เดินเล่นในสวน

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เนื้อหาชักจะยาว เลยมาขึ้นบล๊อคใหม่ พาเที่ยวชมสวน รกๆ

พาหะคู่ชีพ เวลาเข้าสวน ทั้งพร้า ทั้งเสียม ถังสีแขวนได้ทั้งสองข้าง

ร้านท้าย ตั้งตะกร้าได้ ใส่ของได้อีกเพียบ

มีดพก พร้อมฝัก จ้างร้านเหล็กทำให้ ใบบางหน่อย แต่คมกริบ กินเลือดผมไปหลายหยดแล้วครับ

กิมซุ่ง ต้นแรก ระบบน้ำหยดจากถัง 200 ลิตร

อยากจะถามว่า ต้นอะไร ทายกันหน่อย

ในนี้ก็ลองทายดูว่า น่าจะเป็นต้นอะไร

ส่งขึ้นทีละชุดๆ

เดินชมกันต่อ ใส่รองเท้าบูท ด้วยนะครับ

แปลงยางอ่อน แรกๆ ปลูกพืชสมุนไพรแซมยาง หน้าฝนก็งอกเต็มไปหมด พอหน้าแล้งก็ แห้งฝนตกก็งอกใหม่ มีพืชพวกว่านหลายชนิดครับ

ตูบหมูบ แทรกตามกอหญ้า

นี่ก็ใช่

มะฮอกกานีราว 10 ปี


กฤษณา 5 ปี ลองสับดู แตกยอดใหม่เลย หลายสิบต้น

โด่ไม่รู้ล้ม กำลังงอกใหม่ สักพักก็งอกเต็มไปหมด


กล้วยไม้ดินชนิดหนึ่ง

เชื้อราในสวน เป็นเชื้อราตามธรรมชาติ ที่ย่อยสลายใบไม้ เรามักจะเอาไปใช้เป็นหัวเชื้อ เพื่อขยายให้มากๆ แล้วเอาฉีดพ่นในสวน หรือเอาไปทำหัวเชื้อหมักปุ๋ย หรือน้ำหมัก

ลูกยอ เอาไปทำน้ำหมักสำหรับกิน

ลูกสท้อน หล่นเต็มโคนต้น ก็เอาไปทำน้ำหมัก

น้ำมันมะพร้าวสกัดเอง ทำไว้กินเอง สูตรนี้เติมกระเทียมสดลงไปด้วย บังเอิญครกมีรอยตำขมิ้น ล้างก็ไม่ออก เลยได้กระเทียมสดผสมขมิ้น น้ำมันเลยออกมาสีสวย เช้าๆก็ทำ oil pulling แล้วก็กิน สองช้อน

ความเห็น

พูดถึงกระท้อนลอยแก้ว นึกถึงระกำลอยแก้ว แต่อยากทำน้ำหมักกระท้อน ที่เอามากินได้ ปอกกระท้อนแบบเอาไปทรงเครื่อง แล้วเอไปหมักทิ้งไว้สักสองสามเดือน เอาน้ำมากินใส่น้ำแข็ง น่าอร่อย

ตอนนี้มีน้ำลูกจันทน์หมักแบบนี้ มีกลิ่นแอลกอฮอร์นิดๆ

กระท้อนทรงเครื่องกทม. ไม่เคยกินเลย  ในความคิด คิดว่าสูตรนคร อร่อยที่สุดจนไม่คิดที่จะลอง สูตรอื่น หากมีทีไหนใครแนะนำก็ยินดี พิสูจน์ครับ แต่ถามก่อนว่ามีมะพร้าวคั่วอะป่าว ถ้าไม่มีขอทำนายว่าไม่อร่อย ผมว่ามะพร้าวคั่วคือพระเอกของ กระท้อนทรงเครื่อง ถ้าผิดก็ต้องขออภัยด้วยครับ  แต่ค่อนข้างมั่นใจนะ

ตามรอยพ่อคิด ด้วยวิถีชีวิต ที่เพียงพอ

ต้องมะพร้าวคั่วเยอะๆ ครับ

กระท้อนนี้ เปรี้ยวๆ คนไม่ค่อยกิน สองสามปีก่อนมีหมูชาวบ้านมากิน อีกต้นเป็นกระท้องห่อ แต่ว่าไม่ค่อยดก

วันก่อนไปเกาะลันตา ได้กะปิอร่อยๆมากินหน่อยหนึ่ง พร้อมทั้ง ตัวกุ้ง ตัวเคย มาทำน้ำหมักตัวเคยที่เคยเขียนไปครั้งหนึ่ง

เขียวอุดมสมบูรณ์ดีจัง......
ถามลุงพูน นอกเรื่อง นิดนะคะ รูปเชื้อรา แล้วใบสีเขียว ใบอะไรคะ แอนเคยเห็นที่สวน...

