หนังสือบุดดำ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

มาดูกันหน่อย หนังสือบุดดำชิ้นนี้ เป็นของคุณตาค่ะ ซึ่งคุณตาเป็นหมอรักษาคน แม่เล่าว่าในสมัยแม่เด็กๆ ที่บ้านยังมีคนมาอยู่เยอะมาก เพราะพอไปรักษาใครแล้ว เขาจะให้คนมารับใช้ที่บ้าน แทนเงินค่ะ สมัยคุณทวด ที่บ้านมีทาสมาก  คุณทวดท่านคือ หลวงจาตุรงค์ค่ะ  ที่บ้านแม่ ลูกคุณตา ทุกคนเรียนหนังสือกันทุกคนเลย และทุกท่านก็รับราชการทุกคนค่ะ แม่เป็นครูสอน โรงเรียนการช่างสมัยก่อนค่ะ ก่อนที่จะหักเห และ โดนลากมา นครศรี พี่น้องแม่นี่ก็ไปเสียหลายคนแล้ว ออยังเหลือ 2 คน แม่ และคุณประมวล ซึ่งเป็นน้องสาว เกษียณแล้วเช่นกันค่ะ และคนแถวนั้นจะเรียกลูกคุณตาว่า คุณ กันทุกคนเลย แม้แต่แม่ มีแต่เรานี่แหละไม่ใส่คำว่าคุณนำหน้าท่าน แม่เรานี่ คุณหนูยิ้มดี ๆ นะเอง ภาพแม่ตอนเด็ก ๆ ยังใส่กำไลเท้าอยู่เลย ตอนนี้แม่อายุ 84 แล้วค่ะ ยังสวยเฉ้งอยู่ แต่งตัวซะ เราชิดซ้ายลงคูไปเลยแหละค้า   อ้าวไปซะไกล นินทาบรรพบุรุษเสียนาน นี่ยังไม่นินทา พวกท่อง พวกเขา ขุนอินทนิล ทางพ่อทีนะเนี่ย  มาดูหนังสือบุดดำกันเถอะค่ะ......ก่อนที่จะอายุสั้นไปมากกว่านี้




นี่ของยายอิ๊ดนะ จิ๊กจากแม่มา ไม่กล้าอ่าน  กลัวค่ะ  กลัวข้อความ


ไหนก็กล่าวถึงท่านแล้ว นี่ไง คุณระเบียบ ตอนสาวๆ


 


