ร้ายนักนะ..ผู้คุม

หมวดหมู่ของบล็อก: 

วันนี้มีเรื่องเล่าของผู้คุมค่ะ ร้ายกาจมาก ผัดใบมะเขือให้กินวันก่อน ติดอกติดใจ เผลอแป๊บเดียว ไปเด็ดมาซะโกร๋นเลย เล่นเอาใจหาย คิดว่าไปเด็ดลูกมันมาด้วย ยังไม่พอนะ ไปบอก และ เรียกญาติพี่น้องมา จะให้เก็บไปผัดคุยว่า ... อร่อยอย่างโง้น อย่างงี้ แหม!! ทีตอนเราปลูก ละบ่นเอ๊า บ่นเอา พอได้กินแล้ว ก็เล่นจะถอนไปกินเลยUndecided

มาดูฝีมือเขาต่ะ เด็ดซะเตียนเลย เห็นมั๊ย ว่าหายไปกี่ยอด Frown ยังไม่หมดนะ ตามมาดู

ดีนะที่ไม่เด็ดลูกมะเขือไปด้วย ยังอยู่ ปลอดภัย มีสี่ลูก คงได้แจก อิอิLaughing

ยังไม่จบแค่นั้นนะ พี่ปริญญา ส่งสะตอ มาให้เพาะ จันทร์เจ้าก็กะจะเพาะ ไปปลูกในไร่ ผู้คุมแกะไป แกะมา

บอกจะกินผัดสะตอ สรุป ไปเพาะในพุง ผู้คุมหมดเลย โทษทีนะ พี่ปริญญา ส่งมาอีก ยังไม่ได้เพาะเลย อิอิLaughing

เห็นผลงานเขามั้ย ร้ายนักนะผู้คุมเนี่ย!!!! อิอิ

ความเห็น

น่าสงสารจัง นี่แหละน๊า ไม่ปลูกผักกินเองก็จะไม่รู้ว่ามันอร่อยกว่าผักที่ซื้อขนาดไหน

ปลอดสารพิษ ชีวภาพ อินทรีย์ ล้วนๆ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี

 

เมื่อก่อนนะ บ่นมากกกกกกกก เดี๋ยวนี้นะ ใครไปใครมา พาไปดูผัก

(ทำคุยเหมือนปลูกเองกับมืออ่ะ) อิอิ ร้ายจริงๆLaughing

พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า 

ไม่แน่นะคะคุณจันทร์เจ้า  ผู้คุมอาจเป็นผู้ค้นพบทฤษฎีใหม่ ยิ่งเด็ดยอดยิ่งแตกยอดแถมลูกดกอีก เดี๋ยวไม่ใช่กินลูกกินใบ จะลามไปทั้งกิ่ง ก้าน ลำต้น ราก กันเลยทีเดียว...อิอิ

น่าคิดนะ หากผู้คุมทำสำเร็จ ดังซิครับ กินรากมะเขือ หยึ่ยยยยย

พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า 

ที่นี่ก็เหมือนกัน พอเราปลูก ไม่ขึ้นหรอก เกะกะ.... มันจะออกลูกได้งัย ดินนิดเดียว... แต่พอออกลูกมา วันนี้ผัดบวบกินนะ เก็บแล้วนะ ยังดีที่ขออนุญาต วันก่อนยังไม่อนุญาต มีหน้ามาถามอีก ตกลงจะปลูกไว้ทำไหร...ไม่เก็บมากิน..... เราก็อยากโชว์นาน ๆ น่ะ

ยังดีนะที่ขอก่อน แบบนี้ยังดูน่ารักค่ะ ที่ไม่เด็ดไป บ่นไป อิอิ

พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า 

พ่อผาย สร้อยสระกลาง
ปราชญ์ชาวบ้าน นักจัดการ จ.บุรีรัมย์

พ่อผาย สร้อยสระกลาง : 64 หมู่ที่ 4 ต.โคกล่าม อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์

ฉบับ นี้ขอพาผู้อ่านมาพบกับปราชญ์ชาวบ้านนักจัดการของภาคอีสาน "พ่อผาย สร้อยสระกลาง" ซึ่งเกิดที่ประเทศไทย อยู่เพื่อประเทศไทย และขอตายเพื่อชาติไทย ซึ่งเป็นผืนแผ่นดินที่รักยิ่ง

