เที่ยว แล้ว เล่า 1 (รอยสงคราม ... ?)

หมวดหมู่ของบล็อก: 

     ย่างหน้าฝนก่อน ... พับเก็บกังวลเรื่องการขาดน้ำ ของต้นไม้ไนสวนเอาไว้ ... อพยพตัวเองขึ้นนครปฐม แล้วเตร็ดเตร่สู่สถานที่ ที่หมายใจไว้ก่อน ... ก็ในประเทศไทยนี่แหละครับ จะล่วงออกนอกเขตราชอาณาจักร ไปบ้างก็ไกลไม่เกิน 4 – 5 กิโลเมตร แต่ขอเก็บประสบการณ์ตะลอน มาเล่าเป็นตอน ๆ จะได้ไม่เฝือ

     ... หากย้อนเหตุการณ์อดีตศึกสงคราม ในสุวรรณภูมิประเทศแล้ว ... จังหวัดกาญจนบุรี นับได้ว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีเรื่องเล่าขานสืบมาไม่น้อย ... นับแต่ศึกระหว่างอาณาจักรตองอู กับอาณาจักรอยุธยา สืบเนื่องมาจนถึง อาณาจักรไทย สมัยต้น ๆ ราชวงศ์รัตนโกสินทร์ กาญจนบุรีก็ถูกใช้เป็นเส้นทางยาตราทัพ ที่สำคัญเส้นทางหนึ่ง

     จนตราบถึงครั้งสงครามโลก ครั้งที่สอง จังหวัดนี้ก็ทิ้งตำนาน ให้หลาย ๆ คน ค้นหาขุมทรัพย์ที่เล่าลือกันว่า กองทัพลูกพระอาทิตย์ เก็บซ่อนไว้ ก่อนพ่ายศึก ...

     ส่วนร่องรอยอันเป็นประจักษ์ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งไทย แลเทศ ก็มีไม่น้อย ... ที่กล่าวขวัญกันมาก ๆ ถึงขั้นนำไปสร้างเป็นหนัง ฟอร์มยักษ์ ก็ “สะพานข้ามแม่น้ำแคว” ที่รู้ ๆ กันนั่นแหละครับ

     ซึ่ง สะพานข้ามแม่น้ำแคว ... พิพิธภัณฑ์อักษะเชลยศึก และ  ... สุสานทหาร สัมพันธมิตร ... สำหรับ Trip นี้เป็นเพียงดาราประกอบ ใส่เสียงในฉาก เท่านั้น ... เพราะส่วนใหญ่ใคร ๆ ก็ไปเยือนมาแล้ว

     แต่ ... ดาราตัวเอก ที่แสดงเรื่องนี้ ... รออยู่ข้างหน้า ครับ ... มา ... ไปกันเถอะ

     ออกจากตัวเมืองกาญจนบุรี เรามุ่งหน้าไปทางไทรโยค ... ถึงแนวเขต มหาวิทยาลัยมหิดล กาญจนบุรี บังคับรถเลี้ยวซ้าย ขับตามถนนไปเรื่อย ๆ แล้วเข้าจอด ณ บริเวณลานจอดรถ ซึ่งอยู่เยื้อง ๆ กับที่หยุดรถ ของการรถไฟ ฯ

     ลงจากรถ ... ปีนไหล่ทางรถไฟที่ลาดสูงประมาณ 1 เมตร กว่า ๆ เล็กน้อย ขึ้นไป ... หมุนตัว 90 องศา ตามเข็มนาฬิกา ... เดินตามทางรถไฟ ... ผ่านอาคารพักผู้โดยสาร

ณ สุดชานชลา ... มองตรงไปเบื้องหน้า ... ทางรถไฟ ถูกวางเลียบมา

ระหว่าง ภูผา กับสายนที

 

เงยมุมกล้องขึ้น ส่องไกลไปยัง ทางรถไฟเลียบผา ริมฝั่งน้ำ เห็นอยู่ลิบ ๆ

ณ จุดนี้ ... นักท่องเที่ยว ที่โดยสารรถไฟ ไม่ยอมพลาดการเก็บภาพ

 

     เบน ... กด มุมกล้องจากโทรศัพท์ เคลื่อนที่ ไปทางด้านขวามือ ...

