ไข่แพงเพราะอะไร

หมวดหมู่ของบล็อก: 

บทความจาก FW.mail วิเคราะห์ได้ละเอียด ทำไมไข่แพงลองอ่านดู (ยาวสักหน่อยนะ)

ภาพจาก  www.vcharkarn.com/uploads/175/175365.jpg

ไข่เป็นโปรตีนที่ถูกที่สุด (เพราะไข่ไม่มีกระดูก) ไข่เจียวจานโตใช้ไข่แค่4 ใบตกแค่ 20 บาท

 

ถ้าชั่งกิโลขายไข่เบอร์ 0 หนึ่งกิโลกรัมจะตก 50 ใบ ตก 200 บาท( แต่มันทำอาหารได้ถึง 20 จาน )

 

ไข่จึงสำคัญในคนจน( แต่คนรวย ตลอดจนโรงแรม และร้านเบอเกอรี่ต้องใช้ไข่ทุกวัน)

 

ไข่แพงหรือไม่ไม่ได้เกี่ยวกับนายกคนไหนเลย เพราะการขึ้นภาษีแค่เล็กน้อยในการนำเข้าวัตถุดิบางตัวมันทำให้ไข่เพิ่มต้นทุนแค่ 0.05 สตางค์ต่อใบ นั่นคือไม่มีนัยสำคัญ (Significant)ต่อการบวกราคาไข่ของผู้ค้าปลีกเลย เราจะรู้ว่าไข่แพงเพราะความมักง่ายของเรา โดยดูต้นทุนไข่ต่อใบจริงๆของมัน

 วิเคราะห์ต้นทุนไข่(คร่าว)

 1.ค่าเสื่อมแม่ไก่ 0.28 บาท/ฟอง

-ซื้อแม่ไก่สาวมาตัวละ 149 บาท เลี้ยงได้ 1 ปีกับ 3 เดือน(455วัน) ให้ไข่80 % คือ364ใบ

-ซื้อมา 149 บาท แต่ตอนปลดทิ้งขายได้ 55 บาท ดังนั้นแม่ไก่ราคา99บาท บาท

-เอา 99บาท หารด้วย จำนวนไข่ = 0.27 บาท/ใบ นั่นเอง

-ใน100ตัวตอนเลี้ยงมันอาจตายไป5% เราก็บวกความเสี่ยงไปอีก 5% =0.015 บาท/ใบ

-ดังนั้นค่าเสื่อมแม่ไก่ต่อไข่ 1 ใบจะตก 0.28 บาท/ใบ

 

2.ราคาอาหารที่ไก่ต้องกินเพื่อให่ไข่1 ใบ 1.06 บาท/ฟอง

 -กินตัวละ 0.125 กิโลกรัม

-ราคาอาหาร กิโลละ 8.50 บาท ในฟาร์มขนาด 10,000 ตัว

-ฟาร์มใหญ่(100,000 ตัว)ซื้อทีละ 10 ตัน ราคาประมาณ 7 บาท

-รายย่อย 1,000-5,000 ตัว ขี่มอร์เตอร์ไซด์มาซื้อกับตัวแทนที่ละกระสอบ ตก ราคา10 บาท

-ดังนั้นค่าอาหารต่อไข่1 ใบคือ 0.125 คูณด้วย ราคาอาหาร 8.5 บาท = 1.06 บาท/ใบ

 

-แต่ไก่กินอาหารทุกวัน บางตัวกินแต่อาจไม่ไข่ในบางวัน แต่โดยรวมเฉลี่ยทั้งชีวิตจะไข่ 80 % 

3.เงินเดือนผุ้จัดการ ต่อไก่ไข่ 1,000,000 ตัว 0.10 บาท/ฟอง

 

-Vice president ผู้บริหาร 300,000 บาท

-GM 100,000 บาท

-ผจก.ฝ่ายข่าย 50,000 บาท

-สัตวแพทย์ 50,000 บา

-สัตวบาล 3 คน 90,000 บาท

-บัญชี 30,000 บาท

-ฝ่ายขาย 5 คน 60,000 บาท

-คนงานเลี้ยงไก่ 300 คน 1,800,000 บาท 

รวมประมาณ 2,480,000 บาท ต่อเดือน ผลิตไข่ได้ 24 ล้านใบ ตก = 0.10 บาท/ใบ

 