ชีวิตที่ไม่ธรรมดา

เด็ก ชายผาย เกิดเมื่อปี พ.ศ.2473 ปัจจุบันอายุ 71 ปี เกิดที่บ้านเลขที่ 64 หมู่ที่ 4 ต.โคกล่าม อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ เป็นบุตรคนที่ 4 ของพ่อชา และแม่สอน สร้อยสระกลาง ตั้งแต่แรกเกิดจนจำความได้แม่สอนจะกล่อมลูกๆ ให้นอนด้วยเพลงกล่อมดั้งเดิมว่า "แม่ไปไฮ่ หมกไข่มาหา แม่ไปนาหมกไข่ปลามาป้อน แม่เลี้ยงหม่อนอยู่ป่าสวนหม่อน" ซึ่งเป็นเพลงกล่อมที่พ่อผาย จำได้ขึ้นใจ และมีผลต่อการทำงานตลอดมาจนถึงทุกวันนี้

ปี 2483 พ่อ ผายมีโอกาสเข้าเรียนหนังสือจนจบ ป.4 ในปี 2487 ที่โรงเรียนวัดบ้านสระคูณ เมื่อออกจากโรงเรียนได้ไปเป็นลูกจ้างเลี้ยงวัว 50 ตัวอยู่บ้านท่าวง อ.เดียวกัน โดยได้ค่าจ้างเป็นวัว ปีละ 1 ตัว ทำอยู่ 2 ปี ได้วัวมา 2 ตัว จึงกลับมาอยู่บ้าน และบวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพระธรรมอีก 4 ปี สอบได้นักธรรมโท จึงบวชเป็นพระอีก 6 ปี สอบได้นักธรรมเอก
พ่อผายบวชต่อ ถึงปี 2505 จึงสึกออกมาแต่งงานกับแม่ลา โดยการแนะนำจากพระเจ้าอาวาสและทายกวัดบ้านสระคูณ โดยทั้งสองท่านเป็นผู้ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ เพราะเห็นว่าเป็นคนดี

ปี 2508 พระเจ้าคณะอำเภอชี้แนะให้พ่อผายสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านสระคูณ ได้รับคะแนนเสียงท้วมท้น 285 เสียงจาก 290 เสียง เพราะชาวบ้านศรัทธาเนื่องจากเคยเป็นพระ และทำหน้าที่เป็นครูบาสอนคนมาตลอด เช่น จะอบรมคนที่ไปบวชพระหรือเณรให้เห็นคุณค่าการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง เห็นความสำคัญของความสมดุลระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ พร้อมจัดกิจกรรมให้ผู้ที่จะบวชจะต้องเอาต้นมะพร้าว 1 หน่อมาปลูกในวัด ทำให้ผู้คนเลื่อมใส และศรัทธา

การ เป็นผู้ใหญ่บ้านของพ่อผายได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านบ้านสระคูณอย่างล้น หลาม และด้วยเพลงกล่อมที่ฝังใจว่า "แม่ไปไฮ่ หมกไข่มาหา แม่ไปนาหมกไข่ปลามาป้อน แม่เลี้ยงหม่อนอยู่ป่าสวนหม่อน" ทำให้พ่อผายพาชาวบ้านเรียนรู้ และจัดการจนมีอยู่มีกิน พาชาวบ้านใช้ที่ดินสาธารณะกว่า 400 ไร่ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเสริมรายได้ และขอบริจาคจากสมาชิกสร้างกองทุนสวัสดิการบ้านสระคูณจนเกือบจะเกิดความขัด แย้งกับทางราชการ เพราะกิจกรรมดังกล่าวดูเหมือนว่าพ่อผายได้พาชาวบ้านบุกรุกที่สาธารณะของหมู่ บ้าน แต่ด้วยความตั้งใจดี และด้วยไหวพริบอันแหลมคม พ่อผายได้ตั้งคำถามว่า "ที่สาธารณะบ้านสระคูณเป็นของใคร" ซึ่งได้คำตอบว่า "เป็นของประชาชน" และด้วยคำว่า ที่ดินสาธารณะเป็นของประชาชนนี้เอง ทำให้ทางการไม่สามารถเอาผิดได้ เพราะชาวบ้านสระคูณที่มาร่วมโครงการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อทอผ้าไหมของบ้านสระคูณนั้นทำกันเกือบทุกหลังคาเรือน ทำให้พ่อผายได้รับฉายานามใหม่ว่า "ผู้ใหญ่บ้านหัวหมอ" ซึ่งผู้ใหญ่ผายก็น้อมรับไว้ และพาชาวบ้านเดินหน้าจนกระทั่งโครงการสำเร็จอย่างมาก ในที่สุดส่วนราชการต่างๆ ก็ยอมรับและนำป้ายของส่วนราชการมาสนับสนุนโครงการดังกล่าว