แพบริการนักท่องเที่ยว ... จอดรอ ต่อเนื่องยาวไปตามริมแคว

ไหน ๆ ก็มาแล้ว ... เดินข้ามทางรถไฟ ลงไปชมถ้ำซะหน่อย  ก็คงไม่เสียเวลามากนักเนาะ ...

เดี๋ยวจะหาว่า ‘มาไม่ถึง’

 

เพราะที่นี่คือ ....

 

     อ๋อออ... เปล่าเลย ! ... นี่ก็ยังไม่ใช่ดารานำ ของ Trip นี้อยู่ดี ... แค่เอามาเข้าฉาก อย่าให้ดูโหรงเหรง น่ะครับ

          เอ้า ... ไปกันต่อ เดี๋ยวดารานำจะรอนาน ฝนก็เริ่มโปรยสายมา ... หวั่นใช้ความเร็วในการขับรถมากจะไม่ปลอดภัย     ... กลับออกสู่ถนนหลักอีกที

     ถึงถนนหลัก หักเลี้ยวซ้าย ผ่านหน้า มหาวิทยาลัยมหิดล ฯ ... ขับตามถนนไปเรื่อย ๆ ... สายฝน ลงมาต้อนรับน้องใหม่หนาขึ้น ... แต่ต้อนรับรุนแรงไปหน่อย ถึงจะไม่สะบักสะบอมก็เหอะ

     ถึงทางเข้าบ้านพระเอก ... เราเลี้ยวรถเข้าไปจอดบริเวณลานจอด หน้าอาคารที่ตั้งใจมาเยี่ยมชม ... ฝนยังไม่เบา ... ร่มถูกนำมาคุ้มหัว ระหว่างเดินไปยังตัวอาคาร

     จนเข้าไปอยู่ในห้องภายใต้ตัวอาการแล้ว ฝนยังกระหน่ำอยู่ เลยเดินทะลุ ไปทางระเบียงด้านหลังซึ่งมีหลังคาคลุม

 

 

 

 

     เก็บภาพ มุมต่ำ ของจุดหมายที่จะมาชม มาฝากให้ชิมพลางก่อน

 

 

 

 

 

     ฝนยังค่อนข้างหนาเม็ด ลงไปสัมผัสสภาพจริง และบรรยากาศข้างล่างไม่ได้ ...

 

 

 

 

     ไม่เป็นไร เชือดคอเวลาโดยการ สัมผัสแผ่นภาพ ในห้องจัดแสดง ก็ไม่เลว

 

 

 

 

 

 

ตู้จำลองภูมิประเทศ ก็มีให้ชม ... ดี ไม่ต้องขึ้น ฮ. ให้หวาดเสียว ฮึ ๆ ๆ ๆ

 

เครื่องมือที่ เคยผ่านการใช้โดยเชลยศึก ก็มีแสดง

 

หนึ่งในแผ่นภาพถ่าย ที่ขยาย – ปิดไว้ ให้ชมบนแผงนิทัศน์การ

งานสร้างทางรถไฟ ไทย – พม่า (ก็เมียม่าร์ นั่นแหละ) โดยแรงงานเชลยศึก

 

และนี่ก็อีกหนึ่งในหลาย ๆ ภาพ ที่เลือกถ่ายมา

 

ภาพล่างนี้ เป็นภาพของ ไหล่เขา ที่ถูกขุด ขาด เปิดเป็นช่อง ด้วยเครื่องมือพื้นฐาน (ที่นำมาให้ดูข้างต้น) และรางรถไฟ ที่ถูกวางผ่านไประหว่างช่องที่ขุด พร้อมใช้งานในสมัยนั้น ... ซึ่งภาพนี้ ข้าพเจ้าคิดเอาเองว่า น่าจะเป็นภาพที่ ถ่ายย้อนกลับมาด้านที่เราเดินไปชมสถานที่จริง ซึ่งจะเล่าต่อไป ทั้งนี้ก็โดยดูจากฉากหลังที่ว่างไกล

