เทคนิคดูแลมะเขือเทศง่ายๆด้วยตัวเอง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

สำหรับ สมช.ที่กำลังคิดที่จะปลูกมะเขือเทศกัน หรือว่าลงมือลงไม้ปลูกไปแล้วบ้างก็ตาม วันนี้มีเทคนิคการดูแลมาฝาก ง่ายๆไม่ยุ่งยาก เทคนิคนี้เราได้ทดลองมาแล้วถึง 2 ปีซ้อน และเห็นว่ามันได้ผลจริงเป็นที่น่าพอใจ จึงนำมาบอกสมช.บ้านสวนกันโดยไม่ต้องเสียเงิน เพราะเราเสียเงินเข้าไปฟังการบรรยายมาจาก อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเขือเทศโดยตรง จากมหาวิทยาลัย UCLA สหรัฐอเมริกา ซึ่งเราเสียเงินค่าที่นั่งไป $30.00 US. แต่วันนี้เราเอามาแบ่งปันพี่น้องชาวบ้านสวนฟรีๆ โดยไม่เสียเงินแม้แต่บาทเดียว

อันดับแรกเลยคือ เตรียมดินให้พร้อมโดยผสมดินหรือปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกเข้ากับเปลือกไข่ โดยบดเปลือกไข่ไก่ หรือไข่เป็ดก็ได้ ผสมให้เข้ากัน (เปลือกไข่จะไส่ครกตำก็ได้ยิ่งดี หรือจะขยำ บี้ๆให้แตกก็ได้)

ต่อมาเมื่อมะเขือเทศโตได้ที่ให้สังเกตุดอก หากมีดอกออกมา แต่ไม่มีผล หรือมีดอกแต่ดอกร่วง สัญญาณนี้เป็นไปได้สองอย่างคือ 1.นั้นหมายถึงมะเขือเทศต้นนั้นขาด "แคลเซียม" 2. อากาศหนาวจัด และร้อนจัด ทำให้ต้นปรับตัวเข้ากับอากาศไม่ทันเลยส่งผลไปที่ดอก ทำให้ดอกร่วง แต่เหตุผลข้อที่สองนั้น อาจจะเกิดขึ้นเฉพาะกับอากาศที่เมืองนอกเท่านั้น เพราะอากาศที่ต่างประเทศจะไม่คงที่ กลาวงวันจะร้อนจัด พอตกกลางคืนก้จะหนาวจัด เลยทำให้ต้นปรับตัวยาก ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้นกับอากาศที่เมืองไทย ถ้าที่เมืองไทยก็น่าจะเป็นข้อ1. นะ คือ ขาดแคลเซียม เราสามารถทดแทนให้ ด้วยเปลือกไข่ คือนำเปลือกไข่มาบดแล้วก็นำไปโรยรอบๆต้นมะเขือเทศ แล้วรดน้ำตามปกติ หลังจากนั้น 2-3 สัปดาห์ต่อมาคุณก็จะเห็นว่ามีผลมะเขือเทศออกมาให้เห็น หากครบ 1 เดือนไปแล้ว ยังไม่มีผลผลิต ก็จัดการถอนต้นนี้ทิ้งไปได้เลย เสียเวลาดูแลเปล่าๆ เพราะมันเป็นต้นตัวผู้นั้นเอง ทำยังไงก็คงไม่มีดอก

และเมื่อต้นโตเต็มที่ก็ให้สังเกตุระหว่างก้านใบ จะมียอดอ่อนๆแซมขึ้นมา ยอดนี้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า "Suckers" ถ้าในภาษาไทยก็คงจะเป็นพวก "ผมคัน" ยอดนี้ถ้าเห็นมันโผล่ขึ้นมาเมื่อไหร่ ไม่ต้องเสียดายนะค่ะ ให้จัดการเด็ดทิ้งทันที กำจัดทิ้งไปโดยเร็ว เพราะมันเป็นตัวดูดสารอาหารและแร่ธาตุทั้งหมดไปจากผล ทำให้ลูกมะเขือเทศไม่โต คือเป็นตัวแย่งสารอาหารนั้นเอง

และให้หมั่นเด็ดใบที่ห้อยลงมาแตะพื้นดินทิ้งไป พยายามอย่าให้ใบไปสัมผัสพื้น เพราะเมื่อใบไปสัมผัสพื้นมันก็จะนำพาเชื้อโรคไปสู่ลำต้น จากใบสู่ใบ แล้วก็รุกรามไปทั้งต้น ถ้าเห็นใบใหนเป็นไหม้ๆ แห้งๆ แดงๆไม่สมบูรณ์ก็ให้ตัดทิ้งไปได้เลย และหมั่นตรวจตราหายอดซัคเก้อ แล้วก็จัดการปลิดมันทิ้งไป

