คำถามจากไร่สุโขทัยนี้ดี (Some questions from Sukhothai Farm)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 

วันนี้ผมยังไม่มีเรื่องเล่าจากไร่สุโขทัยนี้ดีนะครับ แต่ผมมีคำถามที่ขอรบกวนเพื่อนสมาชิกบ้านสวนพอเพียง และน่าจะเป็นใบเบิกทางในการทำไร่สุโขทัยนี้ดีต่อไปนะครับ ผมใคร่ขอรบกวนสอบถามความเห็นเพื่อนสมาชิกในเรื่องเกษตรอินทรีรย์ครับ

 

ตามที่ผมได้ศึกษาเกษตรอินทรีย์ (เรื่องมาตรฐาน) ที่มีการรับรองในประเทศไทยมีอยู่ 2 มาตรฐานหลัก ๆ คือ Organic Thailand กับ IFOAM ซึ่งในรายละเอียดก็มีข้อแตกต่างกันพอสมควรผมคงไม่พูดรายละเอียดในที่นี้แล้วกัน ประเด็นที่ผมสนใจและสงสัยคือถ้า ผมจะทำไร่สุโขทัยนี้ดีเป็นเกษตรอินทรีย์เพื่อผลิตและจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ (เอาง่าย ๆ สัดส่วน 50:50 แล้วกันครับ) ผมมีคำถามด้านล่างและอยากได้ความเห็นจากเพื่อนสมาชิกเบื้องต้นเพื่อจะนำไปคิดต่อยอดต่อไปครับ

 

  1. มีเพื่อนสมาชิกบ้านสวนพอเพียงท่านใดทำเกษตรอินทรีย์บ้างครับ และมีท่านใดทำตาม (ผ่าน) มาตรฐานเกษตรอินทรีย์บ้างไหมครับ
  2. คำว่า ”เกษตรอินทรีย์” มีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากแค่ไหนเทียบกับราคา (อันนี้รู้ ๆ กันอยู่ครับแต่อยากได้ความเห็นครับ)
  3. ท่านคิดว่าผมควรต้องทำผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์หรือไม่ครับ ท่านจะเชื่อถือผลิตผลจากไร่ผมหรือไม่หากผมไม่มีมาตรฐานรับรอง
  4. สำหรับท่านที่มีประสบการณ์มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขอสอบถามระหว่างมาตรฐาน Organic Thailand  มกษ. 9000-2552 ที่รับรองเฉพาะประเทศไทยโดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับมาตรฐาน  IFOAM Basic Standard  (มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากล) รับรองโดย สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท) ท่านคิดว่าตัวไหนเหมาะสมกับการผลิตเพื่อจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวครับ
  5. ท่านใดมีข้อมูลแนะนำสถานที่(ไร่หรือสวน)ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานด้านบน ผมจะได้ขออนุญาตศึกษาดูงานครับ

จากที่ทราบทุกวันนี้หลาย ๆ วงการก็เริ่มนำมาตรฐานมาใช้ในทุกภาคส่วน โดยส่วนตัวก็เห็นด้วยถ้ามีการจัดทำมาตรฐาน มีผู้ตรวจสอบที่เชื่อถือได้จริง ๆ (ไม่ใช่แบบป้ายที่เห็นตามร้านอาหาร) ไม่ทราบว่าเพื่อนสมาชิกมีประสบการณ์ด้านนี้อย่างไร ถ้าจะถ่ายทอดประสบการณ์ (ทำได้-ทำไม่ได้ มีประโยชน์-ไม่มีประโยชน์อย่างไร) ให้กับมือใหม่บ้างครับ

 

 

 

 

ความเห็น

โอ้!!...เพิ่งรู้รู้ว่าทำเกษตรต้องมีมาตราฐานรับรองด้วย เหมือนมาตราฐานISO. ประมาณนี้มั้ยค่ะ..

ต้องหาความรูเเรื่องนี้เหมือนกันล่ะ...

