พืชอาหารตา/ใจ

หมวดหมู่ของบล็อก: 

             ต้นบิโกเนียที่เลี้ยงไว้ประมาณ 1 ปี เพิ่งทราบชื่อ จาก อ.บุญลือ สมช.บ้านสวนฯ เมื่อไม่นานมานี้เอง พอทราบชื่อก็เริ่มขยายพันธุ์ ตอนนี้ ผากเลี้ยงไว้ตามกระถางต้นอื่น ๆ ประมาณ 10 กว่าต้น

ไม้ดอก ปลูกไว้พอประมาณ 2 ภาพบน ยังนึกชื่อไม่ออกเลย ภาพ 3 ประทัดจีน ภาพ 4 ชวนชมซื้อมาแก้ร.วิชาเพาะชวนชนจากน้องลูกแมว ที่ทำการบ้านไม่ผ่าน

ภาพ1 ว่านกาบหอย(ลาย) ภาพ2 ดอกว่านรางเงิน ภาพ3 ดาวเรื่อง(เพิ่งทราบว่าหักกิ่งไปปักชำได้) ภาพ4 หน้าวัวใบ(ได้พันธุ์มาจากศูนย์พันธุ์พืชฯ) 

เล็บครุฑด่าง.....จบการนำเสนอแค่นี้ค๊ะ

ความเห็น

เลี้ยงได้งามหลายค่ะ :admire:

"เชื่อในผล แห่งการทำความดี"

เล็บครุทด่างที่บ้านมีต้นหนึ่ง,,ไม่รู้เค้าขยายพันธุ์ยังไงค่ะ

บีโกเนียสวยมาก ๆ ค่ะ ไม่ค่อยเห็นพันธุ์นี้นะ  ถ้าอยู่ใกล้ ๆ จะไปขอมาชำซัก 1 ใบ เพราะแค่ใบเดียวแบ่งชำได้อีกเยอะเลยค่ะ  เพิ่งรู้จากพี่สรนี่แหละว่าดาวเรืองก็หักกิ่งไปชำได้ โอ้โฮ...สวย ๆ ทั้งนั้นเลย

แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

ดาวเรืองหักกิ่งปักชำได้ เพิ่งรู้หล่าวนิพี่สร ต้นไม้สวยงามจังเสียนิ........:crying2:

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

เลี้ยงได้งามจริงๆๆ  คุณพี่ 

     ๒ภาพบน เป็น เทียนฝรั่ง กับ ระฆังทอง ครับ


ปลูกต้นไม้ได้อะไรเยอะแยะ มากกว่าที่คิด

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

:admire: พี่สรสวยๆทั้งนั้นเลย

อาหารตาจริงๆ แล้วอาหารเย็นจะเป็นอะไรงะ

ที่บ้านก็มีค่ะ ชอบเด็ดใบมาจิ้มเกลือกิน..ใครเคยลองบ้างเอ่ย...


เปรี้ยวจิ๊ดยิ่งกว่ามะนาว...มีวิตามินซีเยอะมาก


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Begonia spp.
ชื่อวงศ์:  Begoniaceae
ชื่อสามัญ:  Begonia
ชื่อพื้นเมือง:  ส้มกุ้ง , ก้ามกุ้ง, สมมติ
ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  ไม้อวบน้ำอายุยืน  มีเหง้าออยู่ใต้พี้นดิน ลำต้นสูงจากพื้นดิน 15-45 ซม.
    ใบ  เป็นใบเดี่ยว ออกสลับ รูปร่าง ขนาด และสีสันแตกต่างกันในตและพันธุ์ ใบมีลักษณะเบี้ยว คือ แผ่นใบสองข้างไม่เท่ากัน รูปหัวใจ ใบเกิดเวียนรอบลำต้น บางชนิดมีขนเหมือนกำมะหยี่
    ดอก  ดอกออกเป็นช่อแทงทะลุซอกใบ ช่อดอกตัวผู้แยกจากช่อดอกตัวเมีย แต่อยู่บนต้นเดียวกันดอกตัวมีเมียมีรังไข่ที่โป่งออกเป็นปีกสามแฉกที่โคนดอก ดอกตัวเมียบานทนกว่าดอกตัวผู้ ปกติ บีโกเนียดอกมีหลายสี เช่น ชมพู ส้ม ขาว

บีโกเนียเป็นพืชสกุลใหญ่ จึงแบ่งออกเป็นพวกๆ โดยอาศัยรูปร่างของส่วน สะสมอาหารหรือรากเป็นหลักได้ดังนี้ คือ
    1. บีโกเนียชนิดที่มีรากฝอย  (Fibrous – rooted  begonia)  มีใบสีเขียวและสีน้ำตาลเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อ  มีทั้งสีขาว  สีชมพู  สีแดง  และสองสี  เช่น  ขาวขอบแดง
    2. บีโกเนียชนิดที่มีเหง้า  (Rhizomatous  begonia)  ส่วนมากเป็นบีโกเนียที่ปลูกประดับใบ ใบมีสีสวยมีหลายแบบ   เช่น  รูปใบกลม   รูปหัวใจ มีกลีบดอกชั้นเดียว
    3. บีโกเนียชนิดที่มีหัว (Tuberous  begonia)  ดอกมีขนาดใหญ่  มีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน
 
ฤดูกาลออกดอก:  ออกดอกตลอดปี
การปลูก:  ปลูกเป็นพืชคลุมดิน เป็นไม้กระถาง หรือ ไม้ในภาชนะแขวนก็ได้
การดูแลรักษา:  ดินที่ใช้ปลูกควรเป็นดินร่วนซุย บริเวณที่มีแสงแดดรำไร รดน้ำปานกลาง อย่าให้แฉะ และควรรดปุ๋ยทางใบ ทุกๆ 2 สัปดาห์  ไม่ชอบอากาศหนาวเย็น
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด ปักชำยอดและใบ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    ชนิดที่พบตามป่าเขา มีรสเปรี้ยว สามารถนำมาประกอบอาหารได้
ถิ่นกำเนิด:  เอเชีย และ อเมริกา
แหล่งที่พบ:  ตามป่าดิบชี้นทั่วทุกภาค
ส่วนที่ใช้บริโภค:  ก้านต้น
การปรุงอาหาร:  ก้านต้นมาทำต้มยำ แทนมะนาว ให้รสชาติเปรี้ยวดีแท้ แต่ถ้าเป็นคนธาตุอ่อน ท่านให้พึงระวัง เพราะอาจท้องเสียได้ ส่วนบีโกเนียที่ไม่ควรกิน จะเป็นกลุ่มใบกำมะหยี่
http://www.nanagarden.com/Content.aspx?ContentID=10175

ยังไม่เคยลองค่ะ

หน้า