4.ค่าเสื่อม โรงเรือนและอุปกรณืรางน้ำรางอาหาร 0.25 บาท/ฟอง

-ถ้าเลี้ยงในห้องแอรืประยุค(EVAP หรือ Evaporation) ต้นทุนก้เพิ่ม แต่ได้ไข่เพิ่มมาชดเชย

อีกทั้งใช้ยาน้อยและไก่ตายน้อยกว่า จึงไม่ต้องเอามาเพิ่มทุน ถือว่าชดเชยกันไป 

5 . ค่ายาวัคซีน และ 0.05 บาท/ฟอง

-วัคซีนมีหลายชนิด มาร์เร็กค์ กัมโบโร นิวคัวเซิล หวัดCRD

 

6.ค่าขนส่งจะไม่เอา มาคิด จะถือว่าล้งหรือ เอเย็นต์ ขายไข่มารับเองหน้าฟาร์ม 

7.ค่าโฆษณา ค่าภาษี ค่าที่ดิน ค่าโสหุ้ยอื่นอื่น 0.10 บาท/ฟอง

 

รวมต้นทุนไข่ของฟาร์มใหญ่ = 1.84 บาท/ฟอง

 

 

จากนั้น ฟาร์มใหญ่ก็บวกกำไร ใบละ1บาท ไข่คละ (เบอร์ 0-เบอร์7)หรือไข่วมจึงตกอยู่ที่ 2.80 ฟอง/ฟอง 

ถ้าเราไปซื้อไข่หน้าฟาร์ม ครั้งละ 100-1,000 ฟอง เราควรที่จะได้ราคาประกาศจากฟาร์ม

 

ล้งไข่บรรทุกจากฟาร์มไปขายที่ละ 20,000ฟอง ถ้าไปส่งร้านค้า จะทำให้ราคาปรับเป็น 3.10 บาท/ฟอง 

-ค่าน้ำมันตก 1,000 บาท

 

-ค่าเสื่อมรถ 300 บาท 

-ค่าคนขับ1 คนยก 2 ตก 700

-ต้นทุนเบื้องต้นตก 0.10 บาท แต่คนกล้าง ไปส่งล้งไข่บวกกำไร 0.20 บาท จึงทำให้ไข่ปรับเป็น 3.10 บาท/ฟอง

แม่ค้าไข่ในตลาดก็จะไปส่งร้านย่อย ก็จะบวกเราอีก 0.3บาท กลายเป็น 3.40บาท/ฟอง

 

ยิ่งคนในเมือง ไม่ได้เตรียมตัวไปซื้อไข่ในตลาดสด ลงจากรถเมล์ก็ซื้อทีร้านสะดวกซื้อ หรือซื้อในห้างจะทำให้ราคาเพิ่มเป็นใบละ 5 บาทไปเลย

 

ที่ราคาพุ่งไปขนาดนี้ เพราะห้างต่างๆมีแต่ผู้ดีที่ต้องการบรรจุภัณฑ์สวยๆ (Packaging)ซึ่งพลาสติกที่เขาติดยี่ห้อไข่ทำให้ต้นทุนไข่เป็นไปอีก 6 บาท/ไข่ 10 ฟอง

 

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ราคาไข่เพิ่มไปตั้ง 30 % ถ้าเราซื้อไข่จากห้างหรือร้านสะดวกซื้อเป็นแพ็ค 

คนในต่างจังหวัด ต่างอำเภอที่จริง ถ้าเราส่งเสริมให้มีกลุ่มเลี้ยงไก่ไข่ตำบลละ 10,000-30,000 ตัว ก็เหมือนกับเรามี ซุปเปอร์มาเก็ตของชุมชนเอง ทำให้ลดราคาไข่ไปตั้ง 1-2 บาท/ใบ 

