ในสายตา....ของครูคนหนึ่ง(2)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

27  พฤษภาคม  2554  07.45 น

ศุนย์ฯ......

เด็กชายตัวเล็กพูดยังไม่ชัดคำนวณ อายุน่าจะ 2 ขวบกว่า

ยืนร้องให้ตะเบ็งอย่างสุดเสียงแข่งกับเสียงจักรยานยนต์ ที่รีบขับออกไป

 


เด็กคนนั้นยังคงยืน ร้องให้ตะเบ็งเสียงขึ้นไปอีก หันซ้ายหันขวา  หันซ้ายหันขวา วิ่งไปวิ่งมา  พี่เลี้ยงได้แต่บอกว่า"อย่าร้องลูกอย่าร้อง  มะไปธุระเดี๋ยวก็มา " เมื่อมีใครขับรถมาทางไหนแกก็จะไปทางนั้น คงคิดในใจขอให้เป็นพ่อแม่ด้วยเถิด

ผู้ปกครองอีกคนขับรถเข้ามา แล้วถามว่าร้องทำไมนิ่งเสียเถอะ เขาก็คงช่วยได้แค่ถามเท่านั้นแหละ

เสียงร้องของเด็กคนนั้นยิ่งดังขึ้น เอาพลังเสียงมาจากไหน  ฟังพอจับใจความได้ว่า "ไปหามะ ไปหามะ"

เหมือนกับจะบอกผู้ปกครองท่านอื่นว่า "ช่วยพาหนูไปหามะหน่อย"

พ่อแม่คิดอะไรอยู่ที่ปล่อยให้ลูกร้องอย่างนั้น หรือต้องการให้ลูกปอดแข็งแรงเพื่อไปเป็นนักกีฬา  หรือบริการเส้นเสียง เพื่อไปเป็นนักร้อง

 

เมื่อก่อน เด็กหกล้ม  เราบอกอย่าร้อง

มดกัด เราบอก อย่าร้อง 

มีดบาด เราบอก อย่าร้อง

หนามตำ เราบอก อย่าร้อง

 

ทุกวันนี้แม่เอามาปล่อยไว้ที่ศูนย์ แล้วบอก อย่าร้อง

 

ยืนมองอยู่บนระเบียงบ้านพักครู อย่างสังเวช ลูกใครกันนะที่พ่อแม่ปล่อยให้ร้องได้ถึงขนาดนี้ จะกล่าวหาว่าใจดำก็คงไม่ได้ เพราะเขาทำเพราะหวังดี  อยากให้ลูกมีพัฒนาการ มีความพร้อม เข้ากับเพื่อนได้

 

 

จริงหรือ

 

 

ทุกวันนี้แม้ยังไม่มีลูก  แต่ก็ตั้งใจไว้แล้วว่า ลูกจะต้องอยู่ในการดูแลของพ่อและแม่ ต้องอยู่ในอ้อมกอดของครอบครัวให้นานที่สุด เมื่อถึงวัน เขาจะมีเกราะป้องกันตัวเขาเอง

 

 

ในสายตาของครู....


 


ความเห็น

อยู่ที่ความพร้อมครับ ไม่ได้กำหนดเวลาว่าจะ 2 ขวบหรือ 7 ขวบ  อย่างน้อยเขาต้องมีเเกราะป้องกันตัวเองระดับหนึ่งก่อน

เราคงไม่มีความสุขถ้าลูกมีทุกข์

ตอนเป็นเด็ก....มีแรง มีเวลา แต่ไม่มีเงิน กลางคน.....มีเงิน มีแรง แต่ไม่มีเวลา ปั้นปลาย.....มีเงิน มีเวลา แต่ไม่มีแรง

เดี๋ยวนี้ทุก อบต. ก็ต้องมีสถานรับเลี้ยงเด็ก (หรือเรียกอะไรหว่า)
มีเหมือนเป็นแฟชั่น หรือเขากำหนดให้มีก็ไม่รู้ แต่ผมสงสัยว่า เขามีมาตรฐานอะไรที่มากำหนดการมีสถานที่นี้
หรือพอมี อบต. แล้วมันต้องมี

