เกษตรธาตุ 4 : ป๊ะหรน หมัดหลี

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ป๊ะหรน หมัดหลี 
ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา

ป๊ะหรนเป็นผู้หยั่งลึกเกษตรธาตุ 4 อย่างยิ่งคนหนึ่ง เขาบอกว่าที่ผ่านมาพยายามให้คนเข้ามาศึกษรูปแบบในสวนเกี่ยวกับระบบธาตุ  4 ว่าจะนำไปใช้กันใด้หรือไม่

"บางคนบอกว่าต้นไม้นี่จะปลูกร่วมกันไม่ใด้จะแย่งปุ๋ยกัน ป๊ะก็บอกว่าไม่แย่งหรอก ใครกินได้ก็กินไป ต่างคนต่างหากินของเขาเอง ธาตุ 4 ก็เหมือนคน ถ้าคนขาดธาตุหนึ่งธาตุใดก็ไปไม่รอด ต้นไม้ก็เหมือนกัน อย่างทุเรียน มังคุด ลองกอง ลางสาดนี่ ปลูกหลุมเดียวกันได้เพราะความต้องการน้ำอาหารคนละอย่างกัน"

"40 ปีที่แล้วมาแต่เดิมทำความเข้าใจยาก แต่ตอนนี้ดีขึ้นแล้ว เราพยายามบอกคนให้รู้จักพืชทุกชนิด ให้ชิมรส ซึ่งการรู้จักธาตุง่ายนิดเดียว ถ้ารสฝาดหรือขมจัดนี่เป็นธาตุดิน ผลไม้ที่ชิมแล้วจืดเป็นธาตุน้ำ  ถ้ารสเฝื่อนเป็นธาตุลม ถ้ารสเผ็ดร้อน เช่นพริก ขมิ้น นี่เป็นธาตุไฟ แต่พริกจะมีธาตุดินปนด้วย"

"ป๊ะมีลูก 11 คน ลูกป๊ะสืบทอดแนวคิดธาตุ 4 ได้แล้ว ในหมู่บ้านก็ตั้งมูลนิธิเรียกเด็กๆมาอบรมให้รู้จักพืชผักพื้นบ้าน อบรมชาวบ้านให้ทำเกษตรผสมผสานรู้จักใช้สมุนไพรและพืชพื้นบ้านมากขึ้น แล้วทำหนังสือถึงโรงเรียนให้นำนักเรียนมาเรียนเรื่องเกษตรผสมผสาน ให้เข้าใจสิ่งแวดล้อม ป๊ะก็เป็นวิทยากรและยังสอนชาวบ้านให้หยุดทำลายป่าด้วย"

เป็นบทบาทอันยิ่งใหญ่ของชาวบ้านธรรมดาแต่ไม่ธรรมดาอย่างป๊ะหรน หมัดหลี

คัดจากหนังสือ
คัมภีร์มืออาชีพชุด
"ไร่นาสวนผสม"

รวบรวมและเรียบเรียงโดย
สุวรรณา อุยานันท์

พิมพ์ครั้งที่ 2
สำนักพิมพ์มติชน, พฤษภาคม 2540

_______________________________________________________________

รายละเอียดมีแค่ที่คัดลองมาให้อ่านครับ
ผมก็อยู่สตูลมานานกว่า 20 ปี สมัยเด็กๆเรียนหนังสืออยู่ที่นั่น
แต่ช่วงหลังๆเกือบไม่ใด้กลับไปที่สตูลเลย และก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าป๊ะหลนอยู่ส่วนใหนของสตูล.. ผมสนใจเกษตรธาตุ 4 ครับ.. ขอแก้ไขครับ ที่คัดลอกมาไม่ตรงกับความจริงครับ ที่ถูกต้อง เป็นต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา 

สิ่งที่ผมสนใจมากๆคือ การปลูกในหลุมเดียวกัน
ไม่ทราบว่าท่านใดพอจะขยายความต่อได้บ้างหรือเปล่า
ลงไปในรายละเอียด เช่น ในหลุมเดียวกัน ควรจะห่างกันสัก
เท่าไหร่ต้นไม้เมื่อโตแล้วจะไม่เบี่ยดกัน

หรือท่านใดมีความรู้ตรงนี้ ยากจะขอความรู้ครับ....

ได้เปลียนมาเป็นบล็อกเพราะต้องการ ให้การถามตอบ เรียงตาม

คิวเพื่อง่านในการติดตาม จากความรู้ที่ใด้จาก ป้าเล็กครับ

______________________________________

ศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยเกษตรธรรมชาติธาตุ 4
เลขที่ 13/1 หมู่ 6 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา 90180
โทร.08-4559-9849, 08-4859-9849

______________________________________

"ไม้ 3 ชนิดในหลุมเดียว ความสูงต่างกัน ทุเรียน มังคุด และกระท้อน"

 

___________________________

ไป Serch จาก Google มาเจอแล้วครับ
โง้ตั้งนาน อยากจะเข็กหัวตัวเองสักโป๊ก
ถามเองตอบเอง ฮิ ฮิ ฮิ ฮิ

___________________________

เกษตรธาตุ 4 แนวทางสมดุลของปราชญ์เขาพระ
 "การทำเกษตรธาตุ 4 ไม่ใช่การทำสวน แบบปริมาณเยอะๆ ปรัชญาของมันคือทำเอง ทำเล็กๆ พอกินและมีความสุข ไม่ต้องเร่งร้อน ไม่ต้องลงทุนมากมาย ไม่ต้องขึ้นกับตลาดมากนัก นะครับ เพราะเกษตรธาตุ 4 คือเกษตรที่ให้ความสุข กลับบ้าน มานอนก็ไม่ต้องคิดมาก ว่าราคาเท่าไหร่ ใช้หนี้เท่าไหร่ ค่าปุ๋ย ค่าแรงเท่าไหร่"

