คิดด้วยกัน

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ต้นยางที่ตายตัดทิ้งกว่า 300 ต้นเพราะพิษของภัยแล้ง  ทั้งที่ยางอายุกว่า 8 ปี

ราคายางขึ้นลงผันผวนกว่าราคาทองคำซะอีก

แถวนี้ปลูกยางเต็มไปหมดเลย และไม่รู้ว่าอนาคตราคายางจะเป็นอย่างไรสำหรับคนที่จะปลูกใหม่คงต้องคิดให้ดีอีก 7 ปี  และไม่รู้ว่าราคายางอีก 7 ปีจะถึง 40 บาทไหม เพราะประเทศเพื่อนบ้านของเราเขาก็ปลูก  นับว่าเสี่ยงมากสำหรับเรื่องราคา  เบี้ยยางพาราก็แพง  แต่ก่อน 13 บาท

ตอนนี้ 30 บาท  ใครที่จะปลูกควรคิดให้ดีน่ะค้า เพราะต้นทุนสูงมากแต่เสี่ยงเรื่องราคาอยู่มาก

นิกอยู่ที่อำเภอศรีเมืองใหม่  จังหวัดอุบลราชธานี 

 ก็คงต้องขอข้อมูลพี่น้องที่อุบล ว่าสวนยางเป็นอย่างไรกันบ้าง

มีต้นที่ตายเหมือนกันหรือเปล่าค้า

ต้นยางยืนต้นตาย ต้องตัดออกเพราะเปลือกจะเน่าลงมาเรื่อยๆ

สาเหตุเกิดจาก

-ความแห้งแล้ง

-ปลูกใกล้ลำธาร

-ข้างล่างดินที่ปลูกเป็นหินอยู่ข้างล่างทำให้เกิดความร้อน

ความเห็น

ที่น่านตอนนี้เขากำลังหันไปปลูกมันสำปะหลังเห็นอ. บอกว่าไม่ได้ที่สุดก็7ตันต่อไร่แล้วประกันราคาให้ด้วย

ขออภัยและขอบคุณค่ะ

ยังปลูกกันเต็มเลย อนาคต จันทร์เจ้าว่า คงจะราคาถูกจริงๆแหละ

ทำเกษตรพอเพียงดีกว่านะ

พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า 

การลงทุนคือความเสี่ยง

เสี่ยงมากกำไรก็มาก อย่างซื้อหวย 1 บาท ได้ตั้ง 60 บาท

เสี่ยงน้อย อย่างฝากธนาคาร 100 บาท ทั้งปีได้แค่ 2-3 บาท

การมีชีวิตที่ไม่กล้าทำอะไรเลยก็เหมือนคนไม่มีชีวิต แต่คนที่กล้าทุกอย่างโดยไม่คิดก็อันตราย

 

ก็ขอให้สมาชิกได้ไตร่ตรองกันดีๆ เรื่องยางนั้นผมมีเพื่อนปลูกที่อำเภอบ้านกรวด รายได้ดีมากๆ แถมยุงก็ไม่กัดเพราะให้คนอื่นกรีด เพื่อนก็น่ารักนำข้อมูลมาชี้ชวนอยู่เสมอ ก็ได้แต่ปฏิเสธไป

สวนเกษตรบุรีรมย์การเกษตรแบบเสาร์เว้นเสาร์ เน้นที่เราปลูกเองกินเอง
บริการจัดทำและดูแลเว็บไซต์ ถูก ดี มีประสิทธิภาพ

ปลูกยางมากนานกว่า 30 ปี แล้ว ปัจจุบันอายุยางก็มากกว่า 30 ปี ปลูกยางพันธ์ที่ดีที่สุดสมัยนั้น น้ำยางช่วงอายุ 10-20 ปี ล้นถ้วยกระเบื้องใบใหญ่ของสมัยนั้น ปลูกแบบเทวดาเลี้ยง ต้นโตกรีดได้แล้ว ไม่เคยให้ปุ๋ย น้ำอีกเลย แม้กระทั้งรักษาหน้ายาง จนถึงปัจจุบัน แค่ดูแลเรื่องหญ้ารกทางเดินอย่างเดียวเพราะกลัวสัตว์เลื้อยคลาน