คิดผิดคิดใหม่ได้

ปี 2525 สภาพอากาศแล้งจัด ที่บ้านสระคูณชาวบ้านลำบาก ช่วยตัวเองไม่ได้ มีคนมาชักชวนพ่อผายว่าน่าจะหาทางช่วยตัวเองก่อนแล้วจึงกลับมาช่วยชาวบ้าน พร้อมเสนอขายที่สาธารณะที่อำเภอละหานทราย จำนวน 100 ไร่เศษ เพื่อปลูกข้าวโพด พร้อมพูดหว่านล้อมให้เห็นลาภก้อนโตที่จะเกิดขึ้น

เมื่อ ความคิดถูกครอบงำด้วยความทุกข์จากภัยแล้ง และความโลภจากลาภดังกล่าว จึงตัดสินใจกู้ ธกส. สี่หมื่นบาท ร่วมกับเงินออมของตนเองอีกหนึ่งหมื่นบาทไปลงทุนโค่นต้นไม้ ถางป่าเพื่อปลูกข้าวโพด ผ่านไปหนึ่งปี ข้าวโพดราคาดีมาก แต่ผลผลิตได้นิดเดียว เพราะแล้งจัด ไม่พอจ่ายดอกเบี้ย ปีที่ 2 คือปี 2527 ได้ผลผลิตมากมายแต่ต้องไปเข้าคิวขาย ไม่มีอำนาจต่อรอง กำหนดราคาเองไม่ได้ ถูกหักโน่นหักนี่ ไม่พอใจก็ทำอะไรไม่ได้ โชคยังดีไม่ได้ไปประท้วงเลยไม่ถูกหมากัด นั่งคิดทบทวนจึงรู้ว่ามาผิดทาง เพราะคิดอยากรวยกลับเป็นหนี้ ทำลายทุนทางสิ่งแวดล้อม ทำลายทุนทางครอบครัวและสังคม เพราะต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนมา
เมื่อรู้ ว่าคิดผิดก็คิดใหม่ถอยหลังกลับมาตั้งหลักที่บ้าน ฝันเห็นความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติรอบบ้าน ฝันเห็นผู้คนรักใคร่กลมเกลียวกัน ทำให้เกิดพลังทั้งกาย และใจอย่างมาก

อ่านตัวให้ออก บอกตัวให้ได้ ในที่สุดชีวิตจะดีขึ้น

มื่อ เกิดสัมมาทิฐิพร้อมด้วยพลังกายและพลังใจ ทำให้พ่อผายบอกกับตนเองว่า "เราเป็นชาวนาจะไปเป็นนายอำเภอ ไปเป็นหมอ ย่อมฝืนธรรมชาติ น่าจะเป็นชาวนาที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และที่สำคัญมีความสุข กล่าวคือมีหลักประกันในชีวิตครบถ้วน มีสุขภาพกายและใจที่แข็งแรง ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง มีสิ่งแวดล้อมดี มีอิสรภาพ มีความภาคภูมิใจ และเข้าถึงธรรมะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง
ความคิด ดังกล่าวทำให้พ่อผายฟันธงลงไปว่าจะต้องออมน้ำบนผืนแผ่นดินทำกินของตนเพื่อ ให้มีข้าว นก ปลา ต้นไม้ที่หลากหลายมาอาศัย จึงตัดสินใจใช้จอบขุดดินปั้นสระด้วยมือ ซึ่งภรรยาไม่ยอม บอกว่านามีนิดเดียวแค่ 15 ไร่ และตนเองเป็นเจ้าของจะเอาไว้ทำนา ลูกก็ทักท้วง แต่ความแน่วแน่ที่พ่อผายมีอยู่เป็นแรงขับเคลื่อนที่ทรงพลังยิ่งนัก จึงไปขุดสระเองด้วยมือแต่เพียงลำพัง ด้วยจิตใจที่แน่วแน่ ว่างเปล่าหมดความกังวลใดๆ มีความหวัง "ฝันเห็นต้นไม้หลายๆ ชนิด ทั้งต้นกุง ต้นจิก ต้นเต็ง ต้นรัง ต้นแดง ต้นชาด และต้นอื่นๆ กว่า 30 ชนิด ฝันเห็นเห็ดไข่ เห็ดปลวก เห็ดเพ็ก เห็ดพวก เห็ดแทด เห็ดทาเกิดตั้งเป็นตั้งร้อย ฝันเห็นปลวกใหญ่ ปลวกน้อย ปลวกจิก ปลวกตาด"

