หฺมฺรับ(หมรับ)หรือสำรับ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

 หฺมฺรับ(หมรับ) หรือ สำรับ


หัวใจของการทำบุญเดือนสิบ คือการการจัด หฺมฺรับ(หมรับ) เป็นการเตรียมอาหารคาวหวานบรรจุภาชนะไปถวายพระ อุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพชน ให้นำกลับไปใช้สอยในนรกภูมิ ลูกหลานจะต้องจัดเตรียมสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร มิให้ขาดตกบกพร่องตกแต่งประดับประดาสวยงามด้วยใจกตัญญู


  


การจัดหมรับ ส่วนใหญ่จะจัดกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือนสิบ ชาวบ้านจะชุมนุมรวมตัวกันที่ลานวัด เพื่อเตรียมสิ่งของต่าง ๆ ตั้งแต่ภาชนะที่นิยมใช้ เช่น กระบุง กระจาด หรือถาด กะละมังก็ได้ แล้วนำของแห้งที่จำเป็นใช้ในชีวิตประจำ เช่น ข้าวสาร หอมแดง กระเทียม พริก เกลือ กะปิ น้ำปลา น้ำตาล ปลาเค็ม เนื้อเค็ม มะพร้าว ฟัก กล้วยดิบ มัน อ้อย ข่า ตะไคร้ ขมิ้น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันก๊าด ขี้ไต้ ไม้ขีด หม้อ กระทะ ถ้วยชาม เข็ม ด้าย         และเครื่องเชี่ยนหมาก ได้แก่ หมาก พลู ปูน กานพลู การบูร พิมเสน สีเสียด ยาเส้น บุหรี่ ยาสามัญประจำบ้าน ธูปเทียน น้ำดื่ม แต่สิ่งสำคัญที่ต้องจัดใส่หมรับ คือ ขนม 5 อย่าง ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของงานเดือนสิบ คือ


ข้าวพอง เป็นสัญลักษณ์แทนแพ สำหรับบุรพชนใช้ล่องข้ามห้วงมหรรณพ ตามกติกาทางพุทธศาสนา


 


ขนมลา ใช้แทนแพรพรรณเครืองนุ่งห้ม



ขนมไข่ปลา ใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเครื่องประดับทั้งนี้ขนมทั้ง 5ก็เปรียบเหมือนเครื่องปัจจัยสี่ในแดนนรก



ขนมดีชำ ใช้แทนเบี้ยสำหรับจับจ่ายใช้สอบ



ขนมบ้า ใช้แทนสะบ้า สำหรับบุพชนจะได้ใช้เส่นสะบ้าในวันสงกรานต์



มีวันเกี่ยวกับหฺมฺรับอยู่หลายวัน คือวันหฺมฺรับเล็ก หรือ วันรับตายาย ในวันแรม 1 ค่ำเดือนสิบ เป็นวันแรกที่วิญญาณของบรรพบุรุษได้รับอนุญาตให้กลับมา ลูกหลานจะจัดสำรับอาหารไปทำบุญที่วัด วันยกหฺมฺรับ ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เป็นวันที่ลูกหลานร่วมกันแบกหามหฺมฺรับที่จัดเตรียมเรียบร้อยแล้วไปถวายพระที่วัด รวมกลุ่มกันในหมู่คนบ้านใกล้เรือนเคียง บางทีก็จัดเป็นขบวนแห่เพื่อความคึกคักสนุกสนาน สุดท้ายคือวันหฺมฺรับใหญ่ ในวันแรม 15 ค่ำ ญาติโยมจะนำอาหารไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัดครั้งใหญ่ ทำพิธีบังสุกุล อุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษ มีการตั้งเปรตอุทิศส่วนกุศลให้วิญญาณที่ไม่มีลูกหลานมาทำบุญให้ พร้อมทำพิธีฉลองสมโภชหฺมฺรับที่ยกมา


ใครมาวันเกิดเวบ จะได้กินลาฉิว หรือจะให้ส่งไป พร้อมตายาย  5++++


 

ความเห็น

มีความหมายนา....  ขนมแต่ละอย่าง

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

ยายอี๊ดเรียก ผม สะ หวาน หัน ควับ เข้ามาอ่านเลย นอกจาก ความหมายดี ตกแต่งงดงามด้วย ครับ

แปลกดีนะครับทางบ้านผมไม่มีแบบนี้เลย หรืออาจจะมีแต่เรา

ไม่รู้จักก็ได้ 

ทำความดีนะครับ จะได้มีความสบายใจ   msn/krawmovie@hotmail.com

ยายอิ๊ดว่า


จังหวัดในภาคใต้ก็จะมีนะคะ


ที่โดดเด่น น่าจะมีที่นครค่ะ


 

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

ประเพณีอย่างนี้บ้านเราไม่มีจริงๆ


น้ำหวานว่าคงจะมีแต่ภาคใต้นั่นล่ะ


จริงมะจ๊ะยายอิ๊ดจ๋า

 

ยายอี๊ดจัดหมับ แต่หัววันเลย

แต่ถ้าเดิอนสิบ สุดยอดต้องยกให้ นครศรีฯ

ของเราสงขลา ก็เรียบ ๆ

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

งานเดือนสิบเริ่มแล้วค่ะ เที่ยวทุกวัน

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

ผมเขียนไม่ค่อยถูก...หมับ..ผมเคยเขียนแบบนี้..


เขาจัดกันที่ไหนครับปีนี้....ทุ่งท่าลาดเหมือนเดิมหรือเปล่า..ยังไม่ทราบที


สมัยก่อนจัดที่หน้าเมือง..(หน้า ร.ร กัลยานี) สามปีซ้อนที่ผมไปแข่งขันกลอนแปดที่นั้น...

เป็นเพียงแค่มดตะนอย ตัวจ้อยจิด  ทีพลัดติดกลางช่อ พอเพียงใหญ่

คือหนึ่งเสียงหนึ่งคิดเห็น ที่เป็นไป อาจถูกใจหรือไม่บ้าง ลองชั่งดู

หมรับค่ะ   แค่อยู่ จัดที่ทุ่งท่าลาด วัดหน้าพระธาตุ สนามหน้าเมือง ศาลาประดู่หก  หรางเก่า วัดหน้าพระธาต(หลาดย้อนยุค) ตลาดลีวัฒนา  ทั่วไปเหม็ดค่ะ  ไม่หนุกเหมือนแต่แรก ขายของกันมากเกินค่ะ

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

ยายอี๊ด.. งานเดือนสิบ แอนยังไม่ไ้ด้ไปเลย....ความหวังก็น้อยเหลือเกิน....Frown

...ขอชมจากยายอิ๊ดก่อนนะคะ..

หมับสวยมาก หนมก็น่ากิน...ไม่ต้องชิง.... รอไปกินของยายอี๊ด...Laughing

....ความสุขอย่างแท้จริง ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง....

หน้า