 

     ดูแทบทั่ว ... ถึงรอบของการฉาย วีดีทัศน์ ... เข้าไปนั่งชมกะเขาด้วยคน จนจบ

     ฝนแทบหยุดแล้ว คงมีละอองหยิม ๆ ... ผู้เยี่ยมชมหลายคน เริ่มขยับ เตรียมลงสู่อนุสรณ์ รอยสงคราม ซึ่งคณะของเรา ก็เป็นหนึ่งของกลุ่ม

     ทันทีที่เลี้ยวผ่านบริเวณลานอาคาร ... มองต่ำลงไป ...

ทางลาดที่ค่อนชัน ถูกเรียบปูด้วยวัสดุกันลื่น คดเคี้ยวหายลงไปในแมกไม้เบื้องล่าง

 

     เราเดินตามทางลาด ที่เห็นข้างต้น ลงได้ระยะหนึ่ง เริ่มเข้าสู่บริเวณที่มีความชันสูง กอปร ด้วยร่องทางน้ำไหลลึก ... โกรก และโขดหิน ระเกะระกะ ไม่อำนวยที่จะปูทำทางลาด

บันได เหล็ก ที่วกวน ถูกสร้างขึ้นมารองรับการ ขึ้น – ลง แทน

ซึ่งเขาก็ไม่ละเลยที่จะติดตั้งแผ่นกันลื่นไว้กับขอบขั้นบันไดให้ด้วย

ข้าพเจ้า มัวตื่นตากับแวดล้อม รอบ ๆ จึงตกกลุ่ม สมาชิกครอบครัว จึงลงไปรอ ที่ช่วงหนึ่ง

 

เมื่อตามลงไปทันกัน ... เขาก็บอกให้ลงล่วงไปก่อน แล้วเรียกให้มอง ... แชะ

 

     ทันที่ เท้าหลุดพ้นบันไดขั้นสุดท้าย ... ก้าวออกสู่แนวถนน ...

ป้ายถาวร ขนาดเขื่องแผ่นนี้ ก็ปรากฏอยู่เบื้องหน้า

 

(อาจอ่านไม่ชัด เพราะถ่ายด้วยกล้องจากเครื่องโทร ฯ)

     อ่านป้ายเสร็จ ... เริ่มก้าวไปบนเส้นทางรถไฟ รอยสงคราม

 

 

 

 

     บนเส้นทาง จะเห็นมีต้นไม้หลากขนาด ขึ้นเป็นระยะ ๆ ... แต่ไม้หมอนก็ยังมีให้เห็นอยู่ไม่น้อย ที่ทำให้เชื่อได้ว่า เคยเป็นทางรถไฟมาก่อน

 

 

 

 

 

     ด้านขวามือ เป็นผาหินสูงชัน อันเกิดจากแรงงาน และฝีมือเชลยสงคราม ...

     มองด้านซ้ายมือ ถึงจะไม่ใช่หุบเหว แต่ก็เป็นไหล่เขาชันลึก ... จึงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าสันนิฐาน มุมของภาพถ่าย ที่ได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้

บนหินข้างทางที่ผ่านไป มีหมุด และปลิงยึดไม้หมอน ถูกเก็บขึ้นวางไว้ เป็นระยะ ๆ

 

เดินไปอีกระยะหนึ่ง ก็ถึงผิวทางที่ถูกโรย เกลี่ย ไว้ด้วยหินย่อย ที่ถูกนำมาโรยใหม่

 

แล้ว ก็มาถึง จุดหมายที่อุตส่าห์ หอบสังขารชรามาดู

 

 

 

 

     ตรงนี้เอง คือ ... “ช่องเขาขาด”

 

 

 

 

 

     ตรงนี้ คือจุดที่ปรากฏตามภาพถ่าย ซึ่งติดแสดงไว้ในอาคารพิพิธภัณฑ์ ... จะเรียกว่า พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ก็คงไม่ห่างนัก ด้วยว่าองค์ประกอบครบครัน ทั้งช่องเขาที่ถูกขุดขาดด้วยฝีมือมนุษย์ ... รางรถไฟที่ยึดติดกับไม้หมอน อย่างสมบูรณ์ ... แม้เพียงระยะทางสั้น ๆ ก็ตามที