ผมต้องขอบคุณที่ผลิตผลมันเลี้ยงผมจนโตไม่เคยอดหยาก จากเด็กบ้านนอกจนจบ ป.ตรี ที่ กทม. จากราคาต่ำสุด 14/กก. จนถึงราคา 100/กก. ก็ยังให้ผลผลิตดีอยู่ เพียงแต่จำนวนต้นก็ล้มหายตายจากไปเยอะเช่นกัน

ผมคิดว่าราคายางที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ที่ 50 บาท ยังเชื่อว่าถ้ายางลงถึงราคา 20 บาทผมยังอยู่ได้ เพราะช่วงเวลามา ราคายางไม่แน่นอน บางคนหันไป ปลูกทุเรียนขาดทุน ขายสวนทิ้งเยอะ พอยางราคาดี กลับตัวก็สายเสียแล้ว

วางแผนไว้ปีหน้าจะโค่นแล้วปลูกใหม่ เพราะสถาณการณ์ภาคใต้ไม่คอยดีนัก ทำให้ชะลอไปก่อน

ถ้าปลูกยางใหม่ คงต้องปลูกปาล์มไว้บ้าง พึ่งจะสนใจคำว่า ปลูกพืชเชิงเดี่ยว

 

ปลูกแบบผสมผสานดีที่สุด หมายถึงแบ่งที่ออกเป็นส่วน ๆ ปลูกพืชเศรษฐกิจส่วนหนึ่ง  แล้วปลูกพืชที่เราใช้กินประจำวัน

ตอนนี้กรีดยางเป็นรายได้หลักค่ะ ทำนาบ้าง(ผลัดกันทำระหว่างพี่น้อง)ปลูกผักสวนครัวเล็กน้อย ถ้าราคายางถูกลงไม่มากในระยะ 5-10 ปีก็ไม่น่าจะมีปัญหา ต้นยางก็ราคาดีเหมือนกัน ตอนโค่นได้เงินก้อนคะ ตั้งแต่จำความได้ก็มีสวนยางแล้วเป็นยางพันธุ์พื้นเมือง

ในอนาคตหลังจากหมดภาระเรื่องลูกเรียน อาจจะปลูกบ้านในที่ดินกว้างๆเพื่ออยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง

ไม่ทราบว่าอยู่จังหวัดไหนคะ ราคากล้ายางแพงจัง ที่นครศรี น่าจะไม่เกิน 20 บ.

ที่นี่ก็แล้งมาก ยางไม่เคยตายเพราะแล้ง ยิ่งต้นโตๆแล้วด้วย

Laughingทำวันนี้ให้ดีที่สุด เวลาชีวิตน้อยลงทุกวัน

ตอนนี้อย่าว่าแต่ราคายางของเกษตรกรจะเป็นทองเลย แม้แต่ราคาหุ้นของบริษัทผลิตน้ำยางข้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในนาม TRUBB ยังวิ่งขึ้นจนฉุดไม่อยู่ ผมซื้อไว้ราคาหุ้นละยี่สิบหกบาทถือไว้เกือบสองปีขาดทุนมาตลอด เพิ่งขายไปประมาณปลายพค.ที่ผ่านมา ที่ราคาสามสิบบาท แต่ราคาสูงสุดปลายเดือนมิย.นี้มันไปถึงร้อยยี่สิบกว่าบาท คิดดูแล้วกัน..น่าเจ็บใจมะ ..ตอนนี้ตัวบริษัททเองก็ลงทุนปลูกเองด้วย ลองอ่านดูจากบทความนี้...

