เล็ก ๆ ไม่ ... ! ... ใหญ่ ๆ ทำ ... ?

หมวดหมู่ของบล็อก: 

    ล่อง สุราษฎร์ ฯ เที่ยวที่ผ่านมา ไม่คิดว่า ... ต้องทิ้ง เก่า ... เอาใหม่ ...

        ด้วยสถานการณ์ บังคับ ... จึงยอมรับโดยดุษณี ...

    ข้าพเจ้าเคยนำเสนอ ... “ถ่านไฟใหม่ ... จากเตาเก่า” ไปครั้งหนึ่ง …. ที่หน้าเตาตัวเดียวกันนี้ ... หลานขน “ดอกเบี้ย! ... มากองไว้กองใหญ่พอควร

    ท่านคงสงสัย ...  ว่า อะไรคือ “ดอกเบี้ย” ?

    นิยาม     “ดอกเบี้ย” ในบันทึกนี้ ... คือ กิ่ง ... ก้าน ... และ/หรือ บางส่วนของลำต้น ... ของ “เงาะ” ... “ลองกอง” ... ฯลฯ ... ที่ถูกตัดแต่ง จากต้นในสวน ซึ่งปกติแล้ว ชาวสวน จะขนไปหาที่ทิ้งนอกสวน ... และก็หาที่ทิ้งยากซะด้วย

    ก็ ... เราไม่ได้ ... “ถอนเงินต้น”  คือโค่นเอาต้น มานี่ขอรับ (เว้นแต่ ... ต้นที่ใกล้ มรณา หรือ เห็นลางแห่ง มรณภัย)

    ประจักษ์ แก่ตา ... อยู่ จะ ๆ เช่นนั้น ... หิ้วกระเป๋าเข้าบ้าน ... อาบน้ำชำระกาย ...

    ออก มาสำรวจ เครื่องแปลงร่าง (เตาเผาถ่านถัง 200 ลิตร) ... ปรากฏ โพรงใหญ่ ใต้ตัวเตา จากฝีเท้าหน้าสุนัขตัวโปรด ของหลาน ... !

    “เตา ... เผาไม่ได้แล้วนะ” ... ข้าพเจ้าเอ่ยบอกหลาน เมื่อเจอกัน แล้วบอกเหตุ ... “เจ้าสารภี (ชื่อของสุนัขตัวนั้น) ... มันขุด ท้องเตาทรุดหมดแล้ว”

    “เขาสั่ง ถ่านไว้ ตั้ง 5 กระสอบ แล้วจะทำไง ?” ... หลานปรารภเชิงถาม “ฝืน ๆ พอส่งให้เขาก่อนได้ไหม ?”ประโยคหลังนี่ ตั้งใจคำถาม จริง ๆ

    “เผา น่ะ เผาได้ ... ได้ถ่านขาว ...” ข้าพเจ้าบอก ... “ก็มันรั่วแล้ว ... เผาได้ ... ปิดไม่ได้”

    “ลอง ดูซักเตาไหมครับ ... เผิ่อได้” ... เขา คะยั้นคะยอ

    “ก็ลองดู ซี” ข้าพเจ้า บอก

    เขาจึงเริ่มกระบวนการ ...  แปลงร่างไม้ ให้เป็นถ่าน ... และ แล้ว ....

    เช้าวันต่อมา ... ลงไปดู ... เตายังร้อนอยู่ ... ก็บอกหลานว่า ไฟในเตายังไม่ดับ ให้หารอยรั่ว อุดซะ ...

    ตกเย็น ... หลานมาอีกรอบ ... เตายังร้อน ... เขาตัดสินใจ เปิด ... คุ้ยถ่านที่ คุแดง ออกมา เอาน้ำราด ...

 

 

 

 

 

 

     นี่ครับ ... เลขที่ออก ... เอ้ย ... ผลที่ได้ ...!

 

 

 

 

 

 

    “สงสัย ต้องทำเตาใหม่ นะลุงหลวงนะ” ... หลานปรารภ เหนียม ๆ

    “ก็เอาซี” ข้าพเจ้าขานรับ พร้อม ให้ความเห็นเพิ่มเติม ... “ลุง ว่า ... จะให้สะดวกใช้ ... สร้างใหม่ทั้งที ... เปิดบนจะดีกว่า ... แต่ต้องใช้ถัง 2 ใบ”

    ที่จริงความเห็นนี้เคยเสนอไปแล้ว  ก่อนสร้างเตาตัวนี้ ... แต่เขาไม่เห็นด้วย ... แค่ตัวเดียวนี้ ... ย้งต้องกล่อมซะนาน กว่าจะอนุมัติ .... ฮึ ๆ ๆ ...