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณที่เปิดโอกาส ให้ได้ได้แสดงความคิดความเห็นนอกเหนือจากเรื่องเกษตรและปากท้องครับ

 

ผมเคยเห็นในโทรทัศน์   บางอบต. เขาให้คนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน มารวมตัวกันดูแลลูกหลานในศูนย์ คนแก่ก็ไม่เหงาเด็กก็ไม่เครียดเพราะอยู่กับย่ากับยาย มีการเล่านิทาน ทำของเล่นจากภูมิปัญญา

อันนั้นน่าสนับสนุนครับ

 

 

แต่ส่วนใหญ่ต้องมีการประเมินซึ่งเกณฑ์ข้อหนึ่งคือ พี่เลี้ยงต้องจบปริญญา

จำเป็นหรือครับ

ตอนเป็นเด็ก....มีแรง มีเวลา แต่ไม่มีเงิน กลางคน.....มีเงิน มีแรง แต่ไม่มีเวลา ปั้นปลาย.....มีเงิน มีเวลา แต่ไม่มีแรง

ผมคิดว่าบางคนมีความจำเป็น ที่ต้องส่งลูกไปฝากเลี้ยงแบบนั้น ....ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่...

บางทียังเขาเด็กเกินไป .....แต่ก็อย่างว่าชีวิตมีการดิ้นรน เพื่ออะไรหลายๆสิ่งหลายๆอย่าง ของพ่อแม่ จึงต้องทำแบบนั้น.....ดูแล้วบางทีก็ปลงนะ....ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป นะ

จริงๆแล้วเด็กยังเล็กไป แต่บางคนพ่อแม่มีความจำเป็นต้องทำงานไม่มีเวลาเลี้ยงดู บางคนก็คิดว่าเด็กจะได้ฝึกพัฒนาการในวัยเด็ก

แผ่นดินไหนก็ไม่มีความสุขเหมือนแผ่นดินเกิด อยากกลับบ้านจัง

ทดสอบ

เห็นด้วยกับน้องตี๋ค่ะค่ะ อยากบอกว่า 2 ปี นั้นอายุน้อยเกินไป แต่อยากจะบอกว่าถ้าคุณมีความจำเป็นต้องทำแบบนั้น ระยะเวลา 2 ปีนั้นที่คุณได้อยู่กับเขา คุณต้องทำหน้าที่ให้เต็มที่คือควรอยู่กับเขาตลอดระยะเวลานั้น เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมีภูมิคุ้มกันระดับหนึ่งค่ะ และอีกอย่างที่สำคัญมาก สำหรับเด็กเล็กคือ คุณควรให้เด็กห่างจากทีวี นานที่สุดเท่าที่ทำได้ การให้เด็กดูทีวีตั้งแต่ยังเล็กๆ เป็นการปิดกั้น จินตนาการ การสื่อสาร ทำให้เด็กมีการสื่อสารด้านเดียวค่ะ ไม่ต้องอื่นไกล ขนาดเราๆผู้ใหญ่ หากได้ดูทีวี บางครั้งไม่ได้ยินหรือสนใจอะไรแล้ว จ้องทีวีอย่างเดียว  อย่าคิดว่าเด็กไม่ทันสมัยตามเพื่อนไม่ทันถ้าไม่ได้ดูทีวี คุณคิดผิดค่ะ

สังเกตุต่ออีกนิดนึงครับว่า สอง สามวันถัดมาเด็กยังร้องเหมือนเดิมหรือปล่าว บางครอบครัวก็มีความจำเป็นนะครับ ที่ต้องทำอย่างนั้น


ที่แคนาดา พ่อแม่จะส่งเด็กอายุเท่านั้นได้แค่ครึ่งวันเท่านั้น จะอยู่เต็มวันได้ก็ต้อง ห้าขวบขึ้้นไป