สรุปผมต้องการจะชี้ว่า คนรุ่นใหม่อะไรก้ไปซื้อร้านสะดวกซื้อ อะไรก้ไปซื้อห้าง อะไรก้จะบรรจุสวย ราคามันจึงแพงขึ้นโดยไม่จำเป็น เจ้าสัวที่เลี้ยงไก่ไข่มากที่สุดในประเทสไทย แต่ถ้าผมบอกความจริงว่า เลี้ยงเกือบมากที่สุดในเอเชียบางคนจะตกใจ สิงค์โปร์ ไม่มีทีี่ดินเลี้ยงไก่ แต่เจ้าสัวไปเลี้ยงในมาเลเซีย แล้วส่งขายสิงค์โปร์มาเป็น 10 ปีแล้วครับ ยิ่งในประเทศจีนซึ่งใหญ่กว่าประเทศไทย 70 เท่า อนาคต จะกินไข่ของเจ้าสัวท่านนี้ทุกใบ การทำธุรกิจ เจ้าสัวถือหลักการกระจายความเสี่ยง คือลงทุนทุกชนิดทั้งหมู เป็ดไก่ และอาหารสัตว์ จากนั้นก็ Integrateตัวเองคือ เชือดเอง ทำไส้กรอเอง ขายเอง เช่นช่วงไหนเรากินหมุและไก่ถูก เพราะมันล้นก็อย่าได้ยิ้ม เพราะเจ้าสัวต้องให้ผู้บริหารกระจายความเสี่ยงมาบวกในไข่ นั่นคือช่วงฤดูหนาว ช่วงกินเจไข่ถูก บางทีตกใบละ 1.50-2.0 บาท ผู้บริหารต้องมาประกาศปรับราคาชดเชยให้กำไรเข้าเป้าหมายทั้งปีในช่วงหน้าร้อนที่ไข่ขาด แต่ผมมองว่า เจ้าสัวคงไม่ให้อาหาร ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนของคนจนคนไทยแพงไปกว่านี้แน่ เพราะท่านก็ได้มีฐานการผลิตตลอดจนบุคคลากรและการพัฒนาการด้านนี้ไปจากคนไทยมากมาย จนได้นำประสบการณ์ด้านปศุสัตว์จากเมืองไทยและบุคคลากรจากไทยไปลงทุนทั่วโลก

หมายเหตุ : ผมตัดชื่อคนและบริษัทที่ถูกพาดพิงออก เพื่อมิให้เกิดความเข้าใจผิด

ที่มา : http://www.facebook.com/notes/chef-hiansoon/rakha-khi-phaengphe-raa-khwama-kngay-khxng-phu-sux/416718334729

ความเห็น

ไข่จะแพง ไข่จะถูก ส่วนตัวแล้วไม่เคยโทษใคร หากเราจะกินไข่ พอใจซื้อ ก็ซื้อ ไม่พอใจกิน ไม่พอใจซื้อ ก็ไม่ต้องซื้อ งงค่ะ

สรุป จะถูก จะแพง ไม่โทษใครทั้งนั้น ฉันชอบกินไข่ ฉันเต็มใจซื้อไข่ อิอิ (เพราะผลิตไข่เองไม่ได้)

พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า 

อาหารยอดนิยมสำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กยุคใหม่ที่กินแกงไม่เป็น ...กินเป็นแต่ไข่เจียว ไก่ทอด และ หมูปิ้ง

ไม่ได้ว่าใครค่ะ พูดถึงเด็กแถวๆในบ้านLaughing

แพงเท่าไหร่ก็กินอยู่แล้ว...