....ความสุขอย่างแท้จริง ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง....

ใบเขียวลายก้างปลาใช่ไหมครับ

ไม่ทราบเหมือนกันว่าชื่ออะไร แต่เห็นขึ้นอยู่ทั่วไปในสวนครับ


เขียวลายก้างปลาเรียก เร็ดหนู(ไม่ใช่ Rat หนู นะ) เป็น คล้าชนิดหนึ่งครับ มีสรรพคุณทางยา (ลืมแล้ว) ลองค้นๆ ดูครับ...

ออกปากรุนท็อกที !!!

ในสวนมีขึ้นเป็นหย่อมๆ พอบอกว่าเป็นพวกคล้า นี่นึกถึง คล้าที่ขึ้นริมน้ำ

แต่พอได้ยินชื่อว่า เร็ดหนู ทำให้นึกถึง ใบเร็ด (จ้องอยู่นานว่าพิมพ์ไม่ผิดแน่)

ใบเร็ดเมื่อก่อนแถวเชิงเขาเหมนมีเยอะ แต่ตอนนี้คงจะเหลือแต่ยอดเขา เพราะตีนเขาเขาปลูกยางหมดแล้ว

ใบเร็ดจำได้ว่าสมัยก่อนเขาเอามาห่อปลาทูนึ่ง แทนใบตอง แต่แรก ไม่มีกระดาษ ถุงกรอบแกรม ต้องใช้พวกนี้ทั้งนั้น

ผมไปเที่ยวเมืองตรัง เข้าตลาดเช้าๆ ยังเจอคนขายเชือกกล้วยด้วยครับ

มองไปทางไหนก็เขียวไปหมด ดูแล้วสดชื่น

อยากทราบวิธีขยายเชื้อรา และวิธีใช้ค่ะ

เวลาพบกันสั้นนิดเดียว

เชื้อจุลินทรีย์ในท้องถิ่น เป็นเชื้อที่มีอยู่ทั่วไปในสวน ในไร่ ในนา บริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงจะมีจุลินทรีย์อยู่มาก ยิ่งมีใบไม้ร่วงทับถมกัน พอฝนตก ดินเปียกพอชื้นๆ ใบไม้ที่ร่วงทับถมกันจะมีราขึ้น

เราขยายเชื้อรานี้ได้หลายวิธี เช่น กอบเอาใบหญ้าที่มีเชื้อราขาวๆ และดินบริเวณนั้น ห่อด้วยถุงปุ๋ย หรือถุงหอม กระเทียม แล้วเอาไปแช่ในน้ำที่ผสมน้ำตาลไว้แล้ว คือเตรียมละลายน้ำตาลในน้ำ แล้วเอาเชื้อใส่ลงไป ทิ้งไว้สักอาทิตย์นึง จะเกิดฝ้าขาวที่ใบหน้า ไม่ใช่ จะเกิดฝ้าขาวๆที่ผิวน้ำ แสดงว่าในน้ำนั้นมีเชื้ออยู่ปริมาณมากพอที่จะเอาราด รด อินทรีย์วัตถุ หรือเศษใบไม้ ให้เปื่อยสลายตัวต่อไปได้ครับ

อีกวิธี กอบเอาใบไม้ที่มีเชื้อรา เศษดินบริเวณนั้น แล้วผสมคลุกเคล้ากับรำละเอียด ผสมน้ำที่ใส่น้ำตาลลงไปเล็กน้อย พอหมาดๆ ใส่ดินลงไปให้ปั้นเป็นก้อนได้ ปั้นไว้หลายๆก้อน แล้วใช้ผ้าหรือพลาสติกคลุมไว้สักวันสองวัน จะเห็นก้อนดินนั้นมีเชื้อราขาวๆขึ้นคลุมเต็มก้อน อันนี้เอาไปโยนใส่สระน้ำ บ่อเลี้ยงปลาได้ครับ

หน้า