และซัคเก้อตัวร้ายที่สุดสำหรับมะเขือเทศก็คือ ยอดอ่อนที่แทงมาจากใต้ดิน คือมีต้นพ่อ หรือต้นแม่อยู่แล้ว แล้วอยู่ดีๆก้มีหน่ออ่อนๆแทงแซมขึ้นมา แล้วก็ท่าทางจะแข็งแรงซะด้วยสิ ไม่ต้องเสียดายอีกเช่นกัน เพราะมันคือตัวแย่งสารอาหาร หรือตัวดูดเลือดนั้นเอง กำจัดทิ้งโดยเร็ว

และลำดับสุดท้าย คือการทำความสะอาดกรรไกรที่ใช้ตัดแต่งกิ่งมะเขือเทศ มะเขือเทศคือพืชที่ "เจ้าสำอางค์" การดูแลจึงแตกต่างจากพืชอื่นๆทั่วไป คุณสามารถใช้กรรไกรตัดกิ่งมะเขือเทศรวมกับพืชชนิดอื่นๆได้ แต่ต้องทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอร์ทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังใช้ เราขอแนะนำให้ใช้ "ไฮร์เต้อซักผ้าขาว" มาเช็ดก่อน แล้วตามด้วยแอลกอฮอร์ แล้วจึงฉีดพ่นด้วยน้ำยากันสนิมก่อนนำไปเก็บ

แอลกอฮอร์จะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับกรรไกรได้ หากคุณใช้กรรไกรตัดกิ่งมะเขือเทศจากต้นที่ป่วยหรือต้นที่เป็นโรค มันก็จะนำโรคไปติดต่อพืชอื่นๆแล้วรุกรามไปทั่วสวน หรือเป็นพาหะนำโรคจากพืชชนิดอื่นมาสู่มะเขือเทศได้ วิธีป้องกันก็คือ ใช้สำลีเช็ดด้วยแอลลกอฮอร์ โดยการเช็ดไปทิศทางเดียว ใช้สำลีแผ่นต่อแผ่น แล้วทิ้งเลย

 หมายเหตุ: หากคุณใช้กรรไกรตัดกิ่งจากต้นมะเขือเทศอย่างเดียว ไม่ได้ใช้ร่วมกับพืชอื่นๆที่ไม่เป็นโรค ก็ไม่จำเป็นต้องเช็ดด้วยแอลกอฮอร์ก็ได้ คือใช้แอลกอฮอร์เช็ดต่อเมื่อเราใช้ไปตัดต้นที่เป็นโรค

ถ้าคุณปลูกมะเขือเทศลงดิน ครั้งต่อไปคุณต้องเปลี่ยนที่ใหม่ อย่าปลูกซ้ำที่เดิม เพราะรากมะเขือเทศจะมีเชื้อราและแบคทีเรียอยู่ทุกต้น โดยที่ผู้ปลูกไม่เคยถอนรากมันขึ้นมาดูเลย เพราะฉนั้น ควรย้ายที่ปลูกในการปลูกแต่ละครั้ง หากคุณปลูกลงกระถาง ถ้าคุณใช้กระถางเก่าที่เคยปลูกพืชอย่างอื่นมาแล้ว ก็ควรทำความสะอาดกระถางเสียก่อน โดยใช้แปรงขัดดินเก่าออกให้หมด กระถางเก่าอาจจะใช้ปลูกผักอย่างอื่นได้อีกโดยไม่ต้องล้างหรือทำความสะอาด แต่มะเขือเทศนั้นควรจะทำความสะอาดกระถางเสียก่อน (จะไม่ล้างก็ได้ ตามใจถ้ามั่นใจว่ากระถางเก่าที่ปลูกพืชอื่นมาไม่ได้ป่วยเป็นโรค)

