ปราชย์พอเพียง

หมวดหมู่ของบล็อก: 

สุพจน์ โคมณี...ปราชญ์พอเพียงเพื่อเกษตรกรให้เพียงพอ

การที่จะเสาะแสวงหาเกษตรกรสักคนหนึ่ง ที่ประสบความสำเร็จด้านอาชีพการเกษตรด้วยลำแข้งของตนเอง แล้วยังเอื้อเฟื้อความรู้ ทักษะ และประสบการ เกษตรกรรุ่นแล้วรุ่นเล่าที่เข้าไปเสาะแสวงหาความรู้ในแปลงเศรษฐกิจพอเพียงของ สุพจน์ โคมณี เกษตรกรวัย 43 ปี อยู่บ้านเลขที่ 33 หมู่ 5 ต.หนองกระเจา อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2552 เป็นครอบครัวเกษตรกรมาแต่กำเนิด สืบทอดอาชีพการทำนามานานในพื้นที่ 20 ไร่ แต่ก็ไม่สามารถที่จะกอบกู้ครอบครัวให้พ้นภาวะวิกฤติที่โหมกระหน่ำได้ ตรงกันข้ามกลับสร้างหนี้สินให้กับตนเองมากกว่า 7 แสนบาท


เมื่อปี 2541 จึงได้ใช้พื้นที่เดิมมาทำเกษตรทฤษฎีใหม่ ด้วยการปลูกพืชที่หลากหลายชนิด ทำให้ลดความเสี่ยงในทุกด้าน มีรายได้รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี โดยเน้นใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก มีรายได้จากการทำการเกษตรไม่ต่ำกว่าปีละ 400,000 บาท เมื่อหักค่ารายจ่ายต่อปีซึ่งจะมีราว 150,000 บาท ก็ยังมีเงินเหลืออีกส่วนหนึ่ง ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เห็นความสำคัญส่งเกษตรกรเข้าอบรมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อาทิ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ธ.ก.ส. สาขา จ.อุทัยธานี อบต.เทศบาลนครนครสวรรค์ฯ เมื่อปี 2551 จัดอบรมเกษตรกรไป 31 รุ่นๆ ละ 60 คน รวม 1,800 คน ส่วนเกษตรกรที่ไปดูงานอีกราว 300 คนต่อปี หลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรมมี 2 หลักสูตร คือ 3 คืน 4 วัน และ 2 คืน 3 วัน จัดออกเป็น 15 ฐานการเรียนรู้ อาทิ การปรับแนวคิดและพฤติกรรมตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงปลาตามวิธีธรรมชาติ การผลิตแก๊สชีวภาพ การห่มดิน การทำปุ๋ยพืชสดจากหญ้า เลี้ยงสัตว์แบบครบวงจร การจัดทำบัญชีครัวเรือน การทำเชื้อราขาวจากกอไผ่ การจัดเก็บหัวเชื้อราขาวจากกอไผ่ การทำปุ๋ยชีวภาพ การขยายพันธุ์ไม้ การทำน้ำยาล้างจาน โรงปุ๋ยมีชีวิต พืชพลังงาน พืชสมุนไพร ในแต่ละวันจะใช้วิธีเช้าบรรยาย บ่ายทำ ค่ำสรุป วันสุดท้ายของการอบรมจะให้ทุกคนเขียนแผนชีวิต นอกจากนั้นยังต้องมีการติดตามผลเกษตรกรที่ผ่านการอบรมปีละ 300 คน ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจ ส่วนในปี 2552 ได้เริ่มจัดอบรมไปแล้วราว 1,000 คน และตลอดทั้งปีน่าจะมีเกษตรกรผ่านการอบรม 1,800 คน กิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดจะอยู่ในพื้นที่ 20 ไร่ พืชหลากหลายชนิดกว่า 155 ชนิด และยังได้ขุดสระน้ำเป็นรูปแผนที่ประเทศไทย และปลูกไม้มงคลประจำจังหวัดตามแผนที่ไว้ครบ


สุพจน์ โคมณี ได้รับการยอมรับให้เป็นประธานเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านจังหวัดนครสวรรค์ และจากเพื่อนพี่น้องเกษตรกรในหมู่บ้านให้ทำหน้าที่ ประธานกองทุนหมู่บ้าน ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และประธานประชาคม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ใช้หลักความพอประมาณด้วยการใช้ชีวิตอย่างพอเหมาะกับตนเองไม่ฟุ้งเฟ้อจนเกินตัว มีหลักการมีเหตุผล ใช้สติโดยยึดหลักธรรมในการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ส่วนภูมิคุ้มกันได้ใช้ความรัก ความสามัคคี อดออม อดทนต่อสู้กับชีวิต มีความรอบรู้ ใช้จ่ายอย่างรอบคอบ ระมัดระวัง ใช้ชีวิตด้วยความสุจริต ซื่อสัตย์ อดออม แบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนทำให้ชีวิตครอบครัวประสบความสำเร็จหมดหนี้สิน ครอบครัวมีความสุข และเป็นแหล่งเรียนรู้การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์เหนือสิ่งอื่นใด


เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนาการทำการเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน น้อมนำโครงการพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้ในพื้นที่การเกษตร ด้วยหลักพึ่งพาตนเอง จัดการสิ่งแวดล้อมด้วยการนำน้ำที่เหลือใช้ในครอบครัวมาบำบัดกลับมาใช้ใหม่โดยเลี้ยงปลาและรดต้นไม้ รวมถึงนำวัสดุที่เหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ ใช้เทคโนโลยีผสมผสานกันอย่างเหมาะสม


“จากนั้นก็ยังได้ขยายเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ชุมชนไปสู่ชุมชนอื่น คือ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านท่าช้าง หมู่ 8 ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง ศูนย์เครือข่ายชุมชน อ.ท่าตะโก อ.ชุมตาบง และ อ.ชุมแสง จนได้รับรางวัลชีวิตที่ภาคภูมิใจ คือ ผู้นำการดำรงชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2550, รางวัลชมเชยด้านประชาชนทั่วไป, การประกวดผลงานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2550, ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขาเกษตรกรรม จ.นครสวรรค์ ประจำปี 2548, ผู้นำชุมชนจังหวัดนครสวรรค์ ประจำปี 2550, ครอบครัวตัวอย่างของ ต.หนองกระเจา อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ประจำปี 2543, เกษตรกรคนเก่งของ ธ.ก.ส. สาขาชุมแสง ประจำปี 2542, ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” สุพจน์ โคมณี กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ

ความเห็น

'ทองเหมาะ แจ่มแจ้ง' ปราชญ์แห่งเกษตรอินทรีย์ ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อลดต้นทุนการผลิต


เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 52


เป็นปราชญ์ชาวบ้านตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ จนได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติหลายรางวัลติดเต็มฝาบ้าน ล้วนการันตีถึงความวิริยอุตสาหะ ถือเป็นบุคคลตัวอย่างด้านการอนุรักษ์ และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างแท้จริง
 
นายทองเหมาะ แจ่มแจ้ง วัย 63 ปี ชาวบ้าน ต.วังหว้า อ.ศรีประจันต์ จ.สุพรรณบุรี หรือที่ชาวบ้านแถวนั้นเรียกสั้น ๆ ว่า “ลุงทองเหมาะ” เล่าถึงประสบการณ์เมื่อครั้งก่อนที่จะมาเป็นปราชญ์ชาวบ้าน และเป็นเจ้าของศูนย์ปราชญ์ หรือสถาบันพัฒนาการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ ที่ได้รับการยอมรับจากชาวบ้านใกล้เคียง และเป็นที่รู้จักของเกษตรกรส่วนใหญ่ทั่วประเทศในขณะนี้ว่า ก่อนที่จะพบทางสว่างนี้ เคยทำอาชีพมาหลายอย่าง ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพทางการเกษตรแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอาชีพชาวไร่อ้อย ชาวไร่มันสำปะหลัง เลี้ยงปลา และชาวนา ว่ากันว่าทุกสิ่งที่สรรค์สร้างล้วนแต่เป็นเรื่องของเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกอย่างเดียวชนิดเดียวล้วน ๆ และส่วนใหญ่ก็ เน้นในเรื่องของการใช้สารเคมี ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช ที่คิดเพียงอย่างเดียวว่าจะช่วยเร่งให้มีผลผลิตเร็วและได้ผลดีคุ้มกับการลงทุน แต่แนวทางดังกล่าวเป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อของพ่อค้าหัวใสเท่านั้น เพราะสิ่งที่ได้รับไม่คุ้มกับการลงทุน ลุงบอกว่า ยิ่งทำยิ่งจน เพราะคนที่เขากำหนดราคาทั้งปุ๋ยเคมี และสารเคมีต่าง ๆ โดยเฉพาะยาปราบศัตรูพืช คือ พ่อค้าไม่ใช่เกษตรกร และผลผลิตที่สามารถผลิตได้ เกษตรกรก็ยังไม่สามารถกำหนดราคาได้อีก
 