ป๊ะหรน หมัดหลี

เกษตรธาตุ 4 แนวทางสมดุลของปราชญ์เขาพระ

ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ องค์ความรู้ของมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์สังคมมาจากการสั่งสมรวบรวม สังเกต วิเคราะห์แล้วถ่ายทอด กว่าจะเป็นตำหรับตำราเป็นวิทยาการ อันน่าเชื่อถือ ลึกซึ้งและงดงามด้วยพลังแห่งภูมิปัญญาอันมีคุณค่าแก่มนุษย์นั้น ผ่านกาลเวลามานานนับศตวรรษ

มิว่าจะเป็นตำราอาหรับ ตำราจีน หรือว่าตำราไทย ล้วนเก็บเกี่ยวรวบรวมจากคำบอกเล่า จดจำและบันทึกไว้จากประสบการณ์ตรงทั้งสิ้น โดยเฉพาะปรัชญาการวิเคราะห์และปฏิบัติต่อชีวิตต่อสังคมอันสัมพันธ์กัน อย่างเป็นแนวทางไปสู่ความงดงาม สมดุลของชีวิตและสังคม

เมื่อทุกสรรพสิ่งมีสองด้านที่สัมพันธ์กันประหนึ่งหยิน-หยาง ที่ต่างเอื้อเฟื้อกัน มิว่าจะเป็น มนุษย ์สัตว์ พืช หรือองค์ประกอบในสากลโลกก็ล้วนเป็นเฉกเช่นนี้ทั้งนั้น จึงเป็นแนวทางไปสู่การดำเนินชีวิต การรักษายามป่วยไข้ การประกอบสัมมาชีพ การอยู่ร่วมกันของสังคม หรือแม้แต่การเกษตรก็ตาม ก็นำปรัชญา หยิน-หยาง ธาตุ 4 มาอธิบายว่า พืชนั้นมีทั้ง พืชรากกว้างย่อมสอดประสานกับพืชรากแก้วลึก ไม้พุ่มเตี้ยพึงรักไม้พุ่มสูง ไม้เล็กพึ่งพาอาศัยไม้ใหญ่ และไม้เนื้อร้อนชอบที่จะอิงอาศัยไม้เนื้อเย็น หรือไม้รำไรแดด ย่อมงามได้ใต้ร่มไม้กลางแจ้ง

"ป๊ะหรน หมัดหลี" นักวิทยาศาสตร์การเกษตร ผู้นำตำราสอนชีวิตมาเรียนรู้และหาความเข้าใจ ถึงแนวทางการปลูกพืช ที่ผสมผสาน บนจุดความสมดุล เพราะเมื่อพืชผลการเกษตรมีดุลยภาพต่อกัน ทุกสรรพสิ่งก็มีดุลยภาพ ชีวิตก็ดุลยภาพ การเกษตรในมุมมองป๊ะหรน มิใช่การเกษตรเพื่อการผลิตสู่ตลาด แต่เป็นการเกษตรเพื่อความงามความสงบสุขและเอื้ออาทรของชีวิต

ทีมงานไทยเอ็นจีโอ สื่อทางเลือกของประชาชน รับฟังเรื่องราวจากปราชญ์ชุมชน ป๊ะหรน หมัดหลี วัย 75 ปี แห่งบ้านบนควน ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ สงขลา ซึ่งบุกเบิกเกษตรธาตุ 4 มากกว่า 50 ปี พร้อมสวนสมุนไพร มรดกทางปัญญา ที่หาค่ามิได้ ซึ่งกำลังจะถูกอ่างเก็บน้ำยักษ์คลองลำแซง ท่วมทิ้งทั้งหมด เนื่องจากอยู่ในบริเวณสันเขื่อน !!... ป๊ะหรนได้อธิบายย้อนถึง จุดเริ่มต้นตั้งแต่แนวคิดการทดลองปลูก และพยายามเรียนรู้คำตอบ เรื่องเกษตรธาตุ 4 ด้วยตนเองว่า

"สวนนี้เราเรียกว่าสวนผสมผสาน มันเป็นแนวคิดแบบของดั้งของเดิม แต่ว่าเรานำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้ ซึ่งก่อนหน้านี้เราจะปลูกพืชชนิดเดียว อย่างเดียว ต่อมาเรา เราเริ่มมาคิดแล้วก็ปลูกร่วมกัน จึงกลายมาเป็นเกษตรธาตุ 4 ที่งอกงามอยู่ในหลุมเดียวกัน ที่นี่ใส่อะไรไปหลายอย่าง ในหลุมเดียว ข้อดีคือหนึ่งทำให้เราปลูกอะไรได้หลายสิ่งหลายอย่างมาก ซึ่งถ้าเราปลูกอย่างเดียวเราก็กินอย่างเดียว ข้อดีที่สองของมันคือ มันจะไม่หมด เวลาตายไปต้นหนึ่งก็เหลืออีกต้นหนึ่ง

ข้อดีข้อที่สาม คือมันสามารถช่วยเหลือเกื้อกูลกันได้ สมมุติว่าต้นหนึ่งมีธาตุหนึ่งเช่นธาตุร้อน อีกต้นมีธาตุเย็น ก็จะทำให้เกิดการสมดุลต่อกัน และทำให้ดินสมบูรณ์มากขึ้น มันทำให้ดินปรับตัวสามารถเข้ากันได้มากขึ้น เช่น ปลูก 3 อย่าง อย่างละต้น มี มังคุด ได้ผล 10 กก. ทุเรียน 10 กก. ลองกอง 10 กก. ซึ่งถ้าเราปลูกต้นเดียวโดดๆ หากได้ทุเรียน 10 กก. ก็จะได้แค่ 10 กก. หรือ ลองกอง 10 กก. เท่านั้น เราจะไม่ได้อย่างอื่น เลย แต่ถ้าเราปลูกรวมกัน อาจจะได้อย่างใดอย่างหนึ่งน้อยลงไปนิด แต่เราได้ถึง 3 อย่าง ซึ่งมาเปรียบเทียบรวมแล้วจะเยอะกว่า แต่ไม่ควรลงหลุมหนึ่งเกิน 3 ต้น จะดีมาก 4 ต้น ก็ได้ แต่ 3 ต้นจะดีกว่านะครับ