ลองดูที่ http://www.greennet.or.th/article/organic-farming/certification น่าจะช่วยตอบคำถามคุณได้นะคะ

เอาใจช่วยค่ะ....ทำสำเร็จแล้วจะไปขอความรู้บ้างนะคะ...อิอิ

ตอนนี้สนใจคุณสงวน >>เศรษฐกิจพอเพียงที่กล้า บ้า ขยัน แต่มีเงินเก็บเป็นล้านแบบสงวน เพิ่งลงบล็อคไว้วันนี้นะคะ!!

รักในหลวง..ทำตามคำพ่อสอน

ขอบคุณประสบการณ์และข้อมูลคำถามที่ค้นมานะคะ ขอแสดงความเห็นในเรื่องลึกๆทางวิชาการรวมไปถึงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์นั้น ส่วนตัวยังไม่ค่อยทราบค่ะ แต่น่าคิดตาม เห็นว่าเป็นสิ่งทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในผลผลิต   ต้องขอขอบคุณที่ให้ข้อคำถามไว้นะคะ จะลองศึกษาจากคำถามที่ตั้งไว้เป็นเบื้องต้นนะคะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจและความคิดเห็นครับ ผมตั้งคำถามเพราะอยากรู้สถานการณ์เกษตรอินทรีย์จริง ๆ ว่าเป็นอย่างไร และผมเชื่อหลาย ๆ ท่านในที่นี้ก็ทำเกษตรอินทรีย์ อาจจะไม่สนใจมาตรฐานเพราะทำทานเอง หรืออาจจะไม่อินทรีย์ 100% (คงต้องเทียบกับมาตรฐานที่ถูกตั้งไว้) หรือมีความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่าย (ฟังมาว่าการรับรองข้าวไรซ์เบอร์รี่ 200 ไร่ใช้เงินประมาณ 2 แสนบาท) หลังจากตั้งคำถามผมก็ต้องแสวงหาคำตอบ สุจิปุลินะครับ ฟังคิดถามเขียน ถามอากู๋ (google) แล้วก็ไปเลย ไม่ใช่ครับไปสวนสามพราน (ตลาดสุขใจ) แล้วจะมาเล่าว่าเห็นอะไรแล้วกันนะครับ

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

โครงการใหญ่นะ

ผมทำอินทรีย์เหมือนกัน แต่เล็กๆ ไม่ได้สนใจมาตรฐาน แค่ปลอดภัย และทำทานเองเป็นส่วนใหญ่ ความรู้ในส่วนนี้จึงมีน้อยนิดครับ 

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

คิดไปเรื่อยเปื่อยตามประสาคนเจี่ยะป้าบ่อสื่อ (จีนแต้จิ๋ว - กินอิ่มแล้วไม่มีงานทำ) ครับ ต้นไม้สักต้นยังไม่ได้ปลูกเลย (55) ต่อไปผมก็คงต้องรบกวนสอบถามเกษตรอินทรีย์ตัวจริงในบ้านสวนพอเพียงนี้แหละครับ 

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

คำถามของคุณTuayfooตอบยากมากผมตอบไม่ได้เลยซักข้อ เช่นเดียวกันกับสมาชิกอีกหลายท่านครับปลูกต้นไม้ใบหญ้าแบบบ้านๆพื้นๆเป็นงานอดเรก หรือเพื่อความบันเทิง ปุ๋ยก็ใช้ขี้วัวชี้ไก่หรือใบไไม้แห้งที่หาเก็บเอา ยาฆ่าแลงไม่เคยใช้เพราะกลัว คำถามคุณTuayfooเกินความสามารถผมจริงๆครับ สวัสดียินดีที่รู้จักครับ

