คุยกันเบา ๆ...ในวันสบาย ๆ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ชื่อบล็อกกับรูปภาพนี้ ตั้งใจเอามาเรียกแขก


 

วันนี้เก๋าว่าง...หลังกลับจากไร่ ปลูกมันตอนเที่ยง แดดจัดมาก ร้อนจนแสบผิว เอาอะไรคลุมมิดชิดขนาดไหนก็ทนไม่ไหว ร้อนจริง ๆ ค่ะ

 

กลับมาเข้าเวบ (งานประจำ)  เห็นบล็อกพี่อ้อยหวาน...วันวุ่น ๆ...และผ่อนคลาย   เข้าไปอ่าน ภาพสวยมาก ๆ และก็ไปติดใจที่ราคาผลไม้ ที่บอกว่าแพงมาก ๆ มีเพื่อนหลาย ๆ คนช่วยกันแสดงความคิดเห็นกันใหญ่ บอกว่าแพงมาก อดใจกลับมากินที่บ้านเราดีกว่า     ว้าว!  ..อย่าเพิ่งตัดสินใจนะคะ   มาอ่านบล็อกเก๋าก่อน ค่อยตัดสินใจ ก็ยังไม่สาย..

 

 

รูปทุเรียนที่เอาขึ้นจั่วหัวบล็อก.. เรียกแขกค่ะ  อิอิ ใครเห็นทุเรียนต้องคลิกเข้ามาดูก่อน น้ำลายไหล ติ๋ง ๆ  ยืมเขามานะคะ จากผู้จัดการออนไลน์

 


 

ไปค้นหารูปของตัวเองไม่เจอค่ะ อัลบั๊มรูปสมัยทำสวนทุเรียนหายไปไหนไม่ทราบ เลยต้องขอยืมภาพมา

สวนทุเรียนที่ไหน ๆ ก็เป็นต้น เป็นลูกแบบนี้แหละ แต่สวนธนนันท์สวยนะจะบอกให้  ทำเพื่อส่งออก ต้องแต่งใบ แต่งดอก แต่งลูก หลายช่วงระยะ  ต้องผสมเกสร เพื่อความแน่นอน ทั้งปริมาณของผลผลิตและรูปทรงตามต้องการ

 

ทุเรียนทำยากกว่าผลไม้ทุกอย่าง (ถ้าต้องการให้ได้ดี)   เพราะขึ้นชื่อว่าราชาแห่งผลไม้  เรื่องรสชาติมาเป็นที่ 1 ทุกสายพันธุ์อร่อยทั้งนั้น

 

ทุกคนชอบอะไรที่ไม่เหมือนกัน  กินไม่เหมือนกัน ก็ว่าของที่ตัวเองชอบอร่อยดี ของที่ไม่ชอบไม่อร่อย  ทุเรียนก็อร่อยทุกพันธุ์ อยู่ที่เราจะเลือกกิน และได้กินตามที่เราชอบ แข็ง กรอบ นิ่ม  นุ่ม กรอบนอกนุ่มใน เละเป็นปลาร้า

 

 

 


 

สำหรับเก๋า...ชอบแบบนี้ค่ะ อิอิ

 

 

ทุเรียนที่ส่งไปขายต่างประเทศ..แน่นอน..ราคาต้องสูงมาก..หลายเท่าตัวกว่าอยู่เมืองไทย ที่เป็นผู้ส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก 

 

สินค้าเกษตรที่ส่งต่่างประเทศราคาไม่เท่ากัน ตามคุณภาพของสินค้า ประเทศที่ไม่เน้นการตรวจสารพิษ  ไม่กีดกันทางการค้า  ก็ราคาถูกกว่า ส่วนมากเป็นประเทศแถวเอเชียเรา  ยกเว้นญี่ปุ่น ไต้หวัน ที่ต้องการสินค้าเกรดเอ ไม่มีสารพิษตกค้าง ราคาที่ส่งไปก็จะสูงขึ้น รวมทั้งฝั่งยุโรป (อียู)  อเมริกา  แคนาดา  

 

 

 

รูปผลไม้ที่ขายที่แคนาดาของพี่อ้อยหวาน

 

ราคาขนาดนี้เมื่อเทียบเป็นเงินไทย ดูเหมือนจะแพงมาก แต่ก็ต้องดูไปถึง เริ่มจาก ขั้นตอนการผลิต ที่ต้องดูแล บริหาร จัดการ มากกว่าผลผลิตที่ส่งขายในประเทศ

 

