ทุเรียนปลาร้า ผลไม้ของคนไกลบ้าน

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ตั้งแต่ปลูกน้อยโหน่งมา 5 ปีกว่า เพิ่งจะได้กินลูกนี้ลูกที่ 2 นอกนั้นไม่เคยทันกระรอกเลย รู้แต่ว่าได้ชิมเมื่อปีที่แล้ว ลูกเล็กๆลูกนึง หวานมากๆ

ปีนี้ติดหลายลูก แต่มีลูกนี้ที่ใหญ่สุด ขนาดเท่าฝ่ามือ ก่อนไปเที่ยวเมืองไทย ลุ้นมากๆ ว่าจะได้กลับมากินหรือเปล่าน้อ เพราะตอนที่จากไปก็เกือบจะแก่แล้ว แต่ว่าเป็นห่วง กลัวมันจะสุกตอนที่ไม่อยู่ แล้วกระรอกเอาไปกินซะ เดี่ยวจะอดอีก

******************

นี่แหล่ะต้นมัน ไม่สูง ไม่ใหญ่ อายุ 5 ปีแล้ว คุณแฟนซื้อให้เป็นของขวัญวันเกิดเมื่อ 5 ปีก่อน ที่อ๊อดได้กลับไปเยี่ยมครอบครัวที่เมืองไทย พอกลับมาถึงคุณแฟน ก็เอาผ้าปิดตาพาเดินเข้าสวนไป แฮปปี้เบิร์ดเดย์กลางสวน ว่า "แฮปปี้เบิร์ดเดย์นะจ๊ะที่รัก " พอเอาผ้าปิดตาออก โอ้...เป็นของขวัญที่ถูกใจมากเลย ในชีวิตนี้ไม่เคยไฝ่ฝันอะไรไปมากกว่านี้

*************

พอกลับบ้านไป ก็รีบไปดูเลยว่ามันยังอยู่บนต้นป่าวน้อ หรือว่ากระรอกเอาไปกินแล้ว ปรากฏว่ายังอยู่ โล่งอกไปที

***********

อีก สามวันต่อมาไปดูอีก เห็นหล่นอยู่ใต้ต้น สภาพสมบูรณ์ อั๋ยย๋ะ ได้กินแล้วก๊าาาา

****************

ผ่าออกมาเป็นประกา ละฉะนี้...

**********

จะไห้ดีก็ต้องได้ชิมว่ารสชาติเป็นอย่างไร ไม่ดูเฉยๆ ผ่าแล้ว ชิมเลย หวานมากๆขอบอก ไม่มีรสเปรี้ยวเลยแม้แต่นิดเดียว เอามาทำไอศครีมได้เลย รสชาติ เหมือนน้อยหน่าเลยเป๊ะๆ หวานหอม ไม่รู้ว่าเป็นที่พันธุ์ด้วยหรือเปล่า หรือว่าเป็นที่อากาศหนาวเลยหวานผิดปกติ เพราะเคยชิมที่เมืองไทย มันออกเปรี้ยวนิดหน่อย แต่อันนี้เหมือนทานน้อยหน่ายังไงยังงั้นเลย

*****************

ผลไม้ชนิดนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป บางแห่งเรียกน้อยโหน่ง, ทุเรียนเทศ, ทุเรียนปลาร้า

ที่ต่างประเทศเรียก เชอรี่โมย่า, ไอศครีมฟรุต, ชูก้าแอปเปิ้ล หรือ โยเกิร์ตฟรุต

********


ความเห็น

:crying2: ของป้าปลูกได้  1 ปีกำลังงามที่เดียว  แต่ แง แง แง เจอแล้งปีนี้สงสัยไมรอด

