนไหน ถ้าถักเชือกฟางห้อยผลไม้เป็น บอกหน่อยนะ ยังทำไม่เป็น
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
สวนฟักแฟงแตงไทย
6 ธันวาคม, 2010 - 13:52
Permalink
ป้าเล็กคะ
ถักเหมือนสานแหค่ะแต่วงใหญ่กว่าตามขนาดของผลไม้ หรือเหมือนนิตติ้งก็ได้ค่ะ
ป้าเล็ก..อุบล
6 ธันวาคม, 2010 - 13:54
Permalink
ขอบคุณค่ะ
จะลองมั่วๆดูนะ
084-167-4671
anongrat2508@hotmail.com
ยายอิ๊ด
6 ธันวาคม, 2010 - 13:56
Permalink
ดีจังค่ะ
ที่มี ผัก ผลไม้ แขวนเต็มไปหมด เมื่อก่อนแถวบ้านพอช่วงเก็บเกี่ยวข้าว ทุกคนจะเอาข้าวเปลือกไปถวายวัดกันด้วยค่ะ ทางวัดจะมีที่เก็บ เดี๋ยวนี้ ไม่เห็นแล้วค่ะ
#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#
สวนฟักแฟงแตงไทย
6 ธันวาคม, 2010 - 14:18
Permalink
ค่ะ
เพิ่งเห็นที่วัดแห่งนี้...หลังจากที่ไม่ค่อยได้เห็นนานแล้ว
สายพิน
6 ธันวาคม, 2010 - 15:41
Permalink
สะสมบุญ
คุณลำพูลสะสมบุญเสมอเลยนะคะ ที่มีโอกาส ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ ภาพในบล็อกนี้ดูงามวิจิตรเชียวค่ะ สาวน้อยผู้ไปวัดมีใบหน้าหน้าอิ่มบุญด้วยอย่างนี้เอง
สวนฟักแฟงแตงไทย
6 ธันวาคม, 2010 - 20:45
Permalink
ค่ะ
ขอบคุณค่ะ
ส่วนใหญ่ทำแต่งานค่ะ พอมีโอกาสนิดหน่อยก็เป็นแบบนี้เองค่ะ
ลูกข้าวเหนียว
6 ธันวาคม, 2010 - 17:40
Permalink
ลูกโยนค่ะ
ขนมที่แขวน แถวบ้านพี่จะเป็นข้าวต้มลูกโยน..ในเทศกาลเทศน์มหาชาติค่ะ
สาววาริน
6 ธันวาคม, 2010 - 18:34
Permalink
อนุโมทนาสาธุ
สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
แก้ว กุ๊ก กิ๊ก
6 ธันวาคม, 2010 - 21:19
Permalink
ขอบคุณข้อมูล
เพิ่งรู้ที่มาของกฐิน ก็ตอนนี้เอง เชยจริงๆเลยพี่
หน้า