 

 

 

ดวงไม่เคยคิดเลยว่าไข่จะแพงถึงขนาดโลละ 200 แพงกว่าเนื้อสัตว์ เพราะเคยชั่งค่ะ

ที่บ้านมี 2 คน ซื้อมาทีละ 10 ใบ ชั่งแล้วตก 6 ขีดกว่าถึง 7 ขีดทุกที จึงคิดว่าไข่ 50 ใบไม่น่าจะหนักแค่ 1 กิโล ต่อให้ไข่เบอร์เล็กเช่นเบอร์ 3

ถ้าเป็นเบอร์ 1 หรือเบอร์ 0 คิดว่า 1 กิโลคงจะประมาณ 14-15 ใบเท่านั้น ถ้าเป็นเบอร์ 0 ตีว่าใบละ 4 บาท(ตลาดนัดที่บ้านขาย 3.60 บาท) 1กิโลก็ราคา 60 บาท ให้แพงสุดๆใบละ 6 บาท ก็ตกแค่โลละ 90

 

ใครอยากรู้ว่าไข่กิโลนึงมีกี่ใบลองเอาไข่ในตู้เย็นชั่งดูนะคะ มีไข่ไม่เยอะลองชั่งแค่ ครึ่งโลก็จะรู้ค่ะ ว่าโลนึงกี่ใบ ถ้าเป็นเบอร์เล็ก ดวงว่าไม่เกิน 10 ใบก็ครึ่งโลค่ะ แล้วจะรู้ค่ะ ว่ามันไม่แพงถึงโล 200 หรอกค่ะ แพงขึ้นแต่ไม่แพงขนาดนั้น เดี๋ยวจะลงไปชั่งเหมือนกัน 

เราผู้บริโภค โอดครวญก็แค่นั้น  เพราะ อาทิตย์นึง ไม่กี่ฟอง  แต่เพิ่เจอ ใบละ 4.5 บาท

 

อ่านแล้วพอเข้าใจแต่ตกเลขครับ..อิอิLaughing

ขอบคุณครับพี่เข้าใจขึ้นอีกเยอะเลยLaughing

พฤติกรรมที่ว่า  "ยิ่งคนในเมือง ไม่ได้เตรียมตัวไปซื้อไข่ในตลาดสด ลงจากรถเมล์ก็ซื้อทีร้านสะดวกซื้อ หรือซื้อในห้างจะทำให้ราคาเพิ่มเป็นใบละ 5 บาทไปเลยเกิดขึ้นกับผู้บริโภคบางคนจริงๆ ครับ  ผมเห็นด้วย

  พฤติกรรมของพ่อค้า เช่น ซื้อมา 2.75 บาท ถ้าได้กำไร 20 % =.55 บาท ควรขาย 3.30 บาท  แต่ เขากลับขายถึง  4.00  บาท  ลักษณะทำนองนี้ของพ่อค้ามีอยู่มากในตลาดขายปลีก

  ในทำนองเดียวกัน  ถ้าพ่อค้าไข่ฉวยโอกาสขึ้นราคาฟองละ  1.25 บาท  พ่อค้าขายกับข้าว  กลับขึ้นราคา มากกว่า เช่น  ขึ้นราคาถึง 5-6 บาท   แทนที่จะขึ้นราคาเพียง 1.25 บาท  นี้แหละวิญญาณของพ่อค้าไทย

  ฉะนั้นผู้บริโภคไทยจึงเจอหลายเด้งครับ

จากเรื่องไข่ไก่ถึงการยกเลิกภาษีบ้าน และรถ


                                                          ผูกขาดทางการค้า หรือให้ค่าประโยชน์ประชาชน !!


            ไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนดัชนีชี้วัดค่าครองชีพที่คลาสสิคที่สุดหนีไม่พ้นราคา “ไข่ไก่” ด้วยเพราะ “ไข่ไก่” เป็นวัตถุดิบสำคัญในการประกอบอาหารที่ทุกบ้านทุกชนชั้นไม่ว่าจะยากจนหรือร่ำรวยเพียงใดจะต้องมี “ไข่ไก่” สำรองไว้ในครัวอยู่เสมอแต่ใครเลยจะเชื่อว่าประเทศไทยที่เป็นทั้งประเทศเกษตรกรรม เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ และ
เป็นครัวของโลก แต่คนในประเทศกลับต้องควักกระเป๋าซื้อ “ไข่ไก่”ในราคาแพง โดยเฉพาะราคาไข่ ในช่วงรัฐบาลของ “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ที่พุ่งสูงถึงฟองละ 4 บาทกว่า จนนำไปสู่การออกมาตรการ “ชั่งไข่”และแม้ว่าขณะนี้จะมีรัฐบาลชุดใหม่ภายใต้การบริหารงานของ “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะแก้ไข ปัญหา “ไข่ทองคำ”ได้