     ณ จุดนี้ ผู้ลงไปชม ต่อ Queue กันถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก เราจึงเอาอย่างบ้าง

นี่ครับ คนแก่คู่ ... ถ่ายร่วมกับทางรถไฟเก่า ที่ถูกเลิกใช้ไปแล้ว

     ก็ให้ได้คิดว่า ... ‘อีกหน่อย เราก็คงถูกเลิกใช้เหมือนทางรถไฟนี่แหละ’

ริมรางรถไฟ จุดนี้ มีแผ่นป้ายโลหะ จารึก ติดตั้งไว้ให้อ่านด้วย

        พยายามถ่าย ใกล้ ๆ แล้วนะครับนี่ ... หากไม่ชัด โปรดไปอ่านซ้ำของจริงเอาเอง นะครับ ไปไม่ยากครับ

ก็ที่นี่แหละครับ

     ส่วนข้าพเจ้า พร้อมสมาชิกครอบครัว เสร็จภารกิจเล่าเรื่อง รอยสงคราม ลงแล้ว ก็ขออนุญาต เดินทางต่อ นะครับ ... ด้วยว่าบ่ายมากแล้ว ต้องไปแสดงตน ยืนยันเข้าที่พัก ...

        หากมีเวลาพอ และท่านไม่ระอา ซะก่อน ก็จะเล่าให้ฟัง ว่าไปไหนต่อ ?

ความเห็น

ไปเที่ยวเมืองกาญจน์กับคณะทัวร์  ไม่มีโอกาสได้เที่ยวแบบเชิงลึกแบบนี้ มีแต่เที่ยวแบบผิวเผิน ลงแพ ชมวัดถ้ำ ซื้อของฝาก ขับรถผ่านสุสานทหาร กลับ  ขอบคุณลุงพาโลที่พาเที่ยวชมค่ะ

 

 

 

ด้วยความยินดีครับป้า

    การไปเที่ยวเป็นคณะใหญ่ เล็ก หรือเที่ยวเอกเทศ ส่วนใหญ่ ก็จะไปสถานที่มีชื่อ ตามเล่าลือ เช่น สะพานข้ามแม่น้ำแคว ... พิพิธภัณฑ์อักษะเชลยศึก และ  ... สุสานทหาร สัมพันธมิตร เหล่านี้แหละ เพราะอยู่ในเมือง ทั้งถูกจำกัดด้วยเวลา

    ส่วนผม จะค้นหาความอยากของตัวเองก่อน แล้วตั้งเป้าไว้ว่า จะดูอะไรบ้าง อย่างเที่ยวนี้ จะไปดูเส้นทางรถไฟสายสงครามโลกครั้งที่สอง

     แต่ที่ไม่ลงรายละเอียด ต้นทาง คือสะพานข้ามแม่น้ำแคว เพราะไปง่าย และส่วนใหญ่ก็ไปกันมาแล้ว แถมไปบ่อยซะด้วย เลยเล่าในส่วนเส้นทางช่วงกลาง ๆ ที่ยังใช้อยู่แถวถ้ำกระแซ ซึ่งจะไปสุดปลายทางที่สถานีน้ำตก เส้นทางเลยจากสถานีน้ำตก จนเข้าเขตเมียนมาร์ ถูกเลิกใช้ไปแล้ว นักท่องเที่ยวจึงไม่ค่อยให้ความสนใจนัก

    เที่ยวนี้ ผมจึงตามไปดูจนสุดเขตแดนราชอาณาจักรไทยแหละ แถมในเมียนมาร์ นิดหน่อย ชึ่งหากมีเวลา และไม่เป็นที่ระอาเกินไป ก็จะเล่าเป็นตอนต่อ ๆ ไป นะครับ

