ป่วยความสูง...ภัยเงียบสำหรับนักท่องเที่ยว

หมวดหมู่ของบล็อก: 

วันก่อนเืพื่อนที่ำทำงานถามเรื่องไปเที่ยว แล้วคุยกันเรื่องป่วยความสูง คำถามหนึ่งที่คิดว่าหลายๆ คนยังไม่เข้าใจว่า "การป่วยความสูง"คืออะไร ส่วนมากจะบอกว่า...อ๋อ..เวลาไปที่สูงๆ แล้วหูดับน่ะเหรอ เหมือนเวลาที่เรานั่งรถขึ้นเขาสูงๆ แล้วหูดับ หรือ เมารถ อาิเจียรแบบนั้นใช่หรือป่าว....

คำตอบคือ ไม่ใช่ค่ะ...การป่วยความสูงไม่ใช่โรค แต่เป็นปฏิกิริยาของร่างกาย เมื่อเราขึ้นไปอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล

คนพื้นราบเช่นคนไทย เราอาศัยอยู่ที่ความสูง 1-2 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เมื่อเราไปท่องเที่ยวบนที่ราบสูง ไม่ใช่อีสานบ้านเรานะคะ อีสานบ้านเรานี่สูงไม่พอค่ะ ที่ราบสูงที่กล่าวถึงและคนไทยรู้จักกันดี หลายๆ คนชอบไปเที่ยว ยกตัวอย่างเช่น แชงกรีร่า เลห์ ลาดัก บนเขาสูงของเนปาล หรือเป็นพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 3000 เมตรขึ้นไป อย่างนี้ คนไทยเรามีสิทธิ์สัมผัสกับ "การป่วยจากความสูง" ได้ทั้งนั้น

การป่วยจากการแพ้ความสูง เกิดจาก ที่ระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความดันอากาศจะลดลง เราไม่ได้ป่วยเพราะความเข้มข้นออกซิเจนในอากาศเบาบางนะคะ อันนี้เข้าใจผิดกันเยอะ เป็นการพูดแบบรวมๆ จริงๆ แล้วไม่ใช่ ในบรรยากาศที่เราหายใจเข้าไปทุกวันนี้จะมี ออกซิเจนอยู่ 21 เปอร์เซนต์ ที่ระดับความสูงมากๆ สิ่งที่เบาบางคือความดันบรรยากาศ  ที่จะดันออกซิเจนให้เข้าไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น สมอง กล้ามเนื้อ ฯลฯ หรือออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงสมองน้อยลงกว่าพื้นราบที่ระดับต่ำ.....ตรงนี้เข้าใจให้ตรงกัน เรื่องความดันที่อยู่รอบตัวเรา คนเรียนดำน้ำลึกต้องเข้าใจให้มากเป็นพิเศษ ถึงต้องมีการพักน้ำก่อนลอยตัวขึ้นบนผิวน้ำ...

ผลก็คือ ทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ อ่อนเพลีย อาเจียร เบื่ออาหาร การป่วยจะแบ่งออกเป็น 2 แบบค่ะ

แบบแรก...เป็นชนิดเฉียบพลัน ไม่อันตรายแต่ก็ทำให้บางคนไม่อยากไปเที่ยวหรือเที่ยวไม่สนุก คือ acute monutain Sickness (AMS) บางทีก็เรียก High Altitude Sickness อาการคือ เมื่อเราเปลี่ยนระดับความสูง แบบกระทันหัน เช่นการขึ้นเครื่องบินจากระดับความสูงต่ำๆ ไปสู่ที่ราบสูง พอลงจากเครื่องก็ปวดหัว อาเจียร เดินสองสามก้าวก็เหนื่อย หายใจถี่ บางทีเหมือนหายใจไม่สุดปอด ไม่เต็มปอด หรือที่ระดับสามพันห้าร้อยเมตร เราเกิดอากาศแบบนี้ก็ให้สัณนิษฐานได้เลยว่าเรา "ป่วยจากความสูง" อันนี้ไม่ต้องตกใจ Slowlife เป็นบ่อยค่ะ เราก็พยายามลงจากที่สูงนั้น คือลดระดับให้ต่ำลง แต่ถ้าทำไม่ได้เพราะโปรแกรมเที่ยวไม่ได้เป็นอย่างนั้น ก็ไม่ต้องกลัวค่ะ ร่่างกายเราปรับได้  แต่ทรมานนิดหน่อย ยาที่ช่วยได้ คือ Diamox เช้าเม็ด เย็นเม็ด ใช้ได้ทั้งป้องกันและรักษา หาซื้อได้ตามร้านขายยาใหญ่ๆ และซุปกระเทียม หาิกินเข้าไปค่ะแต่พะอืดพะอมเล็กน้อยถึงปานกลาง ถ้าทรมานมากก็สามารถกินยาแก้ปวด หรือยาแก้อาเจียรได้...