เพียงคุณดูแลมะเขือเทศของคุณแบบนี้ บ่อยๆ อาทิตย์ละครั้ง คุณจะมีมะเขือเทศที่สวย สมบูรณ์ ลูกดกเต็มสวน อาจจะได้ลูกใหญ่ และได้ผลผลิตมากกว่าที่ผ่านมาก็ได้ ไม่ลองไม่รู้ เทคนิคนี้สำหรับคนที่ปลูกมะเขือเทศไว้ทานเองที่บ้าน ไม่กี่ต้น คงไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ปลูกขายเยอะๆ 4-5 ไร่ เพราะคุณคงไปเดินตรวจหาซัคเก้อไม่ไหวแน่ๆ วิธีนี้เหมาะสำหรับคุณแม่บ้าน มือใหม่ที่ชอบทานมะเขือเทศ และคิดที่จะปลูกไว้ทานเองที่บ้านเพียงไม่กี่ต้น

เราปลูกมะเขื่อเทศมา 9 ปี ได้ผลผลิตเต็มที่ก็แค่ 100 ลูก จาก 5 ต้น แต่พอเรามาใช้วิธีนี้ 2 ปีหลัง เราได้มะเขือเทศประมาณ 300 ลูกจาก 5 ต้น แล้วก็ได้ลูกใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา ไม่เคยได้มะเขื่อเทศมากเท่านี้มาก่อน

แม้แต่ต้นที่ขาดแคลเซียม ตอนแรกคิดว่าจะถอนทิ้ง เพราะดอกมันร่วงหมดเลย แต่พอมาลองเอาเปลือกไข่ไปเทลง ปรากฏว่ามันติดลูกออกมาประมาณ 10 กว่าลูก เสียดายไม่ได้ถ่ายรูปไว้ให้ดู มันก็ออกลูกมาใหญ่พอสมควร พอได้เก็บไส่สลัดทาน

วิธีนี้ฟังดูอาจจะยุ่งยาก แต่ถ้าคุณไม่ลองก็ไม่รู้ว่าได้ผลจริงแค่ใหน เราแบ่งปันข้อมูลให้โดยไม่คิดเงิน ใครจะเก็บไปทดลองก็ไม่ว่ากัน เห็นผลอย่างไรอย่าลืมมาบอกกันบ้างนะค่ะ ขอให้มีความสุขทุกคนค่ะ

(หากสมาชิกท่านใดที่มีคำถามก็ให้ส่ง PM มาถามได้ค่ะ หากถามในนี้อาจจะไม่ได้ตอบเพราะไม่ค่อยได้เข้ามาอ่านย้อนหลัง ขอขอบคุณทุกความคิดเห็น และบ้านสวนพอเพียงแห่งนี้ค่ะ)

ความเห็น

โอ้โห ความรู้เพียบเลยค่ะ กะลังเริ่มหัดปลูกพอดีค่ะ จะได้เอาไปทำมั่งถ้าได้ผลยังงัยจะเอามาอวดนะคะ :embarrassed:

ยินดีแบ่งปันค่ะคุณ Pee166 ทดลองมา 2 ปีแล้วค่ะ เห็นว่ามันได้ผล เลยอยากบอกต่อ

ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าเปลือกไข่เพิ่มแคลเซี่ยมให้แก่ดิน  และต้องทำความสะอาดกรรไกรตัดกิ่งแบบนี้...ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ ค่ะ...

มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ

ในเปลือกไข่จะมีแคลเซียมสูง เหมาะสำหรับเอามาทำปุ๋ยมากค่ะ

ขอเติมเต็มอีกนืดนึง เอาเปลือกไข่ตำละเอียด โรยรอบๆต้น หรือ เอเปลีอกไข่ ไม่ต้อวตำ แช่น้ำ 1 เดือน แล้วเอน้ำเปลือกไข่ 1ถ้ว

ยผสมน้ำ 1 แกลลอน รด เดือนละครั้ง

เข้ามารับความรุ้ไปปฏิบัติด้วยคนค่ะ

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

ความรู้ล้วนๆ บอกละเอียดมากเลย

ขอบคุณมากค่ะ

ยังไม่รวย  อยู่อย่างรวย  ไม่มีวันรวย.....ยังไม่จน  อยู่อย่างจน  ไม่มีวันจน

ปลูกมะเขือเทศไว้ออกดอก ยังไม่ติดลูกเลยค่ะ จะลองทำตามดู ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ดีๆ


ขอบคุณค่ะ
มีอีกมั้ย
ขออีก ขออีก

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ มีประโยชน์มาก ศึกษามาเหมือนกันเรื่องการดูแลมะเขือเทศ ซื้อหนังสือมาอ่าน แต่เรื่องการโรยเปลือกไข่ ไม่ทราบมาก่อน ได้ความรู้อีกแล้ว

หน้า