ผมลองนั่งถามอากู๋ (google) ก็พบว่าในบ้านสวนพอเพียงก็มีคนนำเสนอมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (อาทิเช่น คุณลุงโรส1000) มาพอสมควรและก็หลาย ๆ ท่านก็นำเสนอสวนเกษตรอินทรีย์เพียงแต่ว่ายังไม่มีข้อมูลท่านใดทำผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และได้นำเสนอหรืออธิบายขบวนการจัดทำให้ผ่านมาตรฐานในที่นี้เลย ผมลองถามอากู๋อีกทีก็พบว่าโดยมากไร่หรือสวนที่ทำผ่านมาตรฐานจะค่อนข้างมีขนาดกลางไปถึงใหญ่และใหญ่มาก (โดยมากก็ 50 ไร่ขึ้นไป หรืออาจจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มสหกรณ์เป็นต้น) และมีเป้าหมายค่อนข้างชัดเจนคือตลาดเกษตรอินทรีย์สำหรับนักท่องเที่ยวหรือเพื่อการค้าและส่งออกต่างประเทศ

ณ ตอนนี้ผมยังชั่งใจอยู่จะทำให้ผ่านมาตรฐานดีหรือไม่ (ยังสรุปข้อมูลได้ไม่ครบถ้วน) แต่คิดว่าถ้าผมจะทำก็ควรเริ่มต้นตั้งแต่ตอนแรกเลยดีกว่าต้องเสียเวลาไปปรับปรุงตามมาตรฐานทีหลัง

สุดท้ายขอบคุณทุกท่านครับที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ที่ทุกท่านได้ทำเกษตรและแบ่งปันข้อมูลผ่าน web บ้านสวนพอเพียงแห่งนี้จะช่วยมือใหม่อย่างผมได้อย่างมากเลยครับ

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

เนื่องจากไม่เคยทำสวนอินทรีย์จริงจังแบบมีมาตรฐานสักที ผมจึงไม่มีข้อมูลด้านนี้ครับ เคยแต่ปลูกผักผลไม้เล็กน้อยไว้กินเองครับ รอท่านผู้รู้อีกทีครับ

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว


บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

สวัสดีครับ คุณ การทำเกษตรอินทรีย์ เพื่อส่งขายต่างประเทศนั้น คงต้องใช้ระบบต่างประเทศรับลองนะครับ จะเหมาะกว่า โดยส่วนตัวผม ไม่แนะนำให้ทำใหญ่ๆ ครั้งเดียว ค่อยๆทำไป เริ่มแรกก่อน ตัวอย่างครับ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ที่เราใช้ในไร่ในสวนนั้น ก็ต้อง ปลอดสารเคมีด้วย สมัยนี้มีคนสนใจสารตกค้างใน มูลสัตว์ กันเยอะครับ แต่หน่วยงานตรวจสอบอาหารอินทรีย์ บางกลุ่ม ก็อนุญาติ การใช้ปุ๋ยคอกจากสัตว์ ที่มาจากโรงงานเลี้ยงสัตว์ที่ใช้ สารเคมี บางหน่วยงานก็ไม่ยอม เลย มาตรฐานใคร ก็แตกต่าง กันไป นี่แค่ตัวอย่างเดียวนะครับ เราเริ่มงานจากการไม่ใช้สารเคมีต่างๆก่อน บำรุงดินวิธีธรรมชาติก่อน ดูแลวัชพีช และศตรูพิชด้วยวิธีธรรมชาติก่อน พอเราพร้อม แล้วค่อยๆ ดูการจัดระบบ เกษตรอินทรีย์ ครับ คุณลุง ที่สอนผมนั้น ท่านก็สอนผมมาแบบนี้ว่า ทุกอย่างอยู่ที่ความเหมาะสมและ สถาณภาพของเรา เกษตรอินทรีย์ต้องใช้เวลาครับ ผมเห็นด้วยเรื่องดูงาน และ รวมกลุ่มคนในแนวทางเดียวกันครับ ดูงานนั้น ช่วยได้ เยอะ ยังไงเอาใจ ช่วยครับ ไม่ทราบที่เมืองไทยมี หลักสูตรสอน หรือเปล่า นะครับ ไป เรียนเพิ่ม ก็ ช่วยได้เยอะครับ

ขอบคุณครับ จะลองคิดดู

ไร่สุโขทัยนี้ดี ไร่นี้มีแต่ความสุข

หน้า