เรื่องการดูว่าต้นไหนเป็นธาตุไหนนั้น เราต้องเรียนเอา เพราะตรงนี้ผมเองก็ไปเรียนมาจากมาเลเซียบ้าง จากคนเฒ่าคนแก่บ้าง และเก็บสะสมประสบการณ์ตัวเองบ้าง ถึงจะเข้าใจธาตุของต้นไม้ ว่าต้นไหนเป็นธาตุเย็น ต้นไหนธาตุร้อน ซึ่งที่นี่เราก็จัดสอนให้อยู่บ้างนะครับ ส่วนการเรียนรู้อย่างแรกเลยเราต้องรู้จักรสของพืชซึ่ง ก็ทำได้ด้วยการชิมรสของพืชทุกๆ ตัว ชิมตั้งแต่ ราก ใบ ผล เปลือก ลำต้น ชิมให้หมด เลยครับ แล้วจากนั้น เราเราก็เอาต้นไม้รสเย็นมาเป็นตัวตั้ง หรือเป็นประธานปลูก จากนั้นก็เอาไม้ธาตุอื่น รสอื่นมาประกอบกันปลูก" ป๊ะหรนอธิบายอย่างแช่มช้า ก่อนจะสรุปให้ทีมงานฟังถึงปรัชญาชาวบ้านกับการปลูกพืชก่อนจะลงสวนว่า

"การเกษตรปัจจุบัน ถ้าเราปลูกต้นใดแบบเดี่ยวๆ หรือเชิงเดี่ยว ถ้ามันตายก็จะตายไปเลย การปลูกใหม่ ก็โตไม่ทัน ทำให้เกษตรกรยากลำบากมากขึ้น แต่ถ้าเราปลูกรวม ต้นหนึ่งตายยังเหลืออีกต้นหนึ่ง ซึ่งตอนนี้คนปลูกสวนทุเรียน แล้วเริ่มตายก็ทยอยตาย ตายจนไม่เหลือไว้อีกเลย และไม้อื่นๆ ก็ไม่มี ซึ่งถ้าเทียบแบบธาตุ 4 ไม้จะอายุยืนกว่า และแบบการปลูกพืชแบบนี้ เป็นแบบของคนจนนะครับ เพราะมันแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลย ไม่เหมือนปลูกแบบเชิงเดี่ยว ซึ่งลงทุนเยอะมาก แต่แบบของคนจนมันไม่ต้องซื้อปุ๋ยมากมายมาใส่ เช้าๆ ก็ออกไปทำงานเพียงวันละนิดวันละหน่อย ไม่ต้องจ้าง ไม่ต้องฉีดยา ปุ๋ยก็ใส่มูลขี้ไก่บ้างขี้วัวบ้างพอแล้ว

การใช้ชีวิตทำสวนอย่างนี้มันสบายแตกต่างกัน ไม่ต้องคิดมาก ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสินใคร แต่เราต้องทำทุกวัน วันละเล็กละน้อย ไม่ได้เร่งร้อนอะไรมาก ทำให้เป็นประจำ เช้าๆ ออกไปตัดแต่งกิ่งสักต้น สองต้น ซึ่งผมคิดว่าเป็นการออกกำลังกายมากกว่านะครับ

สรุปง่ายๆ เกษตรธาตุ 4 นั้นทำสบายๆ ทำแบบเดินหน้า ไม่ใช่ทำแบบถอยหลัง ซึ่งก็คือ ฝนตกก็ทำ แดดออกก็ทำ ทำทุกวัน แต่ไม่จำเป็นต้องทำมากมายอะไร ทำพอดีๆ เน้นความสุข เน้นการพึ่งตนเอง พอเพียงอยู่กับธรรมชาติ อีกอย่างเกษตรธาตุ 4 ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวว่าต้องเป็นรูปแบบใด เพราะรูปแบบที่ดีที่สุด คือเราต้องไปคิดค้นประยุกต์หาลักษณะที่ดีที่สุดของพืชเอาเอง ว่าแบบใดเหมาะสมกับเรา กับพืช กับดินและกับธรรมชาติครับ" ป๊ะหรนสาธยาย

รายละเอียด ไปที่ :
 
http://www.thaingo.org/story3/news_farmersouth_210446.htm

 _______________________________________________________________________________

ภูมิปัญญาด้านการทำเกษตรธาตุ 4  

นิยามเกษตรธาตุ 4 คือ คน พืช สัตว์ มีธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มากน้อยต่างกัน การทำเกษตรธาตุ 4 
จะต้องมีความรู้เรื่องธาตุและสามารถแยกแยะความเหมาะสมของพืชที่จะนำมาปลูกในหลุมเดียวกันและดำเนินชีวิตตามหลักศาสนา 

ปรัชญาเกษตรธาตุ 4 เราต้องทำด้วยตนเอง ทำให้ปริมาณที่น้อยๆ ทำเพื่อพอกินและมีความสุข เราต้องทำไปข้างหน้า 
อย่าทำถอยหลังและก็ไม่ต้องลงทุนมากไม่ต้องรีบร้อน ทำแล้วมีความสุข ไม่ต้องคิดไปถึงค่าอาหาร ค่าปุ๋ย ค่าแรง หรือแม้แต่ค่าหนี้ มีเงินเราก็กิน ไม่มีเงินเราก็กิน 

ความรู้เรื่องธาตุ และธาตุของต้นไม้แต่ละชนิด 
ธาตุน้ำ รส จืด เช่น มังคุด กล้วย จำปาดะ อ้อย มะม่วง ชมพู่ 

ธาตุดิน รส ฝาด ขม เช่น ละมุด สะตอ เหรียง ใบยาสูบ 

ธาตุลม รส หื่น เฝื่อน เช่น ลองกอง ลางสาด ผักเสี้ยนผี 
ธาตุไฟ รส เผ็ด ร้อน เช่น ทุเรียน พริก ส้ม ฝนแสนห่า ไฟเดือนห้า พาหมี  