นายวรเทพ วงศาสุทธิกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ไทยรับเบอร์ ลาเท็คซ์คอร์ปอเรชั่น (TRUBB) กล่าวผ่านรายการ Stock in Focus ว่า TRUBB เป็นผู้ผลิตน้ำยางข้นรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีโรงงานที่ภาคตะวันออก 4 แห่ง คือ ในระยอง 2 แห่ง จันทบุรีและชลบุรีอีกจังหวัดละ 1 แห่ง ส่วนภาคใต้มีโรงงาน 4 แห่ง คือ ในชุมพร สุราษฎร์ธานี พังงา และอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัดละ 1 แห่ง ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 1 แห่งที่จังหวัดหนองคายและ TRUBB ยังว่าจ้างให้โรงงานผลิตน้ำยางข้นอีก 3 แห่ง คือ ในหาดใหญ่ 2 แห่ง และ ตรังอีก 1 แห่ง ส่งน้ำยางข้นที่ผลิตได้ให้กับ TRUBB ทั้งหมดด้วย

นอกจากนี้ TRUBB ยังผลิตสินค้าปลายน้ำอีกด้วย เช่น ถุงมือยาง เส้นด้ายยางยืด (Elastic) และที่นอนฟองน้ำ ขณะเดียวกัน TRUBB ยังเริ่มธุรกิจต้นน้ำ คือ การทำสวนยาง โดยปัจจุบันมีสวนยางในภาคตะวันออก 7,000 ไร่ ซึ่งกรีดยางออกได้แล้ว 3,000 ไร่ และในภาคเหนืออีก 12,000 ไร่ ที่เพิ่งปลูกเพียง 3 ปี จึงยังไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้

ปัจจุบัน TRUBB มีรายได้จากธุรกิจผลิตน้ำยางข้น ซึ่งถือเป็นธุรกิจกลางน้ำ เป็นสัดส่วน 88% จากยอดขายรวม 8 พันล้านบาท ส่วนธุรกิจปลายน้ำสร้างรายได้ 10% ขณะที่ธุรกิจต้นน้ำที่เพิ่งเริ่มดำเนินการ สร้างรายได้เพียง 2% โดย TRUBB มีรายได้จากการจำหน่ายในประเทศ 60% และส่งออกประมาณ 40%

นายวรเทพกล่าวว่า TRUBB จะดำเนินการผ่านบริษัทย่อยในบางธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็น บริษัทที่ดำเนินการด้านปลูกยาง คือ บริษัท ไทยรับเบอร์ ซิตี้ ที่ TRUBB ถือหุ้น 100% ส่วนบริษัทย่อยที่ผลิตถุงมือและเส้นด้ายยางยืด TRUBB ถือหุ้นกว่า 90% ส่วนบริษัทที่ดำเนินการผลิตน้ำยางข้น TRUBB ก็ถือหุ้น 100% เช่นกัน

นายวรเทพกล่าวว่า ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้การผลิตยางสังเคราะห์ลดลงได้ในอนาคต ขณะที่ความต้องการใช้ยางของตลาดโลกก็เพิ่มขึ้นประมาณปีละ 2% จึงเชื่อว่าจะมีความต้องการใช้ยางธรรมชาติเพิ่มขึ้นแทน สำหรับปัญหาพื้นที่ปลูกยางที่มีจำกัด ยังส่งผลให้ราคายางเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและไม่ปรับลดลงเลยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ TRUBB มาทำธุรกิจต้นน้ำ โดยมีเป้าหมายที่จะปลูกให้ได้ 50,000 ไร่ในอนาคต

