เดินป่า หาเฟิรน์

หมวดหมู่ของบล็อก: 

สวีสดีครับทุกท่าน ช่วงปลายฤดูแบบนี้ งานในสวนครัว ก็มีน้อยลง ปีนี้ทั้งปีไม่ได้ปลูกผักล้มลุกเลยครับ เนื่องจากเดินทางไกลกันบ่อย ปลายปีนี้ก็ต้องเดินทางกันไกลกันอีก ผักที่ขึ้นมาให้ทานที่บ้านก็มากันเองตามฤดูกาล ผักไหนที่มาตามฤดูแต่ไม่มีที่บ้านเราอยากทาน ก็ต้องไปหาเก็บเอาครับ บล็อกนี้เป็นบล็อกเดินป่า หาของทาน

ป่าเขตนี้ไปเดินบ่อยเพราะไม่ไกลจากบ้าน ขับรถไป สี่สิบห้านาที เป็นเขตสงวน ไม่ใหญ่โตมานัก มีถนนลาดยางตัดผ่าน และมีจุดตั้งแคมป์ และห้องน้ำ ให้บริการสะดวกดี

ฤดูในไม้ผลิแบบนี้ จะมีเฟิรน์ ให้เก็บครับ เฟิรน์ ที่เก็บนี้มีอยู่ทั่วไปในรัฐนี่ครับ แต่เลือกมาเก็บที่นี่ เพราะยอดอวบ และมีอยู่เยอะเลย เฟิรน์ชนิดนี้นั้น จะแตกยอด ช่วงใบไม้พลิ และต้นจะตายในช่วงหน้าหนาว เขตที่หนาวไม่มากต้นจะไม่ตาย ยอดออกมาใหม่จะไม่อวบ เจ้เจ้าของบ้านจะชอบทานยอดอวบๆ เลยเป็นที่มาให้ต้องขับรถขี้นเขามาเก็บ ฤดูเก็บส้้นครับ แค่เดือนเดียว พอใบเริ่มคลี่ กางออก ก็ทานไม่ได้ แล้ว

เฟิรน์ที่เก็บนี่ เรียก แบลค์เคนเฟิรน์ มีอยู่ทั่วโลกครับ เมืองไทยก็มี ที่บ้านเจ้เข้าก็มี โดยธรรมชาติเป็นเฟิรน์มีพิษครับ มีสารพิษหลายอย่างร่วมถึงมีสารก่อให้เกิดมะเร็ง ก่อนจะนำมาทานนั้น ต้องต้มแช่น้ำ เปลี่ยนน้ำกันหนึ่งถึงสองวันครับก่อนจะทานได้ ใบยิ่งแก่ยิ่งมีพิษเยอะ ดั้งนั้นจะเก็บกันแต่ยอดอ่อนๆที่ใบยังไม่คลี่ ครับ ในเขตหนาวนั้น ปีหนึ่งทานได้ครั้งเดียว เฟิรน์แบบนี้ที่บ้านเจ้เขามีขายตามร้านขายผักทั่วไป เจ้เขาจึงทราบวิธีการเตรียม ก่อนนำมาทาน ผมสองคนทราบได้อย่างไรว่าเป็นเฟิรน์ชนิดเดียวกัน เราสองคนเอาต้นไปถามเพื่อนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเฟิรน์มาครับ เลยทราบข้อมูลเยอะเลย รู้แน่เลยกล้าเก็บ ป่าเขตนี้มี แบลค์เคนเฟิรน์ เยอะมาก เก็บกันเพลิน เฟิรน์นี่ทานรากได้ด้วยครับ รากเป็นแป้งเหมือนมันทั้วไป แต่เล็กกว่า ป่าเขตนี้ห้ามขุดครับ เก็บได้ อย่างเดียวผมสองคนเลยไม่ได้ขุดรากมาทาน เราเคารพกฎครับ เขามีป้ายห้ามเราก็ไม่ทำ ช่วยกันอนุรักษ์ได้เราก็ทำครับ