อ่านแล้วได้ ข้อคิด โดยส่วนตัว ยินดีส่งลูก เขาสังคมแต่คงไม่ทั้งวันนะครับ อาทิตย์ละครั้ง สอง ครั้ง ก็ ดี ครั้งละ ครึ่งวันก็พอ โดยส่วนตัวเชื่อ เรื่อง ส่งเสริมพัธฒนาการทางสังคมของเด็กเล็ก แต่เชื่อเรือง เขาโรงเรียน ก่อนวัยอันควร หรือส่งเด็กเล็กเรียนพิเศษ กวดวิชา หรืออะไร แบบนั้น นะครับ อยากให้เขาเข้าสังคม มากกว่าส่งไปเรียนเอาความรู้ อันนี้หมายถึงสำหรบเด็กตำกว่าห้าขวบนะครับ

    Laughing ลูกพี่คนโตเข้าโรงเรียนเมื่ออายุ๓ปี แต่เขาสมัครใจไปโรงเรียนเอง ไม่ร้องสักแอะเดียว คนเล็กเข้า๔ปี ก็ไม่ร้องเหมือนกัน 


แต่สำหรับเด็ก๒ปีถ้าดูจริงๆแล้วเด็กยังไม่พร้อมเลย ยังไม่เข้าใจอะไร ยังต้องการความมั่นใจจากพ่อแม่อีกมาก และความพร้อมของเด็กแต่ละคนก็ไม่เท่ากันด้วย ถ้าให้ดีพ่อแม่ควรดูตรงนี้ก่อนครับ ก่อนที่จะตัดสินใจส่งลูกไปโรงเรียน

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

อยากจะบอกว่าเคยเป็นคนหนึ่งที่จะบอกว่าเป็นครูซะทีเดียวก็ไม่ใช่

แต่เคยอยู่ในโรงเรียนอนุบาล

วันแรกที่พ่อแม่ส่งลูกมาเรียน เด็กทุกคนร้องไห้ค่ะ

ไม่เคยห่างพ่อแม่

คนไทยเชื่อกันว่า กันพ่อแม่ออกจากเด็ก เด็กจะได้ไม้ร้องตาม

แต่โดยหลักการที่เมืองนอกทำคือ ให้พ่อแม่มีส่วนร่วมกับโรงเรียน

มาเรียนกับลูกด้วย แล้วค่อยๆ ห่างออกไป เด็กจะไม่กลัวการมาโรงเรียน


คนเป็นครูก็เหนื่อยค่ะ แต่ก็เข้าใจความจำเป็นของพ่อแม่

ปัจจุบันสถาบันครอบครัวเราเปลี่ยนไป พ่อแม่ต้องทำงานหาเงิน

ไม่มีเวลาเลี้ยงลูก ส่วนมากจะแยกมาอยู่เป็นครอบครัวเดี่ยวมากกว่าจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่

ทำให้ไม่มีเวลาเลี้ยงลูก


เคยไปสัมผัสกับเด็กในศูนย์รับเลี้ยงเด็กในชุมชนแออัดแห่งหนึ่งค่ะ

ใจตอนแรกก็คิดว่าไปแค่ขำๆ ช่วยเพื่อนพาเด็กไปเที่ยว

แต่ สิ่งที่เห็นตอนเราพาเค้าไปเที่ยวคือ

เค้ามองเด็กที่พ่อแม่พาไปเที่ยว เค้าอยากกินขนมที่เด็กคนอื่นได้กิน


เราก็อยากจะซื้อให้แต่เด็กสามสิบกว่าคนจะเลือกซื้อให้คนเดียวก็ไม่ได้ก็ต้องปล่อยไปค่ะ

มันเป็นความจริงของชีวิต ทำให้เราได้ข้อคิดกลับมาอย่างหนึ่งว่า

โอกาสบางอย่างก็มาพร้อมเงิน โดยเฉพาะในยุคสมัยที่สังคมเป็นแบบนี้


วันนี้พ่อแม่ ปล่อยเค้าไว้ที่ศูนย์ พอถึงวันหนึ่ง สิ่งเหล่านี้ก็จะกลับกันเองค่ะ

หน้า