เทคนิคการเกษตรธาตุ 4  

การขยายพันธุ์พืช 
ปลูกด้วยเมล็ดเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เนื่องจากเราจะได้ต้นที่สมบูรณ์ อข็งแรงทนต่อโรคทนต่อสภาพภูมิอากาศ ระบบรากก็สมบูรณ์ และที่สำคัญก็คือประหยัดเงิน ซึ่งบางครั้งเราอาจจะได้ต้นพันธ์ที่ดีกว่า ต้นแม่ในการที่จะเอาเมล็ดมาปลูกควรเอามาปลูกให้หลายเม็ด หรือหลากหลาย ถ้าหากเราปลูกเพียงไม่กี่เมล็ดบางครั้งอาจตายไป 
 

การปลูกพืชโดยคำนึงถึงระบบรากพืช 
มีการดัดแปลงพื้นที่การปลูก และกระบวนการปลูก โดยคำนึงถึงระบบรากเป็นหลัก เช่น มังคุด จะเป็นพืชที่มีระบบราก การหาอาหารจะอยู่ลึกต่างกับพืชชนิดอื่น จึงได้นำไปปลูกร่วมกับทุเรียน ซึ่งมีระบบรากที่ตื้นแต่การหาอาหารของทุเรียนจะชอบหาอาหารบริเวณไกลจากต้นคือ บริเวณปลายเงาของทรงพุ่มของพืช ซึ่งหากทดลองขุดดูจะเห็นได้อย่างชัดเจน สำหรับต้นลองกอง ลางสาด นั้นจะชอบกินอาหารบริเวณใกล้ๆกับลำต้น ซึ่งไม้ผลเหล่านี้มีระบบรากฝอยอยู่มากดังนั้นเราไม่ต้องกังวลเลยว่าหากปลูกร่วมกันแล้วต้นไม้มันจะแย่งอาหารกัน 

วิถีชีวิตในเกษตรธาตุ 4  
การเกษตรในปัจจุบัน ถ้าเราปลุกต้นใดแบบเดี่ยวๆหรือเชิงเดี่ยว ถ้ามันตายก็จะตายไปเลย การปลูกใหม่ก็โตไม่ทัน แต่ถ้าเราปลูกแบบรวมหรือหลุมเดียว 3-4 ต้น ต้นหนึ่งตายยังเหลืออีก 2 ต้น ซึ่งหากเรานำสวนเหล่านั้นมาเทียบกับสวนเกษตรธาตุ4 ไม้จะอายุยืนกว่าและได้ผลผลิตที่คุ้มค่่ากว่าและลงทุนน้อยกว่า แทบจะกล่าวได้ว่า ไม่ต้องออกเงินเลยไม่เหมือนกับการปลูกพืชแบบเชิงเดี่ยวซึ่งจะต้องใช้ทุนเยอะมาก เกษตรธาตุ 4 นั้น สำคัญเราต้องทำทุกวัน วันละนิด แบบพอดี เน้นความสุข เน้นการพึ่งพาตนเอง แบบพอเพียง และที่สำคัญในการปลูกพืช เราจะต้องดูลักษณะของพื้นที่เป็นหลักว่าควรจะเพิ่มเติมหรือลดอะไร                

การปลูกพืชโดยคำนึงถึงระบบธาตุ 4  
มีความเชื่อว่าไม้ทุกชนิดมีธาตุ ทั้ง 4 อยู่ในตัว แต่จะมีธาตุใดธาตุหนึ่งในแต่ละต้นมากน้อยแตกต่างกัน เช่น ต้นมังคุด มีธาตุดินกับธาตุน้ำมาก ธาตุไฟและธาตุลมน้อย ยางพารา มีธาตุไฟมาก ต้นกล้วยมีธาตุน้ำมาก เป็นต้น จากการทดลองเอาไม้ผลชนิดต่างๆมาทดลองปลูกรวมกันในสวนพบว่า ต้นไม้ที่มีธาตุเหมือนกัน ไม่ควรปลูกร่วมกันแต่ถ้าจะปลูกร่วมกันต้องเอาไม้ผลอย่างอื่นมาร่วมด้วย หรือไม้ผลที่มีธาตุต่างกันมาร่วมกันได้ เช่น ถ้ามีธาตุไฟมาก ก็นำพืชที่มีธาตุนำ้มาปลูกใกล้กันเพื่อได้พึ่งพาต่อกัน ทำให้ออกดอกออกผลเต็มเม็ดเต็มหน่วย 

 
รูปแบบการทำเกษตรคนจน 
หลักการทำสวนเพื่อการเลี้ยงชีพด้วยการปลูกพืชหลายชนิด การปลูกพืชก็ควรจะมีความเรื่องการให้ผลผลิตของพืชแต่ละชนิด เพราะว่าการทำเกษตรแบบนี้ ต้องให้ได้รับผลในช่วงระยะเวลาภายใน 3 เดือน ต้องการใช้ประโยชน์จากพืชชนิดใด ก็ปลูกลงไปแล้วค่อยรับผลในช่วงระยะเวลาภายใน 3 เดือน ต้องการใช้ประโยชน์จากพืชชนิดใด ก็ปลูกลงไปแล้วค่อยเพิ่มชนิดของพืชที่ปลุกเพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลายาว ตัวอย่าง มีที่ดินเพียง 2 ไร่ ในที่ดินฝืนนี้เราอยากจะปลูก ทุเรียน ลองกอง มังคุด สะตอ เราก็ไปซื้อกิ่งพันธุ์มาปลูก โดยเราต้องเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีกิ่งมากๆ แต่ถ้าเราสังเกตให้ดีกว่าในการซื้อกิ่งพันธุ์คนจะไม่ชอบซื้อ เนื่องจากมันยุ่งยากและดูเกะกะในการขนส่ง เมื่อเอาไปปลูกมันจะแย่งอาหารหลังจากที่ได้กิ่งพันธ์มาแล้ว เมื่อเรานำไปปลูกเราก็เตรียมกิ่งพันธ์ไว้ หลังจากนั้นก็นำต้นที่ใส่ถุงไว้นำเอาไปทายกิ่งพันธุ์ที่เราซื้อมา เราไม่ต้องทาบมากเอาเพียงว่าต้นละ 2 กิ่งก็พอ ทาบให้หมดทุกต้น พอได้ประมาณ 3 เดือน ก็ตัดกิ่งเหล่านั้นออก แล้วนำกิ่งนั้นไปขาย เอากำไรเพียงต้นละ 10 บาท ก็พอ เอาเงินที่ขายกิ่งพันธ์ไปซื้อผลไม้ที่ขายอยู่ในตลาด รับรองได้ว่ากินอย่่างแน่นอน 