เจ้เขาว่าต้นแห้งๆ แบบนี้ถึงดีครับยอดออดมาใหม่อร่อยดี

สังเกตดูครับ ยอดจะแทงออกมาจากดินแบบนั้นครับ ยอดที่ใบม้วนๆเราก็เก็บได้ เก็บเราก็ใช้หักเอา ส่วนที่กรอบก็จะหักออกมา ยอดที่ใบเขียวๆแล้วเราก็ปล่อยไว้ครับ

เราเดินเก็บเลาะลำน้ำไปเรื่อยๆครับ

เก็บเสร็จเราก็ล้างมือก่อนกลับ เพราะขนเฟิรน์ ก็มีพิษ ล้างนานไม่ได้ครับ น้ำเย็นมากๆ ปวดนิ้วมือได้

ผลงานที่เก็บมาทานกันครับ จากนี้เจ้เขาก็จะต้มเปลี่ยนน้ำล้างสารพิษออกแล้วเราก็เอามาทานได้ คนที่บ้านเจ้ทานกันมานานแล้ว เฟิรน์แบบนี้ ไม่มีปัญหาอะไร เพราะเราไม่ได้ทานทั้งปี ปีหนึ่งมีให้ทานช่วงสั้นๆช่วงเดียว ด้วยความวิตกกังวล ของผม ผมก็ได้ไปตามอ่านหาข้อมูลสารพิษในแบลค์เคนเฟิรน์มา และก็เป็นที่น่าแปลกใจว่า ทุกประเทศที่บริโภค เฟิรน์ชนิดนี้ รู้วิธี ล้างสารพิษเหมือนกันหมด อาจต่างกันบ้างเรื่องระยะเวลาการแช่น้ำ เปลี่ยนน้ำ ผมถามคุณน้าคนไทย ท่านก็ว่าท่านต้มทิ้งน้ำ ล้างน้ำอีกจนหมดขนดำๆ แล้วก็เอามาจิ้มน้ำพริกทาน ผมจำชื่อภาษาอีสาน ไม่ได้ครับโทษที คนพื้นเมืองที่นี่ก็เก็บมาทานด้วยครับ พอผมได้ข้อมูลแบบนี้ ผมค่อยทานได้สะดวกปากไปกับเจ้เข้าด้วยครับ

รสเป็นอย่างไรนั้น เหมือนผักทั่วไปครับ กรอบๆ ลื่นๆ มีเมือกอ่อนๆ ไม่มากเหมือนกระเจียบ เจ้เขาเอามาใส่ซุป เต้าเจี้ยว เอามายำ ทานเพลินๆไปอีกแบบ

ไปครั้งนั้นได้เดินป่าด้วย เก็บผักด้วย และยังได้ดูต้นไม้พื้นเมืองที่ออกดอกในช่วงใบไม้ผลิด้วยครับ ไปครั้งเดียวคุ้มเลย มีบล็อกต่อเนื่องตามมาครับ

เจอกันในบล็อกต่อไปครับ

ผมตุ้ย คนสวน กับเจ้เจ้าของบ้าน

 

ความเห็น

ข้างบ้านป้าก็เห็นมีต้นคล้ายๆกัน ไม่นึกรู้ว่ากินได้

คิดให้แตกต่าง...แต่อย่าแตกแยก

สวัสดีครับ ป้าต่าย ถ้าไม่แน่ใจยังไง ไม่แนะนำให้ทานครับ เฟิรน์ นี้จะมีขนน้ำตาล ถึงดำ อยู่ด้วยนะครับ เจ้ เขาพาทาน หลังจากล้างสารพิษแล้ว เอามาตากแห้งเก็บไว้ทานได้ครับ ผมจำได้รากเอามาทำแป้ง ทำขนมทานอร่อยดี ยังไงป้าต่ายลองถ่ายรูป มาดูนะครับ

เกิดอยู่บนเขาแถวบ้านเราใช่ไหมค่ะ

สวัสดีครับ ป้ายาผมก็ไม่ทราบว่าขึ้น อยู่ตรงไหนนะครับ คุณน้าท่านเป็นคนอุดร ครับ ท่านว่าแถวบ้านท่านมี ผมเก็บเฟิรน์ไปฝากท่านบ้างแรกผักของคุณน้าเขาเอามาทานนะครับ

หายไปไหนซะนานเลยน้องตุ้ย 

มันคล้ายเฟิร์นชนิดหนึ่งของทางภาคใต้ ที่เรียกว่าโชน แต่ไม่เคยเห็นใครนำมาทานเลย

ที่แปลกมันพักตัวด้วยเหรอ

 

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..