    เห็นเขานิ่งฟัง ... จึง เสนอต่อ ... “หากเสียดายวัสดุ ก็ เอามา 3 ใบ ... สร้างได้ 2 เตา ... ที่เหลือ ทำเป็นที่ ปิ้ง - ย่าง ซะ ... เผื่อ ปีใหม่ จะได้ย่าง อะไร ๆ สังสรรค์ กัน”

    เช้าต่อมา ... ขณะข้าพเจ้าเดินออกประตูมา

    “ลุงหลวง” ... จำได้ว่าเป็นเสียงหลานลอยมากระทบโสตประสาท ... “ผมเอาถังมาให้แล้ว นะ ... 3 ลูก ... ตั้งไว้ที่โรงรถ”

    “ผมว่า ... ทำ 2 เตา ... โรงเดิมแคบไปนะ”  เขาร่ายต่อ ... “เดี๋ยว ... จะออกไปซื้อเสา เอาไม้ มาสร้างโรงใหม่ ดีกว่า...”

    “ก็แล้วแต่” ... ข้าพเจ้าบอก ... รำพึงในอก ... ‘ชักชอบแล้วซี ...

 

         ถัดมาอีกเช้า ... 

 

 

 

 

 

   งานสร้าง โรงเผาถ่าน ... เริ่มขึ้น ... บนพื้นที่ 4 x 4 เมตร

 

 

 

 

 

 

 

 

    โรงเรือนพร้อม ...

   ถังเหล็ก 200 ลิตร 3 ใบ ... ถูกแปลงร่าง ...

   นำมาวาง แล้วกลบถม

 

 

 

 

 

 

 

     “เตาไหนเสร็จ ... เผาก่อน ... ลูกค้ารอ”  หลานบอก ... 

    เตาแรก จึงออกล่วงไปก่อน ... ส่วนอีกเตา ก็ใช่จะทิ้งขว้าง 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   เปลวไฟ กองน้อย ... จึงเริ่มปรากฏ ในช่องหน้าเตาแรก ... ที่พร้อมใช้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    พลวัตรไร้จังหวะ ... เริ่มขึ้นแล้วอย่าง เงียบ ๆ ภายในเตา ...

    ควัน ! ... ที่อ้อยอิ่ง หนีออกมา ทางปล่องควัน ... คือพยาน ... ของการ “เกิดขึ้น” ใน “เบื้องต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   .... คละ คลุ้ง .... !

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   พุ่งแรง ... !  ใน “ท่ามกลาง” ....

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    แล้วดับไปใน “บั้นปลาย” ...

     ทิ้งเอาไว้เพียงเจ้านี่ ! ....

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

    หลังจากอีกเตา ... พร้อมใช้ ...

    ... 2 ช่องไฟ ก็ถูกจุด

  

 

 

 

 

 

 

 

 

   ควัน ... แห่งการเริ่มต้น ... ถูกพ่น บาง ๆ ออกมาทางปลายท่อ ทั้งคู่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                 พอตั้งหลักได้ ....

    ก็พรั่งพรู ออกมาอย่างนี้ ไงครับ

 

 

 

 

 

 

    กว่าจะมาถึงตรงนี้ .... ไม่ง่ายนัก ... เพราะเริ่มต้น ..

    คนในชุมชน รวมถึงหลานของข้าพเจ้า ... เขาว่า ...

    “บ้ารึ ... มานั่งเผาถ่าน อยู่อีก ... เขาใช้ หม้อไฟฟ้าสารพัดประโยชน์ และเตาแก๊สกันแล้ว”หลังจาก ที่ ... ข้าพเจ้าเผา ...ผลิตผลที่เหลือจากใช้ ... ยัดเยียดให้หลานขาย “รายได้”  ข้าพเจ้า ไม่เกี่ยว ... การยอมรับ เริ่มเกิด ...  และขยายเห็นง่าย ๆ ... ของหลาน ... จากที่เริ่มต้น ... ยืนดูเฉย ๆ ... ครานี้ ลงทุน ลงแรง สร้างซะอลังการ ...

    ปัจจุบัน ... เตาเผาถ่าน แบบนี้ ... มีขึ้นแล้วในชุมชน ไม่น้อยกว่า 5 เตา

      งานเปลี่ยน Paradigm  มิง่าย ... แต่ใช่ว่าจะไร้หนทาง ... 

   แต่ก่อนอื่น ... ต้องถามตัวเองก่อน ... ว่า

     “แล้วตัวเราละ ... พร้อมเปลี่ยนรึยัง” ? ...

       ไม่งั้น อย่าหวัง จะเปลี่ยนบริบทแห่งสังคม

 

ความเห็น

พร้อมเปลี่ยน หรือ เปลี่ยนเมื่่อพร้อม  แล้ว... เมื่อไหร่พร้อม ???

ชอบมากๆค่ะคุณลุง ในอนาคตนัทอาจได้นำไปเป็นแนวทางทำใช้เองบ้าง ขอบคุณมากๆเลยค่ะสำหรับความรู้ดีๆที่นำมาฝากกัน..คนเปลี่ยนสังคมไม่เปลี่ยน กับสังคมเปลี่ยน คนไม่เปลี่ยน คนลุงว่าแบบไหนดีกว่ากันค๊ะ

    "คนเปลี่ยนสังคมไม่เปลี่ยน กับสังคมเปลี่ยน คนไม่เปลี่ยน คนลุงว่าแบบไหนดีกว่ากันค๊ะ"

    องค์ประกอบของสังคม ... ก็คนนั่นแหละครับ ...