รายละเอียด ไปที่ :

 

http://singburi.doae.go.th/thachang/data/kaked%20tad4.html

 ____________________________________________________________________________________

 ปัญหาและวิกฤติที่ีทำให้การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง

สาเหตุหนึ่งมาจากการที่คนไทยถูกครอบงำจากอิทธิพลด้านวิทยาการตะวันตก จนส่งผลกระทบความระส่ำของมิติทางด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาดั้งเดิม ทำให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ในสังคมไทยเรื่อยมา

แต่เมื่อใช้ภูมิปัญญาตะวันตกเข้ามาแก้ บางครั้งก็ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้น เป็นการพึ่งตนเองในการแก้ปัญหาไม่ได้ ปัญหาทางการเกษตรในการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ที่สะสมมานาน จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา

การแก้ปัญหาโดยใช้ภูมิปัญญาไทย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ปัจจุบัน เกษตรกรให้ความสนใจ และเป็นที่ยอมรับ

ภูมิปัญญาไทยจึงเป็นองค์ความรู้ความสามารถ และทักษะของคนไทย อันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทย ให้สมดุลย์กับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน

"ป๊ะหรน หมัดหลี" "ป๊ะหรน หมัดหลี" ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ด้านเกษตรกรรม อายุ 79 ปี ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 13 บ้านบนควน หมู่ที่ 6 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ที่มีความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตร

โดยการพัฒนาบนพื้นฐานของคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เป็นเจ้าของแนวคิดเกษตรกรรมธรรมชาติยั่งยืน ที่เรียกว่า "เกษตรธาตุ 4"
"เกษตรธาตุ 4"

หลายคนคงจะแปลกใจ หากมีการกล่าวว่า ต้นไม้ก็มีธาตุ 4 คือธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม และธาตุไฟ เช่นเดียวกับมนุษย์เรา แต่ท่านอาจจะหายข้องใจ หากได้ศึกษาถึงวิธีการทำสวนเกษตรธาตุ 4 ของป๊ะหรน หมัดหลี

ในพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ป๊ะหรนทำการเกษตรธาตุ 4 ที่มีความสมดุลย์และเกื้อกุูลกัน เกิดการพึ่งพาอาศัยกันของต้นไม้ต่างชนิดกัน ปลูกในหลุมเดียวกัน เช่น ทุเรียน สะตอ ลองกอง

ป๊ะหรนให้เหตุผลว่า ต้นไม้แต่ละชนิดจะมีธาตุที่ต่างกัน ย่อมไม่แย่งอาหารซึ่งกันและกัน บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า พืชทุกชนิดประกอบด้วยธาตุ 4

พืชทุกชนิดประกอบขึ้นด้วยธาตุ 4 แต่พืชแต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบธาตุทั้ง 4 ไม่เท่าเทียมกัน พืชที่มีธาตุมากอย่างเดียวกัน ปลูกร่วมกันจะแย่งแข่งขันกัน

แต่ถ้ามีธาตุตรงกันข้าม ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี เพราะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น พืชที่มีธาตุน้ำมากจะต้องปลูกร่วมกับพืชที่มีธาตุไฟมาก เพื่อให้เกิดดุลย์ภาพ และทำให้พืชแต่ละชนิดออกดอกออกผลเต็มที่

ป๊ะหรน ให้เหตุผลอธิบายถึงเกษตรธาตุ 4 ว่า การรวมเอาต้นไม้ต่างชนิดกัน 3-4 ชนิดปลูกรวมกัน แต่ต้นไม้นั้นๆ ต้องมีธาตุน้ำ ดิน ลม ไฟ อยู่ในหลุมนั้นๆ ที่สำหรับต้องเอาธาตุดินเป็นหลัก ตามด้วยธาตุลม เมื่อปลูกรวมกันแล้วเราต้องรู้ได้ว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นมันจะให้คุณค่ากับพืชที่เราร่วมปลูกกัน ซึ่งเราสามารถรู้ได้ทันที

ป๊ะหรน เริ่มต้นการทำสวนผลไม้บนพื้นที่ 10 ไร่ ในขณะที่ต้องรับผิดชอบดูแลลูกๆถึง 11 คน จึงต้องคิดหาวิธี เพื่อให้มีรายได้มาเลี้ยงลูกเลี้ยงครอบครัวอย่าพอเพียง

การปลูกพืชชนิดเดียวกันให้เต็มพื้นที่ ในปีหนึ่งๆ ก็จะเก็บผลไม้ได้เพียงครั้งเดียวเฉพาะฤดูกาลเท่านั้น ป๊ะหรนจึงหาวิธีปลูกไม้ผลที่ให้ผลไม้ต่างกัน เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลได้ตลอดทั้งปี ทำให้มีรายได้ไม่ขาดตอน

ในระหว่างที่สวนยางยังไม่ให้น้ำยาง ป๊ะหรนกล่าวว่า ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยการปลูกพืชที่ให้ผลในช่วงระยะสั้น เช่น กล้วย สับปะรด พริก ฯลฯ จากความคิดดังกล่าว จึงทำให้ป๊ะหรนตัดสินใจปลูกไม้ผลหลายชนิดในพื้นที่เกษตร แทนการปลูกไม้ผลอย่างเดียว

"ที่เน้นปลูกในหลุมเดียวกัน เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยประสบการณ์ เพราะการปลูกไม้ผลแบบสวนสมรมนั้น จะต้องคำนึงถึงทรงพุ่มและระยะห่างของไม้ผลที่ปลูกด้วย รวมทั้งการผลิดอกออกผลของไม้ผลแต่ละชนิดเป็นหลัก ไม้ผลออกผลตามลำต้นหรือกิ่ง เช่น ทุเรียน จำปาดะ ลองกอง สามารถปลูกใกล้กันได้" ป๊ะหรนกล่าวและว่า

"ไม้ผลที่ออกผลปลายกิ่ง เช่น มังคุด สะตอ จะต้องจัดวางระยะไม่ให้กิ่งติดหรือซ้อนกันมาก การปลูกจึงต้องคำนึงถึงการมีเรือนยอดที่สูงต่ำแตกต่างกัน และเป็นพืชที่มีธาตุหลักและธาตุมากต่างกัน เพื่อให้ผลไม้ทุกชนิดเติบโตและออกดอกออกผล ในลักษณะที่สมดุลย์กัน และอยู่ร่วมกันแบบสังคมพืชที่เอื้ออาทรต่อกัน"

ป๊ะหรน ใช้ชีวิตเกษตรกรมาอย่างยาวนาน ได้รับรางวัลมากมาย ผู้คนจากต่างประเทศมาศึกษา วิจัย รวมทั้งนักวิชาการเกษตรและผู้ที่สนใจ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ "ครูภูมิปัญญาไทย" "ครูภูมิปัญญาไทย"รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 9  กรกฏาคม 2545

"ป๊ะภูมิใจมาก เมื่อก่อนเพื่อนๆ ต่อว่าป๊ะว่าทำสวนแบบนี้ไม่เข้าท่าไม่เข้าเรื่อง แต่พอสวนของป๊ะได้รับผลดี ผลไม้ทุกอย่างออกผลผลิต จนเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐ จนป๊ะได้รับรางวัลมากมาย ป๊ะจึงอยากจะฝากถึงพี่น้องเกษตรกรที่ทำสวนแบบเชิงเดี่ยวว่า จะไม่ได้กินทุกอย่าง แต่หากว่าปลูกแบบของป๊ะ มันจะกินได้ทุกอย่าง ถ้าผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาในสวนของป๊ะ ทุกคนจะได้กินผลไม้ทุกชนิดในที่เดียวกัน" ป๊ะหรน กล่าวสรุป

ครับ... การทำสวนสมรมเช่น "เกษตรธาตุ 4" หนึ่งเดียวในภาคใต้ของป๊ะหรน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นเกษตรธรรมชาติ ที่เบียดเบียนตนเองและธรรมชาติน้อยมาก ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ส่งผลดีต่อสุขภาพ ต่อผู้บริโภคอย่างยั่งนืน

สวนเกษตรธรรมชาติ "เกษตรธาตุ 4" "เกษตรธาตุ4" ของป๊ะหรน หมัดหลี แสดงให้เห็นว่า

ความจริงใดก็ตาม ที่ตั้งมั่นอยู่บนความดีที่แท้จริงและบริสุทธิ์ใจ ก็จะเป็นความจริง ความดี และความงามที่ยั่งยืน..ตลอดไป

เกษม ลิมะพันธุ์/สัมภาษณ์/รายงาน
สำนักข่าวเกาะแต้ว/074 467467/09 4676060

http://www.chanalibrary.go.th/news/view.php?No=19

_________________________________________________________________________

รูปจาก  www.chaonasiam.com


 

ความเห็น

ก็ทำเป็นแล้วนะทีนี้  หารูปมาลงค่ะ  จะมีคนเข้ามาให้กำลังใจ  เข้ามาตอบ  เยอะอยู่ค่ะ   อย่าลืม  ตอบคุยกับสมาชิกบ้างนะคะ 

ถ่ายทอด  เรื่องการปลูก  คนที่ประสบความสำเร็จ   มักจะมาจากผู้ที่ไม่มากเรื่อง   ทำๆไปก่อน  แล้วสิ่งที่เราทำก็จะบอกเราเอง 

ย้ายข้อความทั้งหมดไปไว้ใน ข้อความแรก ไม่ทราบว่าเรียกว่าอะไร..  ช่วยลบกระทู้นี้ด้วยคนับ

ย้ายไปด้านบนครับ ช่วยลบกระทู้นี้ และ Reply Number ที่ 2ด้วยครับ

 

ปัญหาและวิกฤติที่ีทำให้การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ไม่สามารถพัฒนาไปได้อย่างต่อเนื่อง

สาเหตุหนึ่งมาจากการที่คนไทยถูกครอบงำจากอิทธิพลด้านวิทยาการตะวันตก จนส่งผลกระทบความระส่ำของมิติทางด้านวัฒนธรรมและภูมิปัญญาดั้งเดิม ทำให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ในสังคมไทยเรื่อยมา

แต่เมื่อใช้ภูมิปัญญาตะวันตกเข้ามาแก้ บางครั้งก็ยิ่งก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มขึ้น เป็นการพึ่งตนเองในการแก้ปัญหาไม่ได้ ปัญหาทางการเกษตรในการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ที่สะสมมานาน จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา

การแก้ปัญหาโดยใช้ภูมิปัญญาไทย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ปัจจุบัน เกษตรกรให้ความสนใจ และเป็นที่ยอมรับ

ภูมิปัญญาไทยจึงเป็นองค์ความรู้ความสามารถ และทักษะของคนไทย อันเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา และถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมา เพื่อใช้แก้ปัญหาและพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทย ให้สมดุลย์กับสภาพแวดล้อมและเหมาะสมกับยุคปัจจุบัน

"ป๊ะหรน หมัดหลี" "ป๊ะหรน หมัดหลี" ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ด้านเกษตรกรรม อายุ 79 ปี ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 13 บ้านบนควน หมู่ที่ 6 ต.เขาพระ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ที่มีความสามารถในการผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะ และเทคนิคด้านการเกษตร