ผลไม้ที่ส่งออก เน้นการตรวจหา สุ่มหาสารพิษ ตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ  บอกแล้ว ทุเรียนสวนเก๋า ได้รับการสุ่มที่ประเทศปลายทาง ญี่ปุ่น ซึ่งเข้มงวดมากเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค   กล่องที่บรรจุต้องมีรหัสสมาชิก รหัสสวน ตรวจสอบโซนที่ตั้งของสวน เมื่อมีปัญหาก็จะเบรคสินค้าจากสวนทันที

 

การทำผักผลไม้ปลอดสาร ชาวสวนรู้ว่าทำยาก ลงทุนสูง  การดูแลเข้มงวดทุกขั้นตอน แต่ถ้าขายได้ราคาสูง ๆ ก็คุ้มค่า ไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาผลไม้ล้นตลาด เพราะพ่อค้าส่งออกวิ่งเข้าหาถึงสวน  ตัดปัญหา ราคาตกต่ำ

 

ราคาที่โรงงานรับซื้อก็สูงกว่าราคาที่รับซื้อเพื่อขายในประเทศ เพราะต้องคัดเกรด เลือกที่ดีที่สุด

 

บริษัทเมื่อรับซื้อมาแล้ว ก็ต้องมีที่รองรับ เก็บสินค้า ต้องลงทุนสร้างห้องเย็น โรงงานบรรจุผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน ต้องผ่านการตรวจสอบ ได้รับการรับรอง  ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล ในด้านการลงทุน

 

เก๋ารู้มาว่าค่าไฟที่โรงงาน สมัยก่อนเดือนละหลาย ๆ แสน เดี๋ยวนี้หลาย ๆ ล้าน ต้องประหยัดค่าไฟด้วยการใช้แผงโซล่าเซลล์   ค่าโสหุ้ยในการบริหารจัดการของโรงงานสูงมาก  ในการที่จะเก็บสินค้าไว้ป้อนตลาดในยามขาดแคลนไม่มีของสด 

 

ถ้าไม่มีโรงงานเพื่อการส่งออก เคราะห์หนักก็จะตกอยู่ที่เกษตรกร สินค้าล้นตลาด ไม่มีที่รองรับเพียงพอ  เมื่องไทยเราในน้ำมีปลาในนามีข้าว  อุดมสมบูรณ์ ผลิตอะไรออกมา ก็ล้นเหลือ เลี้ยงคนในประเทศ และยังเผื่อแผ่ไปทั่วโลก  

 

วิกฤตการณ์เทผลไม้ เทนม เท...บนท้องถนน ประท้วงรัฐบาล ไม่ค่อยมีแล้ว เพราะสินค้ามีที่รองรับ  คนในกินจนเหลือ เก็บไว้ส่งออก ยามไม่มี

 

เมื่อเป็นชาวสวน ใจเต้นตุ๊ม ๆ ต่อม ๆ  กลัวโรงงานปิดรับซื้อ เพราะผลไม้ล้นตลาด  ราคาตก ตกยังไง ขอให้มีคนซื้อ มีที่รองรับ ถูกก็รับได้ ขอให้มีที่ขาย  ไม่งั้นก็เน่า..เสียของ...ได้น้อยยังดีกว่าไม่ได้เลย

 

โรงงานส่งออกมีรายจ่ายที่สูง เมื่อสินค้าไปถึงประเทศต่าง ๆ ก็อัพราคาขึ้นตามเกรดของประเทศ

 

ช่วยกันซื้อกินเถอะค่ะ...ผักผลไม้ของไทย...แล้วก็เล่าให้เพื่อนต่างชาติฟัง ให้เขาชิม ให้เขารู้ว่าของเราดี อร่อย เขาจะได้อยากกิน อุดหนุนสินค้าของคนไทย ประเทศไทยก็เจริญรุ่งเรือง  รัฐบาลเสียงบประมาณมากมายเพื่อไปจัดงาน แนะนำสินค้าของคนไทย  สถานทูตกับกรมการค้า ส่งออก ก็ร่วมมือกันเพื่อโปรโมท ช่วยพี่น้องเกษตรกร  ช่วยพ่อค้าส่งออก นำเงินตราเข้าประเทศ  ลำพังคนในประเทศช่วยได้แต่ยังไม่พอ คนที่อยู่ต่างประเทศช่วยกันได้ก็ช่วยกันค่ะ

 

 

บล็อกนี้...เก๋ากลั้นใจ (ตั้งใจ) เขียนมาก ๆ สาระมากไปหน่อย ผิดวิสัยของเก๋า ที่เน้นบันเทิงเป็นหลัก ปวดหัววุ้ย...อ่านแล้วก็ช่วยกันบอกต่อนะคะ...ผัก ผลไม้ อาหาร สินค้าจากประเทศไทยดีที่สุดในโลก...5555  ไม่แพงเลย