แบบที่สอง....คือการป่วยความสูง + อาการปอดบวม และ การป่วยความสูง+สมองบวม อาการก็ง่ายๆ ค่ะ ถ้ามีอาการปอดบวมร่วมด้วย ก็จะมีอาการไอ บางทีก็มีเสมหะผสม มีเลือดด้วย เหนื่อยง่าย เดินสองสามก้าวก็เหนื่อย  ส่วนถ้าร่วมกันอากาศสมอง ก็จะซึม บางทีก็หงุดหงิด บางทีก็ซึม หลับตลอดการเดินทาง แบบว่าซึมไปเรื่อยๆ เรียกให้ลงมาจากรถมาเที่ยวก็ไม่หือ ไม่่อือ...อันนี้ชัวร์ค่ะ รีบหา รพ.ให้อยู่ได้แล้ว

Slowlife ไม่ใช่หมอค่ะ แต่เขียนจากประสบการณ์และการค้นคว้า เนื่องจากตัวเองมักจะเดินทางไปเที่ยวที่ระดับสูงๆ สำหรับ สมช. คิดว่ามีบางท่านอาจมีโอกาสได้ไปเที่ยวเมืองจีน และสถานที่เที่ยวส่วนใหญ่อยู่ระดับความสูง เกิน 3000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใครที่ต้องไป เตรียมตัวให้พร้อม จะได้เที่ยวแบบมีความสุข เก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้คุ้มกับเงินที่เสียค่าทัวร์ ไ่ม่ทรมานตัวเองและเพื่อนร่วมทาง  ใครสงสัยหรืออยากได้คำแนะนำเพิ่มเติม ด้วยความยินดีนะคะ

ความเห็น

ข้อ มูล ดีมาก เลย ครับ

เพิ่งจะทราบค่ะ ว่ามีโรคแบบนี้ด้วย ดีมากๆเลยค่ะที่นำข้อมูลดีๆมาบอกกัน ส่วนตัวแล้วก็ไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศเลยค่ะ ไว้มีโอกาสได้ไปที่ที่มีความสูงๆเยอะๆจะได้เตรียมตัวถูกค่ะ ขอบคุณมากๆนะคะ

ยินดีค่ะ รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามนะคะ เผื่อว่าสักวันมีโอกาสได้ไป จะได้เตรียมตัวถูก บางคนเตรียมเสื้อผ้า หน้าผม ซะดีเชียว ไปป่วยแบบนี้ หน้าซีดเซียว ไม่มีแรงจะลงจากรถ ที่คิดไว้จะได้แต่งตัวสวยๆ ถ่ายรูปเก๋ เป็นอันหมดกัน

เวลานั่งเครื่องบินถ้าหูอื้อ  หูดับ  ก็ให้กลืนน้ำลายตัวเอง  กลืนให้เต็มคอ  เพื่อให้ลมดันออกทางหู  อันนี้แก้ได้   ชัวร์

Slowlife ก็ใช้วิธีนั้นเวลาขึ้นเครื่องบินค่ะ แต่บางทีก็ไม่ได้ผล จริงๆ แล้วบนเครื่องบินมีการปรับระดับความดันไว้แล้ว แต่เป็นคนที่เมาเครื่องประจำค่ะ เวลาเครื่องปรับระดับเพดานบิน หรือลดระดับเพดานบิน มันจะคลื่นไส้ อยากอาเจียร ยิ่งถ้านั่งเครื่องบินเล็กๆ...อยางนี้เตรียมถุงกระดาษไว้ได้เลย ยิ่งถ้าตกหลุมอากาศบ่อยนี่ก็เตรียมตัวเหมือนกัน เดี๋ยวนี้กินยาแก้เมาไปเลยค่ะ หลับ สลึมสลือไปตลอดทาง แต่ก็ดีที่ไม่กระอักกระอ่วน

เจ้ โส และ คุณ Slowlife ครับ ผมนั้น เป็น เหมือน กันเวลานั้น เครื่อง แล้ว ปวด หู ลองมาหมด ไม่มี วิธี ไหน ได้ ผล หาย ขาด มีแต่ ดี ขึ้น ครบ


