ปุ่ยหมักวิศวะกรรมแม่โจ้ 1

หมวดหมู่ของบล็อก: 

ภารกิจประจำทุกวันอาทิตย์คือเข้าสวนไปดูต้นไม้ที่ลงปลูกไว้ ดายหญ้า และใส่ปุ่ยหมักที่ทดลองทำไว้ตามสูตรการทำปุ๋ยหมักวิศวะกรรมแม่โจ้ 1 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เริ่มทำตั้งแต่เมื่อวันที่ 13/04/13 ผ่านไป 3 เดือนกว่า ได้ปุ๋ยคอกออกมาใช้ในระดับที่น่าพอใจ ปุ๋ยด้านล่างเปื่อยยุ่ยทับกันแน่นจนเป็นก้อน ปัญหาที่ทำให้ได้ปุ๋ยช้าเพราะมีเวลาแค่วันอาทิตย์เพียงวันเดียวที่จะไปสวนได้ และน้ำประปาก็ไหลเบามากกว่าจะรดกองปุ๋ยให้ชุ่มและแทงน้ำเข้ากองปุ๋ยเสร็จใช้เวลาเกือบ 3 ชม. จนรู้สึกท้อในบางครั้ง แต่ผลที่ได้ก็ทำให้หายเหนื่อยตอนนี้มีปุ๋ยคอกไว้ใช้ใส่ต้นไม้ได้ทั้งสวน และวันหยุดยาววันแม่นี้กะว่าจะเริ่มทำกองใหม่เพิ่มอีกสัก 1 กอง เพราะฟางและขี้ไก่ยังเหลืออยุ่อีกเยอะเลยค่ะ สมช.ท่านใดสนใจลองทำตามดูก็ได้นะคะ อันนี้คือรูปกองปุ๋ยที่ทำเองค่ะ



ด้าบนยังไม่เปื่อย แต่ด้านล่างเปื่อยยุ่ยละเอียดจนเป็นสีดำเลยค่ะ สงสัยจะใส่ขี้ไก่ด้านบนน้อยไปหน่อยค่ะ เลยไม่ค่อยเกิดการหมัก





ต่อไปนี้เป็นคำบอกเล่าของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร ผู้อำนวยการสถานบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร
 
การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธี “วิศวกรรม แม่โจ้ 1” นี้มีหลักการทำงานที่ง่ายมาก วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชและมูลสัตว์เท่านั้น วิธีการทำก็คือ นำเศษพืช 3 ส่วนกับมูลสัตว์ 1 ส่วน โดยปริมาตรมาผสมคลุกเคล้าให้ทั่วถึงรดน้ำให้มีความชื้น แล้วขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.50 เมตร มีความยาวของกองไม่จำกัดขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ที่มี
 
กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตร    จะทำให้สามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์ เอาไว้ในกองปุ๋ย ซึ่งความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับ   จุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อนสูงที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนนี้ลอยตัวขึ้นจะทำให้ภายในกองปุ๋ยเกิดเป็นสุญญากาศแล้วจะ     ชักนำเอาอากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเข้าไปภายในกองปุ๋ย  อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของ จุลินทรีย์แบบใช้อากาศที่ไม่ทำให้เกิดกลิ่นหรือน้ำเสียใด ๆ
 
  “...หัวใจสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ คือ ต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดทั้ง 30 วัน หากกองปุ๋ยแห้งเกินไปกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์จะหยุดชะงักลง และหากกองปุ๋ยเปียกโชกมากเกินไปจุลินทรีย์ก็จะชะงักกิจกรรมอีก เนื่องจากน้ำที่ห่อหุ้มล้อมรอบจุลินทรีย์จะทำให้อากาศไม่สามารถเข้าถึง จุลินทรีย์ได้...”
 
วิธีการดูแลความชื้นของกองปุ๋ยให้เหมาะสมมี 2 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่หนึ่ง ให้รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยทุกเช้า (ถ้าฝนตกก็ให้งดขั้นตอนนี้) และ ขั้นตอนที่สอง ให้คอยตรวจสอบความชื้นภายในกองปุ๋ยโดยการล้วงมือเข้าไปจับดูเนื้อปุ๋ยดู ถ้าพบว่าวัสดุเริ่มแห้งก็ให้ใช้  ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ควรแทงรูและเติมน้ำเช่นนี้รอบกองปุ๋ยระยะห่างกันประมาณ 40 เซนติเมตร ซึ่งอาจต้องทำขั้นตอนที่สองนี้ทุก 7-10 วันถ้าจำเป็น เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรูไว้เสียเพื่อไม่ให้สูญเสียความร้อนภายในกอง ปุ๋ย

การเติมความชื้นเข้าไปในกองปุ๋ยขั้น   ตอนที่สองนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องมี  การเติมน้ำเข้าไปในกองปุ๋ย ทั้งนี้เพราะน้ำฝน  ไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ ซึ่งเป็น คุณสมบัติเฉพาะของปุ๋ยอินทรีย์ที่จะอุ้มน้ำและ  ไม่ยอมให้น้ำส่วนเกินไหลซึมลงไปด้วยแรงโน้ม  ถ่วงของโลก จึงจำเป็นต้องใช้เทคนิคการแทง  กองปุ๋ยดังกล่าวเพื่อรักษาระดับความชื้นภายใน   กองปุ๋ยให้เหมาะสมอยู่เสมอ ดังนั้น จึงอาจ กล่าวได้ว่าเกษตรกรสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์   ด้วยวิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” นี้ในฤดูฝนได้ด้วย     เพราะฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้
 
เศษพืชที่เกษตรกรสามารถนำมาใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้ได้แก่ เศษพืชที่เหลือจากการเกษตรกรรมทุกชนิด เช่น ฟางข้าว ซังและเปลือกข้าวโพด เป็นต้น รวมทั้งผักตบชวา เศษผักจากตลาด และเศษใบไม้ทั้งแห้งและสด ส่วนมูลสัตว์สามารถนำมาใช้ได้ทั้งมูลโค มูลไก่ มูลช้าง และมูลสุกร โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้
 
หลังจากที่วัตถุดิบอยู่ในกองปุ๋ยแบบ “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ได้ครบ 30 วัน ก็จะมีความสูงเหลือเพียง 1 เมตร โดยไม่มีการพลิก       กลับกองหรือเติมอากาศใด ๆ ทั้งสิ้น หลังจากนั้นกองทิ้งไว้เฉย ๆ ให้แห้ง หรือนำไปเกลี่ยผึ่งแดดให้แห้งอีกประมาณ 7 วันเพื่อให้จุลินทรีย์ในกองปุ๋ยสงบตัว เมื่อแห้งดีแล้วก็สามารถนำ    ไปใช้ได้อย่างมั่นใจว่าจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยจะไม่ไปรบกวนการเจริญเติบโตของ ต้นพืช

ความเห็น

ขอบคุณทุกคำติชมค่ะ ยอมรับว่าตอนทำเหนื่อยมาก แต่พอเห็นผลที่ได้หายเหนื่อยเลยค่ะ

อยากทำบ้าง เกิดความคิดขึ้นมาในหัวทันทีเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

หน้า