ด้านล่างค้นคว้าข้อมูลจากเน็ตค่ะ  หนังสือบุด ก็คือ สมุดข่อย หนังสือบุด  วรรณกรรมลายลักษณ์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของปักษ์ใต้ส่วนใหญ่ทำขึ้นเป็นหนังสือบุดหรือหมุด คือ หนังสือที่ทำด้วยกระดาษข่อย หรือกระดาษย่านปริดหนาหรือกระดาษสา (พับสา) นั่นเอง  ซึ่งพับเป็นชั้น ๆ  ภาคกลางเรียกหนังสือชนิดนี้ว่า สมุดไทย หรือสมุดข่อย หนังสือไทย เพียงแต่ปักษ์ใต้เรียกว่า หนังสือบุด แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ บุดดำ และบุดขาว   บุดดำ จะเป็นวิชามาร เช่น ไสยเวทย์ มนต์ดำ ฯลฯ บุดขาว จะเป็นวิชาเทพ เช่น ตำรายา การแพทย์โบราณ ฯลฯ
            การบันทึกวรรณกรรมลงหนังสือบุด อุปกรณ์ที่ใช้เขียนได้แก่ ปากไก่  ถ้าเป็นบุดขาวให้หมีกดำ หรือสีดำเขียน น้ำหมีกดำได้มาจากการใช้ลูกสมอป่ามาต้ม หรือแช่น้ำจนคายสีดำออกมา ส่วนบุดดำเขียนด้วยสีขาว สีเหลือง สีแดงและสีทอง สีขาวได้จากดินสอสีขาวอย่างละเอียด หรือได้จากเปลือกหอยมุก สีเหลืองได้จากรงหรือหรดาล สีแดงได้จากชาด สีทองได้จากทองคำเปลว
            ในการเขียนผู้เขียนต้องเป็นผู้มีฝีมือประณีต ใจเย็น ต้องเขียนไม่ให้ผิดพลาด หากเขียนผิด ห้ามขูดลบขีดฆ่า แต่ต้องทำวงกลมรอบตัวที่ผิดไว้ จุดที่เขียนผิดนี้เรียกว่า พระธรรมผิด ใครพบเห็นอาจสักการะบูชาพลีขอชิ้นส่วนมาทำเป็นเครื่องรางของขลังด้วยเหตุนี้เราจะพบว่า ที่หนังสือบุดบางเล่มขาดเป็นรูกลมอยู่บ้าง ก็เนื่องมาจากพลีนั่นเอง
            แต่เดิมการเขียนนิยมเขียนใต้เส้นบรรทัดทั้งสิ้น เพราะถือว่าบรรทัดก็คือการแสดงความเคารพ และเชื่อฟังปฏิบัติตนอยู่ภายใต้การอบรมสั่งสอนของครูบาอาจารย์
            หนังสือบุด มีขนาดแตกต่างกันหลายขนาด ขนาดของหนังสือมีส่วนสัมพันธ์กับเนื้อหาที่บันทึกอยู่บ้าง อาจแบ่งกว้าง ๆ ได้สามขนาดคือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ หนังสือบุดขนาดเล็ก มักใช้บันทึกเรื่องโชคลาง ยากลางบ้าน ปฏิทิน ฯลฯ หนังสือบุดขนาดกลาง มักใช้บันทึกนิทานพื้นเมือง วรรณคดี ตำนาน บทสวด ฯลฯ ส่วนหนังสือบุดขนาดใหญ่ มักใช้บันทึกพระธรรมในพระพุทธศาสนา บันทึกเรื่องพระมาลัย หรือเรื่องไตรภูมิ
            ตัวอักษรที่ใช้บันทึกมีสองแบบคืออักษรไทยและอักษรขอม
                -  อักษรไทย  มักใช้ตัวเอนไปข้างหลังประมาณ ๓๐ - ๔๕ องศา
                -  อักษรขอม  ที่ใช้บันทึกมีอยู่สองแบบคือ อักษรขอมไทย และอักษรขอมบาลี
            รูปตัวอักษรไทยส่วนใหญ่เป็นอักษรไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่เก่าไปกว่านั้นคือสมัยอยุธยา โดยเฉพาะหนังสือบุดดำ ซึ่งบันทึกด้วยตัวอักษรขาว จะเก่าถึงสมัยอยุธยาเป็นส่วนมาก
            มีหนังสือบุดอยู่ไม่น้อยที่เขียนภาพแทรกไปด้วย เช่น พระมาลัย พระธรรม ตำราโหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ พิธีกรรม ตำราหมอนวด ตำราเกี่ยวกับโรคต่าง ๆ และตำราพิชัยสงคราม เป็นต้น

ความเห็น

โองการแช่งน้ำของจริงหน้าตาเป็นงี้เอง


ขอบคุณนะคะยายอี๊ด

 

ดีค่ะที่มีของที่มีคุณค่าเก็บไว้คนบางคนไม่เห็น...ไม่ใส่ใจ..เราเองชอบมาก   ป้าอี๊ดดูซิคะลายมือคนโบราณ เป็นะระเบียบยิบ ไม่ว่าขนาดอักษร  ช่องไฟ แสดงถึงความตั้งใจ สมาธิในการเขียน และสิ่งที่ต้องการจะสื่อ  สมัยนี้เทียบไม่ติด  แค่เห็นก็เป็นบุญตาแล้วค่ะขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

หน้า