นอกจากนั้นยังมีเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่งที่ลุงทองเหมาะเล่าให้ฟังว่า ขณะที่เขาพึ่งพาสารเคมีในการผลิตสินค้าเกษตร นอกจากเขาทำลายผืนดินที่เขาทำกินแล้ว เขายังทำลายตัวเองไปด้วย เพราะร่างกายที่เคยแข็งแรงดูอ่อนล้าลงอย่างเห็นได้ชัด สุขภาพที่เคยดีกลับไม่มีเรี่ยวแรง เหตุเพราะสารเคมีที่ใช้ทุกวันสะสมในร่างกายอย่างไม่รู้ตัว และเมื่อลุงเริ่มไม่ค่อยสบายจากปัญหาสุขภาพที่เกิดจากสารเคมีที่ใช้ตกค้างในร่างกาย จึงคิดทบทวนตัวเอง และเกิดความคิดขึ้นมาว่า หากต้องพึ่งพาสารเคมีในการผลิตสินค้าเกษตร ต้องลำบากเป็นแน่เพราะ ยิ่งทำยิ่งจน ต้นทุนสูง ไม่ใช่เฉพาะสินค้าเกษตรที่ผลิตออกมา แต่มันหมายถึงต้นทุนชีวิตของลุงด้วย จากนั้นจึงได้คิดที่จะไม่ใช้สารเคมี โดยได้ยึดแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานแนวคิดด้านการเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง คุณลุงทองเหมาะจึงหันหลังให้กับสารเคมี หันมาทำนาข้าวอินทรีย์ ใช้จุลินทรีย์และสารชีวภาพทดแทน ขณะเดียวกันก็คิดค้นหาวิธีการทำนาให้ได้ผลผลิตมากขึ้น รวมทั้งพยายามที่จะคิดค้นดัดแปลงเครื่องจักร เครื่องมือการเกษตรให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ และในช่วง 1 ปีผ่านไป ก็เห็นว่าแนวทางที่ทำมาถูกทาง เพราะข้าวที่ปลูกได้ผลดีกว่าที่คาดไว้ ขณะเดียวกันสุขภาพที่เคยมีปัญหาก็กลับมาแข็งแรงดังเดิม 
 
“ตอนนี้เตะปี๊บดังไกล 3 บ้าน” ลุงทองเหมาะพูดไปยิ้มไป พร้อมกลับเล่าว่า เมื่อชาวบ้านละแวกนั้นเห็นก็เข้ามาถามว่าทำอย่างไร ลุงได้แนะนำให้เขารู้ และเขาก็นำไปปฏิบัติ จากนั้นได้มีการเล่าต่อ ๆกัน จึงมีคนเข้ามาขอเรียนรู้มากขึ้น และได้แนะนำไปตามมีตามเกิด จนตอนนี้มีคนมาขอเรียนรู้งานมากกว่าวันละ 100 ถึง 200 คน บางคนก็มาเอง บางคนหน่วยงานราชการพามา โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นช่วงที่คนตกงานมาจากภาคอุตสาหกรรม ก็มามากขึ้น บางวันก็มากจนรับไม่ไหว แต่ไม่เป็นไร เพราะเขาเต็มใจมาเรียนรู้
 
ทางรอดของเกษตรกรคือเราต้องทำอย่างไรให้ต้นทุนเราน้อยที่สุด โดยเราต้องไม่ใช้สารเคมีและต้องพึ่งพาตนเองให้ได้ก่อน เมื่อเราลดต้นทุนของเราได้ ถึงแม้ราคาสินค้ามันจะถูกเราก็ขายได้ อยู่ได้ แต่หากราคามันสูงเราก็ได้เงินมากขึ้น อย่าไปคิดมาก เพราะเราไม่ใช่ผู้กำหนดราคา เมื่อเรากำหนดราคาไม่ได้ เราต้องลดต้นทุน ให้เราอยู่ได้ เศรษฐกิจพอเพียงคือสิ่งที่ผมยึดถือและปฏิบัติมาตลอด ทำทุกอย่างที่ลดต้นทุน
 
นั่นคือแนวคิดของลุงทองเหมาะ แจ่มแจ้ง ชาวนาจากเมืองสุพรรณบุรี.


ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552
http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=191572&NewsType=1&Template=1

ดีครับข้อมูล ช่วยให้มีส่วนเสริมสร้า แร บัลดัลใจดีครับิ

เรียกไก่  ก็ได้ครับ(นาธารชื่อลูกชายครับ)

ยังมีอีกคนนะคะ วันนั้นเห็นผ่านทีวีแว๊บ ๆ  ชื่อ พ่อผาย สร้อยสระกลาง สมาชิกคนไหนสนใจลองหาดูใน กูเกิล นะคะ

"ความสุขของชีวิตในวันนี้ คือทำตามวิถีพอเพียงของพ่อ"

ยินดีต้อนรับค่ะ...ทิดเจิด

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ที่นำมาแบ่งปันกันนะครับ

เป็นข้อมูลที่สามารถเป็นแรงบันดาลใจได้ดีมากครับ

ส่งเวบที่เป็นฐานการเรียนรู้ของปราชญ์  คนนี้ให้หน่อยได้มั้ย   ขอบคุณล่วงหน้า

:yawn: เดี๋ยวผมค้นให้ครับ พอดีเพิ่งตื่น ฮ้าวววววววว

ขอขอบคุณทุกๆท่าน ที่ขเมาให้กำลังใจ เพิ่งหัดใหม่ ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะครับ แค่นี้ก็ดีใจ อย่างสุดซึ้งแล้วล่ะครับ:crying2: