เชื้อไมโคไรซ่า กับยางพารา

หมวดหมู่ของบล็อก: 

อันที่จริงผมไม่มีต้นยางพาราสักต้น  แต่ได้เรียนรู้เรื่องใหม่จากการแวะเวียนไปเยี่ยมกรมวิชาการเกษตรหลายครั้ง  ครั้งนี้เกิดจากความต้องการหาซื้อเชื้อไรโซเบียมเพื่อมาผสมกับถั่วที่จะปลูก 

เพื่อนๆ ส่วนใหญ่คงทราบกันอยู่แล้วถึงประโยชน์ของเชื้อกลุ่มไรโซเบียมที่ทำให้พืชตระกูลที่มีปมที่ราก (ส่วนใหญ่จะเป็นถั่ว) โดยเซลล์ของไรโซเบียมให้เริ่มผลิตเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสาร lipooligosaccharide โดยการควบคุมของ nod gene ทำให้รากพืชเริ่มโค้งงอ ไรโซเบียมเข้าสู่เนื้อเยื่อ ของรากในส่วนของ cortex โดยการสร้าง infection thread แทรกตัวเข้าไปในรากพืช แบ่งตัว เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วภายในผนังหุ้มเซลล์ ในขณะเดียวกันเซลล์พืชจะได้รับการกระตุ้นให้เกิดการแบ่งตัวในเนื้อเยื่อชั้นในเพื่อรับ Rhizobium เกิดเป็นปม ภายในปม Rhizobium จะมีรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิม เรียกว่า bacteroid เริ่มผลิต enzyme nitrogenase ที่มีความสำคัญต่อการตรึง ไนโตรเจน

สรุปสั้นๆ (เดี๋ยวน้องศิษฐ์จะหาว่าวิชาการเกินไป) เชื้อไรโซเบียมจะช่วยเร่งการเกิดปมที่รากของพืชตระกูลถั่วทำให้ตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้มากขึ้น  แต่การซื้อจะต้องระบุชนิดของถั่วที่จะปลูกเนื่องจากยังมีพันธุ์ของเชื้อตระกูลไรโซเบียมแตกต่างกันตามชนิดของถั่วที่จะปลูก ผมซื้อของถั่วเหลืองมาในราคา 60 บาท  แต่เนื่องจากคนส่วนใหญ่รู้จักเชื้อไรโซเบียมกันอยู่แล้วจึงขอข้ามไปพูดถึงเชื้อไมโคไรซ่าที่จำหน่ายในกองปฐพีวิทยาเหมือนกันแต่มีคนรู้จักน้ิอยกว่า และขยายพันธุ์ยากกว่า (ต้องสั่งจองล่วงหน้าเป็นเดือนๆ เลยครับ)

เชื้อไมโครไรซ่า เป็นเชื้อรากลุ่มหนึ่งที่อยู่ในดิน อาศัยอยู่ตามรากพืช โดยไม่ทำอันตรายกับพืช ทั้งนี้พืชและเชื้อราต่างพึ่งพาซึ่งกันและกัน ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน เซลล์ของรากพืชและเชื้อราสามารถถ่ายทอดอาหารซึ่งกันและกันได้ ช่วยให้รากเพิ่มเนื้อที่ในการดูดธาตุอาหารจากดินเมื่อมีไมโคไรซ่าเกิดขึ้นที่ราก ซึ่งเนื้อที่ที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากเส้นใยที่เจริญอยู่รอบ ๆ ราก ทำให้สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารได้มากกว่ารากที่ไม่มีไมโคไรซ่า เส้นใยที่พันอยู่กับรากพืชจะไชชอนเข้าไปในดิน ช่วยดูดธาตุอาหารโดยเฉพาะธาตุฟอสฟอรัส และช่วยป้องกันมิให้ธาตุฟอสฟอรัสที่ละลายออกมาถูกตรึงโดยปฏิกิริยาทางเคมีของดินด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้ได้รับธาตุอาหารอื่น ๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก และสังกะสี ไมโคไรซ่าที่มีความสำคัญทางเกษตรกรรม และมีการศึกษาค้นคว้าวิจัยเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรมี 2 พวกคือ