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

รดน้ำให้มันไม่ได้เหรอค่ะป้าต่าย เสียดาย อายุตั้ง 1 ปีแล้ว

โอ้ย !ได้อ่านโต่หนังสือสีฟ่าแล้วเป็นต่าขี้เดี่ยมเนาะ  กะมีเรื่องเว่าน๊ำ น้อยโหน่งไม่ใช่น้อยหน่า น้อยหน่าเปลือกจะนูนโค้งออกมาแม้ว่าน้อยหน่าช่วงหลังจะมีรูปร่างแปลกๆเพราะน้อยหน่าเองก็มีหลายพันธ์ถ้าสนใจวันหลังจะมาคุยให้ฟังครับ น้อยโหน่งผิวจะโค้งเว้าเข้าไปในขณะที่น้อยหน่าผิวจะโค้งออก กินแล้วรู้สึกฝืดๆหนืดๆต่างจากน้อยหน่าที่หวานแต่ไม่หนืด ของที่พบในประเทศไทยผิวจะแดงออกม่วงก้านผลจะยาวกว่า้น้อยหน่า จัดอยู่ในประเภท ชิริโมย่าซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเม็กซิโกและอเมริกากลางน้อยโหน่งเรีัยกว่าcastard apple(bullock's heart) ส่วนทุเรียนน้ำหรือทุเรียนเทศเรียกว่า sour sop ผลจะโตกว่าน้อยหน่าและน้อยโหน่งอาจหนักถึง 2 กิโลกรัมมีผิวของผลเป็นหนามนิ่มๆเล็กๆดังในรูปที่่สมช.โพสต์ให้ดูรสหวานอมเปรี้ยวผิวผลสีเขียวถึงเขียวปนน้ำำตาล น้อยหน่าจะเรียก sweet sop หรือ surgar apple ด้วยมีลักษณะเหมือนรูปหัวใจวัวบางทีจะมีการเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า "ox- heart " แจ้งเพื่อไม่สับสนครับ ซำบายดี

ฮ่าๆๆ อันโตสีฟ้านั่นกะเขียนเอาฮาซื่อๆดอก อย่าไปเน้นมันหลายตรงนั่น อิอิ

ตะว่ามันเป็นที่มาที่ไปของหมากต้นนี่นั่นน๊ากะเลยอยากเว้าสู่ฟัง

ขอบคุณหลายๆเด้อสำหรับข้อมูล มันหลายชื่อโพด มึนแล้วจ้า

น่ากินมาก ทีในถ้วยเหมือนไอติมเลยคะ

ชอบเอาช้อนตักออกมาใส่ถ้วยกินแบบนี้ค่ะ มันกินง่ายดี แล้วก็เอาเมล็ดใส่ถ้วยไว้เอาไปทิ้งทีเดียว เคยเอาไปเพาะหลายครั้ง แต่ไม่งอกเลย จนไม่อยากจะเพาะอีก

น้อยโหน่ง(บ้านพี่เยียก..บ้าราสา)



เรียนน้ำ..เรียนเทศ




แถวบ้านพี่น้อยโหน่ง(บ้าราสา)น้อยครั้งที่จะได้กิน..ไม่ทันกางคาวจ้ะ :uhuhuh:

sudjai_waitong@hotmail.com
     0805401058

พอเห็นภาพที่เอามาลงแล้วถึงบางอ้อเลย เพราะมันไม่เหมือนกันเลยเนาะ ทั้งลูก เปลือกจะไปกันคนละแนวเลย แต่ทำไมคนเรียกชื่อซะยังกะมันเป็นอันเดียวกัน ไอ้เราก็เรียกตามเขา ฮ่าๆๆ เห็นทีต้องเรียกใหม่ซะแล้ว

โอโห  เปลี่ยนชื่อเค้าใหม่ซะสะใจเลยนะจ๊ะ  

ขนาดบ้านเรายังเหลือน้อยแล้ว  ดีใจๆมีคนขยายพันธ์เพิ่ม

ไม่รู้ว่าปลูกจากเม็ดกี่ปีถึงจะเป็นลูก อันนี้ปลูกจากกิ่งตอน แต่ส่วนตัวแล้ว ชอบกินนะ ว่ามันหอมหวานเหมือนทานน้อยหน่าเลย ก็ได้อันนี้แหล่ะกินเวลาที่อยากกินน้อยหน่าขึ้นมา เพราะอยู่ต่างประเทศน้อยหน่ามันนำเข้ายาก เพราะไม่ค่อยผ่านแมลงกับสารเคมี ก็เลยได้ไอ้นี่กินแทนกัน พอให้หายคิดถึงบ้าน

หน้า