วิธีแรก เลือกขึ้น เครื่อง ใหญ่ ครับ ยิ่ง เครือง แอรบัส ได้ จะ ดี มาก เลือก ตอนซื้อตั๋ว ครับ แต่ถ้า ภายในประ เทศ เพดาน บิน ต่างกน จะ ใช้ เครื่อง เล็ก หน่อย วิธนี้ต้อง เปลี่ยน ไป ครับ


สอง หา ลูก อมอม ไว้ ครับ กลื่นน้ำลายช่วยได้ เล็ก น้อย แต่ควรทำคู่ กับ กลั้น ลมหายใจ บีบจมูก แล้ว เป่า ลม ครับ จะ ได้ ผล ดี ที่สุด เรื่อง ปรับ แรงดัน ภายนอก ที่ดัด เข้า แก้ว หู ครับ


สาม ขับ เครื่อง บิน ก็มี ส่วน ช่วย ครับ ถ้า ลด ระดับ เพดาลบิน ดีๆ ก็ มี ปัญหา น้อย ครับ ข้อ นี้จะ ให้ สายการบิน เป็น หลัก ครับ เดินทางมาบ้าง นะครับ แต่ ยังไง ติดใจ สายการบินไทย ครับ แพง กว่า หน่อย ไม่เป็นไร ครับ สายการบิน ประเทสใหญ่ๆ ไม่ได้ หมาย ความว่าดี นะครับ จาก ประ สบการณ์ สายการบินไทยเป็น สายการบิน หนึง ที่ผม ใช้ บ่อย


เรื่องยา เมาเครื่อง บินนั้น ผม ก็ เป็น ครับ ที่ลอง มา มี ยา จาก ญี่ปุ่น ครับ ที่ทาน แล้ว ไม่ สลึมสลือ มาก ยาเหลืองๆ ที่เมืองไทย ทานได้ แทนยานอนหลับ เลยครับ ตัวใหญ่ แบบผม เม็ด เดียว ยัง ก้าว ขาแทบไมไหว เป็น นเมารถ ครับ แต่ถ้า ต้อง เท่ี่ยว ไปกับ ฤทธิ์ ยา หมด รสชาติไป เยอะ ครับ บางครั้ง ทานครึ่ง เม็ด เอา แบ่งปันประสบการณ์ กันครับ

ถ้ากินยาแก้เมาก็จะหลับตอนเดินทางน่ะค่ะ แต่ถ้าเดินทางกลางคืนไม่ต้องกิน เพราะจะหลับเป็นปกติ....

ความรูเพิ่มเติม ขอบคุรครับ  :cheer3:

สุดท้าย ก็กลายเป็นคนไม่มีค่าในสายตาของเขา

เป็นเรื่องความกดของอากาศ แบบเดียวกับการดำสคูบ้าไดวิ่ง ในความลึกที่ต่างกัน แรงดันสามารถระเบิดร่างกายเราเป็นชิ้นเล็กๆได้ แถมมีโรคที่เกิดจากอากาศที่หายใจซี่งมีไนโตรเจนผสมอยู่ เรียกว่าไนโตรเจนนาโคซิส(ไนโตรเจนแยกออกจากอ๊อกซิเย่นและซึมออกมาตามผิวหนังในความลึกที่ต่างกัน และสามารถทำให้เมาได้ ดำลึก 30 ฟุตจะเมาในโตรเจน เท่ากับกินเหล้า1กั๊ก ดำลึก60ฟุตจะเมาไนโตรเจนเท่ากับกินเหล้า2กั๊ก นักดำน้ำลึกจึงเกิดภาพหลอนต่างๆ เพราะไม่ได้พักน้ำเพื่อเคลียไนโตรเจนและแรงดันอากาศทุกระยะ30ฟุต).. โรคเบ็นท์(กระดูกบิดงอ จากแรงดันน้ำ)..ในที่สูงอ๊อกซิเย่นเบาบางเหนื่อยง่ายหายใจไม่พอ.เป็นโรคต่างๆได้ครับ.

ขอบคุณคุณslowlifeค่ะ ได้มีความรู้เพิ่ม ร่างกายมีความพิเศษมากนะคะ ที่สามารถปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมได้โดยเฉพาะในที่สูงและมีระดับออกซิเจนและความกดอากาศที่ต่ำลงจากปกติ ... เห็นคุณslowlife ได้เที่ยวอย่างนี้ มีเรื่องการดูแลตัวเองระหว่างเที่ยวก็พลอยรู้สึกสนุกไปด้วยค่ะ นี่แค่เห็นภาพนะคะ แต่หากว่าได้เที่ยวจริงคงต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมแต่เนิ่นๆเลยล่ะค่ะ

หน้า