บายศรีสู่ขวัญ มาเด้อขวัญเอย

หมวดหมู่ของบล็อก: 

เช้านี้จะเดินทางสู่ประตูอีสาน เริ่มหวนระลึกถึงภาพชีวิตเมื่อ ๒ ปีก่อนที่ไปเยี่ยมชาวบ้านบนเทือกภูพาน สกลนครล่าสุด ชาวอีสานหากลูกหลานจากบ้านไปนานๆ เวลากลับบ้านพี่น้องจะมาโฮม(รวม)กันแล้วทำพิธี บายศรีสู่ขวัญ


                                                


พานบายศรี มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือด้ายฝ้ายปั่นจากดอกฝ้ายที่ปลูกเอง เอาไว้ผูกแขนรับขวัญลูกหลาน นอกนั้นก็ตามในภาพค่ะ



ยายอายุ ๘๐ กว่ายังตำหูกได้งามนะหลาน มานั่งเป็นร่มไม้ใหญ่



ป้าลองผู้นำกลุ่มทอผ้าครามบนภูพาน เท่ห์สุดๆ นำใจงามสุดๆ สหายภูพาน



ผ้าครามที่ใส่มาจากการตำหูกด้วยสองมือแม่เอง  ความรู้ตามภูมิปัญญาปัจจัยสี่ เป็นความรู้ทางตรงที่กินได้ใช้ได้กับชีวิตจริง



หูกทอผ้าแบบพื้นบ้านเป็นเทคโลยีที่มิได้เบียดเบียนธรรมชาติเลย มีแต่เกื้อหนุนให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าวเสร็จก็มาปลูกฝ้ายปลูกครามทกผ้าไว้ใช้เอง เหลือก็แจกหรือขายกัน วิถับ้านๆ เรียบง่ายชีวิตอยู่กับงาน ไร้การปรุงแต่ง งานทอผ้ามิใช่งานยากทำมาตั้งแต่ออกเรือน เป็นวิถีชีวิต แม่บ้านอีสานต้องทอผ้าให้พ่อบ้าน ลูกสาว ลูกชาย



หม้อครามแม่สีที่มีชีวิต (ได้ลงบล็อคเรื่องครามให้แล้ว)หยอยมาเรียนวิชาทำครามจากที่นี่ แล้วไปฟื้นฟูขึ้นที่พัทลุง บล็อคนี้ถือโอกาสบุชาครูบาอาจาร์ยค่ะ



ในงานบายศรีจะได้ชิมอาหารจานพิเศษ จานเรียกไข่สะเออะ ไข่นึ่งใส่หอมแดง ไข่มดแดง เห็ดปลวก และน้ำปลาร้า เชิญแซ่บจ้า



จ้ำข้าวเหนียวอิ่มแล้วก็มองหาน้ำในแอ่ง ยกกระบวยขึ้นซดน้ำฝนชื่นใจ



ตีนซิ่น นึกไม่ออกเหมือนกันว่าชาวบ้านไปเรียนวิชาออกแบบมาจากไหน จึงออกแบลายผ้า และชั้นเชิงหลากหลาย


ชาวบ้านมือดำเล็บดำ ศิลปินชาวนาผู้ไร้ตัวตน



มาเด้อขวัญเอย ขวัญเจ้าเตลิดไปทางได๋ ไกลฮอดซีกโลกใด ขอให้กลับมาอยู่นำบ้านนำเฮือนเจ้าเด้อ ปู่ย่าตายายสิปกปักรักษาเจ้า ว่าแตเจ้าอย่าสิลืมบ่อนบ้านเกิดเมืองนอนเจ้าของเด้อหล้าเอย 

ความเห็น

เห็นเพื่อนคนเหนือค่ะ เล่าให้ฟังว่า เวลาเขากลับบ้านที ทางบ้านเขาจะจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญให้ทุกครั้งที่กลับบ้าน ส่วนตัวแล้วชอบพิธีนี้ค่ะ โดยเฉพาะเวลาเขาร่ายเป็นกลอนออกมา ฟังแล้วก็ไพเราะดีค่ะ บางคนทางบ้านมีฐานะหน่อยก็จ้างเด็กนักเรียนมารำหน้ากองไฟ


"ไข่สะเออะ" ของโปรดตอนเด็กๆเลยค่ะพี่หยอย ไส่หอมแดงเยอะๆ

พี่เข้าใจว่าน้องเป็นลูกหลานชาวอีสาน

เห็นแล้วนึกถึงญาติทางเหนือค่ะ   วันสงกรานต์กุ้งถึงได้ไปเที่ยวที   เวลารดน้ำดำหัว  คนเฒ่าคนแก่ก็จะผูกข้อมือให้แล้วให้พรเพราะจับใจเลยค่ะ  ชอบบรรยากาศแบบนั้นจัง..

มีความสุขกับการที่ได้ให้มากกว่าการที่ได้รับ

ขอให้มีความสุขยิ่งขึ้นค่ะ

ประเพณีอันดีงามที่คงอยู่กับเราตลอดไป...ต้องช่วยกันรักษาครับ

สิ้นเดือนมาตรัง นัดเจอสมาชิกตรังพัทลุงสักวันนะ ที่สวนคุณแซมดีนะ

:admire2: ประเพณีที่ทำสืบต่อกันมาค่ะ  เพราะแถวบ้านก็ทำกัน

 ตามคนแก่ค่ะ เราต้องรักษาสิ่งที่ดี และสวยงามเอาไว้ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

อ่านบล็อก พี่หยอย จบโดยเฉพาะ ตอนท้าย ผมต้อง รีบ ไป หาด้ายมาผูกข้อมือ เดี๋ยว ไม่ได้ อารมณ์ ครับ พี่หยอย อยู่ กับงานศิลปะ และ วิธี ชีวิต ผู้คน พื้นเมือง คิดตามไปแล้ว ก็ สุขใจดี ครับ

น้องตุ้ย พี่หยอยทำหน้าที่หยิบยกเรื่องราวที่ดีงามของชาวบ้าน สู่สังคม มีนัยสู่ความเสมอภาคเท่าเทียม ผ่านงานวิจัยบ้าง นิทรรศการบ้าง เชื่อมโยงผู้ผลิตสู่ผู้บริโภคโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางบ้าง ขอบคุณน้องที่มองเห็นคุณค่าครับ 

หน้า