 

พี่อ้อยหวานผ่อนคลายไปแล้ว...เก๋ากลับ...ปวดหัว ว้า!   สาระมากไปหน่อย


ความเห็น

ขอบคุณมากๆเลยค่ะคุณเก๋าอ่านแล้วความคิดเปลี่ยน ทีนี้จะไม่(แอบ)บ่น :uhuhuh: อีกแล้วเวลาเห็นผลไม้ที่เค๊าขายกันแพงๆ ทุเรียนนัทชอบกินตรงที่เป็นเรียวๆหัวกับตูด ไม่รู้ทำไมตรงกลางๆสวยๆกลับไม่ชอบกิน..ฮาๆ

เก๋าก็กัดก่อน ตรงนั้นอร่อย มันสุด ๆ ไม่เป็นเส้นด้วย กัดก่อนทุกที   :love:

 บล็อกนี้เนื้อหาหนักแน่น ขอปรบมือให้ดังๆ ครับ (ได้ยิไหม)

:beg:   ได้ยินเต็ม 2 หูเลยค้า...

ถ้ามีทุเรียน ให้ทำไหร่กะยอมคะ:uhuhuh:

sudjai_waitong@hotmail.com
     0805401058

พี่ใจ  งั้นให้มารับกลับไปเที่ยวบาเจียงใหม่...:uhuhuh:

:cheer3: แปะ แปะ แปะ แปะ แปะ :love:

ปรบมือดังๆเลยจ้า ป้านันท์สุดยอดจริงๆ 

ขอบคุณมากมายสำหรับสาระและข้อคิดดีๆในบล็อกนี้ :beg:

""

 

:love:   ดีใจที่อีฟเห็นถึงความตั้งใจจริงของเก๋า...:beg:

พี่ก็ชอบกินทุเรียนแบบที่น้องนันท์ชอบเนื้อแข็งๆ ถึงไม่เคยซื้อแช่แข็งกิน แต่ขายดีมากนะ คนจีนชอบซื้อกิน มีขายอยู่ตลอด แต่มังคุด 3 ลูก 120บาทมันโหดเกินไป บ้างครั้งมีลำใยมาจากเมืองไทย พี่ซื้อมากินเหมือนกัน อันนี้ตระกร้าละ 10 เหรียญแคนนาดา= 300 บาท น.น. 3 กิโล
ถ้าของไม่แพงจนเกินเหตุพี่จะซื้อของไทยตลอด ตอนนี้กังวลว่าเวียตนามกำลังจะแซงหน้าค่ะ

มังคุด ราคาแพง คงเป็นที่ระยะทางการขนส่งที่ไกลมาก ๆ  อีกอย่างสินค้าที่เก็บไว้นาน  เมื่อส่งไปขาย ราคาอัพขึ้นสูงกว่าขายในฤดู เพราะค่าโสหุ้ยในการเก็บรักษา  ของที่ไปส่งทางเรือ ก็ถูกกว่า ของสดที่ส่งทางเครื่องบิน  แม่ค้าที่นำเข้าก็ส่งต่อกันหลายทอด กำไรหลายต่อ  คงไม่แพง ถ้ามองในแง่ของการช่วยส่งเสริมสินค้าของบ้านเรา เพราะเราก็ไม่ได้กินบ่อย ๆ  

 

เก๋าจะเล่าเรื่องราคามังคุดให้ฟังเคยเล่าไปแล้วในบล็อกเก่า ๆ  เก๋าไปซื้อมังคุดที่เขื่อนคีรีธาร  ซื้อเหมาทั้งลำเรือ ซึ่งมีแค่ 100 กก. ราคา กก. ละ 70 บาท  เอามาส่งโรงงานรับซื้อ  90 บาท  แล้วโรงงานก็ส่งญี่ปุ่น ทางเครื่อง  ราคาที่ขายทางญี่ปุ่น ปีนั้น ช่วงระยะเวลานั้น   ไม่อยากบอกเลย....แพงกว่าที่แคนาดาอีกค่ะ  ขายเป็นลูก 

 

เวียตนามแซงหน้าไปแล้วเรื่องข้าว  รัฐบาลส่งเสริมสุด ๆ  แต่เรื่องผลไม้ เรายังนำหน้า เพราะเกษตรกรเราหัวก้าวหน้ากว่าเยอะ  แต่ไม่แน่ เพราะคนที่ไปทำสวนผลไม้ที่เวียตนามก็เป็นคนไทย  

หน้า