ปุ่ยหมักวิศวะกรรมแม่โจ้ 1

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ภารกิจประจำทุกวันอาทิตย์คือเข้าสวนไปดูต้นไม้ที่ลงปลูกไว้ ดายหญ้า และใส่ปุ่ยหมักที่ทดลองทำไว้ตามสูตรการทำปุ๋ยหมักวิศวะกรรมแม่โจ้ 1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เริ่มทำตั้งแต่เมื่อวันที่ 13/04/13 ผ่านไป 3 เดือนกว่า ได้ปุ๋ยคอกออกมาใช้ในระดับที่น่าพอใจ ปุ๋ยด้านล่างเปื่อยยุ่ยทับกันแน่นจนเป็นก้อน ปัญหาที่ทำให้ได้ปุ๋ยช้าเพราะมีเวลาแค่วันอาทิตย์เพียงวันเดียวที่จะไปสวนได้ และน้ำประปาก็ไหลเบามากกว่าจะรดกองปุ๋ยให้ชุ่มและแทงน้ำเข้ากองปุ๋ยเสร็จใช้เวลาเกือบ 3 ชม. จนรู้สึกท้อในบางครั้ง แต่ผลที่ได้ก็ทำให้หายเหนื่อยตอนนี้มีปุ๋ยคอกไว้ใช้ใส่ต้นไม้ได้ทั้งสวน และวันหยุดยาววันแม่นี้กะว่าจะเริ่มทำกองใหม่เพิ่มอีกสัก 1 กอง เพราะฟางและขี้ไก่ยังเหลืออยุ่อีกเยอะเลยค่ะ สมช.ท่านใดสนใจลองทำตามดูก็ได้นะคะ อันนี้คือรูปกองปุ๋ยที่ทำเองค่ะ



ด้าบนยังไม่เปื่อย แต่ด้านล่างเปื่อยยุ่ยละเอียดจนเป็นสีดำเลยค่ะ สงสัยจะใส่ขี้ไก่ด้านบนน้อยไปหน่อยค่ะ เลยไม่ค่อยเกิดการหมัก





ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร ผู้อำนวยการสถานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
 
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธี “วิศวกรรม แม่โจ้ 1” นี้มีหลักการทำงานที่ง่ายมาก วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์เท่านั้น วิธีการทำก็คือ นำเศษพืช 3 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วน โดยปริมาตรมาผสมคลุกเคล้าให้ทั่วถึงรดน้ำให้มีความชื้น แล้วขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร มีความยาวของกองไม่จำกัดขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ที่มี
 
กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตร    จะทำให้สามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ เอาไว้ในกองปุ๋ย ซึ่งความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับ   จุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อนสูงที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนนี้ลอยตัวขึ้นจะทำให้ภายในกองปุ๋ยเกิดเป็นสุญญากาศแล้วจะ     ชักนำเอาอากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้าไปภายในกองปุ๋ย  อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของ จุลินทรีย์แบบใช้อากาศที่ไม่ทำให้เกิดกลิ่นหรือน้ำเสียใด ๆ
 
  “...หัวใจสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ คือ ต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดทั้ง 30 วัน หากกองปุ๋ยแห้งเกินไปกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์จะหยุดชะงักลง และหากกองปุ๋ยเปียกโชกมากเกินไปจุลินทรีย์ก็จะชะงักกิจกรรมอีก เนื่องจากน้ำที่ห่อหุ้มล้อมรอบจุลินทรีย์จะทำให้อากาศไม่สามารถเข้าถึง จุลินทรีย์ได้...”
 
วิธีการดูแลความชื้นของกองปุ๋ยให้เหมาะสมมี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่หนึ่ง ให้รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกเช้า (ถ้าฝนตกก็ให้งดขั้นตอนนี้) และ ขั้นตอนที่สอง ให้คอยตรวจสอบความชื้นภายในกองปุ๋ยโดยการล้วงมือเข้าไปจับดูเนื้อปุ๋ยดู ถ้าพบว่าวัสดุเริ่มแห้งก็ให้ใช้  ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ควรแทงรูและเติมน้ำเช่นนี้รอบกองปุ๋ยระยะห่างกันประมาณ 40 เซนติเมตร ซึ่งอาจต้องทำขั้นตอนที่สองนี้ทุก 7-10 วันถ้าจำเป็น เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรูไว้เสียเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกอง ปุ๋ย