ขุด ไปร้องรำทำเพลง เพลงจ้ำจี้ผลไม้แตงไทย แตงกวา ขนุน น้อยหน่าพุทรา มังคุด ละมุด ลำไย มะเฟือง มะไฟ มะกรูด มะนาว มะพร้าว ส้มโอ ฟักแฟง แตงโม ไชโยโห่ฮิ้ว
ความว่างและความหวังทำให้ไม่มีทุกข์ใดๆ มาครอบงำได้ ไม่ว่าจะเป็นความเหนื่อยยากจากการขุดสระ ความแล้ง ความหิว มีคำแก้ตัวให้เองจากหัวใจของเรา เช่น "แล้งเป็นโอกาสให้เราได้ขุดสระ" "หิวรอก่อนนะ ปีนี้กำลังทำ ปีหน้าค่อยกิน" เป็นต้น

ใน ที่สุดให้หลัง 8 เดือน สระลูกแรกก็เสร็จสิ้นลง เมื่อมิถุนายน 2528 ฝนตกลงมาพอดีจนน้ำเต็มสระ ความใส่ใจทำให้ได้ยินจากวิทยุว่าที่ท่าพระ จังหวัดขอนแก่นมีการสอนเรื่องการเลี้ยงและเพาะปลา จึงดั้นด้นเดินทางไปเอาความรู้มาได้ พร้อมปลา 1000 ตัวมาเลี้ยง ด้วยสูตรอาหารที่พึ่งตนเองได้ ตามที่ได้ร่ำเรียนมา 9 เดือนให้หลังก็ได้ปลาตัวโตๆ นักวางแผนอย่างพ่อผายไม่เคยปล่อยให้โอกาสหลุดมือ จึงพาหลานไปนาด้วยเพื่อทำหน้าที่ผู้สื่อข่าว ไปถึงนาช่วยกันจับปลาใส่แห แล้วพ่อผายแกล้งทำเป็นปวดท้องมาก ให้หลานวิ่งไปตามแม่มาดูแลและแกล้งเอาน้ำลูบตัวให้เย็นๆ แม่ลามาถึงเอามือแตะตัวเห็นเย็นๆ ตกใจมาก ถามว่า "ปวดท้องแฮงสิ" จึงตอบว่า "ดีขึ้นแล้วละ แต่ลุกไปเอาปลาไม่ไหว ช่วยไปเอาปลาขึ้นให้ที" พร้อมกับชี้แหที่อยู่ริมสระ แม่ลาเดินไปยกแหขึ้น พร้อมอุทานว่า "ป๊าด ปลาคือหลาย พ่อมาดูปลาเฮา"
พ่อผายนึกอยู่ในใจว่าตัวเองขุดดิน ตัวเองเลี้ยงปลา แต่ตอนนี้กลายเป็นปลาเรา ไม่เป็นไรถือว่ามีแนวร่วม จึงร้องตอบไปว่า "ปลามาก แบ่งปลามากิน" แม่ลาร้องตอบว่า "ไม่หรอก เสียดายปลาของข้อย"