            ก่อนหน้านี้ได้มีงานวิจัยของคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปอยู่หนึ่งชิ้นที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษากลไกและกระบวนการของการผูกขาดทางการค้าไว้อย่างละเอียด โดย  “กฤดิกร  เผดิมเกื้อกูลพงศ์” ผู้วิจัย ได้ทำการศึกษา พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 และการผูกขาดในภาคเกษตร : กรณีศึกษาตลาดไข่ไก่” ซึ่งถือเป็นงานวิจัยที่ทำให้เห็นภาพของการกีดกันทางการค้าและการผูกขาดตลาดของภาคเอกชนเพิ่มมากขึ้น เพราะงานวิจัยชิ้นนี้เป็นต้นแบบของการชำแหละกฏหมายเรื่องการผูกขาดทางการค้าในหลากหลายธุรกิจ


ในงานวิจัยของ“กฤดิกร” ระบุว่าปัจจัยสำคัญของการกีดกันและผูกขาดทางการค้ามาจากข้อบกพร่องของพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้าพ.ศ. 2542 ที่ไม่สามารถเข้าไปจัดการสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรมให้เกิดขึ้นในตลาดได้ เพราะแม้ว่าจะมีข้อกำหนดเพื่อกำกับและควบคุมพฤติกรรมที่เป็นการจำกัดแข่งขันทางการค้าทั้ง 4 กลุ่มประกอบด้วย 1.การใช้อำนาจเหนือตลาด 2.การควบรวมธุรกิจ 3.การกระทำการตกลงร่วมกัน และ 4.การกระทำที่เป็นการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมก็ตาม


            แต่กระนั้นพ.ร.บ.ฉบับนี้กลับมีปัญหาในทางปฎิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่มาของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า มีปัญหาในเรื่องของการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) เนื่องจากโครงสร้างของคณะกรรมการชุดนี้ ถูกกำหนดให้มีจำนวนกรรมการทั้งสิ้น 18 คน มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานกรรมการ และมีตัวแทนจากภาคเอกชนถึง 6 คน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้บริหารอยู่ในธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งสิ้น  แต่ในจำนวนกรรมการทั้งหมดกลับไม่มีตัวแทนของผู้บริโภคแม้แต่รายเดียว


            ด้วยเหตุนี้เองทำให้คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าถูกแทรกแซงจากการเมืองได้ง่าย ในอดีตพบกรณีบริษัทที่ถูกร้องเรียนมีความเกี่ยวโยงกับนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่งในรัฐบาล ทั้งในรูปแบบของการที่ญาติของนักการเมืองเป็นผู้ถือหุ้นหรือกรรมการในบริษัท หรือการที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทหรือตัวบริษัทเองบริจาคเงินให้แก่พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาล


            ปัญหาราคาไข่ไก่ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาราคาไข่ไก่แพงได้ มาจากการ “ผูกขาด” ในตลาดไข่ไก่ โดยกลุ่มทุนขนาดใหญ่  โดยจุดเริ่มต้นของเรื่องดังกล่าวเริ่มขึ้นในปี 2544 ได้เกิดปัญหาไข่ไก่ล้นตลาดทำราคาไข่ไก่ตกต่ำ ซึ่งในขณะนั้นมีผู้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าว่ามีการทุ่มตลาดในตลาดไข่ไก่โดยผู้ประกอบการรายใหญ่ กระทั่งเกิดการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย จนนำไปสู่การเกิดระบบโควตามาใช้จำกัดปริมาณพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่
เพื่อลดจำนวนไก่สาวและปริมาณไข่ไก่ในตลาด โดยมีการคณะกรรมการกำหนดแนวทางการผลิตและการตลาดไก่ไข่และผลิตภัณฑ์