 

สวัสดีครับ พี่ พี่สองคนสบายดีนะครับ ต้องเขตหนาวจริงๆ ครับ ต้นมันจะตายและแตกใหม่ แถวบ้านผมต้นไม่ตายนะครับ ยอดแตกใหม่ก็ไม่ค่อยมี ขับรถเข้าไปในเขตภูเขาหน่อย อากาศเย็นต่างกัน เขตนี้เลยมีให้เก็บเพลินเลยครับ เตรียมหลายขั้นตอนกว่าจะได้ทาน ครับผมเก็บตามใจเจ้ เขานะครับ เขาชอบทาน

คิดถึงตุ้ยกับเจ้จัง  เฟิร์นที่บ้านไม่ทานค่ะ  พ่อบอกว่ามีพิษ  อีกอย่าง  บ้านเรามีพวกผักกูดเต็มไปหมด  ก็เลยไม่กินเฟิร์น  มีพืชผักอีกหลายๆอย่าง  ที่เราทาน  คนอื่นไม่ทาน  คนอื่นทาน  เราไม่ทาน

สวัสดีครับ ป้าเล็ก ผมก็คิดถึง พี่ ป้า น้า อา เพื่อนๆ ในเวปครับ แต่เวลาจำกัด เลยเอาเวลานั่งหน้าคอมไป เข้าสวนบ้าน ไปอบรมเรื่องสวนครัวบ้าง ไปรวมงานแนะนำเมล็ดพันธ์ เมืองร้อน และการปลูกบ้าง ยังไม่รวมเก็บเมล็ด เก็บผักถนมอาหาร บางครั้งยังนั่งคิด ป้าเล็กบริหารงานเวลาเก่งเลย ไม่ได้ชมนะครับ แต่ผมเปลียบดูจากตัวเอง บ้างครั้ง ผมนั่งบนโซฟาก็หลับเลย เหนี่อยแต่มีความสบายใจ ฝักข้าวที่ป้าเล็กแนะนำให้เพาะ โตได้ หนึ่ง ปี โดนหนาว เหลือแต่ตอ ตอนนี้งอกออกมาใหม่แล้ว ไม่ทราบปีนี้จะได้ ทานผลเปล่าครับ ยังไงกลับเมืองไทยจะไป หาทานฟักข้าวครับ ดูแลสุขภาพครับป้า แล้วคุยกันอีกครับ

ขอบคุณข้อมูลดีดีนะคุณตุ้ย...
ยายจ่อยเคยแต่เจอผู้ป่วยเด็กที่กินพืชตระกูลบอน แล้วแพ้พิษ เพราะบอนก็มีทั้งที่มีพิษ ไม่มีพิษ เราตามไปสอบสวนโรค กับเด็ก อาการคือ คัน ป่าก
พอง บวมแดงเลยล่ะ ขนาดกินไปนิดเดียว แถบอีสานเจอผู้ป่วยแพ้พิษจากพืชและสัตว์อยู่บ่อยๆ ข้อมูลคุณตุ้ย ยายจ่อยจะได้ทำการเฝ้าระวังต่อไปค่ะ

ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้

สวัสดีครับ ยินดี ที่ข้อมูลผมมีประโยชน์ ครับ ข้อมูลเพิ่มเติมครับ ผมคนหนึ่งครับ ก่อนจะทานผัก แบบนี้ต้องมั่นใจก่อนเลยครับ แล้วคุยกันอีกครับ

หน้า