นอกจากนี้ TRUBB ได้ไปร่วมทุนสร้างโรงงานน้ำยางข้นในเกาะไหหลำกับบริษัท ไซโน เคม อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทที่รัฐบาลจีนถือหุ้นใหญ่และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ด้วย โดยเชื่อมั่นในศักยภาพของไซโนฯ ที่มีระบบสาธารณูปโภคที่เพียงพอ และเกาะไหหลำที่สามารถผลิตและส่งออกน้ำยางได้สูงมาก ซึ่งโรงงานใหม่นี้จะเน้นผลิตน้ำยางข้นที่มีคุณภาพสูงเพื่อนำไปผลิตถุงยางอนามัยและจำหน่ายในประเทศจีน ซึ่งการที่ผู้ผลิตน้ำยางข้นของจีนผลิตได้คุณภาพไม่ดีนัก ก็เชื่อว่าเป็นเป็นโอกาสของ TRUBB ด้วย โดยโครงการนี้จะเริ่มก่อสร้างในเดือนมิถุนายน 2551 และจะเริ่มผลิตได้จริงในเดือนเมษายน 2552 มีกำลังการผลิต 3 หมื่นตันต่อปี ซึ่ง TRUBB จะถือหุ้นในสัดส่วน 35% และจีนถือ 65% ทุนจดทะเบียน 60 ล้านหยวนหรือ 300 ล้านบาท

ที่มา :http://www.moneychannel.co.th/Menu6/StockinFocus/tabid/88/newsid486/54662/Default.aspx

แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย

แบบนี้เขาเรียกว่า เสียดายจนน้ำลายไหล ซึ่งก็ดีกว่าน้ำตาตก ขาดทุนดอกเบี้ยนิดหน่อยไม่เป็นไร

บริษัทพวกนี้ เช่น ศรีตรัง เขาก็มีสวนของเขาเอง มีโรงงานแปรรูป เยอะแยะ ส่วนมากมีนักลงทุน

จากญี่ปุ่นมาร่วมทุนด้วย ตอนหลังก็มีนายทุนจากจีน และก็ไปปลูกกันในลาว เขมร พม่า

เกษตรกรที่เพิ่งปลูกยางปีนี้ต้องทำใจไว้ก่อน ราคาวันนี้ เป็นตัวการที่ทำให้เกษตรกรตัดสินใจ

ปลูกยาง แต่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 ปี ตอนนั้น อะไรจะเกิดขึ้นบ้างเราก็ไม่รู้ (อนาคตเราไม่รู้ เราไม่รู้ก็ต้องเดินไป

เพลงทหารเรือน่ะ) ส่วนคนที่ปลูกจวนจะตัดได้แล้ว เช่นคุณแดง ไม่น่าจะมีปัญหาเท่าไหร่

ลุงพูนครับ..เรื่องโชคที่ไม่ได้มาจากหยาดเหงื่อของผมนี่มีน้อยจริงๆ สลากออมสินก็ไม่ถูก หุ้นรอมานาน พอได้ราคารีบขายมันก็ขึ้นเอาขึ้นเอา น่าเสียดายมั๊ย..ลองคูณสองหมื่นหุ้นกับส่วนต่างกำไรดูสิ..ซื้อที่ดินได้อีกหลายสิบไร่เลยทีเดียว..

เรื่องอนาคตตลาดยาง ผมเป็นห่วงเกษตรกรที่ทุ่มปลูกกันตอนนี้ ปัญหาราคาในอนาคตทั้งจากปริมาณที่มาพร้อมกัน หรือทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจที่มีผลต่อ demand ยาง นอกจากนี้ประเทศที่ใช้ยางธรรมชาติมาก (จีน) ก็เริ่มปลูกเองตามภูมิภาคนี้ บริษัทรับซื้อก็ปลูกเอง..ดูแล้วน่าห่วงเหมือนกัน

แสวงหาชีวิตที่สงบ..หลบลี้หนีความวุ่นวาย

ผมสะสม ศรีตรังเอาไว้หลายปี ขายไปตอนปลายปี ได้มา 2 ล้อ ถ้าขายตอนนี้ คงได้ สัก 6 ล้อ

สวนยางของผมตอนนี้เลยปลูกต้นไม้อื่น แทนยาง แต่ก็ยังปลูกได้น้อย เพราะต้นยางยังกรีดได้

ก็เลยต้องกรีดยางไปก่อนครับ

หน้า