โดยการพัฒนาบนพื้นฐานของคุณค่าดั้งเดิม ซึ่งสามารถพึ่งพาตนเองในสภาวการณ์ต่างๆ ได้ เป็นเจ้าของแนวคิดเกษตรกรรมธรรมชาติยั่งยืน ที่เรียกว่า "เกษตรธาตุ 4"
"เกษตรธาตุ 4"

หลายคนคงจะแปลกใจ หากมีการกล่าวว่า ต้นไม้ก็มีธาตุ 4 คือธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม และธาตุไฟ เช่นเดียวกับมนุษย์เรา แต่ท่านอาจจะหายข้องใจ หากได้ศึกษาถึงวิธีการทำสวนเกษตรธาตุ 4 ของป๊ะหรน หมัดหลี

ในพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ป๊ะหรนทำการเกษตรธาตุ 4 ที่มีความสมดุลย์และเกื้อกุูลกัน เกิดการพึ่งพาอาศัยกันของต้นไม้ต่างชนิดกัน ปลูกในหลุมเดียวกัน เช่น ทุเรียน สะตอ ลองกอง

ป๊ะหรนให้เหตุผลว่า ต้นไม้แต่ละชนิดจะมีธาตุที่ต่างกัน ย่อมไม่แย่งอาหารซึ่งกันและกัน บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า พืชทุกชนิดประกอบด้วยธาตุ 4

พืชทุกชนิดประกอบขึ้นด้วยธาตุ 4 แต่พืชแต่ละชนิดจะมีองค์ประกอบธาตุทั้ง 4 ไม่เท่าเทียมกัน พืชที่มีธาตุมากอย่างเดียวกัน ปลูกร่วมกันจะแย่งแข่งขันกัน

แต่ถ้ามีธาตุตรงกันข้าม ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี เพราะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น พืชที่มีธาตุน้ำมากจะต้องปลูกร่วมกับพืชที่มีธาตุไฟมาก เพื่อให้เกิดดุลย์ภาพ และทำให้พืชแต่ละชนิดออกดอกออกผลเต็มที่

ป๊ะหรน ให้เหตุผลอธิบายถึงเกษตรธาตุ 4 ว่า การรวมเอาต้นไม้ต่างชนิดกัน 3-4 ชนิดปลูกรวมกัน แต่ต้นไม้นั้นๆ ต้องมีธาตุน้ำ ดิน ลม ไฟ อยู่ในหลุมนั้นๆ ที่สำหรับต้องเอาธาตุดินเป็นหลัก ตามด้วยธาตุลม เมื่อปลูกรวมกันแล้วเราต้องรู้ได้ว่า ดิน น้ำ ลม ไฟ นั้นมันจะให้คุณค่ากับพืชที่เราร่วมปลูกกัน ซึ่งเราสามารถรู้ได้ทันที

ป๊ะหรน เริ่มต้นการทำสวนผลไม้บนพื้นที่ 10 ไร่ ในขณะที่ต้องรับผิดชอบดูแลลูกๆถึง 11 คน จึงต้องคิดหาวิธี เพื่อให้มีรายได้มาเลี้ยงลูกเลี้ยงครอบครัวอย่าพอเพียง

การปลูกพืชชนิดเดียวกันให้เต็มพื้นที่ ในปีหนึ่งๆ ก็จะเก็บผลไม้ได้เพียงครั้งเดียวเฉพาะฤดูกาลเท่านั้น ป๊ะหรนจึงหาวิธีปลูกไม้ผลที่ให้ผลไม้ต่างกัน เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวผลได้ตลอดทั้งปี ทำให้มีรายได้ไม่ขาดตอน

ในระหว่างที่สวนยางยังไม่ให้น้ำยาง ป๊ะหรนกล่าวว่า ได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยการปลูกพืชที่ให้ผลในช่วงระยะสั้น เช่น กล้วย สับปะรด พริก ฯลฯ จากความคิดดังกล่าว จึงทำให้ป๊ะหรนตัดสินใจปลูกไม้ผลหลายชนิดในพื้นที่เกษตร แทนการปลูกไม้ผลอย่างเดียว

"ที่เน้นปลูกในหลุมเดียวกัน เป็นสิ่งที่ต้องอาศัยประสบการณ์ เพราะการปลูกไม้ผลแบบสวนสมรมนั้น จะต้องคำนึงถึงทรงพุ่มและระยะห่างของไม้ผลที่ปลูกด้วย รวมทั้งการผลิดอกออกผลของไม้ผลแต่ละชนิดเป็นหลัก ไม้ผลออกผลตามลำต้นหรือกิ่ง เช่น ทุเรียน จำปาดะ ลองกอง สามารถปลูกใกล้กันได้" ป๊ะหรนกล่าวและว่า

"ไม้ผลที่ออกผลปลายกิ่ง เช่น มังคุด สะตอ จะต้องจัดวางระยะไม่ให้กิ่งติดหรือซ้อนกันมาก การปลูกจึงต้องคำนึงถึงการมีเรือนยอดที่สูงต่ำแตกต่างกัน และเป็นพืชที่มีธาตุหลักและธาตุมากต่างกัน เพื่อให้ผลไม้ทุกชนิดเติบโตและออกดอกออกผล ในลักษณะที่สมดุลย์กัน และอยู่ร่วมกันแบบสังคมพืชที่เอื้ออาทรต่อกัน"

ป๊ะหรน ใช้ชีวิตเกษตรกรมาอย่างยาวนาน ได้รับรางวัลมากมาย ผู้คนจากต่างประเทศมาศึกษา วิจัย รวมทั้งนักวิชาการเกษตรและผู้ที่สนใจ

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ "ครูภูมิปัญญาไทย" "ครูภูมิปัญญาไทย"รุ่นที่ 2 เมื่อวันที่ 9  กรกฏาคม 2545

