เล่าสู่กันฟัง ..งานรวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว 4

หมวดหมู่ของบล็อก: 

บล็อกนี้อ้อยหวานยังจับพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) มารวมญาติกันอยู่ พืชวงศ์ถั่วนี้เป็นพืชที่เราควรจะให้ความสำคัญมากๆ เป็นแหล่งอาหารหลัก ใช้ประโยชน์ได้มากมาย และที่สำคัญอีกอย่างคือ ใช้เป็นปุ๋ยพืชสด หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Green manure พืชชนิดจะปลูกคลุมดินไว้ระยะเวลาหนึ่ง จากนั้นก็ไถผสมรวมกับดินในขณะที่ยังสดเขียวหรือหลังจากมีดอก สำหรับผู้ที่คิดจะทำเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยพืชสด หรือ Green manure นี้สำคัญมาก และอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้พืชวงศ์ถั่วจรัสแสงก็คือการจับไนโตรเจนในอากาศ (Biological nitrogen fixation) พืชวงศ์ถั่วเป็นหมู่บ้านที่พักหลับนอนของแบคทีเรีย ‘ไรโซเบีย’ แบคทีเรียที่สามารถดึงเอาก๊าซไนโตรเจน (N2) จากอากาศ และแปลงรูปเป็นไนโตรเจน (NO3- or NH3) อาหารยอดเยี่ยมของพืช

 

พืชวงศ์ถั่วต้นแรกของบล็อกนี้ก็คือกระถินหรือสะตอเบา มีชื่อภาษาอังกฤษว่า White Leadtree หรือ jumbay มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Leucaena leucocephala มีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโก เบลีซ และกัวเตมาลา มีลักษณะเป็นพุ่ม หรือเป็นต้น ต้นโตเต็มที่จะสูงถึง 6 เมตร ดอกไม้กลมสีขาวขนาด 3/4 นิ้ว (1.9 เซนติเมตร)

 

ใบและเมล็ดกระถินมีกรดมิโมไซด์ (mimosine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่เป็นพิษ ถ้ากินเป็นประจำจะทำให้ผมร่วง ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปรกติ โรคคอพอก ภาวะมีบุตรยาก และปัญหาต่อสุขภาพอื่นๆ ตอนเด็กๆ อ้อยหวานชอบกินเมล็ดกระถินมาก เมล็ดกระถินสดโรยหน้าขนมจีนน้ำยาอร่อยสุด โชคดีที่ไม้ได้กินไปมากมาย

 

แต่ถ้านำใบและเมล็ดกระถินไปปรุงให้สุก ความร้อนจะทำลายกรดมิโมไซด์ (mimosine) ที่เป็นพิษ

 

กระถินได้ชื่อว่ามีประสิทธิภาพในการจับไนโตรเจนในอากาศ (Biological nitrogen fixation) สูง และโตเร็วประมาณ 10 ฟุตต่อปี สามารถใช้เป็นฟืน และเป็นพืชที่ปลูกป้องกันการพังทลายของดินได้ดี

 

ชะอม เป็นพืชวงศ์ถั่วอีกต้นหนึ่งและเป็นหนึ่งในสกุลที่อาเคเชีย (Acacia) ที่บ้านเราคุ้นเคยกัน มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Senegalia pennata มีถิ่นกำเนิดในเอเซียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

เป็นไม้พุ่มมีหนาม เติบโตสูงถึง 5 เมตร ดอกมีสีขาวแกมเหลือง ใบมีกลิ่นฉุน

 

พูดถึงชะอมส่วนใหญ่จะนึกถึงไข่เจียวชะอม ที่แคนาดาก็มีขายในร้านไทยหรือลาว มาสดๆ เลย แต่ทอดทีหนึ่งบ้านเหม็นไปหลายวัน นอกจากนั้นยังนำมาแกงส้ม แกงแค

 

ที่มณฑลจินปิง (Jinping) ในยูนาน มีอาหารจานเด็ดคือ ปลาไหลผัดใบชะอม

 

ในประเทศอินเดีย น้ำของใบชะอมนำมาผสมกับน้ำนม ใช้ในการรักษาอาการอาหารไม่ย่อยในเด็กทารก นอกจากนี้ยังจะใช้รักษาเลือดออกตามไรฟัน บางคนใช้น้ำต้มใบชะอมรักษาโรคอหิวาต์ อาหารไม่ย่อย บรรเทาอาการปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย งูกัด และรักษาพิษจากปลา รากใช้บรรเทาอาการท้องอืดและปวดท้อง เปลือกชะอมใช้รักษาโรคหลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด และอาหารไม่ย่อย

 

พืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) และอยู่ในสกุลที่อาเคเชีย (Acacia) เช่นเดียวกับชะอม อีกสองต้น ที่อ้อยหวานจะกล่าวถึงนี้เป็นพืชที่ผลิตยางไม้ที่เรียกว่า ‘กัม อาราบิก’ (Gum Arabic) ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ตั้งแต่ลูกอม, ช็อคโกแลต M&M, มาร์ชแมลโลว์ (marshmallow), น้ำตาลที่ใช้แต่งหน้าขนมเค็ก, หมากฝรั่ง และน้ำอัดลม