1. เอ็กโตไมโคไรซ่า จะพบในพืชพวกไม้ยืนต้น ไม้ปลูกป่า เช่น สน เป็นต้น

2. วี-เอไมโคไรซ่า ซึ่งอยู่ในพวกเอ็นโดไมโคไรซ่า และจะพบในยางพารา ผัก และไม้ประดับบางชนิด

สำหรับไมโคไรซ่าที่มีบทบาทต่อการเจริญเติบโต และช่วยเพิ่มผลผลิตพืชเศรษฐฏิจในประเทศไทยคือ วี-เอไมโคไรซ่า ซึ่งมีผู้นำมาใช้อย่างกว้างขวางกับพืชเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วต่าง ๆ มะม่วง ลำไย ทุเรียน สับปะรด และมะเขือเทศ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายแทนการใช้ปุ๋ยเคมีซึ่งมีราคาแพง

ประโยชน์ที่พืชได้รับจากไมโคไรซ่า

ไมโคไรซ่ามีประโยชน์ต่อการมีชีวิตอยู่ และการเจริญเติบโตของต้นไม้หลายทางด้วยกัน ที่สำคัญที่สุดคือ ไมโคไรซ่าสามารถช่วยเพิ่มความเจริญเติบโตให้กับพืช และพอสรุปประโยชน์ของไมโคไรซ่าได้ดังนี้

1. เพิ่มพื้นที่ของผิวรากที่จะสัมผัสกับดิน ทำให้เพิ่มเนื้อที่ในการดูดธาตุอาหารของรากมากขึ้น

2. ช่วยให้พืชดูดและสะสมธาตุอาหารต่าง ๆ ไว้ และสะสมในราก เช่น ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน โปตัสเซียม แคลเซียม แร่ธาตุอื่นอีก

3. ช่วยดูดธาตุอาหารจากหินแร่ที่สลายตัวยาก หรืออยู่ในรูปที่ถูกตรึงในดิน เช่น ฟอสฟอรัสให้แก่พืช ในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในปริมาณที่ต่ำ ไมโคไรซ่ามีบทบาทสำคัญในการดูดซึมฟอสฟอรัสให้แก่พืช เนื่องจากฟอสฟอรัสละลายน้ำได้ดีในช่วง pH เป็นกลาง ในดินที่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือด่าง ฟอสฟอรัสมักถูกตรึงโดยทางเคมี รวมตัวกับเหล็ก อะลูมินั่ม แคลเซี่ยม หรือแมกนีเซี่ยม ทำให้ไม่ละลายน้ำ ซึ่งอยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้ไมโคไรซ่ายังช่วยดูดพวกอินทรีย์วัตถุต่าง ๆ ที่สลายตัวไม่หมดให้พืชนำไปใช้ได้

4. เชื้อราไมโคไรซ่าในรากพืช ทำหน้าที่ป้องกันและยับยั้งการเข้าสู่รากของโรคพืช

5. ทำให้โครงสร้างดินดี เนื่องจากมีการปลดปล่อยสารบางชนิด เช่น Polysaccharide และสารเมือกจากเชื้อราไมโคไรซ่า รวมกับเส้นใยของไมโคไรซ่า ทำให้เกิดการจับตัวของอนุภาคดิน ช่วยให้โครงสร้างของดินดี ป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารจากดิน เนื่องจากการชะล้างของน้ำและการพังทะลายของดิน และยังช่วยในการหมุนเวียนของธาตุอาหาร ทำให้ลดการสูญเสียของธาตุอาหารในระบบนิเวศน์ได้

6. ทำให้พืชทนแล้ง เนื่องจากการเพิ่มพื้นที่ผิวรากในการดูดน้ำ ทำให้พืชทนแล้ง และพืชสามารถฟื้นตัวภายหลังการขาดน้ำได้เร็วขึ้น จากประโยชน์เหล่านี้ พืชที่มีไมโคไรซ่าจึงเจริญเติบโตได้ดีกว่าพืชที่ไม่มีไมโคไรซ่า

เพื่อนที่สนใจสามารถขอจอง (ต้องรอกันเป็นเดือนเลยนะครับ เพราะเจ้าของสวนยางทางภาคอีสานสั่งกันมาก  เขาว่ากันว่าทำให้ทนแล้ง และใช้ปุ๋ยน้อยลง) ที่กองปฐพีวิทยา กรมวิชาการเกษตร ตึกไรโซเบียม ม.เกษตรฯ บางเขน โทร 02-5797522-3,02-5790065  เขามีบริการส่งทางไปรษณีย์ด้วย โอนเขาค่าเชื้อฯ + ค่าส่ง แล้วค่อยให้เขาส่งให้ก็ได้นะครับ  ขอให้โชคดีไม่หลงทางเหมือนผมนะครับ

ปล. น้องศิษฐ์ ห้ามแซวว่าวิชาการเกินไปน่ะ  ก็แค่ช้อป จ่าย ใช้ ไม่ต้องรู้เรื่องอะไรมาก  ขอแค่ให้มันเป็นวิธีอินทรีย์ และเกิดประโยชน์กับพืชก็พอ Laughing

พี่โจถามเรื่องวิธีใช้ :

วิธีการใช้เชื้อไรโซเบียมที่ถูกต้อง ก็คือ ต้องทำให้เชื้อที่ใส่ลงไปเข้าสู่รากถั่วเหลืองเพื่อสร้างปมให้ได้มากที่สุด ดังนั้น การทำให้เชื้อไรโซเบียมอยู่ใกล้รากถั่วมากที่สุด โดยการนำมาคลุกกับเมล็ดก่อนปลูกจึงเป็นวิธีการที่ได้ผลดี การใส่เชื้อลงดินในรูปของแข็งหรือเป็นผง หรือการใส่ในรูปของเหลวก็สามารถกระทำได้เช่นกัน แต่อาจเป็นการสิ้นเปลืองมากและไม่สะดวกต่อการปฏิบัติ การคลุกเมล็ดด้วยเชื้อไรโซเบียม มีขั้นตอนดังนี้ :

1. นำเมล็ดที่จะนำมาปลูกใส่ลงในภาชนะ

2. ใส่สารที่ช่วยให้เชื้อติดเมล็ดดีหรือสารเหนียว เช่น น้ำเชื่อม หรือแป้งเปียกเจือจาง โดยใช้สารเชื่อมประมาณ 300 ลูกบาศก์เซนติเมตร (1 กระป๋องนมข้น) เทลงไปในเมล็ดถั่วเหลืองประมาณ 15 กิโลกรัม แล้วกวนเมล็ดเบา ๆ ให้เปียกทั่วกัน

3. ใส่เชื้อไรโซเบียม 1 ถุง หรือประมาณ 200 กรัม ลงในถังภาชนะทีมีเมล็ดถั่ว 15 กิโลกรัม ซึ่งเคลือบด้วยสารเหนียวแล้ว คนเบา ๆ จนกระทั่งทุกเมล็ดถั่วเหลืองมีผงเชื้อติดอย่างสม่ำเสมอไม่ควรบดขยี้เมล็ดเพราะจะทำให้เมล็ดแตก ทำให้ลดเปอร์เซ็นต์ความงอก

4. เมล็ดที่คลุกเชื้อแล้ว ควรนำไปปลูกทันทีอาจแบ่งปริมาณที่คลุกเชื้อแล้วบางส่วนไว้ในร่มหรือหาวัสดุที่รักษาความชื้นได้ปกปิด แล้วทยอยปลูกให้หมดสิ้นภายใน 1 วัน

หมายเหตุ สัดส่วนอาจจะแตกต่างกันบ้างตามชนิดถั่ว กรุณาอ่านวิธีการใช้ข้างถุงครับ

วิธีการใช้เชื้อไมโคไรซ่าสามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น ใช้กับไม้ยางพารา ไม้ผล จะขุดรอบรอบทรงพุ่มลึกประมาณ 20-25 ซ.ม. เมื่อพบรากฝอยจึงโรยเชื้อไมโคไรซ่ารอบ ๆ โคนต้นแล้วกลบดินจะช่วยให้ไม้ผลเติบโตได้ดี ถ้าสามารถใส่ได้ตั้งแต่เป็นต้นกล้าก็จะจัดการได้ง่ายกว่าโดยการใส่เข้าไปในถุงเพาะเลย

ความเห็น

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดีๆ


ถึงแม้อ่านแล้วจะมึนตรึบ ไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะไม่มีพื้นฐานเรื่องพวกนี้ 

แต่รู้ดีว่าข้อมูลน้องนึกเจ๋งจริงๆๆ จบเกษตรด้านอะไรมาคะ 

ขอไปศึกษาเพิ่มเติมจากอากู๋ ก่อนน๊า..แต่ต้องบุ๊คมาร์คไว้ก่อนจ้า

โหวตๆๆๆ งง กะ เรื่องวิธีการใช้อยู่นิดหน่อยค่ะ

:uhuhuh: ไม่ได้จบเกษตรซะหน่อยพี่โจ  ถึงได้เรียกตัวเองว่าเกษตรกรมือใหม่งัยพี่  ก็แค่อ่านจากเวป และเลียบๆ เคียงๆ ถามจากผู้รู้เอานะครับ

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

แหมๆๆ งั้นจบ เชื้อรามาใช่มั้ย 5555

เน้นเชื้อราล้วนๆๆ

:uhuhuh:

:uhuhuh: :uhuhuh: :uhuhuh: แหม...จบวิศวะไฟฟ้าสื่อสารมาต่างหากละพี่โจ  แต่ตอนเอ็นฯ ก็เลือกเกษตรฯ เหมือนกันน่ะ  แต่ยังงงๆ ว่าทำไมไม่ติด

“Stupidity is an attempt to iron out all differences, and not to use them or value them creatively.”
― Bill Mollison

ขอบคุณครับสำหรับความรู้ใหม่ๆ


 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

 

ชีวิตที่เพียงพอ ย่อมมาจากชีวิตที่พอเพียง

ปลูกผักไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะ วิชาการล้วนๆเลย แต่มีประโยชน์ค่ะ:cheer3:

_________________________  

Our way is not soft grass, it’s a mountain path with lots of rocks. But it goes upward, forward, toward the sun. – Ruth Westheimer

มึนเหมือนเดิมพี่...วิชาการล้วน ๆ เชื้อราที่พี่เล่ามาทั้งหมดผมพึ่งรู้จักกับพี่นี่แหละครับ..ผมไม่ค่อยทำให้มันยุ่งยากครับพี่โดยเฉพาะถั่วเป็นพืชที่ปลูกง่ายที่สุดเวลาปลูก  ก็หยดลุมละ 4-5 เมล็ดแล้วคัดไว้ 3-4 ต้นแค่นี้นะพี่ส่วนเวลาเพลี้ยลงก็ใช้ผงชักฝอกรด  หรือก็ปล่อยให้มันกินจนอิ่ม แล้วหนีไปนะครับ อย่างถั่วที่ปลูกทั้งหมดไม่ค่อยได้ทำอะไรพี่แค่รดน้ำนาน ๆ ครั้งพึ่งจะได้พ่นน้ำหมักครั้งแรกเมื่อวันก่อนเองครับ  แต่ก็ดก  ขอบคุณสำหรับข้อมูลดี ๆ นะครับวิชาการล้วน ๆ แบบนี้ผมต้องค่อย ๆ ศึกษานะครับ โหวต ๆๆๆๆ ว่าเชื้อราพวกนี้ผมจะไปซื้อที่ไหนละพี่....บ้านนอกไกลปืนเที่ยงอย่างผมนะครับ..5555...

 

หน้า