"ป๊ะภูมิใจมาก เมื่อก่อนเพื่อนๆ ต่อว่าป๊ะว่าทำสวนแบบนี้ไม่เข้าท่าไม่เข้าเรื่อง แต่พอสวนของป๊ะได้รับผลดี ผลไม้ทุกอย่างออกผลผลิต จนเป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและหน่วยงานภาครัฐ จนป๊ะได้รับรางวัลมากมาย ป๊ะจึงอยากจะฝากถึงพี่น้องเกษตรกรที่ทำสวนแบบเชิงเดี่ยวว่า จะไม่ได้กินทุกอย่าง แต่หากว่าปลูกแบบของป๊ะ มันจะกินได้ทุกอย่าง ถ้าผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาในสวนของป๊ะ ทุกคนจะได้กินผลไม้ทุกชนิดในที่เดียวกัน" ป๊ะหรน กล่าวสรุป

ครับ... การทำสวนสมรมเช่น "เกษตรธาตุ 4" หนึ่งเดียวในภาคใต้ของป๊ะหรน เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นเกษตรธรรมชาติ ที่เบียดเบียนตนเองและธรรมชาติน้อยมาก ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมี ส่งผลดีต่อสุขภาพ ต่อผู้บริโภคอย่างยั่งนืน

สวนเกษตรธรรมชาติ "เกษตรธาตุ 4" "เกษตรธาตุ4" ของป๊ะหรน หมัดหลี แสดงให้เห็นว่า

ความจริงใดก็ตาม ที่ตั้งมั่นอยู่บนความดีที่แท้จริงและบริสุทธิ์ใจ ก็จะเป็นความจริง ความดี และความงามที่ยั่งยืน..ตลอดไป

เกษม ลิมะพันธุ์/สัมภาษณ์/รายงาน
สำนักข่าวเกาะแต้ว/074 467467/09 4676060

http://www.chanalibrary.go.th/news/view.php?No=19

เนื้อหาน่าสนใจค่ะ แต่ในการนำเสนอ น่าจะเอามาลงอยู่ในบล๊อกนะคะ อาจจะแบ่งเป็นตอน ๆ ก็ได้ หากเนื้อหายาวเกินไป ก็ค่อยเขียนต่อในบล๊อกต่อไป

ส่วนด้านล่างของบล๊อกก็จะเป็นส่วนของการแสดงความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกและพูดคุยแลกเปลี่ยนโต้ตอบกัน

พอเอาเนื้อหามาเพิ่มในส่วนเนื่อที่แสดงความคิดเห็น พื้นที่จะน้อย แล้วการจะติดตามอ่านทีหลังก็จะหายาก เนื่องจากความเห็นก็จะถอยร่นไปเรื่อย ๆ

หาจะให้เนื้อหาต่าง ๆ อยู่ในบล๊อกเดียวกัน ก็สามารถทำได้ทีหลังเหมือนกันคือ หากมีข้อความหรือรูปภาพมาเพิ่มเติมก็สามารถเลือกบล๊อกนั้น แล้วเลือก edit  เพื่อทำการเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อมูลค่ะ

ลองดูนะคะ

ป้าแจ้ครับ ผมไม่ค่อยจะรอบรู้เท่าไร จึงพยายามทำให้ดีที่สุด ตรงไหนที่ช่วยผมได้ กรุณาเถอะครับ ช่วยผมแก้ไขหน่อย ผมอยากจะทำให้สมบูรณ์แต่ความสามารถผมไม่เพียงพอ ถ้าย้ายหรือปรับให้สมบูรณ์ก็กรุณาด้วย คิดว่าน่าจะมีข้อมูลอีกเยอะที่เราสามารถ รวบรวมให้อยู่ในที่เดียวกันทั้งหมด ซึ่งก็น่าจะเป็นประโยชน์กับมวลสมาชิก ผมนั่งแก้ไขกลับไปกลับมา ตั้งแต่เช้าแล้วครับ แต่ก็ยังไม่ถูกใจอยู่

ยินดีมากๆเลย ที่มีคำแน่ะนำ นั่นก็หมายความว่ามีคนที่สนใจเข้ามาอ่าน ซึ่งไม่เสียเวลาไปเปล่าประโยชน์ จะพยายามอ่านทำความเข้าใจข้อซี้แน่ะของป้าครับ

ในการเขียนบล๊อก ความยาวน่าจะพอประมาณค่ะ อย่าให้ยาวเกินไป นำเสนอเป็นตอน ๆ ไป ถ้าเนื้อหาในเรื่องนั้นยังไม่หมด คราวต่อไปก็เปิดบล๊อกขึ้นมาใหม่อีกค่ะ เพื่อสมาชิกจะได้ศึกษาและทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ไม่มีอะไรเกินความสามารถนะคะ ลองสังเกตบล๊อกอื่น ๆ เช่นบล๊อกของป้าเล็ก..อุบล จะมาเป็นตอน ๆ  น่าติดตามดีออกค่ะ

เยี่ยมมากเลยครับกลับข้อมูลดีๆๆของพี่บางปูได้ข้อคืดเยอะมากเลย

เงินทองเป็นมายาข้าวปลาเป็นของจริง

toy_za2519@hotmail.com

แต่เยอะไปนิดค่ะ ไม่เป้นไรนะ คราวหน้าทำใหม่ให้ดูดีกว่านี้ เอาใจช่วยนะคะ

ฝากเพลงนี้ให้ป้าแจ้ว กับ ป้าเล็ก ค่ะ

 

เหนื่อยหน่อยนะ อยู่กับฉัน เมื่อสิ่งที่ฝันนั้นมันไม่ง่ายเลย
แหละวันนี้ฉันรู้ ต้องเหนื่อยหนักกว่าที่เคย แต่เธอก็ยังยิ้มได้

 

เหนื่อยที่ต้องดูแลลูกบ้านแทนผูใหญ่บ้านไงเหนื่อยมั้ย???LaughingLaughingLaughing

พอเพียง และ เพียงพอ บ้านไร่จันทร์เจ้า 

ข้อมูลเยอะมากคะ ยาวววววววววววววว สุด

#แตกต่าง.แต่.ไม่แตกแยก#

หน้า