เดินทางขึ้นเขาเจ็ดยอด ยิ่งสูงยิ่งสวย

หมวดหมู่ของบล็อก: 

    เช้าวันที่ 7 หลังจากรับประทานอาหารเช้าเสร็จแล้วก็ต้องเดินต่อครับ จุดหมายปลายทางของวันนี้คือเดินถึงจุดพักแรมบนเขาเจ็ดยอดครับ สำหรับวันนี้ความลำบากในการเดินก็ยังมี เส้นทางเดินอาจไม่ลำบากมากนักเพราะจะเพลิดเพลินกับธรรมชาติที่สวยงามขึ้น แต่ไม่ว่าจะสูงแค่ไหนทากก็ยังคงมีอยู่ตลอดเส้นทาง จะเพลิดเพลินกับธรรมชาติที่สวยงามได้แต่อย่าลืมทาก บล็อกนี้มาชื่นชมธรรมชาติก่อนถึงเขาเจ็ดยอดกันนะครับ

ที่พักเหนื่อย ณ หาดต้นสน ต้นไม้เริ่มใส่เสื้อแล้ว

ต้นอะไรคล้ายผักกูด

ยิ่งสูงน้ำตกปริมาณน้ำยิ่งน้อยลง

   ธรรมชาติที่สวยงามเหล่านี้ทำให้หายเหนื่อยครับ ใจหนึ่งอยากหยุดพักนานๆ แต่ใจหนึ่งก็อยากถึงเขาเจ็ดยอดเร็วๆ

ความเห็น

ยิ่งสูงยิ่งเย็นนะผู้ใหญ่ 2 คืน ไม่อาบน้ำ กันหลายคน ขนาดก้อนหิน ยังใส่เสื้อเลยเห็นไหม

กินอยู่แบบพอเพียง

ธรรมชาติสมบูรณ์มาก

แบ่งปัน สร้างสรรค์ พอเพียง

 

กลัวไปไม่รอด สงสัยนั่งรอขาหลบ กลับพร้อมเพื่อนแม่น:sweating:

 

 

msn:lekonshore@hotmail.com

ชีวิตคนเรานั้นสั้นนัก จงมีความสุข สนุกกับชีวิต อย่ามัวคิดอิจฉาใคร

สวยจริงๆค่ะ นับถือๆเดินทางกันเก่งมากๆค่ะ

น้องโสธรค่ะ ...ยิ่งสูงก็ยิ่งสวยจริงๆ...ยืนยันเช่นนั้นตามประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้เมื่อครั้งที่ปีนขึ้นไปยังเขาเจ็ดยอด ชื่นชมความสวยงาม ความสมบูรณ์ของผืนป่าเต็มที่ (ปล่อยเรื่องทากเอาไว้เป็นเรื่องของทากเลย  มาเปิดดูทีเดียวก็พบ 13 ร่องรอย ฝากไว้เป็นที่ระลึก..จวบจนทุกวันนี้) เป็นป่าที่มีเฟิร์นต้น หรือเรียกว่า มหาสดัมภ์ (tree fern) ที่สมบูรณ์มาก หากเปรียบเทียบกับป่าที่ได้พบพืชชนิดนี้ในเมืองไทยที่ได้เห็นแล้วกับตาตัวเอง ได้แก่ ป่าฮาลา-บาลา ป่าเขาหลวง-กรุงชิง และยอดพะเนินทุ่ง แก่งกระจาน ส่วนใหญ่เป็นผืนป่าดิบชื้น ทั้งหมดที่เจอก็ที่ระดับสูงกว่าน้ำทะเลประมาณพันเศษๆค่ะ เฟิร์นต้นจัดเป็นพืชโบราณ (ตามวิวัฒนาการ, evolution) ที่มีมาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์นะค่ะ และยังคงมีให้เห็นจวบจนปัจจุบัน เค้าดำรงเผ่าพันธุ์ได้ดีมาก (เคยเจอในป่าที่ออสเตรเลียเช่นกัน ก็ไม่งามเท่าในเขตร้อนชื้นเช่นที่ปักษ์ใต้) ขณะที่ไดโนเสาร์เพื่อนร่วมยุคได้ล้มตายไป พบเห็นได้แต่เพียงซากฟอสซิล  พืชอีกชนิดหนึ่งคือ บัวแฉกค่ะ นี่ก็เป็นพืชโบารณ เป็นเอกลักษณ์ที่พบได้ที่พื้นที่สูงเช่นนี้ ลักษณะเป็นพืชพื้นล่าง ต้นไม่สูง ใบป็นแฉก รูปสวยพบได้ที่เขาหลวง -เขานัน กรุงชิงเช่นกัน แต่ที่ประหลาดใจมาพบต้นจูดขึ้นบนเขา เรียกได้ว่า ลูกหลานลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา น่าภูมิใจที่ต้นน้ำของเรา แนวเขาบรรทัดมีต้นจูดขึ้นได้ด้วยและในเลสาบก็มีต้นจูด . หลังจากกลับมาจากปีนเขา ก็หาตำราอ่านให้หายสงสัย อ้อ เค้าบอกลักษณะของพืชเหล่านี้ที่ขึ้นได้ เพราะสภาพพื้นที่เป็นป่าพรุเขาค่ะ ที่มีเศษทรากอินทรีย์วัตถุ ก็จูดเป็นพืชที่ขึ้นได้ในพรุจริงๆเท่าีที่เห็นนะค่ะ น่าสนใจมาก เห็นว่าเจอลักษณะนี้ได้ในเขาสูงแถบอินทนนท์  อยากจะบอกว่าลักษณะที่เค้ากล่าวไว้นั้นที่ เขาเจ็ดยอดที่ปักษ์ใต้ก็มี   น้องโสธรคงจำได้ เมื่อปีนขึ้นไปยังบริเวณที่เป็นหมู่ไม้แคระ แถบนั้นมีทั้งต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง ต้นจูด บัวแฉก ต้นเหมร (โคลงเคลง) น่าสนใจทั้งนั้นค่ะ พืชพันธุ์ หลังจากที่ผ่านกลุ่มต้นไม้ใส่เสื้อ ขึ้นไปจนถึงยอดเขา ..น่าภูมิใจสำหรับป่าบ้านเราที่ธรรมชาติช่างรังสรร เราจึงควรรักษากันให้มีสืบต่อไป กว่าจะเป็นสายน้ำหล่อเลี้ยงทุกชีวี มาจากหยดน้ำในผืนป่าที่ซับน้ำไว้จริงๆ Lol

หน้า