ในการจัดสรรโควตาปรากฏว่ามีผู้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่เพียง 9 รายเท่านั้น ประกอบไปด้วย บ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน) บ.อาหารเบทเทอร์ จำกัด ในเครือเบทาโกร  บ.แหลมทองฟาร์ม จำกัด บ.ฟาร์มไก่พันธุ์เกิดเจริญ จำกัด บ.ฟาร์มกรุงไทย จำกัด บ.สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด บ.ยูไนเต็ดฟิดดิ้ง จำกัด บ.ยุ่สูงอาหารสัตว์ จำกัด หจก.อุดมชัยฟาร์ม โดยบ.เจริญโภคภัณฑ์ ฯ ได้รับการจัดสรรโควตาถึงร้อยละ 41 จากจำนวนพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ที่สามารถนำเข้าได้ทั้งหมด


            พฤติกรรมเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนยังไม่จบสิ้น เพราะในปีพ.ศ. 2549 ในสมัยพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ พ.ศ. 2549 โดยระเบียบดังกล่าวกำหนดให้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง คือ คณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า Egg Board ขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแลตลาดไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ทั้งระบบโดยที่ยังคงโควตาให้เดิมเอาไว้ พร้อมทั้งแต่งตั้งตัวแทนบริษัททั้ง 9 มานั่งเก้าอี้ที่ปรึกษาของกรรมการชุดนี้อีกด้วย 
ปฎิเสธไม่ได้ว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้ง 9 รายมีอำนาจการผูกขาดในตลาดไข่ไก่ไว้ในมือ ซึ่งทำให้เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ได้ด้วยตนเอง ทางเลือกเดียวที่เหลืออยู่คือการซื้อลูกไก่พันธุ์ไข่จากบริษัททั้ง 9


ในสถานการณ์ดังกล่าวทำให้อำนาจการต่อรองตกอยู่ที่อยู่ที่ผู้ขาย(บริษัทยักษ์ใหญ่) ขณะที่ผู้ซื้อ(เกษตรกร)ไม่มีทางเลือก จึงเป็นที่มาของ “การขายพ่วง” (Tie-in Sales) คือการซื้อลูกไก่พ่วงอาหารสัตว์ แทนที่เกษตรกรจะมีช่องทางในการลดต้นทุนการผลิตโดยการผลิตอาหารสัตว์ใช้เอง แต่กลับต้องซื้ออาหารสัตว์พ่วงไปด้วย เพราะหากไม่ซื้ออาหารสัตว์กับทางบริษัทผู้ขายลูกไก่จะทำให้บริษัทนั้นไม่ยอมขายลูกไก่ให้กับเกษตรกรทำให้เกษตรกรไม่มีทางเลือกต้องตกอยู่ในสภาวะจำยอม


ในขณะเดียวกันทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่และเกษตรกรรายย่อยล้วนผลิตไข่ไก่เพื่อนำไปขายในตลาดไข่ไก่เช่นเดียวกัน กรณีนี้จึงถือเป็นการทำลายเกษตรกรรายย่อยให้ตายไปจากอาชีพนี้ เพื่อที่ตนเองจะสามารถแสวงหากำไรสูงสุดจากการผูกขาดในตลาดไข่ไก่ได้  ปมปัญหาดังกล่าวทำให้จำนวนเกษตรกรระหว่างปี  2543-2547 ลดลงอย่างน่าใจหาย จาก 7,000 ราย เหลือเพียง 3,000 รายเท่านั้น สถานการณ์ดังกล่าวทำให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่จำนวน 113 ฟาร์ม ในนามบริษัท เอ เอฟ อี จำกัด ขอนำเข้าแม่พันธุ์ไก่ไข่
จำนวน 58,100 ตัว โดยแบ่งโควตามาจากโควตาจำนวน 405,721 ตัว จากบริษัทยักษ์ใหญ่ 9 รายเดิม


