เรียนรู้ภาษาใต้กันหน่อยค่ะ..กันลืม

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ภาษาใต้ แบ่งแยกออกเป็น กลุ่มๆ ดังนี้ 


- ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ได้แก่ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดกันมากทางฝั่งตะวันออกของปักษ์ใต้ บริเวณจังหวัด นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอแม่ลาน, อำเภอหนองจิก และ อำเภอเมือง) ตรัง สตูล (และในรัฐปะลิส-หมู่บ้านควนขนุน บ้านตาน้ำ ,ในรัฐเคดาห์-บ้านทางควาย บ้านบาลิ่ง) ภาษาไทยถิ่นใต้ที่ใช้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะของภาษาที่คล้ายคลึงกัน (ตรัง และสตูล แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันตก แต่สำเนียงภาษา ถือเป็นกลุ่มเดียวกับพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ได้ชัดเจน)


- ภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันตก ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี และชุมพร ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดเหล่านี้ จะมีลักษณะเด่นที่คล้ายคลึงกัน เช่นออกเสียงคำว่า แตก เป็น แตะ ดอกไม้ เป็น เดาะไม้ สามแยก เป็น สามแยะ ฯลฯ (สำเนียงนครศรีธรรมราช กลุ่มฉวาง พิปูน ทุ่งใหญ่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาหลวง ก็อยู่ในกลุ่มนี้ ส่วนจังหวัดชุมพร และจังหวัดสุราษฎร์ธานี แม้จะตั้งอยู่ฝั่งทะเลตะวันออก แต่สำเนียงภาษาถือเป็นกลุ่มเดียวกับจังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต คือ ออกเสียงตัวสะกด ก.ไก่ ไม่ได้)


- ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงสงขลา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดสงขลา บางส่วนของจังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา


- ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นใต้ที่พูดอยู่บริเวณพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี(เฉพาะ อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ และอำเภอสายบุรี) รวมทั้งในเขตรัฐกลันตันของมาเลเซีย ในหมู่บ้านที่พูดภาษาไทย จะใช้ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียงเจ๊ะเห นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกหนึ่งภาษาคือภาษาถิ่นพิเทน ซึ่งพูดกันในตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง และตำบลกะรุบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานีเท่านั้น


ในเขตจังหวัดนราธิวาส เนื่องมีคนในจังหวัดอื่นๆ มาอาศัยหรือทำงานในจังหวัดนราธิวาส จึงนำภาษาไทยถิ่นใต้ของแต่ละจังหวัดมาพูดกันในจังหวัดนราธิวาส ส่วนใหญ่จะเป็นคนไทยถิ่นใต้จากจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช คนนราธิวาส จึงมีภาษาไทย 2 สำเนียง คือ ภาษาไทยถิ่นใต้ สำเนียง เจ๊ะเห และสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก ภาษาไทยถิ่นใต้สำเนียง เจะเห มักพูดกันในกลุ่มเครือญาติ หรือตามชนบทของนราธิวาส แต่ในเมืองมักจะพูดสำเนียงภาษาไทยถิ่นใต้ตะวันออก














ภาษาใต้ :   ธุระ
ความหมาย :   ไปธุระ
โดย :   มั่ว
 













ภาษาใต้ :   โบ๋
ความหมาย :   พวกเรา

โบ๋เราไปกินข้าวม้าย
โดย :   OzoneNet
 













ภาษาใต้ :   หรอย
ความหมาย :   อร่อยมาก
วันนี้แกงคั่วหรอยจังฮู้
โดย :   แก้ม ฟ้าใส ตรัง
 













ภาษาใต้ :   หวังเหวิด
ความหมาย :   เป็นห่วง

เราก็หวังเหวิดมันมากเกินไปแล้วแหละ
(เราก็เป็นห่วงมันมากเกินไปแล้วแหละ)
โดย :   กิม
 













ภาษาใต้ :   พันพรือ
ความหมาย :   เป็นอย่างไร/เป็นไง
เช่น พันพรือมั่ง?(เป็นไงบ้าง?)
โดย :   หนูนุ้ย
 













ภาษาใต้ :   พันพรือ
ความหมาย :   ทำอะไรอย่างนี้
โดย :   กุ้ง
 













ภาษาใต้ :   ถ้าว
ความหมาย :   ใหญ่
คนถ้าว = ผู้ใหญ่(adult)
อันถ้าว= อันใหญ่
หนวยถ้าว=ลูกใหญ่, ใบใหญ่, ฟองใหญ่....
โดย :   jam
 













ภาษาใต้ :   เมลือง
ความหมาย :   แวววาว มันวับ
โดย :   เชน
 













ภาษาใต้ :   ก้างแทงหมก
ความหมาย :   จุก
โดย :   เด็กบางสิบบาท
 













ภาษาใต้ :   หย๋องแหย๋ง
ความหมาย :   ยุ่งเหยิง กระเซะกระเซิง พันกันยุ่งเหยิง
โดย :   jam
 