      หนูก็ทราบอยู่ ว่า สังคม มี ครอบครัว เป็น Unit เริ่มต้น นี่ครับ

  ดังนั้น ... เปลี่ยนคนได้   สังคมก็เปลี่ยน แหละ ...

    หากสังคมเปลี่ยน ... คนในสังคมไม่เปลี่ยน ... ก็อยู่ยาก  นา ...

        สำคัญ อยู่ตรงที่ จะเปลี่ยน อะไร ... อย่างไร ... เมี่อไร สักเท่าใด  จึงจะเหมาะสม สอดคล้อง "พอดี" ... เพื่อเป็นการพัฒนาเชิงบวก

     ทั้งหมด ... ทั้งหลาย ... ทั้งปวง ... อยู่ที่

               "ทิฐิ"

ขอบคุณมากๆเลยค่ะสำหรับคำตอบ นัทเข้าข่ายคนไม่เปลี่ยน สังคมเปลี่ยน เพราะเวลากลับไปรู้สึกว่าอะไรไม่เหมือนเดิม ความคิด ความเชื่อ การกระทำดูจะเปลี่ยนไปจนบางครั้งทำใจไม่ได้ เมื่อก่อนเวลาเจอใครชอบชวนให้เค๊าไปเที่ยวเมืองไทย บอกว่าไปทางไหนก็มีแต่รอยยิ้ม ผู้คนโอบอ้อมอารี มีน้ำใจ มีวัฒนะธรรมที่ดีๆมากมาย เด็กๆมีความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ แต่หลังๆนี่นัทกลับไปยังไม่เคยเจอ เงินดูจะเป็นปัจจัยหลัก จะให้นัทเปลี่ยนทำใจยอมรับแบบสนิทๆใจทำไม่ได้ เลยรู้สึกว่าตัวเองขวางโลกอ่ะค่ะคุณลุง

ผมมีความเชื่ออย่างหนึ่งว่าในอนาคต สังคมต้องกลับไปสู่วิถีดั้งเดิมไม่ช้าก็เร็ว ผมเฃื่ออย่างนั้น

ถ่านสรรพคุณหลาย...อย่าลืมใส่จานมาวางข้าง ๆจอคอมพิวเตอร์ ช่วยลดรังอันตรายจากจอคอมพิวเตอรืมาสู่เราได้ค่ะ ..ลุงพาโล

..สัวสดีปีใหม่นะคะ คุณลุงคุณป้า ขอให้มีสุขภาพดีตลอดไปนะคะ 

ชีวืตที่เพียงพอ..

สวัสดีค่ะ ลุงปาโล - สุดยอดเลยค่ะ ขั้นตอนการเผาถ่านด้วยตัวเอง เศษไม้จากต้นไม้เราก็สามารถนำมาเผาได้เลย ... ตอนที่พ่อแม่อยู่ ที่บ้านจะใช้ถ่านในการหุงต้มทำให้อาหารออกมาอร๋อย ขอบคุณลุงปาโลมากค่ะ ที่นำเรื่องราวดีๆมาแบ่งปันกันค่ะ Laughing

ชีวิตที่เรียบง่ายกับความพอใจในสิ่งที่มี

หุงข้าวกะเตาถ่าน  หอมหรอยนิ

ฝรั่งชอบถามว่าทำไมต้องทำไม้ให้เป็นถ่านก่อน แล้วค่อยนำมาใช้หุงต้ม เพราะที่นี่ใช้ไม้เผาในเตาเลย ให้ทั้งความร้อนในบ้านและหุงต้มด้วย อ้อยก็ตอบพวกเขาไม่ได้ ลุงปาโลมีคำตอบไหมคะ

wood stoves

    หลานอาจลืม ว่าได้ตอบเขาไปแล้ว ... 

       และฝรั่งคนที่ถามหลาน ก็คงลืมไปกระมัง ว่า ...

         "ที่จริง ฝรั่ง เขาก็ใช้ Charcoal นะ"

  ลุงมีอะไรจะเล่า แหน่ะ ...

      ในหนังสือแบบเรียนเร็วใหม่ สมัยลุงเรียนชั้น ป.1 ... มีอยู่บทหนึ่ง กล่าวเริ่มบทว่า ...

     "คนแต่ก่อน แต่ก่อน ๆ นานมาแล้ว คนเรายังโง่ บ้านเรือนก็ยังไม่มีเหมือนดั่งเห็นกันเดี๋ยวนี้ ..... ฯลฯ"

     ในบทนี้ สรุปสาระได้ว่า คนแต่ก่อน กิน นอน พักอาศัย ในเวิ้งถ้ำ นุ่งห่มใบไม้ อาหารก็รับประทานกัน ดิบ ๆ ไม่รู้จักใช้ไฟ ... ฯลฯ

     ลองถามฝรั่ง บ้างซีครับ ว่า

    ทำไม ต้องทำแร่เหล็ก ให้เป็นเหล็กก่อน .... แล้วทำไม ต้องทำเหล็ก ให้เป็นอะไร ต่อมิอะไร ล่ะ ...

        เขาก็คงตอบตัวเขาได้แหละ

 

หน้า