นี่ลูกอารัยคะ

ปื๊ด

หากเข้าใจไม่ผิด คงถามถึงผลไม้ที่ป้ายา เอามาลง ป้าอาจเข้าอ่านซ้ำช้า

     ลุงขอนุญาต ตอบแทนป้า คงไม่ว่ากันนะ ผลไม้ที่เห็นนั้นเขาเรียก "ฟักข้าว" ครับ

        แต่บางพื้นถิ่น เช่นปักษ์ใต้ เขาเรียก "ขี้พร้าไฟ" ครับ

ต้อง "ลูกอะไร" ซิคะ

ขอบคุณค่ะ คุณลุง ที่ ย้อนความทรงจำ เที่ยวแล้ว-เที่ยวเล่า (เที่ยวแล้ว เที่ยวอีก)....ส่วนใหญ่ หนูมักไปกับโรงเรียนค่ะ หลายครั้ง หลายครา...กลับจากเที่ยวก็ต้องเขียนเรียงความ...พอโตขึ้น ไปเที่ยวกับเพื่อนๆ กระโดดน้ำ อย่างเดียวค่ะ สนุกสนาน....สะพานข้ามแม่น้ำแคว...เป็นอดีตที่แสนเจ็บปวด สำหรับผู้สร้างสะพาน ช่วงนั้น....รางรถไฟที่เลิกใช้ ก็เป็นบางช่วง ค่ะ ไม่เหมือนชีวิตคน ยิ่งสูงวัย ยิ่งมีค่า สำหรับลูก-หลาน มีค่าทุกส่วน...ไม่มีการเลิกใช้ค่ะ (รู้ยัง คะ)

ด้วยความยินดีครับหลานบัว

     ที่เรารู้สึกเจ็บปวดไปกับ สะพานข้ามแม่น้ำแคว อาจเพราะผู้เล่า ผู้เขียน และบทบาทอารมณ์ของผู้แสดงในหนัง เป็นปัจจัยกระตุ้น เร้า ผนวกเข้าไปด้วย

      หากไปดูในช่วงอิ่น ๆ ประกอบ ตลอดสาย แล้วประมวลค้นลึก เราน่าจะเห็นอะไรมากกว่า 'ความเจ็บลึก'

       ในมุมต่าง หากไม่มีสงคราม ทางรถไฟสายนี้ คงไม่เกิด ... จริงอยู่ หากมองมุมสาระประโยฃน์ใช้สอย เราใช้ประโยชน์แค่บางส่วนเท่านั้น

     แต่ในมุม ของความสามารถของมนุษย์ ลุงสัมผัสได้ถึงความเอนก ในการดึงเอา พลังความคิดมาใช้ แล้วออกพลังกาย เพื่อก้าวสู่ความสำเร็จตามที่คิดไว้

      เพียงว่า เราจะคิดไหม ... คิดแล้วทำไหม ... ทำแล้ว จะย่อท้อต่ออุปสรรคไหม ... ฯลฯ

กาญจนบุรี ยังไม่เคยไปเยือน อยากไปตั้งนานละ ยังหาโอกาสเหมาะๆไม่ได้เลยครับ ขอบคุณที่พาเที่ยวครับSmile

“นานุวัฒน์ ทำเกษตรให้สนุกและมีความสุข”

ด้วยความยินดีครับ

     ไปเที่ยว แล้วเก็บมาเล่าสู่กันฟัง สาระอาจน้อย แต่ดีกว่าเก็บไว้เฉย ๆ

      กาญจนบุรี ก่อนนี้ไปบ่อยครับ แต่ระยะหลังกว่า 10 ปีมานี่ ออกจะห่างเหิน ไปไม่กี่ครั้ง ... แต่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำนี่ ก็เพิ่งได้ไปหนแรกครับ ทั้ง ๆ ที่ตั้งใจไปมานานแล้ว

       ขอบคุณครับ ที่ร่วมเที่ยวด้วยกัน จะได้ไม่เหงา ฮึ ๆ ๆ

ไอย้ะ ลุงเที่ยวแล้วล่าว

ไปแล้วไม่เปล่า เอาติดมือหลบเรินด้วยโด๊

..โอกาสไม่ได้มีทุกวัน..