การเติมความชื้นเข้าไปในกองปุ๋ยขั้น   ตอนที่สองนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องมี  การเติมน้ำเข้าไปในกองปุ๋ย ทั้งนี้เพราะน้ำฝน  ไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ ซึ่งเป็น คุณสมบัติเฉพาะของปุ๋ยอินทรีย์ที่จะอุ้มน้ำและ  ไม่ยอมให้น้ำส่วนเกินไหลซึมลงไปด้วยแรงโน้ม  ถ่วงของโลก จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการแทง  กองปุ๋ยดังกล่าวเพื่อรักษาระดับความชื้นภายใน   กองปุ๋ยให้เหมาะสมอยู่เสมอ ดังนั้น จึงอาจ กล่าวได้ว่าเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์   ด้วยวิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” นี้ในฤดูฝนได้ด้วย     เพราะฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้
 
เศษพืชที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ได้แก่ เศษพืชที่เหลือจากการเกษตรกรรมทุกชนิด เช่น ฟางข้าว ซังและเปลือกข้าวโพด เป็นต้น รวมทั้งผักตบชวา เศษผักจากตลาด และเศษใบไม้ทั้งแห้งและสด ส่วนมูลสัตว์สามารถนำมาใช้ได้ทั้งมูลโค มูลไก่ มูลช้าง และมูลสุกร โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้
 
หลังจากที่วัตถุดิบอยู่ในกองปุ๋ยแบบ “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ได้ครบ 30 วัน ก็จะมีความสูงเหลือเพียง 1 เมตร โดยไม่มีการพลิก       กลับกองหรือเติมอากาศใด ๆ ทั้งสิ้น หลังจากนั้นกองทิ้งไว้เฉย ๆ ให้แห้ง หรือนำไปเกลี่ยผึ่งแดดให้แห้งอีกประมาณ 7 วันเพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว เมื่อแห้งดีแล้วก็สามารถนำ    ไปใช้ได้อย่างมั่นใจว่าจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยจะไม่ไปรบกวนการเจริญเติบโตของ ต้นพืช

ความเห็น

เก่งจังเลยค่ะ เคยเข้าไปศึกษาเวบของแม่โจ้หลายครั้งแล้วแต่ยังไม่ได้ลองทำเลย รอฟางข้าวจากข้างบ้านค่ะ แล้วจะลองทำดูบ้าง ได้ผลประการใดจะเล่าให้ฟังค่ะ

ตามมาแอบดูด้วยคนค่ะ
ถ้าอยู่ใกล้ ๆ จะช่วยนำไปใช้

ดีจังเลยกำลังจะทำปุ๋ยหมักอยู่พอดี ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ
น้องชายของป้าทำปุ๋ยหมักเหมือนกันครับ
ลุงเลยได้ใช้ด้วย

 

เคยอยากทำบ้างเหมือนกัน แต่เกินความสามารถ เก่งจังนะคะทำสำเร็จ....

แล้วเอาพริก ของนันท์ลองปลูก นะค่ะ คุณพี่ ส่งการบ้านให้นันท์ดูด้วยค่ะ สู้ๆๆนะค่ะ ได้รับเงินโอนแล้วนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

เก่งค่ะ   ที่จริงทุกคนในบ้านสวนก็ลองทำไปเลยค่ะ  เมื่อก่อน  พอจะทำอะไรก็คิดไปว่า  คงจะทำไม่ได้หรอก  เราไม่มีความชำนาญ  แต่พอจวนตัวเข้าจริงๆ  ก็ต้องทำค่ะ  ทำมั่วๆไป  ที่บ้านเรามีใบอะไรๆก็เอาหมดค่ะ  ฟลุ๊กที่มีใบยางนากับก้ามปู  ปีหนึ่งราว20กระสอบ  ก็เลยเอาไปรองหลุมกล้วย  แล้วก็โรยขี้วัวทับ  ปลูกไป1ปี  กล้วยก็ออกปลีมาใหญ่มากๆ  ตอนนั้นก็คิดว่าเป็นที่สายพันธุ์  สุดท้ายก็ได้มารู้ว่าเป็นเพราะเรารองก้นหลุมด้วยใบยางนาผสมใบก้ามปูกับขี้วัวนี่เอง 

น่าสนใจ อยากทำไว้ใช้บ้าง

จะลองทำไว้ใช้เองบ้าง แต่เศษหญ้านี่สิ หายากเหลือหลาย ขอบคุณที่แบ่งปันจ๊า

Cool คงจะดี ถ้า...

ขอบคุณที่แบ่งปันครับ กลับบ้านครั้งที่แล้วก็คิดจะทำแต่หาปุ๋ยคอกไม่พอครับ ถ้ารดน้ำบ่อยๆก็น่าจะย่อยได้มากกว่านี้เยี่ยมครับ

ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว


บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

หน้า