เลียงข้าว

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ชาวนาที่ควนขนุนต้องเก็บข้าวกับแกละ เพราะข้าวจมน้ำ สุดท้ายหวนคืนมาอยู่กับภูมิปัญญาดั้งเดิม    


เลียงข้าว ที่เด็กรุ่นนี้และรุ่นหน้าทางใต้ คงจะไม่เห็นไม่รู้จักกันแล้ว


                                 


                                    ชาวนา ชาวนา หลังสู่ฟ้า เอาหน้าลงสู่ดิน


                                     


ทุ่งสมหวัง ปากทางถนนเข้าบ้านแจ้ว และนาธาร  เป็นทุ่งรวงทองระหว่างควน ฝากเพลงทุ่งรวงทองไว้ในหัวใจพี่น้องบ้านสวนด้วย ส่วนนาพรุของพี่หยอย ตอนนี้เป็นแหล่งชุมนุมของนกมากินข้าวสุกใหม่เสียแล้ว ชาวนามือใหม่มีโจทย์ท้าทายมากมายจังหู   ขอลาต่อเนื่องลงพื้นที่สี่ห้าวัน คิดถึงพี่น้องทุกคนค่ะ  



ความเห็น

สวัสดีค่ะ ใช้เคียวเก็บเป็นฟ่อนข้าว แล้วนวดข้าวอย่างไรค่ะ ถ้าอีสานเขาจะตีข้าวลานดิน เดือนหงาย มีสาโทจิบไปพลาง คิดถึงบรรยากาศตอนไปเป็นอาสาสมัครอยู่ทุงกุลาร้องไห้เสียแล้ว ภาคกลางเขามีอุใช่มั้ยค่ะ  

ชอบภาพ ทุ่ง ข้าวครับ

ดีใจที่ชอบ อย่าลืมหาเพลงทุ่งรวงทองไปฟังนะคะ มีความสุขมากๆค่ะ  

                                       


    ชาวนาอิ่มใจมากค่ะน้อง พี่ก็คงยึดนาพรุเป็นเรือนตายครับ ขอบคุณอย่างซาบซึ้งใจอีกครั้ง ด้วยภาพนี้

เห็นข้าวแล้ว นึกถึงตอนไปบ้านเกิด วิ่งอยู่ทุ่งนา หอมกลิ่นข้าวค่ะ

ไร่นึงได้ประมาณกี่เลียงค่ะ เห็นแล้วปวดหลังแทนเลย

 

นาที่ทำ เป็นนาดำหรือนาหว่านคะ ดูจากภาพแล้ว เก็บยากมั๊ยคะ...ที่บ้านก็ทำนาเหมือนกัน (งานของพ่อ หลังเกษียณค่ะ) ทำพอกินไม่ได้ขาย

พัทลุงส่วนใหญ่ทำนาดำค่ะ เพราะเป็นที่ราบลุ่ม ส่วนที่โคกหรือที่ดอนนิยมทำนาหว่านกัน

ที่บ้านยายอิ๊ดเรียก แกะค่ะ  ยายอิ๊ดเคยเก็บข้าว และเคยเคียวข้าวก็ได้ค่ะ แต่ไม่ได้เก็บมาปลายปีแล้ว หอมฟางข้าว

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

หน้า