เมื่อปลาเป็นของแม่ลา แม่ลาก็เต็มใจร่วมวางแผนขยายพื้นที่ของตนเอง ไม่เพียงพื้นที่ตนเองแต่ยังขยายเครือข่ายในปี 2528 ออกไปอีก 5 ครอบครัว ปี 2529 ขยายออกไป 153 ครอบครัว จาก 185 ครัวเรือน ปัจจุบัน ปี 2542 บ้านสระคูณทำเกษตรผสมผสาน ร้อยละ 98 (ทำ 233 ครอบครัวจาก 238 ครอบครัว) โดยแต่ละรายมีสระน้ำตั้งแต่ 1 สระถึง 5 สระ

ความสุขที่สัมผัสได้

15 ปีผ่านไป หลังจากคิดพึ่งตนเอง พ่อผายและครอบครัวพบว่า เกิดความเปลี่ยนแปลงมากมายที่ดีขึ้นที่อยากจะเล่าให้ผู้อื่นฟังดังนี้

1. เศรษฐกิจดีขึ้น กล่าวคือ รายจ่ายลดลงชัดเจนทั้งด้านบริโภค และการลงทุนในการผลิต หนี้สินค่อยๆ ลดลงจาก 60,000 บาท จนไม่มีหนี้แล้ว เงินออมค่อยๆ เพิ่มขึ้นจนมีวัว 60 ตัว ที่ดินเพิ่มจาก 15 ไร่เป็น 85 ไร่ และรายรับเพิ่มขึ้นจากบำนาญชีวิตที่สร้างไว้ทั้งพืชและสัตว์ต่างแสดงความ กตัญญูกตเวทีต่อพ่อผาย มีเหลือกิน เหลือแจก และมีเหลือขาย เป็นรายได้เข้าครอบครัวอย่างต่อเนื่อง

2. สิ่งแวดล้อมดีขึ้น กล่าวคือ มีความหลากหลาย พร้อมด้วยสิ่งมีชีวิตนับพันชนิด มีดินที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอินทรีย์วัตถุ มีน้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้น 6 บ่อจุน้ำได้ 14,000 คิว มีต้นไม้ยืนต้นทั้งผัก ผลไม้ และไม้ใช้สอยกว่า 60 ชนิดนับได้พันกว่าต้น และที่สำคัญมีผักสดๆ กิน ปลอดมลพิษจากยาฆ่าหญ้าและยาฆ่าแมลง

3. สุขภาพดีขึ้น กล่าวคือ กินได้ นอนหลับ ไม่มีหนี้ มีสมุนไพรเป็นทั้งอาหารและยา ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ และด้วยวัย 71 ปี ไม่ได้เข้านอนในโรงพยาบาลมามากกว่า 9 ปี

4. ปัญญาดีขึ้น โดยสามารถคิดจนรู้เท่าทัน เรียนรู้ทุกวัน จนพึ่งตนเองและพึ่งพากันเองได้

5. สังคมดีขึ้น กล่าวคือมีเพื่อนมาก รู้จักคนมาก และคนรู้จักพ่อผายมาก อย่างน้อยมีเครือข่ายกว่า 200 หมู่บ้าน ใน 7 จังหวัด ที่ยังติดต่อไปมาหาสู่กันกว่า 3,000 คน

โรงเรียนชุมชนอีสาน

สิ่ง ดีๆ ที่เกิดกับพ่อผาย และเครือข่ายในการใช้หลักธรรมะของการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง ผนวกกับหัวใจของความเป็นครู ทำให้พ่อผายร่วมมือกับครูบาคำเดื่อง และครูบาสุทธินันท์ ตั้งโรงเรียนชุมชนอีสานขึ้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ภายใต้การสนับสนุนของศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก จากสถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนาอีสาน เพื่อขยายความคิดและรูปธรรมออกไปอย่างเป็นระบบ เป็นการเปิดโอกาสให้เครือข่ายโดยรอบมาเรียนรู้จากครูบาทั้งสามท่าน พาคิดพาทำจนรู้ เข้าใจ และแตกฉาน สามารถนำชีวิตออกจากวิกฤตได้ในทุกด้านอย่างรวดเร็ว