 

นอกจากนี้ยางไม้ ‘กัม อาราบิก’ (Gum Arabic) ยังเป็นส่วนผสมสำคัญในการผลิตยา สี กาว และเครื่องสำอาง

 

พืชวงศ์ถั่วและอยู่ในสกุลที่อาเคเชียเช่นเดียวกับชะอม และผลิตยางไม้ ‘กัม อาราบิก’ ต้นแรกคือ ต้นกัม อาเคเชีย (Gum Acacia) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Senegalia (Acacia) senegal มีถิ่นกำเนิดในพื้นที่กึ่งทะเลทรายของทะเลทรายซาฮารา โอมาน ปากีสถาน อินเดียตะวันตก สูง 5-12 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 30 ซม.

 

อีกต้นหนึ่งคือต้นอาเคเชียแดง (Red acacia) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Vachellia (Acacia) seyal หรือบางครั้งจะเรียกกันว่ายางไม้ ‘กัม อาราบิก’ เทียม

 

ส่วนในซูดาน มีการปลูกต้นอาเคเชียเพื่อเก็บยางไม้ ‘กัม อาราบิก’ ส่งออก 80% ของยางไม้ ‘กัม อาราบิก’ เป็นอันดับหนึ่งของโลก อ้อยหวานไม่แน่ใจว่าเป็นพันธ์ไหน

 

ต้นอาเคเชียอายุประมาณสี่ปีก็สามารถเก็บยางไม้ได้แล้ว เพียงแค่ลอกเปลือกไม้ออกก็จะได้ยางไม้ ‘กัม อาราบิก’

 

แถมเจ้ายางไม้ ‘กัม อาราบิก’ ยังกินได้ด้วย กัดกร๋วมเลย

 

อ่านอ้อยหวานเล่าเรื่องพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) ตอนแรกๆ ได้ที่นี่่ค่ะ

เรื่องของแคฝรั่ง

รวมญาติ

รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 2

รวมญาติของพืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) 3

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่นี่ค่ะ

http://www.eattheweeds.com/leucaena-leucocephala-food-and-fodder-2/

http://en.wikipedia.org/wiki/Leucaena_leucocephala

http://wildlifeofhawaii.com/flowers/1266/leucaena-leucocephala-white-leadtree/

http://www.fao.org/ag/agp/AGPC/doc/Publicat/Gutt-shel/x5556e06.htm

http://violapinnata.blogspot.ca/2012/10/leucaena-leucocephala-lam-de-wit.html

http://en.wikipedia.org/wiki/Senegalia_pennata

http://www.acacia-world.net/index.php/asiapacific/thailand/acacia-pennata-for-food

https://xinfully.wordpress.com/tag/acacia-pennata/

http://en.wikipedia.org/wiki/Gum_arabic

http://en.wikipedia.org/wiki/Senegalia_senegal

http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Senegalia+senegal

http://www.theguardian.com/global-development/gallery/2013/apr/01/harvesting-gum-arabic-sudan-in-pictures

http://tropical.theferns.info/viewtropical.php?id=Senegalia+senegal

 

 

I would like to Thanks everyone for all the resources for this blog. Thank you.

 

ขอให้เพื่อนๆมีแต่ความสุข

 

ขอบคุณค่ะ

 

อ้อยหวาน

ความเห็น

ได้ความรู้มามายเลยคะ ขอบคุณคะคุณอ้อยหวาน

คงต้องงดกินตอเบาละ

ตอเบาถ้าเอาไปใส่แกงปรุงให้ร้อนก็ทานได้ค่ะ คุณไก่สบายดีนะคะ ที่สิงคโปร์ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง พืชผักยังเต็มบ้านอยู่ใช่ไหม

ไม้ทุกชนิดมีทั้งคุณและโทษ บางชนิดกินมากไปก็ไม่ดี ขอบคุณข้อมูลครับคุณอ้อย

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

ไม้ทุกชนิดมีทั้งคุณและโทษ บางชนิดกินมากไปก็ไม่ดี ขอบคุณข้อมูลครับคุณอ้อย

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

 

ตอเบากินกับหนมจีน  หรอยจริง ๆ 

ยาง อาราบิก รสชาดเป็นยังไงนะ  ท่าทางน่าอร่อย

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

ขอบคุณค่ะ พี่อ้อย..ได้ความรู้เพิ่ม หนูได้มองโลกกว้างขึ้นอีก ค่ะ

ตอเบา(กระถิน) กับสะตอ วงศ์วานว่านเครือ น่าจะคล้ายๆกัน เราควรปรุงให้สุกก่อน ดีกว่า นะคะ

เมนูโปรดเลยไข่ชะอม กับน้ำพริกกะปิ ไม่ก็กับแกงส้ม Smile

อาราบิก น่าสนใจ ปลูก ในบ้านเราได้หรือเปล่านะSmile

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”