ภาษาใต้ :   หยาจ่อก
ความหมาย :   ตะกละ เห็นแก่กิน
โดย :   jam
 













ภาษาใต้ :   หย้องแหย้ง
ความหมาย :   ผอม , ไม่มีแรง หรือที่ใส่หญ้าให้วัว
โดย :   เหมก
 













ภาษาใต้ :   พุงขึ้น
ความหมาย :   ท้องอืด
โดย :   jam
 













ภาษาใต้ :   หัวมันหลา
ความหมาย :   มันเทศ เปลือกสีเหลือง หรื อสีม่วง
โดย :   jam
 













ภาษาใต้ :   ยอน
ความหมาย :   ยุให้ทำ เช่นแรกแตวาไอ้หนุนุ้ยยอนหมาให้ขบไอ้เท่ง
โดย :   เด็กช่องขาด
 













ภาษาใต้ :   หาน
ความหมาย :   กล้า ใจกล้า กล้าสู้ เช่น

จตุคามราคาเป็นล้าน หานซื้อ คือกล้าซื้อ
เป็นเด็กเป็นเล็ก หาน มีเรื่องกับนักเลง
โดย :   เปรม
 













ภาษาใต้ :   ราพา
ความหมาย :   กิ่งไม้ที่ตายแล้วมักจะอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง
โดย :   บ่าว79
 













ภาษาใต้ :   อย่าเถ
ความหมาย :   อย่าซน
โดย :   เด็กเกาะฐาน
 













ภาษาใต้ :   หนักแรง
ความหมาย :   มากเรื่อง/เรื่องมาก
โดย :   Lด็กLnw
 













ภาษาใต้ :   แฟ๊บ
ความหมาย :   ผงซักฟอก
โดย :   แอร์กี่
 













ภาษาใต้ :   ขี้เรียด
ความหมาย :   ขี้เหนียว
โดย :   เจลเด็กสงขลา
 













ภาษาใต้ :   ในม๋อง
ความหมาย :   บ้านนอกกกกก บ้านนอก
โดย :   เด็กนาแขก
 













ภาษาใต้ :   ลูกเนียง
ความหมาย :   โอ่งลูกเล็กๆ
โดย :   เด็กนาแขก
 













ภาษาใต้ :   รึดรึด
ความหมาย :   มากหนัด
โดย :   เท่ง
 











ภาษาใต้ :   ส้องแส้ง
ความหมาย :   โมโห/หงุดหงิด
โดย :   air

ขอขอบคุณข้อมูลจาก trangzone.com

ความเห็น

ขอแก้ข่าวหน่อยนะ พี่ต่าย เป็น เขยใต้ และเหตุการณ์ครั้งนั้นก็เป็นครั้งแรกที่บุกไปบ้านแฟนครับ ภาษาใต้ก็ไม่ค่อยรู้อยู่แล้ว ไปที่นั่นเจอภาษาเจ๊ะเห ยิ่งมึนหนักกว่าเดิม ทุกวันนี้ถ้าเป็นคนเฒ่าคนแก่พูด ก็ยังฟังไม่รู้เรื่องครับ


ปล. ถึงไม่ใช่คนใต้ แต่ก็รักคนใต้นะ (โดยเฉพาะแม่น้องแพร) ฮ่าๆ ไม่รู้ว่าเขาจะรับรู้มั๊ยนะ

จะปลูกต้นไม้ในใจเธอ


เอ้าโทษทีพี่นึกว่าพี่เป็นคนใต้ พอดีเล็กดุตามสีผิว อิอิ

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

เหลย = อีก
ขา(ค่า) = เท่ากัน
ถาว(เท่า) = พอแล้ว เลิกแล้ว
ต้องผันเสียงตามที่เขียนมานะ แล้วอีได้เสียงในฟีล์ม

ถูกเลยค่ะต้องอ่านออกเสียงตามที่เขียน จริง ๆ ด้วยค่ะ

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

แตแรกพี่เรียนอยู่โรงเรียนมหา เวลาแหลงเพื่อนหัวเราะตลอดเขาว่าเป็นคนสะกอม เช่นเวลาอุทานจะใช้คำว่า   อะโบ้ย  อะละ   ฮาโรย  ชาติอิ

ใช่ค่ะ ขนาดคนใต้ด้วยกันยังพูดไม่เหมือนกันเลยค่ะ ในแต่ละท้องที่

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

คุณเล็ก รู้จักและเข้าใจมากสุดคือคำว่า แหลง น่ะค่ะ


ไว้ต้องค่อยๆฝึกจำทีละคำ (เผื่อหลงไปทางใต้ ได้ไม่อดข้าว)


ขอบคุณนะคะ

ไม่อดหรอกค่ะถ้ามาทางใต้ สมช.บ้านสวนเยอะค่ะ

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

วันนี้มาเรียนรู้ภาษาใต้จากพี่เล็ก :)
เข้าใจแต่บางคำแปล ไม่ค่ยอจะถูก...
อย่างเช่น หลา เหิน...

....ความสุขอย่างแท้จริง ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง....

บางคำกิ่งลืมนึกถึงไปแล้ว พอได้ยินพี่เล็กบอก อ๋อ ทันทีเลย

หน้า