จาก โรงเรียนชุมชนอีสานสู่ วปอ.ภาคประชาชน เพื่อสร้างเครือข่ายพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง 1 ล้านครอบครัว เจริญตามรอยพระยุคลบาท เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
ปี 2542 ปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสานได้มาประชุมสัญจรกันต่อเนื่องทุกเดือนไปตาม ศูนย์เรียนรู้ของปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน ทำให้เห็นภารกิจร่วมกันว่าต้องขยายเครือข่ายออกไปอย่างกว้างขวางเพื่อแก้ วิกฤตของชาติให้ได้ จึงได้วางหลักสูตรวิทยากรกระบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่การพึ่งตนเองและ พึ่งพากันเอง หรือเรียกย่อๆ ว่า วปอ.ภาคประชาชน โดยอาศัยผู้นำชุมชนและนักพัฒนาที่สนใจมาเข้าหลักสูตร ฝึกวิธีคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค รู้จักตนเอง ผู้อื่น รู้จักการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง พร้อมไปศึกษาดูงานตามสถานีของปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อกลับมาขยายเครือข่ายอย่างกว้างขวาง เป้าหมาย 1 ล้านครอบครัวใน 18 ปีข้างหน้า พร้อมด้วยเด็กรักถิ่น 1 ล้านคน เพื่อสืบทอดพลังของแผ่นดินดังกล่าว และแน่นอนสิ่งเหล่านี้คือความใฝ่ฝันอันสูงสุด และเป็นความภูมิใจสูงสุดในความเป็นคนดีศรีสังคมของแผ่นดินไทย นอกเหนือจากโล่ห์รางวัลมากมายที่สังคมมอบให้

จุดเด่นของศูนย์เรียนรู้ของพ่อผาย สร้อยสระกลาง

1. เป็นศูนย์เรียนรู้ที่เน้นการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง

2. มีการจัดการด้าน การขยายเครือข่ายอย่างชัดเจน ทั้งในระดับกลุ่ม หมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัด

3. มีการจัดการสร้างเด็กรักถิ่นมาสืบทอด

4. มีการจัดการด้านกองทุนต่างๆ เช่น กองทุนออมน้ำ กองทุนวัวควาย กองทุนวัฒนธรรม เป็นต้น

5. มีการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ๆ อย่างเป็นระบบ

ปรัชญาของเจ้าของบ้าน

อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ แปลว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

หลักสูตรดูงาน

1. ดูงานเฉพาะของพ่อผาย สร้อยสระกลาง ใช้เวลา 3-6 ชั่วโมง

2. ดูงานกลุ่มเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านใช้เวลา 3-5 วัน

ศูนย์เรียนรู้ของพ่อผาย สร้อยสระกลาง

มี ผู้มาศึกษาดูงานเป็นจำเดือนละ 10-30 คณะ โดยปี 2542 มีผู้มาศึกษาดูงาน 10,000 คนเศษ รูปแบบการขยายเครือข่ายสู่การพึ่งตนเองและพึ่งพากันเอง มีคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ต่อเนื่องไปถึงลูกหลาน เป็นประโยชน์อย่างมากต่อเกษตรกรที่สนใจรวมทั้งนักพัฒนาทั้งภาครัฐและองค์กร เอกชนที่สนใจ พาชาวบ้านเรียนรู้ตามแนวทางพระราชดำริ

กลุ่มต่างๆ ที่น่าจะได้มาศึกษาดูงาน ได้แก่

1. เกษตรกรที่สนใจทั้งชายและหญิง

2. เด็กและเยาวชน

3. ข้าราชการที่สนใจทฤษฎีใหม่

มูลนิธิพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตดี
จังหวัดขอนแก่น

เมื่อมีสิ่งนี้ๆ เป็นปัจจัย สิ่งนี้ๆ จึงเกิดขึ้น

คุณพุทธบุตรมากค่ะ ที่นำมาให้อ่าน.....ชอบมาก

เวลาพบกันสั้นนิดเดียว

พร้อมปฎิบัติ แต่ไม่เต็มที่นะคะ เพราะไม่มีที่ทำ อิอิ ขอบคุณมากๆค่ะ

พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า 

ให้ผู้คุมลองช่วยปลูกดูซิใบมะเขือจะอร่อยเท่ากับที่จันทร์เจ้าปลูกหรือเปล่า 555

หน้า