แต่กระนั้น Egg Board มีมติไม่อนุมัติคำขออนุญาต จนท้ายที่สุดบ.เอ เอฟ อี  ฟ้องร้องต่อศาลปกครองว่า Egg Board ไม่มีอำนาจในการออกคำสั่งทางปกครองดังกล่าว อีกทั้งการกำหนดโควตายังไม่ชอบด้วยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ พ.ศ. 2549  จากการกดดันของสังคมทำให้ในที่สุดวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีได้มีมติยกเลิกระบบโควตาการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ รวมทั้งสั่งการให้ทบทวนบทบาทและแนวทางในการดำเนินงานของ Egg Board และให้กระทรวงพาณิชย์นำ พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 มาบังคับใช้ในเรื่องการตกลงร่วมกันลดปริมาณการผลิตลูกไก่ไข่ และพฤติกรรมที่ไม่เป็นธรรมทางการค้า เช่น การขายพ่วงลูกไก่กับอาหารสัตว์    ถือเป็นการสิ้นสุดยุคการผูกขาดตลาดไข่ไก่อันเกิดจากการใช้ระบบโควตาของรัฐบาล


แม้ว่าระบบโควตาที่ถือเป็นกรงจองจำศักยภาพในการแข่งขันของเกษตรกรจะหมดไปแล้ว แต่ยังมีโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลชุดใหม่ จะต้องเข้ามาแก้ไข ซึ่งก็คือการปรับปรุงพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้าพ.ศ. 2542
ซึ่งในงานวิจัยของ “กฤดิกร” ที่นำเสนอต่อคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปนั้นได้นำเสนอทางออกในการแก้ไขปัญหาที่รัฐบาลชุดใหม่จะต้องเร่งดำเนินการคือ   1.ให้เพิ่มความผิดทางปกครองเพื่อให้สามารถเอาผิดกับพฤติกรรมการกีดกันทางการค้าซึ่งเกิดจากการใช้อำนาจรัฐได้  2.ยกเลิกการจำกัดสิทธิในการฟ้องร้องกันเองของเอกชนเพื่อให้เอกชนสามารถหยิบกฎหมายฉบับนี้ไปบังคับใช้และส่งเสริมการแข่งขันในตลาดให้มากขึ้น 3. ให้กฎหมายฉบับนี้ครอบคลุมการกระทำขององค์กรของรัฐ 4.แก้ไขประกาศว่าด้วยหลักเกณฑ์ผู้มีอำนาจเหนือตลาด โดยลดสัดส่วนส่วนแบ่งตลาด 5.แก้ไขบทกำหนดโทษของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้บทลงโทษในส่วนที่เป็นค่าปรับเป็นสัดส่วนกับขนาดของธุรกิจที่ทำการละเมิดกฎหมายฉบับนี้ 6.ยกเลิกการปกปิดข้อมูลที่สำนักแข่งขันทางการค้าได้มาจากผู้ประกอบการ 7.เปลี่ยนสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าให้เป็นองค์กรอิสระ โดยไม่ขึ้นกับการเมือง


รวมถึงข้อเสนอเพื่อการส่งเสริมการแข่งขันในตลาดไข่ไก่ โดยขอให้เปิดให้มีการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่อย่างเสรีและไม่นำระบบโควตาจำกัดปริมาณการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่กลับมาใช้อีก และภาครัฐควรเข้าไปมีบทบาทส่งเสริมการแข่งขันและควบคุมการผูกขาดในตลาดอาหารสัตว์


เรื่องนี้เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลว่าจะกล้าเดินหน้าปรับปรุงกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่มีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่าเป็น “ทุน”สำคัญให้กับทุกพรรคการเมืองได้หรือไม่ เพราะนอกจาก “ไข่ไก่” แล้ว ยังมีสินค้าการเกษตรอีกหลายชนิดที่จะได้รับอานิสสงส์ด้วย อย่างไรก็ตามต้องไม่ลืมว่าความมั่นคงและเสถียรภาพของรัฐบาลจะอยู่ได้นานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับการสร้างความกินดีอยู่ดีให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนมากกว่าการลดภาษีสิ่งของเพียงชิ้นหรือสองชิ้นเท่านั้น!!


 


http://www.facebook.com/weReformThailand